สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

         ลงทุนเอกชนเริ่มฟื้น หลังส่งออกขยายตัวดี "สศค."มั่นใจทั้งปีโต 3.8% เผยสัญญาณบวก จากการนำเข้าที่สูงขึ้น ด้าน"กรุงศรี"คาดปีนี้ โต 3.5% อานิสงส์ลงทุนรัฐ  ขณะ"ภัทร"มองขยายตัว เล็กน้อย ห่วงไทยเผชิญปัญหาขีดแข่งขันลด  หลายปีที่ผ่านมา การลงทุนภาคเอกชนที่ เติบโตช้า เป็นหนึ่งในปัจจัยฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทว่าในปีนี้นักเศรษฐกิจศาสตร่ต่างประเมินว่าการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัว  จากสัญญาณการนำเข้าสินค้าทุน และการส่งออก ที่คาดว่าจะโตต่อเนื่อง   นายศรพล  ตุลยะเสถียร ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.ประเมินการลงทุน ภาคเอกชนในปีนี้จะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง ที่ 3.8% จาก 2.1% ในปีที่แล้ว โดยเครื่องชี้หลายตัว ส่งสัญญาณ อาทิ การนำเข้าสินค้าทุน โดยใน เดือนม.ค.2561 ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัว 30.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน และแม้จะหักการ นำเข้าสินค้าทุนรายการพิเศษแล้วก็ยังขยายตัวได้ถึง 25.0%เมื่อเทียบกับปีก่อน
ที่มา : หนังสือพิม กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 26  มีนาคม 2561
 

 

             สมาคมผู้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ไทย คาดยอดส่งออกชิ้นส่วน-อะไหล่รถยนต์ปีนี้ โต 6-10% จากปีก่อนที่มียอดส่งออกเฉียด 2 หมื่นล้านดอลลาร์ จากภาวะเศรษฐกิจโลก ฟื้นตัวและลูกค้าต่างชาติมั่นใจคุณภาพสินค้าไทย   นางอัชณา ลิมป์ไพฑูรย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัว ดีขึ้นในปีนี้ ประกอบกับคุณภาพของ ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ที่มีการ ผลิตในประเทศไทยทำให้สมาคมฯคาดว่าการส่งออกชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์จะขยายตัวจากปีก่อน 6-10%   นายสุพพัต อ่องแสงคุณ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่าปัจจุบันการส่งออกรถยนต์ ของไทยมีปริมาณสูงเป็นอันดับที่ 12 ของโลก โดยการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ในปี 2560 มีมูลค่า 19,844.69 ล้านดอลลาร์ เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2559 ถึง 15.5%      ตลาดส่งออกที่สำคัญของสินค้า ชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และจีน    นายณัฐวัฒน์ บุญวรเศรษฐ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์และอะไหล่ทดแทนไทย กล่าวว่า สำหรับตลาดสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ประเภท After market หรือ REM (Replacement Equipment Manufacturing) นั้น มีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ผลิตไทยได้พยายามสร้างแบรนด์สินค้า ที่มีคุณภาพสูง รวมทั้งนอกจากจะพยายามรักษาฐานลูกค้าเดิมแล้วยังขยายตลาดส่งออกใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินค้า ที่ผลิตในประเทศไทยก็ได้รับความเชื่อถือ จากลูกค้า
ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 มีนาคม 2561
 

 

             ไม่หวั่นค่ายใหญ่ล็อกสเปก มาสด้า ซูซูกิ จ้องถกบีโอไอหลังยื่นแพ็กเกจลงทุน แต่ยังไม่สรุปเรื่องเทคโนโลยีว่าจะเป็น "ฟูลไฮบริด" หรือ "ไมลด์ ไฮบริด" หวังอัตราภาษีสรรพสามิต 4% เท่าเทียมกัน ด้านเมอร์เซเดส-เบนซ์ เล็งระบบ 48 โวลต์ หลังตั้งโรงงานประกอบแบตเตอรี่ในไทย หลังจาก"โตโยต้า" ชิงธงนำลงทุนโครงการไฮบริดมูลค่า 2 หมื่นล้านบาทในไทย และมีแผนนำเทคโนโลยีลูกผสมระหว่างเครื่องยนต์กับมอเตอร์ไฟฟ้าใส่ในรถยนต์ที่ตนเองทำตลาดทุกรุ่นหลัก  โตโยต้าจริงจังกับการพัฒนาและทำตลาดรถยนต์ไฮบริดมากว่า 20 ปี หรือคิดเป็นยอดขายสะสมทั่วโลกจากรถ 34 โมเดลกว่า 10 ล้านคัน สำหรับเมืองไทยมี คัมรี่ พริอุส (ยุติการทำตลาดแล้ว) และล่าสุดกับ ซี-เอชอาร์ ที่เพิ่งเริ่มทยอยส่งมอบรถตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป
ที่มา: หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ   วันที่ 22 มีนาคม 2561

 

     นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รักษาการรองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านผลิตได้ ทั้งสิ้น 178,237 คัน เพิ่มขึ้นจาก 15.37% จากการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกและเพื่อจำหน่ายในประเทศที่เพิ่มขึ้นทุกประเภท และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 7.25% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง ผลิตได้ 72,411 คัน เพิ่มขึ้น12.52% รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ผลิตได้ 28 คัน เพิ่มขึ้น 366.67%    รถยนต์บรรทุก ผลิตได้ทั้งหมด 105,798 คัน เพิ่มขึ้น 17.38%รถกระบะขนาด 1 ตัน ผลิตได้ทั้งหมด 103,197 คัน เพิ่มขึ้น 17.49%          รถยนต์บรรทุก ผลิตได้ทั้งหมด 105,798 คัน เพิ่มขึ้น 17.38%
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 21  มีนาคม 2561
 

 

           ความเสียหายใหญ่หลวงต่อค่ายรถเอเชีย และยุโรปจากแผนขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก และอะลูมิเนียมใหม่  เว็บไซต์นิคเกอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่า นโยบายอเมริกาต้องมาก่อนของรัฐบาล สหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์กลายเป็นดาบสองคม หลัง ทำให้ผู้ผลิตรถอย่าง "โตโยต้า มอเตอร์" ของญี่ปุ่น "ฮุนได มอเตอร์" ของเกาหลีใต้ "บีเอ็มดับเบิลยู" ของเยอรมนี และ "วอลโว่" แบรนด์รถสวีเดนในเครือบริษัทจีลี่ ออโตโมบิล โฮลดิ้งส์ของจีน พากันขยาย การผลิตในสหรัฐในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมา          บริษัทวิจัยไอเอชเอส มาร์คิต คาดการณ์ว่า กำลังการผลิตในสหรัฐของผู้ผลิตรถต่างชาติจะแตะที่ 6.9 ล้านคันภายใน ปี 2565 ใกล้เคียงกับกำลังการผลิตของค่ายรถสหรัฐซึ่งจะอยู่ที่ 7.5 ล้านคัน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนนายทรัมป์เข้าบริหาร ประเทศในปี 2559 กำลังการผลิตรถ จะเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคัน แม้ว่ายอดขายรถ คันใหม่ในสหรัฐอยู่ในช่วงชะลอตัว     อย่างไรก็ตาม แผนล่าสุดของ นายทรัมป์ที่จะจำกัดการนำเข้าเหล็ก และอะลูมิเนียม อาจสร้างความเสียหาย มหาศาล อย่างโตโยต้าใช้เหล็กและ อะลูมิเนียมในสหรัฐกว่า 90% ของวัตถุดิบ ทั้งหมด แต่ก็ยังต้องนำเข้าวัตถุดิบบางส่วน จากนอกสหรัฐ     มาตรการภาษีนำเข้าใหม่อาจจะทำให้ วัตถุดิบนำเข้าเหล่านี้มีราคาแพงขึ้น และหนุนราคารถที่จำหน่ายในสหรัฐ พุ่งพรวดหลังรัฐบาลประกาศมาตรการนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยหน่วยธุรกิจในสหรัฐ ของโตโยต้า เผยว่า แผนเก็บภาษีนำเข้า ดังกล่าวจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อ อุตสาหกรรมยานยนต์และผู้บริโภค
ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 20 มีนาคม 2561

 

           กระทรวงพลังงาน โดย กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เดินหน้าจัดพิธีเปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ผลักดันนโยบายพลังงาน 4.0    เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศไทยกลายเป็นสมาร์ทซิตี้ (Smart Cities) รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคที่สนใจยานยนต์ไฟฟ้า โดยตั้งเป้าหมายในปี 2562 ให้มีสถานีครบ 150 สถานี และไทยจะต้องมีรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งบนท้องถนนให้ได้มากถึง 1.2 ล้านคัน  อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานการไฟฟ้า ผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าในแต่ละเครือข่าย รวมทั้งค่ายรถยนต์ต่างๆ กว่า       20 หน่วยงาน ร่วมกันลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อร่วมกันเดินหน้าพัฒนาระบบเชื่อมต่อการใช้งานของแต่ละเครือข่ายเข้าด้วยกัน เพี่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด
ที่มา : หนังสือพิม เว็บไซต์คมชัดลึก วันที่ 19  มีนาคม 2561
 

 

            Brussels, 15 March 2018 – In February 2018 the EU passenger car market grew by 4.3%, with new registrations totalling 1,125,397. In volume terms, last month saw the best February results since 2008. In February 2018 the EU passenger car market grew by 4.3%, with new registrations totalling 1,125,397. In volume terms, last month saw the best February results since 2008. Nearly all major EU markets posted growth, except for the United Kingdom (-2.8%) – where car sales declined for the 11th consecutive month – and Italy (-1.4%). Spain (+13.0%) recorded the strongest gains, followed by Germany (+7.4%) and France (+4.3%). From January to February 2018, demand for new cars increased by 5.8% in the European Union, counting 2,378,965 units in total. Momentum is starting to slow down in certain markets, especially in the United Kingdom (-5.1%). However, passenger car registrations continued to grow in Spain (+16.4%), Germany (+9.5%) and France (+3.4%) during the first two months of 2018.
ที่มา: acea.be   วันที่ 16 มีนาคม 2561

 

         นางอัชณา ลิมป์ไพฑูรย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมาตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ไทย มีมูลค่าส่งออกมีสูงถึง 19,844 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 15.50% เมื่อเทียบกับปี 2559 โดยส่วนประกอบและอุปกรณ์อื่นๆ เป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปมากที่สุด ขณะที่ในด้านการนำเข้า ก็มีมูลค่า 16,623 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8.15% เมื่อเทียบกับปี 2559 ทั้งนี้ การนำเข้า-ส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมา มีมูลค่าเกินดุลถึง 3,221 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยประเทศคู่ค้าที่มีการส่งออกไปมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐฯคิดเป็นมูลค่า 2,779 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 14% ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ ญี่ปุ่น มูลค่า 1,799 ล้านเหรียญสหรัฐฯ   “ปีที่ผ่านมาสมาคมมีการดำเนินงานอันก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและประเทศอย่างต่อเนื่อง และมีการทำงานที่เข้มข้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้าน เทคโนโลยี และเศรษฐกิจโลก เพื่อช่วยผลักดันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ให้เจริญเติบโตแข็งแกร่ง สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล สมาคมจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยปี 2561-2563”
ที่มา: หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ไทยรัฐ   วันที่ 15 มีนาคม 2561

 

            Automotive cybersecurity is still in its infancy but developments have accelerated since 2015, when several high-profile hacks showed the industry's vulnerability and cost the companies affected a lot of money to fix. The attacks also emphasized big shortfalls in software capability and pushed compliance up the agenda. With so much to play for, automotive cybersecurity has become a burgeoning but crowded sector. Suppliers already well positioned to benefit from the predicted boom include Robert Bosch, Harman, Cisco, Honeywell, NNG, Irdeto and Karamba and Continental-owned Argus, but IHS Markit senior automotive technology analyst Colin Bird describes the sector as “still very much the Wild West.” Bird estimates revenues in the sector will have topped more than $30 million at the end of 2017, but will balloon to more than $2 billion by 2024. Said Bird: “About 90 percent of the dots remain to be joined so there is huge opportunity. Out of a potential market of 100 percent, fulfillment is currently 4 percent to 5 percent.”
ที่มา : www.autonews.com  วันที่ 14  มีนาคม 2561

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th