ค่ายรถท้อแบงค์ชาติขยายวงคุมเข้มสินเชื่อรถยนต์หวั่นสะเทือนตลาด ลามถึงยอดขายงนมอเตอร์โชว์ ปลายมีนาคมนี้ เผยสัญญาณชัดอนุมัติล่าช้า เงื่อนไขยุบยับขอเพิ่ม “เงินดาวน์-คนค้ำประกัน” ค่ายรถดิ้นจับมือพันธมิตร “แคปทีฟไฟแนนซ์” ร่วมทำตลาด พลิกเกมเน่นแคมเปญช่วยผ่อนลดภาระลูกค้า แหล่งข่าวในวงการรถยนต์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงภายรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ปี 2562 ว่ายังมีปัจจัยค่อนข้างลบเยอะ แม้ว่าช่วง 1-2 เดือนแรกของปีจะมีตัวเลขยอดขายเป็นบวก รวมถึงในเดือนมีนาคมต่อเนื่องเมษายนจะมีอิเวนต์ใหญ่ขายรถอย่างงานมอเตอร์โชว์ก็ตาม แต่สิ่งที่ต้องกังวลคือภาวะเศรษฐกิจโลก สงครามการค้า รวมถึงแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศนโยบายคุมเข้มมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งน่าจะมีผลค่อภาวะการขายรถยนต์อย่างมีนัยสำคัญ และมีความกังวลว่าจะส่งผลต่อภาวะการขายในงานมอเตอร์โชว์ช่วงปลายเดือนนี้ เนื่องจากแบงค์ชาติมองว่ามาตรการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมาของสถาบันการเงินต่างๆ อาจหย่อนยานเกินไป โดยพบว่าปี 2561 ที่ผ่านมาสินเชื่อรถยนต์มีอัตราเติบโตสูงสุดในบรรดาสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยเติบโตสูงสุดในรอบ 6 ปี ขณะเดียวกัน หนี้เสียที่ขยับเพิ่มขึ้นด้วยมาอยู่ที่ระดับ 1.66% จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 1.60% เพิ่มเงื่อนไขเงินดาวน์-คนค้ำ แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ตอนนี้การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อรถยนต์อาจต้องลงรายละเอียดลูกค้าแต่ละรายมากขึ้นเนื่องจากยอดขายรถยนต์ใหม่ปีที่ผ่านมาขยายตัวสูงมากทะลุ 1 ล้านคันไปแล้ว ขณะที่ความเหมาะสมของตลาดและกำลังซื้อปริมาณการขายรถควรอยู่ที่ 9 แสน -1 ล้านคันต่อปี แต่ปัจจุบันทะลุ 1 ล้านคันไปแล้ว ดังนั้น สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือดีมานด์เทียม หรือลูกค้ากู้เงินไปแล้วไม่มีความสามารถผอนชำระที่แท้จริง ขณะที่ผู้บริหารสถาบันการเงินบางรายก็ยอมรับว่า แนวโน้มเอ็มพีแอลสินเชื่อรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายค่ายต้องคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อเพื่อไม่ให้เอ็นพีแอลขยายตัว ทั้งนี้ จากความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อดังกล่าว ทำให้ตอนนี้การอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ ช้าลงมาก และจากเดิมที่ซื้อรถอาจไม่ต้องมีคนค่ำประกัน ระยะหลังก็ต้องใช้หรือบีบบังคับให้เพิ่มเงินดาวน์จากเดิมเริ่มต้น 15-20% เพิ่มเป็น 25-30% หรือมีหลักฐานทางการเงินในการขอกู้เพิ่มเติมเพื่อการันตีและรองรับว่าลูกค้ามีศักยภาพในการกู้และสามารถผ่อนชำระได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 มีนาคม 2562