สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

     The UK government plans to penalize automakers who try to cheat emissions tests with criminal charges that go "above and beyond" European rules -- including the threat of unlimited fines. The measures, which have been put to public consultation, are aimed at preventing a repeat of the Volkswagen Group scandal in which 11 million cars were equipped with software that altered emission control systems during testing. Outside of the tests, the vehicles released up to 40 times more nitrogen oxide than regulations allow. "We continue to take the unacceptable actions of Volkswagen extremely seriously, and we are framing new measures to crack down on emissions cheats in future," Transport Minister Jesse Norman said in an emailed statement. "Those who cheat should be held to proper account in this country, legally and financially, for their actions."
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561

 

          สรรพสามิตเตรียม ปลดล็อกรถยนต์คันแรกกว่า 1 หมื่นคัน ให้สามารถเปลี่ยนมือได้ใน 2-3 วัน ย้ำยึด มติครม.ที่ขยายเวลาเป็นการทั่วไปถึงธ.ค.55 ด้าน สตง.ระบุตรวจสอบตามกระบวนการ แนะ"สรรพสามิต-ขนส่งทางบก"เคลียร์ รายละเอียด ชี้หากทำตามเงื่อนไขครบ สามารถโอนรถได้ นายณัฐกร อุเทนสุต โฆษกกรม สรรพสามิต กล่าวว่า กรมสรรพสามิต เตรียมปลดล็อกให้ผู้ใช้สิทธิซื้อรถยนต์คันแรกให้สามารถเปลี่ยนมือได้ หลังจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ได้เข้าตรวจสอบความถูกต้องของการได้สิทธิทางภาษีนับหมื่นราย     ทั้งนี้ สตง.ได้ระบุว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการรถยนต์คันแรก ที่เป็น นโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จำนวนหนึ่ง ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขที่กรม สรรพสามิตกำหนดคือจะต้องส่งเอกสารขอคำภายในเดือนก.ค.2555  ดังนั้นรถยนต์ราว 1 หมื่นคันที่ส่งเอกสารคำขอหลังก.ค.2555 ไม่มีสิทธิเข้าโครงการรถยนต์คันแรก
ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561

 

          สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ชงสำนักงานอีอีซี เปิดทางให้ผู้ซื้อรถอีวี หักลดหย่อนภาษี หวังกระตุ้นดีมานด์ ขณะค่ายรถจีน จ่อนำเข้ารถแท็กซี่อีวี 500 คันเจาะตลาดในประเทศปีนี้ ด้านสนพ.ควักงบกองทุนอนุรักษ์ฯ 20 ล้าน อุดหนุนรัฐเอกชน ติดตั้งปั๊มชาร์จอีวี รอบ 5  เปิดรับสมัคร 1-30 มี.ค.นี้   นายยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้ยื่นเสนอแนวทางส่งเสริมการใช้ยานยนต์ ไฟฟ้า(อีวี)ในประเทศไปยังนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค ตะวันออก(อีอีซี) เมื่อเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขอให้ภาครัฐพิจารณามาตรการ ลดหย่อนภาษีสำหรับประชาชนผู้ซื้อ รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิด ความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ หลังรัฐเตรียมความพร้อมลงทุนโครงการ พื้นฐานของรองรับแล้ว โดยเฉพาะการ สนับสนุนจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station)
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561
 

 

          ค่ายรถบรรทุก -รถบัส รถเพื่อการพาณิชย์ เริ่มกระโดดเข้ามาพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า โดยปลายปีที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวทั้งจากฟูโซ่ ที่อยู่ภายใต้เครือเดมเลอร์ ได้ส่ง E-Fuso ที่มีแผนจะเปิดตัวรถบรรทุกไฟฟ้าเข้าสู่ตลาด ซึ่งรถเหล่านี้จะใช้แบรนด์ใหม่อย่าง E-Fuso ในการทำตลาด เช่นเดียวกับเทสลา ที่สร้างความฮือฮาด้วยการเปิดตัว Tesla semi  รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า ที่สามารถวิ่งได้กว่า 800 กิโลเมตร และจะเริ่มผลิตในปี 2562  อีกหนึ่งค่ายที่ร่วมวงรถบรรทุกไฟฟ้าคือค่ายวอลโว่ ทรัคส์ จากสวีเดน โดยนายแคลส์ นิลสัน ประธาน บริษัท วอลโว่ ทรัคส์ฯ เปิดเผยว่า บริษัทได้ประกาศแผนงานพัฒนารถบรรทุกไฟฟ้า 100% และเตรียมเปิดตัวสู่ตลาดยุโรปในปี 2562 ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวเป็นไปตามคำมั่นสัญญาระยะยาวของวอลโว่ ทรัคส์ ในด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและลดการปล่อยมลพิษให้เป็นศูนย์ เพราะรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ เนื่องจากสามารถทำงานในช่วงกลางคืนได้มากขึ้น และลดจำนวนรถบรรทุกบนถนนในชั่วโมงเร่งด่วน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 31 มกราคม  2561
 

 

           นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2560 “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ขยายตัวสอดคล้องกับเศรษฐกิจในภาพรวม นำโดย ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน สอดคล้องกับการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี” สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันที่ระดับ 102.6 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์
ที่มา: หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 มกราคม 2561

 

             สถานการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2561 ประเมินว่าจะกลับมาอยู่ในภาวะ "ขาขึ้น"  ต่อเนื่องจากปี 2560 มียอดขาย 8.7 แสนคัน สูงกว่าการคาดการณ์และเติบโตจากปีก่อนหน้า 13.5% เนื่องด้วยปัจจัยบวกทั้ง ภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น สถาบัน การเงินผ่อนคลายความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ สินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น   แนวโน้มการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการต่างงัดสารพัด กลยุทธ์ช่วงชิงลูกค้าโดยเฉพาะ "เทคโนโลยี" และ "นวัตกรรมใหม่" จะถูกนำมาใช้เป็นจุดขายมากขึ้น  ยักษ์ใหญ่ "โตโยต้า"  ประกาศตัว รุกตลาดไฮบริดครบวงจร เป็นการทำตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นจากรถยนต์ไฮบริด ที่จะเริ่มกับรุ่น ซี-เอชอาร์ โดยเลือกที่จะใช้แบตเตอรี นิกเกิล ไฮไดรด์ แม้ว่าปัจจุบัน อุตสาหกรรมจะหันไปเน้นทางแบตเตอรี ลีเธียม ไอออน แต่โตโยต้า ระบุว่า นิกเกิล ไฮไดรด์ มีจุดเด่นสามารถรีไซเคิลได้   ดังนั้น นอกจากเตรียมสร้างโรงงานผลิต ในปี 2562 แล้ว โตโยต้ายังทุ่มงบอีก 300 ล้านบาท สำหรับสร้างโรงงานกำจัดซากรถที่หมดอายุ รวมถึงการจัดการกับแบตเตอรี และจะให้บริการกับรถยนต์ทุกยี่ห้อ   นายมิจิโนบุ ซึงาตะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ประเทศญี่ปุ่น และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า โตโยต้า จะใช้ ซี-เอชอาร์ ที่จะผลิตและส่งมอบ อย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นไป เป็นหนึ่งในสินค้าหลักของปีนี้
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 มกราคม  2561
 

 

       นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้พิจารณามาตรการส่งเสริม 2 อุตสาหกรรม ตามแผนพัฒนาและขับเคลื่อน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (เอส-เคิร์ฟ) คือ 1.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โดยผลักดันโครงการเศรษฐกิจชีวภาพ (ไบโอ อีโคโนมี) ผ่านคณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ภายใต้การสานพลังประชารัฐ อาทิ การเกษตรแม่นยำสูงด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างเต็มประสิทธิภาพ นายพสุกล่าวว่า สำหรับปี 2560 กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดเก็บสถิติกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มียอดการแจ้งประกอบและขยายกิจการโรงงาน จำนวนรวม 1,487 ราย เงินลงทุน 182,577 ล้านบาท มีการจ้างใหม่ จำนวน 91,563 คน โดยอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เงินลงทุน 92,338 ล้านบาท อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน 41,840 ล้านบาท และอุตสาหกรรมยานยนต์ เงินลงทุน 35,804 ล้านบาท ทั้งนี้ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ได้รับใบอนุญาตประกอบและขยายกิจการมากที่สุด 974 โรงงาน รองลงมา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 175 โรงงาน และอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 111 โรงงาน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ มติชน   วันที่ 26 มกราคม 2561

 

         นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน ธ.ค. 2560 มีทั้งสิ้น 1.04 แสนคัน สูงสุดในรอบ 4 ปี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 20.1%  ทั้งนี้ เนื่องจากยอดจองรถยนต์ ในงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป 2017 เมื่อเดือน ธ.ค. 2560 มากกว่า 3.9 หมื่นคัน นอกจากนี้เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจ ในประเทศฟื้นตัว ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูงขึ้น การเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่จากค่ายรถต่อเนื่อง การส่งออกดี การฟื้นตัวการลงทุนภาครัฐและเอกชน การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล และการถือครองรถยนต์โครงการ รถคันแรกครบ 5 ปี  สำหรับยอดผลิตรถยนต์ปี 2560 มีจำนวน 1.98 ล้านคัน มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 1.95 ล้านคัน คิดเป็น 2.28% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มีปัจจัยหลักมาจากการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 8.62 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 11.01% การผลิตเพื่อส่งออกปี 2560 อยู่ที่ 1.12 ล้านคัน ลดลงจากปีก่อน 3.52% แต่ยังโตมากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 1.1 ล้านคัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์  วันที่ 25 มกราคม 2561

เโพสต์ทูเดย์  วันที่ 25 มกราคม 2561

 

Audi has been ordered to recall 127,000 vehicles after Germany's KBA motor transport authority detected illicit emission-control software in the automaker's latest Euro 6 diesel models, German press reports said The recall involves A4, A5, A6, A7 and A8 sedans and Q5 and Q7 SUVs, the German transport ministry told the DPA news agency, confirming a report in Bild am Sonntag. The recall affects 77,600 vehicles in Germany, Bild am Sonntag reported. The KBA has found that the affected cars' engine management systems turn off emissions-reducing measures in real-world traffic while allowing them to work on a test bench, the paper said

 

 

 

ที่มา: : www.autonews.com   วันที่ 23 มีนาคม 2559

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th