สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

        นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการก่อสร้างศูนย์ทดสอบ ยานยนต์และยางล้อรถยนต์แห่งชาติ ที่อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานใน เฟสแรก สร้างสนามทดสอบยางล้อมาตรฐาน R117 และศูนย์การเรียนรู้รถยนต์ไฟฟ้า และศูนย์การเรียนรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจะแล้วเสร็จและ ให้บริการได้ในปลายไตรมาส 1 ถึง ต้นไตรมาส 2 ปี 2561  ส่วนเฟส 2 จะเริ่มก่อสร้าง ในปี 2561 จะสร้างสนามทดสอบยานยนต์ อีก 5 สนาม ใช้งบประมาณ 800 ล้านบาท และห้องทดสอบความปลอดภัยรถยนต์ไฟฟ้าใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท รวมทั้งจะสร้างห้องทดสอบแบตเตอร์รี่ รถยนต์ไฟฟ้า 270 ล้านบาท รวมแล้วจะใช้งบประมาณ 1,570 ล้านบาท จะแล้วเสร็จในต้นปี 2562 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 12 ตุลาคม 2560

 
 

 

   เมื่อเทรนด์รถพลังงานไฟฟ้า (EV) รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Drive) และ คาร์แชริ่ง (Car sharing) ขยับมาเร็วกว่าที่คิด โดยเป็นทิศทางใหม่ของโลกที่สอดคล้องกันตั้งแต่ระบบขับเคลื่อนและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ขณะเดียวกันยังเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ทั้งขนาดกลาง ขนาดเล็ก ได้เข้ามาแข่งขันในตลาด ระหว่างที่ค่ายใหญ่ยังขยับตัวช้า เพราะติดกับดักในเทคโนโลยีดั้งเดิมที่ตนเองลงทุนไปมหาศาล    อย่างไรก็ตาม หลายค่ายรถยนต์รายใหญ่เริ่มปรับตัวให้ทันกับกระแสใหม่นี้ จากเดิมที่พยายามลดต้นทุนการพัฒนาด้วยการแลกเปลี่ยนโปรดักต์ในการทำตลาด หรือเป็นรถโมเดลเดียวแต่แปะป้ายขายคนละยี่ห้อ รวมถึงการลงทุนร่วมกันเพื่อให้ได้โปรเจ็กต์ใดโปรเจ็กต์หนึ่งแล้วแยกการทำตลาด ซึ่งมีทั้งเซ็นสัญญาความร่วมมือเป็นกรณีไป หรือเข้าไปถือหุ้นระหว่างกัน เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารและตัดสินใจ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 11 ตุลาคม 2560

 

          The German government wants carmakers to offer mechanical modifications to engine and exhaust systems for some models, Der Spiegel reported on Saturday. The new government position was agreed to by experts and civil servants of the German transport ministry in an effort to prevent bans on diesel cars in some cities. The move would be a break with a less costly software-only overhaul agreed to just months ago. In August, German politicians and car bosses agreed to overhaul engine software on 5.3 million diesel cars to cut pollution and try to repair the industry's battered reputation. Politicians stopped short of demanding more expensive hardware adaptations. Environmentalists have said that agreement  two years after Volkswagen Group admitted to cheating diesel emissions tests was too little, too late, and have vowed to press ahead with legal action aimed at banning polluting vehicles. The German transport ministry was not immediately available for comment.

ที่มา : www.autonews.com วันที่ 10 ตุลาคม 2560

 

 

     "ค่ายรถ"เดินหน้าปูทางรับรถยนต์ไฟฟ้า "นิสสัน"หวังเปิดตัว"บีอีวี"ค่ายแรก ขณะ"บีเอ็มฯ-วอลโว่ร่วมพันธมิตรต่างธุรกิจ ผุดจุดชาร์จ "เบนซ์"ชี้กระแสปลั๊ก-อิน ไฮบริด มาแรง ขณะสนพ.ชี้ต่างชาติ 4 ค่ายหลัก ผนึก ผู้ประกอบการไทย ลงทุนสถานีชาร์จไฟฟ้า พร้อมเร่งวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่ ด้านสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า แจงเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดใน 5-10 ปี   รัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ที่ขับเคลี่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าหรืออีวี ครอบคลุมรถพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว(BEV) รถ ไฮบริด และปลั๊ก-อิน ไฮบริด ทั้งมาตรการส่งเสริม การลงทุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุนหรือบีโอไอ และมาตรการด้านภาษีจาก กรมสรรพสามิตที่ลดภาษีกึ่งหนึ่งสำหรับไฮบริดและ ปลั๊ก-อินไฮบริด  และภาษี 2% สำหรับบีอีวี ให้สอดคล้อง กับทิศทางโลกที่มุ่งมาทางยานยนต์ไฟฟ้า โดยเริ่มมี บางประเทศประกาศเลิกจดทะเบียนรถที่ใช้เครื่องยนต์น้ำมันภายในปี 2573

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 9 ตุลาคม 2560

 
 

 

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ ขอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 2-4 ต.ค. 2560 ประสบผลสำเร็จด้วยดี โดยเฉพาะการหารือด้านการค้าและการลงทุน และพร้อมที่จะร่วมมือเพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน โดยได้ก้าวข้ามปัญหาการขาดดุลการค้า เน้นการจับมือเป็นพันธมิตรเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างกัน ทั้งนี้ ผู้นำทั้งสองได้เห็นพ้องกันว่า นโยบายอเมริกันมาก่อน (America First) และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สามารถเกื้อกูลกันได้ โดยสินค้าที่ไทยส่งออกไปสหรัฐส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่สหรัฐนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าสำเร็จรูปในอุตสาหกรรมต่างๆ ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีคุณภาพสูงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการค้า ซึ่งจะนำไปสู่การขยายมูลค่าการค้าระหว่างกันในอนาคต นอกจากนี้ ยังได้ขอให้สหรัฐอำนวยความสะดวกการลงทุนของไทยในสหรัฐ เพราะในปีนี้นักธุรกิจไทยมีแผนจะเพิ่มการลงทุนในสหรัฐอีก 8,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สร้างงานเพิ่มอีกกว่า 1 หมื่นตำแหน่ง จากในปี 2559 ไทยลงทุนในสหรัฐเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ ในสาขาต่างๆ  เช่น อาหาร พลังงาน ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น มีมูลค่าลงทุน 5,600 ล้านดอลลาร์

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 6 ตุลาคม 2560

 

           นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงานสัมมนาเปิดโครงการสนับสนุนการเปลี่ยนรถตุ๊กตุ๊กให้เป็นรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ที่โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์กรุงเทพฯ ว่ากระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างหารือกับผู้ผลิตรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าและเครื่องยนต์ปกติคือน้ำมัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว(แอลพีจี)ทั่วประเทศ จำนวน 7 ราย ถึงความเป็นไปได้ ในการกำหนดให้รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเป็นโปรดักส์แชมเปี้ยนในการส่งออกไปขายทั่วโลก   เนื่องจากปัจจุบันรถตุ๊กตุ๊กไทยเป็นที่นิยมของผู้ใช้รถและมีการจำหน่ายแล้วใน 3 ประเทศทวีปยุโรป คือ ฝรั่งเศส สวีเดน เดนมาร์ก ขณะที่การผลิตในประเทศเพื่อใช้ส่วนบุคคลก็มีแพร่หลาย ผู้ผลิตไทยมีความสามารถ แต่ติดปัญหาแบตเตอรี่ราคาแพงประมาณ 100,000 บาทต่อลูกและต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลักซึ่งในแผนการสนับสนุนโปรดักส์แชมเปี้ยนจะรวมถึงการสนับสนุนให้มีการลงทุนตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในไทย ซึ่งจะต้องประสานกับความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์แนวหน้า วันที่ 5 ตุลาคม 2560

 

 

      นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ที่ประชุมรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานผลดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินงาน ประกอบด้วย 1.มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างอุปทาน (Supply) โดยกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไขข้อผูกพันภายใต้ข้อตกลงเขตเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) สำหรับอัตราภาคีนำเข้าภายใต้พิกัด 8703.80 ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม การแก้ไขข้อผูกพันดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศภาคีจึงยังไม่สามารถระบุเวลาที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จได้โดยจะขึ้นอยู่กับผลการเจรจาระหว่างไทยกับจีน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 4 ตุลาคม 2560

 

       นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมเปิดเจรจากับจีนเพื่อขอทบทวนข้อตกลงการค้า (เอฟทีเอ) ระหว่างไทย-จีนในเรื่องของการปรับอัตราภาษีเหลือ 0% สำหรับสินค้านำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ซึ่งเป็น 1 ใน 703 รายการมีอัตราภาษีนำเข้า 0% เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เห็นว่าจะส่งผลกระทบทั้งในแง่การจัดเก็บภาษีและการดึงนักลงทุนเข้ามาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ  "ข้อตกลงเอฟทีเอไทย-จีนเกิดขึ้นระหว่างการเจรจาราวปี 2546-2547 ซึ่งขณะนั้นไทยยังไม่มีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า และปัจจุบันรัฐบาลมีแผนจะส่งเสริมให้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ในสัปดาห์หน้า นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ จะเป็นประธานประชุมหาทางแก้ไขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมศุลกากร กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม" นายกุลิศกล่าว และว่า หากการเจรจาไม่เป็นผล อัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนจะอยู่ในระดับ 0% ทันทีนายกุลิศกล่าวว่า กรมกำลังประเมินผล กระทบของการปรับลดอัตราภาษีดังกล่าวต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมว่าจะมีจำนวนเท่าใด ขณะเดียวกันได้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บโดยนำระบบไอทีเข้ามาช่วยเพื่อลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ โดยปีงบประมาณ 2561 ถือเป็นอีกปีที่น่าจะมีหลายปัจจัยเข้ามากระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรม ทั้งเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายฉบับใหม่ของกรมสรรพสามิตที่ใช้ฐานราคาขายปลีกแนะนำมาคำนวณภาษี ซึ่งขณะนี้ยังติดขัดในเรื่องของการนำส่งข้อมูลราคาขายปลีกของสินค้านำเข้าต่างๆ มายังกรมศุลกากรประเมินอัตราภาษีนำเข้า คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน กว่าระบบจะเรียบร้อย ซึ่งอาจจะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ในช่วงเวลาดังกล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 3 ตุลาคม 2560

 

 

            พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่อยู่ระหว่างเยือนสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 30 ก.ย. – 5 ต.ค. ว่า เมื่อเวลา 10.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น วานนี้(1 ต.ค.) ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 11 ชั่วโมง นายกรัฐมนตรีและนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา พร้อมคณะ เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติวอชิงตัน ดัลเลส กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา โดยมีนายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และเจ้าหน้าที่ระดับสูงกรมพิธีการทูตสหรัฐมาต้อนรับ และเดินทางเข้าที่พัก ก่อนจะนำคณะรัฐมนตรีที่ร่วมเดินทาง หารือกับคณะทำงานและนักธุรกิจและนักลงทุนไทยในสหรัฐ   สำหรับการเดินทางครั้งนี้ มีนักธุรกิจไทยร่วมคณะ 25 คน จาก 5 ภาคธุรกิจ คือ ด้านการเกษตร อาหาร การแปรรูป การเงินการธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ ปิโตรเคมี และชิ้นส่วนยานยนต์ นายกรัฐนตรีจึงหารือเพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนพบปะนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ในวันที่ 2 ต.ค. ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 11 ชั่วโมง โดยในโอกาสนี้ ภาคเอกชนไทยได้มอบเงินช่วยเหลือสหรัฐฯ ที่ประสบภัยพายุเฮอริเคน เป็นเงินประมาณ 100,000 เหรียญสหรัฐฯ สิ่งของและอาหารอีกมูลค่าประมาณ 120,000 เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่รัฐบาลไทยได้บริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นเงิน 1,000,000 บาท

ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์เดลินิวส์ วันที่ 2 ตุลาคม 2560

 

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th