สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

         เฟียต ไครส์เลอร์ บริษัทรถยนต์รายใหญ่ สัญชาติอิตาลี-สหรัฐ แถลงว่า บริษัทได้ทำหนังสือถึงเรโนลต์ ค่ายรถดังจาก ฝรั่งเศส เสนอควบรวมธุรกิจแบบ 50/50 ก่อตั้ง บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ข่าวดังกล่าวส่งผลให้ราคาหุ้นบริษัท เฟียตไครส์เลอร์ (เอฟซีเอ) ในตลาดหุ้นมิลาน พุ่งขึ้นกว่า 18% ก่อนจะร่วงลงมาอยู่ที่ 10% ในการซื้อขายช่วงสาย ส่วนหุ้นเรโนลต์พุ่งขึ้นกว่า 13% หลังจากรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งถือหุ้นในบริษัทนี้ 15% แสดงท่าทีอยากให้ดีลนี้สำเร็จ โฆษกรัฐบาลเผยว่า รัฐบาลเห็นชอบแต่เงื่อนไขการควบรวมต้องสนับสนุนการ พัฒนาเรโนลต์ โดยเฉพาะพนักงานบริษัท

         ค่ายรถฝรั่งเศสรายนี้ประสบกับความ ปั่นป่วนตั้งแต่เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจาก นายคาร์ลอส กอส์น ประธานคณะเจ้าหน้าที่ บริหาร ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานบริษัท นิสสันของญี่ปุ่นด้วย ถูกจับกุมที่กรุงโตเกียว พันธมิตรสามประสานระหว่างเรโนลต์- นิสสัน-มิตซูบิชิ ขณะนี้ผลิตรถยนต์ได้ราว 10.8 ล้านคัน เทียบกับโฟล์คสวาเกนของเยอรมนี และโตโยต้าของทั้งสองบริษัทผลิตได้ราว 10.6 ล้านคัน แต่อนาคตของกลุ่มยังไม่แน่นอน หลังจากนายกอส์นถูกขับพ้นเรโนลต์และนิสสัน เรโนลต์ถือหุ้นนิสสัน 43% ขณะที่นิสสันถือหุ้นเรโนลต์ 15%

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2562

 

 

           สถาบันยานยนต์ระบุประเทศไทยตอบรับเทรนด์รถอีวี คาดปีหน้าผลิตเกินครึ่งแสน หลังค่ายรถยนต์-ค่ายแบตเตอรี่ 9 รายผ่านบีโอไอทุ่มลงทุนกว่า 5.4 หมื่นล้าน นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน กรรมการสถาบันยานยนต์ ผู้ทำการแทนผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยถึงแนวโน้มการใช้รถยนต์อีวี, ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และไฮบริด ว่า เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากยอดผลิตทั้งสิ้น 8,900 คัน เพิ่มเป็น 25,200 คัน ในปี 2561 ขณะที่ปีนี้คาดว่าตลาดทั้ง 3 แบบจะมียอดผลิตเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 36,000 คัน และเพิ่มเป็น 50,000 คัน ในปีถัดไป

                 ปัจจุบันมีค่ายรถที่ได้รับอนุมัติจากบีโอไอ เป็นรถไฮบริด 4 ราย รถปลั๊ก-อิน ไฮบริด 4 ราย และรถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่อีก 1 ราย รวมทั้งสิ้น 9 ราย โดยมีกำลังการผลิตรวมประมาณปีละ 500,000 คัน นับเป็นมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นจำนวน 54,000 ล้านบาท รวมทั้งยังมีค่ายรถยนต์ที่รอการอนุมัติรถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่อีกจำนวน 7 ราย และการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า มีผู้ที่ได้รับการส่งเสริมแล้ว 5 ราย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นทำการผลิตได้ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป อีกทั้งในปี พ.ศ. 2561ได้มีการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วกว่า 400 แห่ง

ที่มา : www.prachachat.net ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2562

 

 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้ประชุมร่วมกับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เพื่อติดตามสถานการณ์ และกำหนดท่าทีในการดำเนินการของไทย หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) ดำเนินการเจรจาทำความตกลงกับประเทศที่ส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนสหรัฐฯ โดยเฉพาะกับสหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ เพื่อลดการนำเข้า หรือจำกัดการนำเข้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐฯ และป้องกันผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ โดยให้รายงานผลภายใน 180 วัน
 
“นับเป็นข่าวดีสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทย เพราะไม่มีรายชื่ออยู่ที่สหรัฐฯ ระบุไว้ในเป้าหมาย และไม่น่าจะต้องมาหารือกับไทย เพราะยานยนต์และชิ้นส่วนของไทย มีสัดส่วนในตลาด สหรัฐฯน้อยมาก สำหรับรายการสินค้าที่สหรัฐฯระบุว่ามีการนำเข้าสหรัฐฯเพิ่มขึ้น เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถปิกอัพ รถขับเคลื่อน 4 ล้อ (โฟร์วีล), ชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น เครื่องยนต์และชิ้นส่วน ระบบส่งกำลัง ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น”
 
ที่มา : www.thairath.co.th ฉบับวันที่ 27 พฤษภาคม 2562