สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

         China will strictly prevent "haphazard investment and redundant development" in the automobile industry, an official from the state planning agency said, apparently referring to proposed rules on automakers' investments in new factory capacity.  Nian Yong, head of the National Development and Reform Commission's Department of Industrial Coordination, said the agency will soon publish and implement a new set of investment rules.  Among other things, the new rules "will restrict industrial investment project management standards, strengthen regulation, prevent haphazard investment and redundant development," he said Saturday.  China is looking to fix seemingly perpetual excess capacity in the country's auto industry, which is showing signs of worsening.  Nian's remarks, which were made during a speech at an automotive industry conference in Tianjin, come as the industry has sought to dial down the proposed NDRC rules, which were published in July in draft form to seek public comment.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 5 กันยายน 2561

 

             นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่าในการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา  ณ กรุงฮานอย กระทรวงพาณิชย์ได้ยกปัญหาเวียดนามใช้มาตรการควบคุมการนำเข้ารถยนต์ซึ่งส่งกระทบต่อการส่งออกและการค้าของไทยในตลาดเวียดนามอย่างมากเพราะมาตรการดังกล่าวกำหนดให้รถยนต์นำเข้าทุกล็อต ทุกแบบ ทุกรุ่น ทุกลำเรือ ต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของท่อไอเสียกับห้องแล็บของเวียดนามซึ่งปัจจุบันยังมีเพียงแห่งเดียว ไม่เพียงพอ ทำให้ต้องรอคิวตรวจและใช้เวลานาน จากที่เดิมไม่มีมาตรการนี้จะใช้เวลาผ่านด่านเพียง 1-3 วัน เมื่อเวียดนามออกมาตรการใช้เวลาเพิ่มขึ้นเป็น 30 วัน    ซึ่งไทยได้เสนอให้จัดทำความตกลงหรือความร่วมมือระหว่างกันเพื่อให้ เวียดนามยอมรับผลการตรวจสอบของไทย และไม่ต้องตรวจซ้ำที่เวียดนาม ซึ่งที่ประชุม JTC ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและระดับเจ้าหน้าที่ให้ไปหารือในรายละเอียดต่อไป
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 5 กันยายน 2561

 

           "สศอ." เร่งเดินหน้าแผน ปรับเปลี่ยน อีโคคาร์ ไปสู่อีโคอีวี คาดราคา ไม่เกิน 7 แสนบาทต่อคัน ด้านสรรพสามิต เตรียมชงอธิบดีคนใหม่เคาะลดภาษี รถยนต์ไฟฟ้าลงอีกครึ่งจูงใจลงทุน      นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยความคืบหน้าการปรับเปลี่ยนแปลงรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล(อีโคคาร์) ไปสู่อีโคคาร์ที่ใช้ พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ อีโคอีวี ว่า นโยบายนี้ จะมีความชัดเจนภายในปีนี้เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนผลิตรถยนต์ที่มีองค์ประกอบยานยนต์ไฟฟ้าไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า 100%        "นโยบายนี้จะช่วยให้ประชาชนส่วนใหญ่ ของประเทศที่มีรายได้น้อยไปถึงปานกลาง ผู้เริ่มทำงาน สามารถซื้อรถยนต์ไฟฟ้า(อีโคอีวี) ได้ ประเมินว่าหากเป็นอีโคคาร์ไฮบริดราคา จะอยู่ระดับ 5-6 แสนบาทต่อคัน ส่วนรถอีโคอีวี ราคาไม่เกิน 7 แสนบาทต่อคัน"
ที่มา :  หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 3 กันยายน 2561
 

 

          A proposed U.S.-Mexico trade deal would allow President Donald Trump to slap punitive tariffs of up to 25 percent on imports of Mexican-made cars, SUVs and auto parts above certain volumes, auto executives and sources said on Tuesday. The United States and Mexico agreed on Monday to overhaul the North American Free Trade Agreement (NAFTA), pressuring Canada to sign up to new auto trade and dispute settlement rules to remain part of the three-way pact. But a previously unreported side agreement between the two countries would allow the United States to pursue "national security" tariffs on annual Mexican car and SUV imports of over 2.4 million vehicles. The side deal would allow national security levies on auto parts imports above a value of $90 billion per year on the same grounds. The administration plans to announce the results of a probe into whether autos and part imports pose a national security risk in the coming weeks
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 29 สิงหาคม 2561

 

     ค่ายรถยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น 3 แห่ง ได้แก่ นิสสัน โตโยต้า และฮอนด้า ต่างกำลังเร่งการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเข้าสู่ตลาดจีน หวังเพิ่มยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในจีน ท่ามกลางความกังวลต่อความไม่แน่นอนของธุรกิจรถยนต์ในสหรัฐ ขณะที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ข่มขู่ว่าจะตั้งภาษี 25% กับรถยนต์นำเข้า    รายงานว่า นิสสันได้เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในจีนเป็นครั้งแรก โดยเป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กรุ่นซิลฟี (Sylphy) ซึ่งถือเป็นรถยนต์รุ่นที่ขายดีที่สุดของนิสสันในจีน ขณะที่ในปีหน้า นิสสันจะเดินหน้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในราคาที่ถูกลง   ด้านโตโยต้าระบุว่า มีแผนที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด จำนวน 10 รุ่น เข้าสู่ตลาดจีนภายในปี 2020 พร้อมตั้งเป้าเพิ่มยอดขายรถในจีนให้ถึง 1.4 ล้านคันในปีนี้ ก่อนหน้านี้ โตโยต้ายังได้วางแผนลงทุน 258 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8,398 ล้านบาท) เพื่อขยายโรงงานในมณฑลเทียนจิน รองรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 1.2 แสนคัน    ขณะที่ฮอนด้าประกาศในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมาว่า จะเปิดตัวแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าในจีน ในชื่อ เอเวอรุส (Everus) ภายในปลายปีนี้
ที่มา :หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์  วันที่ 29 สิงหาคม 2561

 

           นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่าจากการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MIP เป็นบวกติดต่อกัน 15เดือน  สศอ.จะต้องปรับเป้า ปี2561 ใหม่ จากเป้าเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.5-3%   โดย MPI เดือนก.ค. 2561 ขยายตัว 4.64% จากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา แม้จะลดลงจากเดือนมิ.ย. 2561 ที่ขยายตัว 5% แต่ MPI ยังคงขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 จากปัจจัยสนับสนุนการส่งออก เดือนก.ค.ที่ผ่านมามีมูลค่าสูงถึง 20,424 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 8.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีที่ผ่านมา เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 โดยเฉพาะการส่งออกไปญี่ปุ่น สหภาพยุโรป  อินเดีย และอาเซียน  นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากดัชนี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมสูงสุดในรอบ 62 เดือน ส่วนภาพรวม 7 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัว 4.0% เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวเพียง 0.9% เท่านั้น ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนก.ค. 2561 อยู่ที่ 67.3% อุตสาหกรรมที่ส่งผลบวกต่อ MPI ได้แก่ รถยนต์และเครื่องยนต์ น้ำตาลทราย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา :หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 สิงหาคม 2561

 

           Toyota will invest $500 million in Uber to jointly work on developing self-driving cars, the companies said on Monday, a bid by both to catch up to rivals in the hotly competitive autonomous driving business. Toyota and Uber Technologies, the leading ride-hailing service, are widely seen as lagging the competition in developing self-driving cars. The partnership deepens an existing relationship and reflects CEO Dara Khosrowshahi's strategy of Uber developing autonomous vehicles through partnerships, rather than on its own. The deal also breathes new life into Uber's self-driving business. Since a self-driving Uber SUV killed a pedestrian in Tempe, Arizona, in March, Uber has removed its robot cars from the road, laid off hundreds of test drivers and shuttered operations in Arizona, its autonomous testing hub. The investment values Uber at $72 billion, matching the valuation Uber received in a deal with Alphabet self-driving unit Waymo this year.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 28 สิงหาคม 2561

 

              สมาคมผู้ผลิตยานยนต์อินโดนีเซียเปิดเผยยอดการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงครึ่งปี แรก (ม.ค.-มิ.ย. 2561) เติบโตขึ้น 6.35% จำนวน 661,215 คัน จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดจัดจำหน่าย 619,212 คัน   ทั้งนี้ สมาคมผู้ผลิตยานยนต์อินโดนีเซีย ระบุว่า ยอดจัดจำหน่ายยานยนต์ในเดือน ก.ค. 2561 มีจำนวน 107,431 คัน เพิ่มขึ้น 20.54% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปีก่อน     ฟรานซิสคัส โซวโจปาโนโต้ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โตโยต้า-แอสทรา มอเตอร์ กล่าวว่า บริษัทมีการบริหารจัดการเพื่อเพิ่ม ยอดขาย โดยเฉพาะโตโยต้า รัช เอสยูวี ซึ่งมียอดการจัดจำหน่ายเป็น 7,000 คัน ในเดือน ก.ค. 2561 จากยอดการจัดจำหน่าย 5,000 คัน ในเดือน มิ.ย. 2561 สำหรับปัจจัยสนับสนุนยอดการจัดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ รายได้ที่เพิ่มขึ้นของ ประชาชน ความคล่องตัวของการใช้งานรถยนต์มากกว่าระบบขนส่งสาธารณะ ในอินโดนีเซีย นโยบายด้านการจราจร ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ ที่ใช้แรงกระตุ้น จากการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ซึ่งนอกเหนือจากรถยนต์โตโยต้า รัช เอสยูวี ยังมีรุ่นวอกซี่ และอัลพาร์ด ที่ยอดการจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น  ฟรานซิสคัส คาดการณ์ว่า การจัดจำหน่ายรถยนต์จะเพิ่มขึ้นระหว่าง 1.08-1.16 ล้านคัน ในปี 2561 เพิ่มขึ้นจากยอดขาย 1.07 ล้านคัน ในปี 2560
ที่มา :หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์  วันที่ 28 สิงหาคม 2561

 

             นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ได้ปรับเพิ่มเป้าหมายยอดผลิตรถยนต์ในปีนี้ขึ้นอีก 80,000 คัน เป็น 2.08 ล้านคัน แบ่งเป็นตลาดส่งออก 1 ล้านคัน และภายในประเทศ 9.8 แสนคัน โดยยอดขายในประเทศช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา มีการเติบโต 20% มียอดที่ 5.71 แสนคัน “ตอนนี้สัญญาณส่งออกค่อนข้างดีจากตลาดตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นตลาดส่งออกใหญ่มีสัดส่วนถึง 26% ได้หดตัวลงมาเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ยอดส่งออกไปภูมิภาคนี้เหลือ 8% และกลายเป็นตลาดส่งออกหลักของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปอยู่ที่ออสเตรเลีย ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 32% มั่นใจว่าจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนในประเทศแนวโน้มก็ดีขึ้นมาก ปีนี้เราอาจได้เห็นยอดขายในประเทศแตะล้านคัน”  นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธานบริหาร ฝ่ายการตลาดและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ประเมินความต้องการของตลาดปีนี้ น่าจะอยู่ที่ระดับ 1 ล้านคันต่อปี แต่จะสามารถทำได้มากกว่าหรือน้อยกว่านี้นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ภาพรวมของตลาดรถยนต์ถือว่ามีแนวโน้มค่อนข้างดีและมีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะมียอดขายกว่า 1 ล้านคัน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับค่ายรถยนต์
ที่มา หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจหน้า  วันที่ 27 สิงหาคม 2561
 

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th