สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

   การพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบต้นทุนต่ำดังกล่าวเป็นความร่วมมือโดย บริษัท นิปปอนคิไคเอ็นจิเนียริ่ง กับสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสถาบันไทย-เยอรมัน เพื่อช่วยผู้ประกอบการ ในการลดต้นทุนในการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ นายทองพูน ทองเปล่ง วิศวกรของ บริษัท นิปปอนคิไคเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ให้ข้อมูลแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า เนื่องจากอุตสาหกรรมในประเทศไทย มีบทบาทเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ ยานพาหนะ และอุตสาหกรรมการบิน อีกทั้งผู้ประกอบการยังต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศที่มีราคาค่อนข้างสูง  นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องระยะเวลา ที่พนักงานใช้ในการเดินไปหยิบชิ้นงานมาประกอบ ทำให้ได้ประสิทธิภาพของการทำงาน ต่อตัวชิ้นงานค่อนข้างน้อย เมื่อนักวิจัยของนิปปอนคิไคเอ็นจิเนียริ่งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว และต้องการช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุน ในการนำเข้าเครื่องจักร และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน จึงได้ประดิษฐ์คิดค้น หุ่นยนต์ต้นทุนต่ำนี้ขึ้นมา

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน 360 องศา วันที่  27 กันยายน 2560

 

 

กรศ.จ่อคลอดแผนพัฒนาบุคลากรฯรองรับ 10 อุตฯเป้าหมาย ในพื้นที่อีอีซีคาดเสนอ "ประยุทธ์" ได้ต.ค.-พ.ย.นี้เผยมีความ ต้องการแรงงานระดับอาชีวะถึง 1.75แสนคน   การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี ถือเป็น 1ใน8แผนงานย่อย ที่คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้เห็นชอบในกรอบแผนงาน เพื่อนำไปสู่การยกร่างแผนดังกล่าว  โดยในการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(กรศ.) มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้จะมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างดังกล่าว เพื่อจะนำเสนอคณะกรรมการนโยบายฯ เห็นชอบในช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนนี้ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะผลิตกำลังคน แรงงานที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมถึงการสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้สมัยใหม่ การวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยีดี

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ วันที่  27 กันยายน 2560

 

 

   การพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือรถยนต์ไร้คนขับ จากบริษัทเทคโนโลยีหลายๆแห่งรวมถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ มีความชัดเจนและเข้มขึ้นเรื่อยๆ และบริษัทเทคโนโลยีจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นอีกค่ายหนึ่งที่มีความชัดเจนในการพัฒนาเพื่อแข่งขันกับเทคโนโลยีตะวันตก          บริษัทไป่ตู้ (Baidu) ยักษ์ใหญ่ทางด้านการบริการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตของจีน หลังจากได้ประกาศโครงการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ Apollo และได้เริ่มพัฒนามาหลายปีแล้ว ล่าสุดยังได้ให้คำมั่นเพื่อเร่งโครงการได้ประกาศการจัดตั้งกองทุน Apollo Fund มูลค่าถึง 10,000 ล้านหยวนหรือประมาณ 50,000 ล้านบาท   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การจัดตั้งกองทุนนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานเพื่อเร่งการพัฒนาด้านเทคนิคและแข่งขันกับคู่แข่งจากสหรัฐฯ โดยจะนำไปลงทุนในโครงการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับประมาณ 100 โครงการในช่วง 3 ปีข้างหน้า

ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ไทยรัฐ วันที่ 25 กันยายน 2560

 
 

 

     นายธีรพล ขุนเมือง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจของกพร.เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสอดรับกับนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของกระทรวงแรงงาน ภายใต้การนำของพลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงมอบหมายให้สถาบันและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ เร่งดำเนินการฝึกอาชีพตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ โดยเฉพาะหลักสูตรเตรียมเข้าทำงาน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ฝึกให้กับกลุ่มแรงงานใหม่ เพื่อป้อนตลาดแรงงาน เน้นสาขาช่างที่ขาดแคลน และสอดคล้องกับตามความต้องการในพื้นที่ มีระยะเวลาการฝึกในหน่วยงานของ กพร. 4 เดือน และฝากฝึกในสถานประกอบกิจการอีก 2 เดือน จึงจะจบหลักสูตร  ทั้งนี้ก่อนจบจะเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อทดสอบระดับฝีมือ และเป็นการการันตีความสามารถของแรงงานที่ผ่านการฝึกจากหน่วยงานของกพร.ด้วย นายธีรพล กล่าวต่อไปว่า ในปี 2561 มีเป้าหมายดำเนินการฝึกในทุกกิจกรรมทั้งแรงงานนอกระบบ และแรงงานที่อยู่ในสถานประกอบการ ที่ กพร.ดำเนินการเองจำนวน 226,000 คน สำหรับการฝึกทักษะกับแรงงานใหม่ในหลักสูตรเตรียมเข้าทำงาน ตั้งเป้าหมายดำเนินการกว่า 1 หมื่นคน อาทิ ฝึกในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 2,000 คน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 กันยายน 2560

 

 

         นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยความคืบหน้ายุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ภายหลังผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมครม.ว่า สศอ.เตรียมประสานไปยังกรมบัญชีกลางอีกครั้ง ให้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และราคาที่เหมาะสม เพื่อให้หน่วยราชการนำร่องใช้รถยนต์อีวี 10 % ของการจัดซื้อรถยนต์ตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมใช้รถยนต์อีวี เช่น หากกระทรวงอุต ฯ จัดซื้อรถยนต์ในปีงบประมาณ 61 จำนวน 10 คัน จะต้องเป็นรถยนต์อีวีจำนวน 1 คัน หากกำหนดได้เร็ว จะช่วยเพิ่มปริมาณรถยนต์อีวีได้เร็ว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์เดลินิวส์ วันที่ 25 กันยายน 2560

 

 

   'อุตตม รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม'เปิดงาน-ชูเป้าหมายอีอีซี ยกระดับ ศก.ไทย 'กอบศักดิ์' ชี้ต้องดึงการลงทุนรัฐร่วมเอกชน ประตูสู่อินโดจีน-อาเซียนเอเชีย 'คณิศ'แย้มโบอิ้งสร้างศูนย์ฝึกอบรม ขณะที่วงเสวนาภาคเอกชนชูท่องเที่ยวชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-ระยอง 'อุตตม' รมว.กระทรวงอุตสาหกรรมชูอีอีซียกระดับศก.ประเทศ วันที่ 21 กันยายน ที่ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มติชนร่วมกับสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (สกรศ.) จัดสัมมนา "อีอีซี แม่เหล็กเศรษฐกิจไทยเชื่อมโลก" โดยมีภาคธุรกิจ ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ และประชาชน เข้าร่วมอย่างคึกคักกว่า 700 คน   นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ "อีอีซี แม่เหล็กเศรษฐกิจไทยเชื่อมโลก" ตอนหนึ่งว่า ประเทศอยู่ในห้วงการเปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่มีการเดินหน้านโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นเรื่องใหญ่และเป็นของใหม่ที่ต้องการความเข้าใจ ประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี มีการใช้ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ข้อมูล การทำธุรกิจล้วนต้องใช้เทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม การเดินหน้าอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 กลุ่ม ไม่ได้แปลว่าจะมุ่งแต่อุตสาหกรรม แต่ต้องให้ความสำคัญกับภาคเกษตรที่เป็นพื้นฐานของประเทศด้วย เพราะใน 10 อุตสาหกรรม มีทั้งอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ไบโอชีวภาพ และอาหารบรรจุอยู่ด้วย หมายถึงเดินไปข้างหน้าแต่ไม่ทิ้งของเก่าที่เป็นฐาน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 22 กันยายน 2560

 
 

 

     China is discussing a plan to allow foreign carmakers to set up wholly owned electric-vehicle businesses in its free trade zones, according to company officials briefed on the matter. The plan could be enacted as early as next year, the sources said. If the policy is approved, it would be a landmark departure from existing rules that require foreign automakers to form joint ventures with local counterparts. A relaxation of the joint venture rule would give companies an opportunity to set up fully owned manufacturing operations in China. Ford Motor Co. is considering a joint venture to produce electric vehicles in China with Anhui Zotye Automobile Co. while Volkswagen AG has partnered with Anhui Jianghuai Automobile Group Corp. to make EVs.

ที่มา : www.autonews.com  วันที่ 22 กันยายน 2560

 

 

        Daimler said it will invest an additional $1 billion in its U.S. factory here, expanding the 20-year-old site to build full-electric SUVs for its EQ sub-brand along, with their battery packs.The expansion is part of Daimler's strategic plan to electrify its entire range of Mercedes-Benz light vehicles by 2022, offering customers at least one electrified alternative in each segment to bring its total to more than 50 electrified vehicles.It also takes place as German automakers have been the target of criticism from President Donald Trump over what he has said are unfair trade practices, singling out the success of Mercedes and rival BMW in the U.S. market as evidence."With production locations for EVs and batteries in Europe, China and now the U.S., our global network is ready for the era of electric vehicles," said Markus Schaefer, member of the divisional board of Mercedes-Benz Cars responsible for production and supply chain. "Thanks to our plant modernization in Tuscaloosa, we will be able to quickly ramp up U.S. production of EQ models."

ที่มา : www.autonews.com  วันที่ 22 กันยายน 2560

 

 

      นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ดบีโอไอ)  ที่มีพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้อนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุนให้กับนายเกียรศักดิ์ เลิศศิริอมร ในกิจการเขตอุตสาหกรรม เงินลงทุนทั้งสิ้น 20,476 ล้านบาท โดยเป็นการพัฒนาพื้นที่ขนาด 9,832 ไร่ ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านบึงและอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาอีอีซี รองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมชิ้น่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมบริการสาธารณูปโภคหรืออุตสาหกรรมสนับสนุน และอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) รวมถึงพัฒนาให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

ที่มา : หนังสือพิมพ์  ฐานเศรษฐกิจ  วันที่ 21 กันยายน 2560

 
 

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th