สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

        นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2561 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.94% อยู่ที่ 193,130 คัน จากทั้งยอดผลิตเพื่อส่งออกที่เพิ่มขึ้น 17.97% อยู่ที่ 102,810 คัน สอดคล้องกับยอดขายในประเทศที่เพิ่มขึ้น 27.9% อยู่ที่ 84,965 คัน ในส่วนของยอดผลิตรถยนต์ 5 เดือนของปีนี้ (มกราคม-พฤษภาคม) เพิ่มขึ้น 11.87% อยู่ที่ 867,599 คัน แบ่งเป็นยอดผลิตเพื่อส่งออก 476,635 คัน และยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ อยู่ที่ 390,964 คัน  นายสุรพงษ์กล่าวว่า ยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ จากการแนะนำรถยนต์ รุ่นใหม่ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ภาคการก่อสร้างเริ่มดีขึ้น ผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นและมีราคาดี ภาคการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้น สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศปรับตัวดีขึ้น อีกทั้งการส่งออก ยังเพิ่มขึ้นในทุกตลาดจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ก็ดีขึ้น ยกเว้นตลาดตะวันออกกลาง ตลาดอเมริกาเหนือและตลาดอเมริกากลางและอเมริกาใต้
ที่มา:หนังสือพิมพ์ แนวหน้า  วันที่  19 มิถุนายน 2561
 

 

         อุตสาหกรรมยานยนต์ในอินเดียเติบโตอย่างก้าวกระโดด จนอินเดียกลายเป็นฐานการผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จากข้อมูลขององค์การผู้ผลิตยานยนต์นานาชาติ (Organisation Internationale des Constructeursd ‘Automobiles : OICA) พบว่าในปี 2560 อินเดียมีปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์รวมกันราว 4.8 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 22% จากปี 2554 ที่มีปริมาณการผลิตรวม 3.9 ล้านคัน ส่งผลให้อินเดียก้าวขึ้นมาเป็นฐานการผลิตยานยนต์อันดับ 5 ของโลก จากที่เคยอยู่อันดับ 10 ในปี 2560  แซงหน้าเกาหลีใต้ สเปนและบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำของโลก ขณะที่ปริมาณส่งออกรถยนต์ของอินเดียก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากประมาณ 5 แสนคันในปี 2554 เป็น 9 แสนคันในปี 2560 หรือคิดเป็นอัตราขยายตัวเฉลี่ยราว 10% ต่อปี
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18  มิถุนายน  2561

 

นายวิลักษณ์โหลทอง ประธานจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนลออโต ซาลอน2018เปิดเผยว่า งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล ออโตซาลอน เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท คอร์โน แอนด์ แนช จำกัดและ บริษัท ซังเอ-โชโบ ประเทศญี่ปุ่น เป็นงานแสดงรถที่จัดขึ้นในรูปแบบของ “เทศกาลยานยนต์”รวมถึงการนำเอาบรรยากาศการจัดงานเช่นเดียวกับทาง “โตเกียวออโต ซาลอน” ประเทศญี่ปุ่นมาให้คนไทยได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด  “ปีนี้งานได้ถูกกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 4-8 กรกฎาคม 2561 ณ อาคารชาลเลนเจอร์ ฮอลล์ 2 อิมแพค เมืองทองธานี มีการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ภายใต้โปรโมชั่นพิเศษ เพื่อให้ผู้ซื้อได้รับประโยชน์สูงสุดนอกจากนั้นทางคณะผู้จัดงานยังได้เสริมทัพด้วยกิจกรรมส่งเสริมการขาย ซึ่งทุกโปรโมชั่นไม่เพียงจะกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายภายในงานเท่านั้น แต่ยังเป็นการคืนกำไรให้กับผู้บริโภคอีกด้วย”

ที่มา : หนังสือพิม แนวหน้า วันที่ 15  มิถุนายน 2561

 

         Brussels, 15 June 2018 – In May 2018, the EU passenger car market flattened out after showing robust growth in April. Registrations of new cars were only 0.8% higher than in May 2017, counting 1,398,913 units in total.  In May 2018, the EU passenger car market flattened out after showing robust growth in April. Registrations of new cars were only 0.8% higher than in May 2017, counting 1,398,913 units in total. Results were diverse among the major EU markets, with Spain (+7.2%) and the United Kingdom (+3.4%) posting growth, while Germany (-5.8%) and Italy (-2.8%) saw their demand for cars decline in May. From January to May 2018, demand for new cars in the European Union remained positive, largely sustained by the strong performance of the new EU member states, where registrations went up by 11.6% so far this year. Overall, 6,879,885 new passenger cars were registered in the EU during the first five months of 2018, or 2.4% more than one year ago. Car registrations increased in Spain (+10.6%), France (+3.5%) and Germany (+2.6%), although demand contracted in the United Kingdom (-6.8%).
ที่มา:acea.beวันที่  14  มิถุนายน 2561
 

 

        อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (เอ็นทีบี)ของประเทศเวียดนาม ที่ออกมาควบคุมการนำเข้ารถยนต์ต้องออกเอกสารรับรองรถยนต์นำเข้าจากประเทศผู้ส่งออก และการตรวจสอบคุณภาพรถยนต์ใหม่ จนมีความกังวลว่าหากไม่เร่งแก้ปัญหา และในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อการย้ายฐานผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย และอาจส่งผลให้ประเทศอื่นๆในอาเซียนดำเนินมาตรการดังกล่าวตามได้ ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้หารือกับกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน  นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าขณะนี้ภาคเอกชนอยู่ระหว่างติดตามแนวทางแก้ปัญหาของรัฐบาลไทยต่อมาตรการเอ็นทีบี ในการส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศเวียดนาม เนื่องจากมาตรการใหม่ของเวียดนามไม่ถูกต้องผิดกฏขององค์กรการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) ขณะที่ตลอดทั้งปีนี้ไทยตั้งเป้าหมายส่งออกรถยนต์ไปประเทศเวียดนาม 65,000 คัน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ วันที่ 13 มิถุนายน  2561

 

              กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม ต่างเร่งหาแนวทางการเจรจากับประเทศเวียดนาม เพื่อขอให้เวียดนามปรับท่าทีต่อการออกมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี(เอ็นทีบี)ในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเชื่อมั่นว่าเดือนกรกฎาคม 2561 นี้จะได้ข้อสรุปและเป็นผลดีต่อไทย แต่หากเวียดนามยังยืนยันจะใช้มาตรการดังกล่าวอยู่ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ไทยจะตอบโต้เวียดนามด้วยแนวทางใกล้เคียงกัน แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะใช้กับสินค้าใดเพราะอาจส่งต่อแนวทางการเจรจาได้   นายสมชาย หาญหิรัญ รมช.อุตสาหกรรมกล่าวว่า มาตรการเอ็นทีบีของประเทศเวียดนาม ที่เริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 โดยเวียดนามมีการตรวจรถยนต์ที่นำเข้าเวียดนามทุกลอต จากเดิมเป็นการสุ่มตรวจ ทำให้ขั้นตอนการส่งออกล่าช้า และส่งผลให้ยอดการส่งออกรถยนต์ไปประเทศเวียดนามลดลงถึง 50% ล่าสุด ทราบว่าเดือนกรกฎาคมนี้ ไทยจะมีการประชุมเจรจาอย่างเป็นทางการกับเวียดนามในประเด็นภาษีนี้ เชื่อว่าจะมีข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมแน่นอน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์แนวหน้า วันที่ 12  มิถุนายน  2561

 

            BMW and Mercedes-Benz maker Daimler face a double whammy of trade risks in an intensifying spat between the European Union and the U.S. Both carmakers ship significant numbers of vehicles from the E.U., and also export from U.S. plants. U.S. president Donald Trump renewed threats to impose tariffs on auto imports, hitting out at the bloc’s standard 10 percent import tariff on cars  higher than a 2.5 percent American duty on auto imports and 25 percent on sport utility vehicles. With Trump extending tariffs on steel and aluminum imports to include the EU on June 1, and a heated meeting of G7 leaders in Canada over the weekend, Germany said Monday that retaliatory action on U.S. products could be ready by July 1. As a result, German carmakers have to worry not only about the potential for higher costs when they ship cars to the U.S., but also any retaliatory measures that affect the cars they produce in North America and send to the EU.
ที่มา:www.autonew.com  วันที่  11 มิถุนายน 2561

 

         น.ส.บงกช อนุโรจน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมและสัมมนาอุตสาหกรรมอากาศยานและการซ่อมบำรุง และการจับคู่ธุรกิจ ว่า มีบริษัทชั้นนำทั้งในและจากต่างประเทศ อาทิ โบอิ้ง แอร์บัสกรุ๊ป โรลส์รอยซ์ ไทร อัมพ์กรุ๊ป และซีเนียร์ แอโรสเปซ เข้าร่วมพบปะและเจรจากับบริษัทรับช่วงการผลิตของไทย จำนวน 145 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ได้คัดเลือกมาจากบริษัทที่มีความพร้อมและมีศักยภาพสูงในการก้าวเข้ามาเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในอนาคต อาทิ บริษัทไทยรุ่ง ยูเนียนคาร์ บริษัท แม่น้ำ แสตนเลส บริษัท โชคนำชัย ไฮเทค บริษัท สมบูรณ์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี และบริษัท ศรีไทย ออโตซีท น.ส.บงกชกล่าวว่า การรับช่วงผลิตชิ้นส่วนอากาศยานมีเงื่อนไขและมาตรฐานสูงมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดการซื้อขายชิ้นส่วนของผู้ผลิตกับผู้ซื้อรายใหญ่ โดยปัจจุบันมีผู้ผลิตไทยที่พัฒนาศักยภาพ จนสามารถเดินหน้าไปสู่การผลิตชิ้นส่วนอากาศยานเพื่อรองรับความต้องการของตลาดบ้างแล้ว อาทิ บริษัท ซีซีเอส แอดวานซ์ ผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างเครื่องบินและชิ้นส่วนใบพัดเครื่องยนต์ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่หนุนให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยได้มีโอกาสแสดงความพร้อม และศักยภาพการก้าวไปสู่ผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานได้เพิ่มขึ้น

 
ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 8  มิถุนายน 2561

 

           อุตสาหกรรมคาด ปีนี้ค่ายรถยื่นลงทุนปลั๊กอินไฮบริดหลายราย สศอ.ประเมินค่ายรถพร้อมลงทุนผลิต ความต้องการรถจักรยานยนต์ในประเทศปี 2561-2563 มีแนวโน้มขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตต่อเนื่อง ประกอบกับคาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดในช่วงหาเสียงเลือกตั้งในปี 2562 อย่างไรก็ดี ภาวะที่รายได้ภาคเกษตรยังอยู่ในระดับไม่สูงนัก ประกอบกับหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง อาจกดดันให้ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศเติบโตอย่างจำกัด และผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์บางรายที่ให้บริการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์อาจยังมีความเสี่ยงจากภาวะหนี้เสียของกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อย  การส่งออกรถจักรยานยนต์ในปี 2561 คาดว่าทรงตัวจากการเปรียบเทียบกับฐานสูงในปี 2560 จากกรณีที่สหรัฐฯ มีการเร่งนำเข้ามากจากความกังวลในด้านนโยบายกีดกันทางการค้าและการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐฯ ส่วนในปี 2562-2563 คาดว่าการส่งออกจะเติบโตเร่งขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก คือ ยุโรป และสหรัฐฯ และคาดว่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ (BigBike) จะขยายตัวดีหลังมีการขยายกำลังการผลิตในไทย
ที่มา : หนังสือพิม ท้องถิ่น  วันที่ 8  มิถุนายน 2561

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th