สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

       จีนจะลดภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ลงเหลือ 15% ตั้งแต่ 1 ก.ค.นี้ เพื่อเปิดตลาดจีนให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันมีรายงานว่ารัฐบาลวอชิงตันและปักกิ่งใกล้บรรลุข้อตกลงที่จะยกเลิกคำสั่งของสหรัฐฯที่ห้ามบริษัทอเมริกันป้อนชิ้นส่วนให้กับบริษัท แซดทีอี คอร์ป แล้ว  กระทรวงการคลังจีนแถลงเมื่อวานนี้ว่า จะลดภาษีนำเข้ารถยนต์จาก 25% เหลือ 15% ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ส่วนภาษีนำเข้าชิ้นส่วนจะลดเหลือ 6% จากที่ส่วนใหญ่เก็บอยู่ที่ประมาณ 10% โดยกล่าวว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะเปิดตลาดจีนและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาในภาครถยนต์ท้องถิ่น  ในขณะนี้จีนเก็บภาษีรถบรรทุกนำเข้าอยู่ 20% จีนได้สัญญาเมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า จะเปิดตลาดรถยนต์โดยประกาศกรอบเวลาที่จะยกเลิกเพดานการถือหุ้นของต่างชาติในบริษัทร่วมทุนรถยนต์ และกล่าวว่าจะลดภาษีนำเข้ารถยนต์ในเร็ว ๆ นี้  การเคลื่อนไหวในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนผู้ผลิตรถยนต์ต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่นำเข้ารถยนต์ระดับพรีเมียมไปยังจีน เช่น บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู, เทสลา และเมอร์เซเดส-เบนซ์

ที่มา:หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น  วันที่ 23  พฤษภาคม 2561

 

       ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่เยี่ยมชมกิจการของบริษัท UACJ (ประเทศไทย) จำกัดซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอลูมิเนียมรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกและใช้ไทยเป็นฐานการผลิตในกลุ่มอาเซียน เตรียมชักชวนให้ขยายการลงทุนเพิ่ม พร้อมทาบทามให้บริษัทฯเข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ภาคการผลิตของไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคต

ที่มา : หนังสืพิมพ์  พิมพ์ไทย วันที่ 22  พฤษภาคม 2561
 

 

   German cities are entitled to ban older diesel vehicles from streets with immediate effect to bring air pollution levels in line with European Union rules, Germany's top administrative court confirmed on Friday. The ruling came a day after the European Commission lodged a complaint with Europe's top court against Germany for its repeated failure to protect air quality in its cities. The details of the German ruling will add to pressure on automakers to provide hardware fixes for polluting diesel models. Research firm Evercore ISI has said this could cost the industry 14.5 billion euros ($17.1 billion). Germany opened the door to diesel bans in February when it allowed environmental groups to sue cities that fail to enforce Europe's clean air rules, despite fierce lobbying to oppose bans from carmakers.

ที่มา : www.autonews.com วันที่ 21  พฤษภาคม 2561
 

 

          Brussels, 17 May 2018 – In April 2018, the EU passenger car market showed a strong return to growth (+9.6%) after demand declined in March – 1,306,273 new cars were registered last month. In April 2018, the EU passenger car market showed a strong return to growth (+9.6%) after demand declined in March – 1,306,273 new cars were registered last month. All five major EU markets saw substantial increases: Spain (+12.3%) and the United Kingdom (+10.4%) recorded the strongest growth, followed by France (+9.0%), Germany (+8.0%) and Italy (+6.5%). From January to April 2018, demand for new cars in the European Union increased by 2.7%, driven by last month’s robust growth. Car registrations went up in Spain (+11.0%), Germany (+5.0%) and France (+4.4%), but demand for new cars contracted in the UK (-8.8%). The new EU member states performed very well so far in 2018, with registrations increasing by 12.5%. Overall, 5,478,442 new passenger cars were registered in the EU during the first four months of the year.
ที่มา : acea.be วันที่ 18  พฤษภาคม 2561

 

            ส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไทยป่วน หวั่น “อินโดนีเซีย” ออกกฎเพิ่มสัดส่วน local content ผลิตรถยนต์-จักรยานยนต์ ชิ้นส่วนไทยผวาเชื่อถ้าทำจริงกระทบทั้งระบบ “ไทยซัมมิท” หวั่นคู่ค้าหั่นออร์เดอร์ทูตพาณิชย์รายงาน ตามหลัก WTO ไม่น่าทำได้  ดร.สาโรจน์ วสุวานิช รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด ในเครือไทยซัมมิทกรุ๊ป ผู้ผลิตสายไฟรถยนต์สำเร็จรูป กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวรัฐบาลอินโดนีเซียกำลังจะปรับปรุงเงื่อนไขการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศใหม่ ด้วยการบังคับให้ผู้ผลิตเพิ่มสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (local content requirement) มาเป็น 90% โดยนโยบายนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากชิ้นส่วนทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทย          “รัฐบาลอินโดนีเซียต้องการเพิ่มการใช้วัตถุดิบในประเทศให้มากขึ้น เพราะปัจจุบันชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าไปจากประเทศไทย ส่งเป็น OEM เข้าโรงงานประกอบ รวมถึงชิ้นส่วนประเภทรีเพรซเมนต์หรืออะไหล่ทดแทนด้วย” ดร.สาโรจน์กล่าว

ที่มา:หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17  พฤษภาคม 2561

 

        สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แนะ BOI ปรับแพ็กเกจรถยนต์ ไฟฟ้า EV-สถานีชาร์จไฟใหม่ หลัง 1 ปี 2 เดือนที่ผ่านมายังไม่มีค่ายรถยนต์รายใดยื่นขอรับการส่งเสริม เหตุ 8 ค่ายรถยนต์หลักมุ่งไปที่รถแบบไฮบริดปลั๊กอินแทน ที่เหลือยังติดโครงการรถยนต์ ecocar การลงทุนโครงการใหม่ต้องรอโครงการเก่าผลิตคุ้มทุนก่อน ยกเว้นค่ายเบนซ์ที่ตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่แล้ว   นับเป็นเวลามากกว่า 1 ปี 2 เดือนหลังจากที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้เปิดให้มีการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ (เดือนมีนาคม 2560) ปรากฏจนกระทั่งถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดได้รับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (battery electric vehicle หรือ BEV)          นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ในฐานะประธานกรรมการคณะกรรมการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า มาตรการส่งเสริม การลงทุนในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนและอุปกรณ์กำลังจะสิ้นสุดการเปิดรับคำขอภายในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ หรือเท่ากับผู้ประกอบการมีระยะเวลาเหลืออยู่เพียง 7 เดือนเท่านั้น โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการจะยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (hybrid electric vehicle หรือ รถ HEV) กับ โครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (plug-in hybrid electric vehicle หรือ รถ PHEV) มากกว่า
ที่มา : หนังสืพิมพ์  ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16  พฤษภาคม 2561

 

           พ.ร.บ.อีอีซีบังคับใช้วันนี้ (15 พ.ค.) กำหนดให้ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นเขตพัฒนาพิเศษ วางเป้าหมายอุตสาหกรรมพิเศษ อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ การบิน เป็นต้น กำหนดการเช่าที่ดินของต่างชาติไม่เกิน 99 ปี วานนี้ (14 พ.ค.) ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 2561 เป็นต้นไป โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้มีทั้งหมด 73 มาตรา รวมบทเฉพาะกาล โดยเหตุผลของการตรา พ.ร.บ. เพื่อกำหนดให้ภาคตะวันออกเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มีการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ชัดเจนแน่นอนโดยสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการบูรณาการการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคให้ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน ทั้งในและนอกเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พัฒนาเมืองให้มีความทันสมัยระดับนานาชาติ ที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยและการประกอบกิจการ มีการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์ทั้งแก่ผู้ประกอบกิจการและผู้อยู่อาศัยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นการเฉพาะ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.อีอีซี อาทิ มาตรา 6 กำหนดให้พื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และพื้นที่อื่นใดที่อยู่ในภาคตะวันออกที่กำหนดเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา เป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อวัตถุประสงค์ อาทิ 1.พัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2.จัดให้มีการบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ลดอุปสรรคและต้นทุนในการประกอบกิจการ 3.พัฒนาเมืองให้ทันสมัยระดับนานาชาติ สะดวก ปลอดภัย
ที่มา:หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น  วันที่ 15  พฤษภาคม 2561

 

          สถาบันยานยนต์ มั่นใจยอดผลิตรถยนต์ปีนี้เข้าเป้า 2 ล้านคัน หลังยอดขายในประเทศพุ่งรับเศรษฐกิจฟื้น ลงทุนภาครัฐเริ่มส่งผลดี ลูกค้ารถคันแรกเปลี่ยนรถใหม่ ส่งออกได้แรงหนุนน้ำมันดิบราคาเพิ่ม ดันตลาดใหญ่กลุ่มประเทศตะวันออกกลางกำลังซื้อฟื้นตัว   นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน กรรมการสถาบันยานยนต์ ผู้ทำการแทนผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า อุตสากรรมยานยนต์ยังคงมีทิศทางที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปลายปี 2560 ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากอยู่ในภาวะชะลอตัวมาหลายปี เนื่องจากยอดขายในประเทศที่ถดถอยมาตลอด 4 ปี ก่อนหน้านั้น และการฟื้นตัวช่วงปลายปียังมีผลผลักดันให้การผลิตรวมในปีที่ผ่านมาสามารถกลับมาเติบโตได้ 2.28%
ที่มา : หนังสืพิมพ์  กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 14  พฤษภาคม 2561

 

          ประเทศสหรัฐอเมริกา–เจนเนอรัล มอเตอร์ส ผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก และเป็นผู้ผลิตยานยนต์แบรนด์เชฟโรเลตได้นำเทคโนโลยีการออกแบบขั้นสูงด้วยซอฟต์แวร์ใหม่ มาใช้ในการออกแบบยานยนต์รุ่นใหม่ที่มีน้ำหนักเบา โดยเทคโนโลยีล้ำสมัยดังกล่าวเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนารถยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีน้ำหนักเบาขึ้น และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  จีเอ็ม เป็นหนึ่งในผู้ผลิตยานยนต์รายแรกของโลกที่นำเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ใหม่จากบริษัท ออโตเดสก์ซึ่งเป็นบริษัทรับออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์จากเบย์ แอเรียซานฟรานซสโกโดยเทคโนโลยีล้ำสมัยดังกล่าวใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing)และอัลกอริทึมในปัญญาประดิษฐ์(AI)*ซึ่งสามารถจัดเรียงและสับเปลี่ยนแบบชิ้นส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ได้ตัวเลือกแบบที่มีประสิทธิภาพสูง และมักจะเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบออแกนิค แบบที่ได้จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายและการตั้งค่าของพารามิเตอร์ของผู้ใช้ โดยผู้ใช้จะต้องป้อนข้อมูลต่างๆ เช่น น้ำหนัก ความทนทาน ประเภทวัสดุ วิธีการผลิต และอื่นๆ จากนั้นผู้ใช้จะสามารถเลือกชิ้นส่วนที่เหมาะสมดีที่สุด
ที่มา : หนังสือพิม เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11  พฤษภาคม 2561

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th