สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

                     ยานยนต์ไฟฟ้า ส่วนแบ่งของรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดยานยนต์ของจีน อเมริกา และสหภาพยุโรป ถูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 20 ปีข้างหน้า การคาดการณ์ของการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่มากขึ้นมาจากการที่หลายประเทศได้เริ่มออกนโยบายยับยั้งการใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ระบบเผาไหม้ภายใน โดยจะมีผลบังคับใช้ระหว่างปี 2568-2583   ถึงแม้ยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าจะคิดเป็นร้อยละ 1 ของยอดขายรถยนต์ในปัจจุบัน แต่ภายในปี 2583 กว่าร้อยละ 50 ของรถใหม่จะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น สัดส่วนของยานยนต์ไฟฟ้าในยานยนต์ขนาดเล็กของทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1 ในปัจจุบันเป็นร้อยละ 30 ในปี 2583 ซึ่งตรงกับการคาดการณ์ของผู้ผลิตรายใหญ่ต่าง ๆ ที่ได้ตั้งเป้าการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไว้ที่ 20 ล้านคันต่อปีภายในปี 2568  ไทยมีบทบาทอย่างมากในตลาดยานยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะผู้ผลิตหลักของเครื่องยนต์ดั้งเดิมต่าง ๆ ผลิตรถยนต์และรถบรรทุกมากกว่า 2.6  ล้านคันในปี 2558 ไทยจำเป็นต้องปรับทิศทางการผลิตยานยนต์ไปในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เพราะหากผู้ผลิตยานยนต์เปลี่ยนไปผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและไม่เลือกที่จะผลิตยานยนต์ในไทย แรงงานกว่า 650,000 ราย อาจได้รับความเสี่ยง เนื่องจากแรงงานกว่า 450,000 ราย ทำงานกับผู้ผลิตเทียร์ 1 เทียร์ 2 และเทียร์ 3 มีแรงงาน 1 แสนราย ทำงานกับอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ และอีก 1 แสนราย ทำงานกับโรงงานประกอบรถยนต์

ที่มา: หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์  วันที่ 26  เมษายน 2561

 

               นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สำหรับยอดผลิตรถยนต์ปี 2561 ทั้งหมด 2,000,000 คัน ขายในประเทศตั้งเป้าไว้ที่ 900,000 คัน ส่งออก 1,100,000 คัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งชิ้นส่วน รถจักรยานยนต์กว่า 1 ล้านล้านบาท  และยังพบว่ายอดขายรถกระบะเพิ่มขึ้นมีอัตราการเติบโตถึง 11% บวกกับจากงานมอเตอร์โชว์ที่ทำให้รถนั่งส่วนบุคคล (เก๋ง) ยอดขายจำนวนมาก และโครงการขนาดใหญ่จากทางภาครัฐที่หากสามารถเดินหน้าการก่อสร้างได้โอกาสที่รถยนต์ขนาดใหญ่จะโตตามไปด้วย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะดันให้ยอดขายรถยนต์ปีนี้ถึงเป้า  สำหรับยอดการผลิต 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 539,690 คัน เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 11.15% ผลิตเพื่อส่งออก 300,717 คัน เพิ่มขึ้น 4.31% ผลิตเพื่อขายในประเทศ 238,973 คัน เพิ่มขึ้น 21.15% รถจักรยานยนต์ 695,618 คัน เพิ่มขึ้น 5% เป็นยอดขายรถยนต์ในประเทศ 237,093 คัน เพิ่มขึ้น 12.6% รถจักรยานยนต์ยอดขาย 465,093 คัน เพิ่มขึ้น 0.7% การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 295,230 คัน เพิ่มขึ้น 3.84% มีมูลค่าการส่งออก 153,214 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ส่งออก 252,986 คัน ลดลง 0.06% มีมูลค่า 16,402 ล้านบาท
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 25  เมษายน 2561

 

                 แม้ว่าศึกพิพาทการค้าระหว่างจีนและสหรัฐจะยังคุกรุ่นและยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ว่าจะจบลงแบบไหน แต่อย่างน้อยที่สุดก็พอจะมองเห็นเค้าลางได้ว่า  น่าจะบรรเทาลงด้วยการประนีประนอมยอมเจรจากันได้ เมื่อจีนกำลังงัดกลยุทธ์ทั้งไม้แข็งและไม้อ่อนมาทั้งขู่ ทั้งปลอบสหรัฐ   และหนึ่งในกลยุทธ์ไม้อ่อนที่จีนเป็นฝ่ายยอมโอนอ่อนให้ครั้งใหญ่ก็คือ "การเปิดตลาดรถยนต์จีน" ที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และยังนับเป็นการผ่อนคลายครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปีของจีน     เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติของจีน (เอ็นดีอาร์ซี) ระบุว่า เตรียมจะประกาศยกเลิกข้อจำกัดการถือหุ้นของบริษัทรถยนต์ต่างชาติในบริษัทร่วมทุนกับจีนเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี โดยจะเปิดทางให้สามารถถือหุ้นกับบริษัทร่วมค้าในจีนได้มากกว่า 50% ท่ามกลางแรงกดดันของต่างชาติที่ต้องการเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาดในตลาดรถแดนมังกร    ที่ผ่านมาจีนตั้งข้อจำกัดมาตั้งแต่ปี 1994 ให้บริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาเจาะตลาดรถยนต์ในจีนที่มีกำลังซื้อมหาศาลนั้น จะต้องเข้ามาผ่านการตั้งบริษัทร่วมค้ากับจีน โดยสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 50% เพื่อหวังซื้อเวลาให้บริษัทจีนได้รับการถ่ายโอนทางเทคโนโลยีและสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์เองได้ จนกระทั่งในปัจจุบัน บริษัทต่างชาติโดยเฉพาะในสหรัฐและยุโรปเริ่มร้องเรียนหนักขึ้นว่า ถึงเวลาที่จีนต้องเปิดตลาดมากขึ้นได้แล้ว    ทั้งนี้ รัฐบาลจะปลดเพดานจำกัดการถือหุ้นของบริษัทรถต่างชาติแบบทยอยต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม โดยคาดว่าอาจเริ่มต้นที่กลุ่มรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (อีวี) ก่อนเป็นอันดับแรก โดยอาจปลดล็อกการถือหุ้นได้เร็วที่สุดภายในปี 2018 นี้ ก่อนจะทยอยปลดล็อกสำหรับกลุ่มรถเพื่อการพาณิชย์ อาทิ รถบรรทุก ภายในปี 2020 และรถส่วนบุคคล ภายในปี 2022

ที่มา: หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์วันที่ 24  เมษายน 2561

 

                 Brussels, 18 April 2018 – In March 2018 the EU passenger car market declined (-5.3%) for the first time this year, with registrations totalling 1,792,599 new cars – the first March drop since 2014. In March 2018 the EU passenger car market declined (-5.3%) for the first time this year, with registrations totalling 1,792,599 new cars – the first March drop since 2014. However, it must be noted that last year’s results (with the best March figures on record) constituted a high basis of comparison. Momentum is starting to slow in some markets and especially in the United Kingdom, where sales dropped by 15.7% in March. New car demand also declined in Italy (-5.8%) and Germany (-3.4%), but growth was posted in France (2.2%) and Spain (2.1%). In the first three months of 2018, demand for new cars in the European Union remained slightly positive (+0.7%) despite last month’s decline. Passenger car registrations grew in Spain (+10.5%), Germany (+4.0%) and France (+2.9%), while car demand fell in Italy (-1.5%) and the UK (-12.4%). The strong performance of the new EU member states is worth highlighting here, as demand increased by 11.9% so far this year. Overall, 4,171,628 new cars were registered in the European Union during the first quarter of 2018.
ที่มา : acea.be วันที่ 23  เมษายน 2561

 

           ค่ายรถยนต์ รายใหญ่เกือบทุกค่าย ในเวลานี้ไม่เพียง แต่เร่งออกแบบ และผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) เท่านั้น แต่เหนือกว่านั้น ค่ายรถชั้นนำอย่าง บีเอ็มดับเบิลยู ออดี้ ฟอร์ด เมอร์เซเดส-เบนซ์ นิสสัน หรือโตโยต้า ต่างกำลังเร่งวางแผนและออกแบบรถรุ่นใหม่ ที่รองรับนวัตกรรมไร้คนขับ (Autonomous Vehicle หรือ AV) เพื่อให้พร้อมรับมือกับคู่แข่งมาแรง อย่างเทสล่า (Tesla) หรือผู้ท้าชิงน้องใหม่ อย่างบริษัทเวย์โม (Waymo) ซึ่งแตกตัวมาจากกลุ่มงานโครงการ Self-Driving Car ของกูเกิล ตลอดจนอูเบอร์ (Uber)ที่เริ่มการทดสอบรถยนต์ไร้คนขับมา ตั้งแต่ปี 2016 โดยความหวังที่จะเปิด ให้บริการรถแท็กซี่แบบไร้คนขับ (Robo-Taxi หรือ Robo-Cab)ในอนาคต  ระดับสู่ความเป็นเลิศ   การจัดระดับยานพาหนะที่ขับเคลื่อนแบบไร้ผู้ขับขี่ (Autonomous) ถูกจัดเป็น 5 ระดับ โดยมีระดับ 0 ซึ่งถือเป็นระดับที่ยานพาหนะไม่มีการควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติแต่อย่างใด ระดับที่ 1 "Driver Assistance"เป็นระดับการขับขี่อัตโนมัติขั้นพื้นฐานที่ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนใหญ่อาจคุ้นเคย เช่น การทำงานของระบบ Cruise Control ที่สามารถปรับระยะตรวจจับหน้ารถได้ก่อนรถเบรก  ระดับที่ 2 "Partial Automation"เป็นระดับที่เริ่มเห็นมากขึ้น โดยระบบเริ่มเข้าควบคุมการขับเคลื่อนรถยนต์ได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่นระบบการเข้าจอดในที่จอดรถแบบอัตโนมัติ (Remote-Controlled Parking) เป็นต้น
ที่มา : หนังสือพิม กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 20  เมษายน 2561

 

            นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงสถิติขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วงไตรมาสแรก ของปี 2561 (มกราคม - มีนาคม 2561) ว่ามีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรวม 333 โครงการเงินลงทุนรวม 203,630 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อบรรยากาศการลงทุนในปีนี้โดยมูลค่าดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 28% ของเป้าหมายขอรับส่งเสริมการลงทุนตลอดทั้งปี ที่ 720,000 ล้านบาท   ทั้งนี้มูลค่าเงินลงทุนในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กว่า 1 แสนล้านบาท โดยเป็นการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากกลุ่มอุตสาหกรรม เป้าหมายต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
ที่มา: หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 19  เมษายน 2561

 

                      China will end foreign ownership caps on local auto companies by 2022 and will remove restrictions on new-energy vehicle ventures this year, a major shift that will open the market wider to carmakers such as Nissan and Tesla.  The country will remove limits on companies making electric and plug-in hybrid vehicles in 2018, commercial-vehicle producers in 2020 and the wider passenger vehicle market by 2022, China's state planner said in a statement.  The move, which comes amid a trade standoff between Washington and Beijing, signals the end of a rule put in place in 1994 in the world's largest auto market that limited foreign automakers to a 50 percent share of any local venture. The policy was implemented to help support domestic carmakers compete against more advance international rivals.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 18  เมษายน 2561

 

          ตั้งเป้าเปิดใช้งานสนามทดสอบเฟส 1 เดือน ก.ย.นี้   สมอ.เดินหน้าผลักดัน ศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ เฟส 1 คาดเปิดดำเนินการ ก.ย.นี้ รองรับทดสอบยางล้อมาตรฐานบังคับใหม่ เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน พร้อมลุยเฟส 2 ทดสอบ 19 มาตรฐาน เปิดดำเนินการปี 2563      นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ ว่า การก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯเฟส 1 จะเสร็จในเดือน ก.ย.2561 ล่าช้ากว่ากำหนด 3 เดือน เพราะการประมูลครั้งแรกไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล แต่ขณะนี้ได้ผู้ก่อสร้างแล้ว คือ บริษัทนิปปอนการโยธา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น และมีประสบการณ์สร้างสนามทดสอบรถยนต์ที่เมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น ส่วนตัวอาคารสนามทดสอบจะเปิดซองประมูลภายในเดือน เม.ย.นี้    "สนามทดสอบเฟส 1 ใช้งบลงทุน 800 ล้านบาท จะเป็นสนามทดสอบมาตรฐานล้อยาง มอก.ใหม่ที่เน้นในเรื่องการยึดเกาะถนน จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือน ก.ย.นี้ โดยช่วงเริ่มต้นจะให้สถาบันยานยนต์ร่วมกับ สมอ.เข้ามาบริหารจัดการ เพราะมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการทดสอบรถยนต์"

ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 17  เมษายน 2561

 

          สถานการณ์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เมื่อดูจากตัวเลขยอดผลิตยอดส่งออก-ยอดขาย ในภาพรวมมีการเติบโต โดยเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2561 มีรถที่ผลิตทั้งสิ้น 344,433 คัน เพิ่มขึ้น 12.28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในช่วง 2 เดือนพบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 184,284 คัน เพิ่มขึ้น 3.34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 และคิดเป็นมูลค่าการส่งออกจะอยู่ที่  94,287.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.03 %   ส่วนยอดขายรถในประเทศ ตั้งแต่เดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ 2561 มีจำนวน 142,011 คัน เพิ่มขึ้น 13% ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 300,517คัน เพิ่มขึ้น 0.9%    แม้ในภาพรวมจะดูสดใส แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยมีความกังวลใจ นั่นก็คือ สงครามการค้าระหว่าง จีน-สหรัฐอเมริกา ที่จะกระทบกับภาวะเศรษฐกิจโลก และเป็นห่วงโซ่ทั่วทั้งโลก ที่อาจจะส่งผลดี หรือ ผลเสียให้กับการส่งออกของไทย
ที่มา : หนังสือพิม ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 16  เมษายน 2561

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th