สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

             นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคต ว่า ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์โลกจะมุ่งสู่รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ได้แก่ รถไฟฟ้าไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง ในประเทศไทยมีการผลิตรถไฟฟ้าแล้ว 2 ประเภทคือ รถไฟฟ้าไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน ซึ่งภาครัฐได้กำหนดนโยบายและ มาตรการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยได้เปิดกว้างรับทุกเทคโนโลยี เพราะผู้ผลิตแต่ละรายจะมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป      “ผู้ประกอบการไทยทั้งผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วน จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมที่จะปรับตัวให้เติบโตหรืออยู่รอดให้ได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ามาถึง ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนจำเป็นต้องเร่งพัฒนาในทิศทางที่สอดคล้องกับผู้ผลิตรถยนต์ เพื่อก้าวไปพร้อมๆ กัน หากเปลี่ยนผ่านไม่ทันอาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และอาจส่งผลให้ธุรกิจค่อยๆ ล้มหายไป ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลล่าสุดของสถาบันยานยนต์ พบว่า มีผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประมาณ 1,600 ราย โดยเป็นกิจการของคนไทยจำนวน 850 ราย ซึ่งรถยนต์นั่ง 1 คัน จะประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก จำนวน 800-2,200 ชิ้น และในการพัฒนาจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่นั้น จะส่งผลกระทบกับผู้ผลิตชิ้นส่วน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ชิ้นส่วนที่จะหายไป ได้แก่ เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง หม้อน้ำ กลุ่มที่สอง ชิ้นส่วนที่จะมีอยู่ ได้แก่ ระบบเกียร์ ระบบเบรก ชิ้นส่วนที่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน และด้านความปลอดภัย ระบบปรับอากาศที่ใช้ไฟฟ้า และกลุ่มที่ 3 ชิ้นส่วนใหม่ ได้แก่ แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า และกล่องควบคุม (ECU) หรือชิ้นส่วนที่มีการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาขึ้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ไทยรัฐ  วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561

 

       ภาวะการเติบโตชะลอตัวเป็นปีที่ 2 ในตลาดยานยนต์สหรัฐ บีบให้บรรดาผู้ผลิตรถของญี่ปุ่นต้องมองปัจจัยอื่นนอกเหนือจากส่วนลด เพื่อสร้างการเติบโตให้กับส่วนแบ่งตลาด และให้ความสำคัญกับการกระตุ้นความสามารถทำกำไรในตลาดขนาดใหญ่ที่สุดของตน    บรรดาผู้ผลิตรถทั่วโลกกำลังต่อสู้แย่งชิงเพื่อเป็นเจ้าตลาด ขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลก ในขณะที่ยอดขายรายปียังคงลดลง ต่อเนื่องจากที่เคยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 17.55 ล้านคันในปี 2559 ผู้ผลิต หลายรายให้ไปพึ่งการลดราคา เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในเซ็กเมนท์ ที่มีการเติบโตอย่างรถเอสยูวีและรถกระบะ พร้อมกับพยายามรักษายอดขายในเซ็กเมนท์รถซีดานที่กำลังดิ้นรนอย่างหนัก ต้นทุนของการลดราคาในสหรัฐทำให้ผลกำไรจากการดำเนินงาน ลดลง สำหรับผู้ผลิตรถญี่ปุ่นส่วนใหญ่ รวมถึง "โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป" และ "มาสด้า คอร์ป" ซึ่งมีแนวโน้มทำกำไรในอเมริกาเหนือลดลงเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ขณะที่ผลกำไรของ "นิสสัน มอเตอร์ โค" ในภูมิภาคนี้ ก็มีแนวโน้ม ลดลงเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
 

 

               นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ได้ประมาณการการผลิตรถจักรยาน ยนต์ปี 61 อยู่ที่ 2.12 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 3.15% หรือ 64,807 คัน แบ่งเป็นผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศจำนวน 1.75 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 3.74% การผลิตเพื่อการส่งออกจำนวน 370,000 คัน เพิ่มขึ้น 0.45% จากที่ผ่านมาได้ตั้งเป้าหมายการผลิตรถยนต์ปีนี้ 2 ล้านคัน เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งรัฐเองมีนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเฟส 2 ราคาพืชผลเกษตรดีขึ้น จะทำให้รถจักรยานยนต์และรถกระบะขายดี  สำหรับการผลิตรถยนต์เดือน ม.ค. 61 มีทั้งสิ้น 166,196 คัน เพิ่มขึ้น 9.15% ผลิตเพื่อส่งออก 98,152 คัน คิดเป็นสัดส่วน 59.06% ของยอดการผลิตทั้งหมด ขณะที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เดือน ม.ค.  ผลิตได้ 68,044 คัน คิดเป็นสัดส่วน 40.94% ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้น 23% ส่วนรถจักรยานยนต์ เดือน ม.ค.  61 ผลิตได้ 231,451 คัน เพิ่มขึ้น 4.06% ยอดขายภายในประเทศ 66,513 คัน เพิ่มขึ้น 16.2% ส่งออก 84,003 คัน ลดลง 1.91%
ที่มา: หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์  วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561
 

 

             บริษัทไฟฟ้าสิงคโปร์ทุ่มทุนครึ่งล้านดอลลาร์ตั้งสถานีชาร์จ รถพลังงานไฟฟ้า (อีวี) 50 แห่งทั่วประเทศภายในสิ้นปีหน้า   เรด ดอท เพาเวอร์ ผู้ค้าปลีกไฟฟ้าของสิงคโปร์ แถลงว่า เตรียมลงทุน 5 แสนดอลลาร์ เพื่อตั้งสถานีชาร์จรถอีวีอย่างน้อย 50 แห่งภายในสิ้นปี 2562 ด้วยความร่วมมือ กับบริษัทปลั๊กไอที ซึ่งเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชาร์จไฟฟ้าของฟินแลนด์  บริษัทจะตั้งสถานีชาร์จอีวีภายในระยะเวลา 2 เฟส และจะรองรับมาตรฐานการชาร์จที่แตกต่างกันซึ่งใช้โดยรถอีวีจากญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐ  ในเฟสแรก ซึ่งจะแล้วเสร็จภายใน สิ้นปีนี้ เรด ดอท เพาเวอร์จะตั้งสถานีชาร์จ10 แห่งที่มีหัวชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (เอซี) ไทป์ 2 แบบ 22 กิโลวัตต์ที่ใช้สำหรับการชาร์จนานซึ่งเหมาะสมที่สุดสำหรับรถอีวี ไฮบริดแบบปลั๊กอิน    ส่วนในเฟสที่ 2 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการ ในปีหน้า บริษัทจะตั้งสถานีชาร์จอีก 40 แห่งที่มีหัวชาร์จหลายมาตรฐานแบบ 24 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถใช้ได้สำหรับทั้งการชาร์จแบบนาน และแบบเร็ว เครือข่ายชาร์จไฟฟ้าดังกล่าวจะทำให้ ผู้ใช้รถอีวีแปลงไฟฟ้าเป็นกริดพลังงาน ซึ่งเป็น แนวคิดที่เรียกกันว่า "ยานพาหนะไฟฟ้าสู่ระบบกริด"
ที่มา : หนังสือพิม กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 21  กุมภาพันธ์ 2561

 

             A court will decide on Thursday whether German cities can ban heavily polluting cars, potentially wiping hundreds of millions of euros off the value of diesel cars on the country's roads. Environmental group DUH has sued Stuttgart in Germany's automaking heartland, and Duesseldorf over levels of particulate matter exceeding European Union limits after Volkswagen Group's 2015 admission to cheating diesel exhaust tests. The scandal led politicians across the world to scrutinize diesel emissions, which contain the matter and nitrogen oxide (NOx) and are known to cause respiratory disease. There are around 15 million diesel vehicles on German streets and environmental groups say levels of particulates exceed the EU threshold in at least 90 German towns and cities.
ที่มา: www.autonews.com วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561

 

         Brussels, 15 February 2018 – In January 2018, demand for passenger cars in the European Union grew significantly (+7.1%) compared to January last year – benefitting from a positive calendar effect.  In January 2018, demand for passenger cars in the European Union grew significantly (+7.1%) compared to January last year – benefitting from a positive calendar effect. New car registrations amounted to 1,253,877 units during the first month of the year. Nearly all major EU car markets posted growth, except for the United Kingdom (-6.3%), which saw car sales decline for the tenth consecutive month. Spain (+20.3%) and Germany (+11.6%) recorded the strongest gains, followed by Italy (+3.4%) and France (+2.5%).
ที่มา : acea.be  วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561
 

 

        สเตฟาน อิสซิ่ง ผู้อำนวยการด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกของ บริษัท ไอเอฟเอส คาดการณ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี พ.ศ. 2561 ระบุว่า ตัวแปรใหม่ที่ จะเข้ามาเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์ในปีนี้ มีทั้ง การผสานซอฟต์แวร์องค์กรเพื่อให้คล่องตัวขับเคลื่อนด้วยข้อมูล วัสดุน้ำหนักเบาที่มีความแข็งแรง และโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าหรืออีวี (Electric Vehicle) โดยเฉพาะแบตเตอรี่และการชาร์จ
ที่มา: หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561

 

          “ส.อ.ท.” ไม่เห็นด้วยกับการปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป แจงแนวคิดให้กระทรวงการคลัง นำไปประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจ ย้ำเป็นการสวนทางนโยบายส่งเสริมการลงทุน ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศ ระบบเศรษฐกิจ และการจ้างงานในระบบ          นายถาวร ชลัษเฐียร ประธานคลัสเตอร์ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า คลัสเตอร์ยานยนต์ ที่ประกอบไปด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์, กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ของ ส.อ.ท., สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย, สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ไม่เห็นด้วยต่อการปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป โดยขอให้คงอัตราภาษีนำเข้าปัจจุบัน เพื่อเป็นการรักษาฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนภายในประเทศ หลังจากที่สมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่ ขอให้กระทรวงการคลัง พิจารณาปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์ (ซีบียู) ทุกยี่ห้อ จากเดิมจัดเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 80% โดยขอให้ปรับลดให้เหลือ 40%
ที่มา: หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ไทยรัฐ  วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561
 

 

 

                       จีเอ็มเตรียมปิดโรงงาน ประกอบรถยนต์ 1 จาก 4 แห่งในเกาหลีใต้ ภายในเดือน พ.ค. ตามแผนการปรับโครงสร้าง   นายแดน อัมมานน์ ประธานบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) แถลงว่า ในวันอังคาร (13 ก.พ.) จีเอ็มเกาหลีประกาศ แผนปิดโรงงานประกอบรถยนต์ในเมือง กันซาน ซึ่งว่าจ้างพนักงานราว 2,000 คน แต่ทำงานได้ไม่เต็มศักยภาพ โดยในปี 2560  โรงงานแห่งนี้ประกอบรถยนต์เพียง 33,982 คัน หรือ 20% ของศักยภาพการผลิต ขณะที่โรงงานอีก 3 แห่งในเกาหลีใต้ประกอบรถยนต์ 485,403 คัน ในปีที่ผ่านมา     ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็น อุปสรรคต่อรัฐบาลประธานาธิบดีมูน แจ อิน ที่ให้ความสำคัญกับการจ้างงานและค่าจ้าง เป็นอันดับแรก นับตั้งแต่รับตำแหน่ง ในเดือน พ.ค.2560 ซึ่งแถลงการณ์จาก จีเอ็มระบุด้วยว่า บริษัทเสนอแผนลงทุน เพิ่มเติมในเกาหลีใต้เพื่อช่วยรักษาตำแหน่ง งานไว้ ให้กับสหภาพแรงงานและผู้ถือหุ้น
ที่มา : หนังสือพิม กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 14  กุมภาพันธ์ 2561

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th