รถยนต์มายด์ไฮบริด (Mild Hybrid) เล็งปลดเงื่อนไขภาษีสรรพสามิต ไม่จำเป็นต้องผลิตกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 60 โวลต์ ส่งผลอัตราภาษีเท่ากับรถยนต์ไฮบริดที่อัตรา 4% แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผยว่ากระทรวงการคลังเตรียมเสนอปลดล็อคเงื่อนไขภาษีสรรพสามิตของรถยนต์ประเภท มายด์ไฮบริด ที่อาจไม่จำเป็นต้องผลิตกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 60 โวลต์อีกต่อไป การปลดล็อคในครั้งนี้ เนื่องจากจะสามารถได้รับอัตราภาษีสรรพสามิตเท่ากับรถยนต์ไฮบริด คืออัตรา 4% ทั้งนี้ ฟลูไฮบริด จะสร้างกระแสไฟฟ้าเกิน 60 โวลต์และสามารถขับเคลื่อนรถยนต์ด้วยไฟฟ้าได้ การเสนอประเภทรถยนต์ใหม่เป็นมายด์ไฮบริด ดังกล่าว เนื่องจากบางค่ายรถยนต์ ยังมองเห็นว่า รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ยังไม่สามารถทำตลาดได้ในประเทศไทย เนื่องจากยังมีราคาแพงกว่ารถยนต์ที่สันดาปภายในเครื่องยนต์ โดยเฉพาะตัวแบตเตอรี่ที่เก็บกระแสไฟฟ้าราคาเป็นหลักแสนบาท รวมทั้งการชาร์ตไฟต่อครั้งใช้เวลานาน 8 ชั่วโมงจึงเต็ม แต่วิ่งได้เพียง 160 กิโลเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ราคาขายต่อจะตกลงมากกว่ารถที่ใช้น้ำมัน ดังนั้นการทำรถประเภท มายด์ไฮบริด น่าจะเป็นทางเลือกในระหว่างประเทศยังไม่มีความพร้อมที่จะไปสู่รถยนยต์ประเภท EV อย่างเต็มตัว ซึ่งปัจจุบันสถานีเติมไฟฟ้าก็ยังมีไม่แพร่หลาย อย่างไรก็ตามหากอนุมัติให้มีมายด์ไฮบริด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของโครงสร้างภาษีสรรพสามิต โดยให้อัตราภาษีเท่ากับรถยนต์ประเภท ฟลู ไฮบริด คือที่อัตรา 4% อาจทำให้การพัฒนสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ EV ของประเทศไทยสะดุดเนื่องจาก ยังเป็นการส่งเสริมรถยนต์ที่ใช้ระบบสันดาปภายใน ด้วยอัตราภาษีที่ต่ำเท่ากับรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนด้วย EV ไม่สามารถมุ่งสู่ทิศทางที่เป็นแนวโน้มของโลกที่มุ่งสู่รถยนต์ EV ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้สาเหตุที่ค่ายรถยนต์บางค่ายเสนอให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีบีโอไอและกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาเพิ่มประเภทรถยนต์มายด์ไฮบริด นั้นนอกจากปัญหาด้านการตลาดดังกล่าวแล้ว ยังเป็นเรื่องการลงทุนที่สูงกว่าซึ่งค่ายรถยนตยังไม่ต้องลงทุน ซึ่งค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในแระเทศไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวที่กระทรวงอุตสาหกรรมต้องการสนับสนุน และได้เสนอความเห็นมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562
เมื่อวันที่ 30 มกราคม นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า สศอ.ได้เร่งรัดให้มีการบังคับใช้มาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ให้เร็วยิ่งขึ้น หลังเกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่กลายมาเป็นปัญหาใหญ่ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการสะสมของรถยนต์มาตรฐานยูโร 4 กว่า 10 ล้านคัน ปล่อยฝุ่นควันจำนวนมาก โดย สศอ. เตรียมกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ผลิตรถยนต์ใหม่ในประเทศ ต้องผ่านมาตรฐานยูโร 5 เป็นขั้นต่ำภายใน 1-2 ปี หรือเริ่มผลิตมาตรฐานยูโร 5 ทุกคันในปี 2561 และกำหนดให้โครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ต้องผลิตรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานยูโร 6 แนวทางนี้ คาดว่าการยกระดับมาตรฐานตามสหภาพยุโรป (อียู) จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กลงได้ถึง 37,391 ตัน หรือลดลงจากเดิมประมาณ 80% ภายในปี 2564 นายณัฐพลกล่าวว่า แนวทางเร่งรัดคือการประสานกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในการออกมาตรฐานบังคับสำหรับรถยนต์มาตรฐานยูโร 5 ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ รวมทั้งนำเข้ารถยนต์ประมาณ 171 รุ่น การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกัน โดยประชาชนสามารถเลือกซือรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานใหม่ยูโร 5 ขึ้นไปที่ปล่อยมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 เพียง 1 ใน 5 ของมาตรฐานยูโร 4 เดิม และประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานยูโร 5 และยูโร 6 ผ่านฉลากอีโค สติ๊กเกอร์ ที่ติดอยู่บนตัวรถยนต์ หรือสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.car.go.th นายณัฐพลกล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน (ตจว.) ฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562
นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่าการส่งออกรถยนต์ของไทย เริ่มต้องจับตา เนื่งจากลดลงต่อเนื่อง 3 ปีติด ตั้งแต่ปี 59 ติดลบ 1.5% ปี 60 ติดลบ 4.11% ปี 61 ติดลบ 0.08% ส่วนปี 62 ภาคเอกชนประเมินว่า จะติดลบ 3.56% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้ประกอบการค่ารถยนต์ ที่มีการย้ายฐานการผลิตบางสินค้าออกไปในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซียแล้ว อาจจะมาจากข้อเจรจาในประเทศไทยที่ยังไม่ม่ความชัดเจน และสินค้าไทยไม่สอดคล้องกับตลาด ขณะที่ตลาดรถยนต์ในประเทศมีการขยายตัวที่ดีต่อเนื่องในปี 61 ขยายตัว 0.79% ทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยจะพึ่งพาตลาดในประเทศมากขึ้น “ภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์มีการผลิตเพื่อใช้ในประเทศมากขึ้น ทำให้การส่งออกลดลงต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปีแล้วและประเมินว่าในปีนี้จะลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 มาจากผลิตภัณฑ์รถยนต์ของไทยไม่สอดคล้องกับตลาดในต่างประเทศ ซึ่งเราต้องมีมาตรการในเรื่องนี้ออกมา เพราะประเทศไทยมีจุดยืน เป็นฐานการผลิตรถยนต์ของโลก” ส่วนภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือเอ็มพีไอ ทั้งปี 61 ขยายตัว 2.8% ถือว่า อยู่ในกรอบที่วางไว้ทั้งปี จะขยายตัว 2.5-3% ส่วนเดือนธันวาคม่ 61 ขยายตัว 0.75% มีปัจจัยบวกจากภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว ทั้ง รถยนต์ น้ำตาลทราย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจร โซดาและน้ำดื่มบรรจุขวด กระเป๋าเดินทางและกระเป๋าถือ ส่วนอุตาหกรรมที่ดัชนีลดลง คือ ยางรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในส่วนของเครื่องซักผ้า สำหรับในปี 62 คาดว่า ดัชนีเอ็มพีไอ จะขยายตัว 2-3% โดยเดือน มกราคมนี้ มีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ทั้งผลกระทบต่อเนื่องจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐ โดยทั้ง 2 ประเทศกำลังอยู่ระหว่างเจรจาเป็นเวลา 90 วัน จนถึงเดือนมีนาคม นี้ ซึ่งต้องหารือในหลายด้าน สถานการณ์คุณภาพอากาศและฝุ่นละออง ที่เริ่มมีผลกะทบมากขึ้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (บ่าย) ฉบับวันที่ 31 มกราคม 2562
นายณัฐพล รังสิตพล ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) ประจำเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ 112.54 ขยายตัวต่อเนื่องที่ 0.75% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 111.70 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่การผลิตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เอ็มพีไอปี 2561 อยู่ที่ 115.08 ขยายตัว 2.80% ขยายตัวเพิ่มจากปี 2560 อยู่ที่ระดับ 111.94 ที่ขยายตัว 2.50% ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนธันวาคมอยู่ที่ 66.88% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 67.77% และเทียบกับเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 69.31% ซ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 68.4% จากปี 2560 อยู่ที่ 67.12% ภาพรวมภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ขยายตัว 9.65% น้ำตาลทรายขยายตัว 30.46% ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรขยายตัว 6.96% โซดาและน้ำดื่มบรรจุขวดขยายตัว 14.43% กระเป๋าเดินทางและกระเป๋าถือขยายตัว 189.74% ที่เร่งผลิตและส่งมอบช่วงเทศกาลปีใหม่จากคำสั่งซื้อของตลาดในประเทศเป็นหลักที่เพิ่มขึ้น 685.59% แม้ยอดขายรถยนต์เดือนธันวาคม 2561 ที่ 113.581 คัน สูงสุดในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่า เอกชนคาดการณ์ยอดขายในปี 2562 ยอดส่งออกรถยนต์ลดลง ขณะที่ยอกจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานรถยนต์ของไทยไม่สอดคล้องกับมาตรฐานรถยนต์ของต่างประเทศหรือไม่ เนื่องจากแนวโน้มการใช้รถยนต์ทั่วโลก มีทิศทางเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี ที่พัฒนาไปสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นายณัฐพลกล่าวว่า อาจจะมีผลกระทบต่อเป้าหมายที่ไทยจะเป็นฐานการผลิตรถยนต์ของโลก อีกทั้งล่าสุด สินค้าที่โดดเด่น (โปรดักส์ แชมป์เปี้ยน) ได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศมาเลเซียและเวียดนามแล้ว ไทยจึงต้องพิจารณาว่าสินค้าที่ส่งออกลดลง เป็นไปตามความต้องการของตลาดโลกหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สศอ.ยังคงคาดการณ์ เอ็มพีไอปี 2562 อยู่ที่ 2-3% ผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) อุตสาหกรรมคาดอยู่ที่ 2-3%
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ 30 มกราคม 2562
ก.ล.ต.สหรัฐเปิดฉากสอบนิสสัน กรณีความถูกต้องของค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูง บลูมเบิร์ก รายงานอ้างว่าแหล่งข่าวว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (เอสอีซี) กำลังสอบสวนบริษัท นิสสัน มอเตอร์ ค่ายรถใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารระดับสูงในสหรัฐ ว่าเข้าข่ายละเมิดกฎหมายหลักทรัพย์ของสหรัฐหรือไม่หลังเกิดเรื่องอื้อฉาวจากกรณี คาร์ลอส กอส์น อดีตประธานนิสสัน ถูกจับกุมตัวเนื่องจากประพฤติผิดร้ายแรงด้านการเงิน แหล่งข่าวระบุว่า เอสอีซีกำลังสอบสวนนิสสันใน 2 กรณี คือเปิดเผยค่าตอบแทนที่นิสสันจ่ายให้ผู้บริหารมีความถูกต้องหรือไม่ และบริษัทมีมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันการจ่ายเงินที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวหือไม่ โดยขณะนี้การสอบสวนดังกล่าวยังอยู่ในขั้นต้นเท่านั้น ด้าน คริสตินา อดัมสกี โฒษกของนิสสัน ได้ออกม่ยืนยันว่า นิสสันกำลังถูกสอบสวนจากเอสอีซีจริง และบริษัทก็ได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งหลังข่าวนี้ได้เผยแพร่ออกไป หุ้นของนิสสันได้ร่วงลงมากถึง 2.7% ระหว่างการซื้อขายวานนี้ นับเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์ ทั้งนี้หุ้นนิสสันซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐผ่านใบรับฝากหุ้นที่ออกดดยสถาบันการเงินในสหรัฐ (เอดีอาร์) ทำให้เอสอีซีมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบได้ แม้กรณีของนิสสันส่วนใหญ่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นและยุโรป แต่แหล่งข่าวเกี่ยวข้องเปิดเผยว่าเอสอีซีอาจสามารถลงโทษทางการเงินและมีคำสั่งห้ามมิให้ละเมิดกฎหมายของสหรัฐหรือกฎของเอสอีซีได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 29 มกราคม 2562
ประเทศไทยถือว่ามีความสามารถก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนสำหรับความจริงจังและการดำเนินการเพื่อให้เกิดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง นี่คือคำยืนยันที่ชัดเจนของ นายวิเวก ไวทยะ ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน จำกัด ที่กล่าวในงานสัมมนาทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าปี 2562 จัดโดย บีเอ็มดับเบิ้ลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ย้ำให้เห็นถึงการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยและภาคเอกชน ที่มีความพยายามขับเคลื่อนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ไปในทิศทางเดียวกับกระแสอุตสาหกรรมยานยนต์โลก ยิ่งถ้ามองจากนโยบายและการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมแล้วในหลายๆประเทศอาเซียนนั้น เป็นการสร้างในเชิงของนโยบายมากกว่า แต่ขณะที่ประเทศประเทศไทยนั้นแอดวานซ์กว่าประเทศอื่นและเป็รอีกหนึ่งความท้าทายของประเทศไทย ทั้งนี้ เชื่อว่าอนาคตทิศทางของรถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์การขยายตัวของภาครัฐจะเห็นได้ชัดเจนว่าวันนี้แม้ยังคงมีความไม่สอดคล้องกันระหว่างสถานีชาร์จไฟและจำนวนของรถยนต์ไฟฟ้า แต่จากความตื่นตัวของค่ายรถยนต์ ภาคเอกชนที่ได้เริ่มมการลงทุนในส่วนของสถานีชาร์จ ไม่ว่าจะเป็นค่ายอีเอ เอนี่แวร์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ หรือบีเอ็มดับเดิลยู ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะเพิ่มการลงทุนในส่วนนี้ เชื่อว่าความต้องการของตลาดรถยนต์เมืองไทยในปีพ.ศ. 2561 อยู่ที่ 1.050 ล้านคันแบ่งเป็นรถปิกอัพ 560,700 คัน รถยนต์ 489,300 คัน เป็นเป้าหมายภายใต้ปัจจัยบวกที่มีการเติบโตของจีดีพที่ระดับ 4.3% ภาคอุตสาหกรรมการส่งออกและการลงทุนของภาครัฐ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างรถยนต์ไฟฟ้าความเร็วสูง รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวน่าจะเป็นปัจจัยบวกที่ดี ตลาดโดนรวมมีทิศทางที่ดี แต่ทั้งนี้ก็ยังคงต้องจับตาภาวะหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นด้วย
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 มกราคม 2562
นักวิชาการมั่นใจการเปลี่ยนเทคโนโลยีรถยนต์ไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า กระทบฐานการผลิตในไทยไม่มากเชื่อไทยยังคงเบอร์ 1 ในอาเซียน เผยนโยบายอีโคอีวีของรัฐบาลมาถูกทางช่วยให้รถยนต์ไฮบริดราคาถูกลง กระตุ้นลงทุนผลิตชิ้นส่วนสำคัญในไทย นายเกรียงไกร เตชกานนท์ อาจารย์ประจคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อนวัตกรรมพลิกโลก แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์และเปลี่ยนผ่านสู่ New S-Curve โดยระบุว่าทิศทางเทคโนโลยียานยนต์ที่จะก้าวไปเป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริดที่ผสมผสานระหว่างเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันและมอเตอร์ไฟฟ้า และชาร์ตไฟฟ้าได้ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าจะไปในทิศทางใด การเข้ามาของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า จะกระทบกับอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมไม่มาก เพราะบริษัทยานยนต์ส่วนใหญ่ล้วนแต่มีเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าของตัวเองและได้เตรียมการสำหรับทิศทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ไว้แล้ว แต่ค่ายเล็กที่ไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าของตัวเอง อาจจะได้รับผลกระทบมากกว่า นอกจากนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของตัวเอง อาจจะได้รับผลกระทบมากกว่า นอกจากนี้อุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นต้องใช้ส่วนประกอบจำนวนมาก แม้จะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนบางประเภทอาจจะหายไป เช่น ชิ้นส่วนส่งกำลังเครื่องงยนต์ แต่ส่วนใหญ่ที่เป็นตัวถังยังคงไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากราคาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญแล้วรถยนต์ยังเป็นสินค้าที่ต้องมีการบำรุงรักษา ผู้จำหน่ายรถยนต์จำเป็นต้องสร้างศูนย์บริการที่ครอบคลุมเพียงพอในตลาดที่จำหน่ายจึงจะจำเป็นต้องสร้างศูนย์บริการที่ครอบคลุมเพียงพอในตลาดที่จำหน่ายจึงจะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้ากลุ่มผู้ผลิตเดิมที่เป็นเจ้าตลาดได้มีการขยายเครือข่ายและลงทุนในศูนย์บริการไว้ค่อนข้างครอบคลุม ดังนั้นการเข้าตลาดของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหม่ยังนับว่ามีอุปสรรคอยู่พอสมควร
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 มกราคม 2562
เอสจีซี ออโต้แก๊สเอนเนอร์จี รีฟอร์มแนะรัฐจริงจังกับการแก้ปัญหาฝุ่นควันเผยนำร่องรถในหน่วยงานราชการทุกคันให้เป็นมอตรกับสิ่งแวดล้อมก่อนชี้รถสาธารณะต้องใช้พลังงานสะอาด “เอ็นจีวี” นายอภิสิทธิ์ ธนาดำรงศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี ออโต้แก๊ส จำกัด ผู้ให้บริการติดตั้งก๊าซรถยนต์รายใหญ่ เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าปัจจุบันแม้ความต้องการติดตั้งก๊าซเอ็นจีวีหรือซีเอ็นจี สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปจะลดลงไปมาก จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รถยนต์รุ่นใหม่ ประหยัดน้ำมันมากขึ้น ทั้งอีโคคาร์และปิกอัพ แต่การแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นควันโดยเฉพาะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพรัฐบาลต้องจริงจัง “เรายอมรับว่าตลาดหดตัวลงเยอะจากลูกค้าหลายร้อยคันต่อเดือน ตอนนี้เหลือเป็นหลักสิบ ทำให้ตอนนี้เราได้ลดขนาดของธุรกิจติดตั้งก๊าซรถยนต์ลงให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของตลาด และหันไปทำตลาดโดยเจาะกลุ่มลูกค้ารถตู้ หรือรถโดยสารสาธารณะรวมทั้งกลุ่มลูกค้าที่มีความชื่นชอบและพอใจกับการใช้ก๊าซติดรถยนต์เป็นหลัก โดยมีลูกค้าเข้ามารับการติดตั้งเฉลี่ยเดือนละ 20-30 คัน นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ช่วงที่เกิดวิกฤตหมอกควันฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานนั้น อยากแนะภาครัฐควรรณรงค์ให้หลายภาคส่วนหันมาใช้รถยนต์พลังงานทางเลือกก๊าซเอ็นจีวีให้มากขึ้น ควรกำหนดเป็นนโยบายให้รถโดยสารสาธารณะ,รถของหน่วยงานราชการ,รถตู้ หรือแท็กซี่ ต้องใช้พลังงานทางเลือก หรือก๊าซเอ็นจีวีในการขับเคลื่อนอย่างจริงจังเพื่อช่วยลดปัญหา
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 มกราคม 2562
โตโยต้าประเมินตลาดรวมรถยนต์ปีนี้ 1 ล้านคันติดลบ 3.8% เหตุมาตรการกระตุ้นยอดขายลดความร้อนแรงหวั่นปัจจัยลบอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ไฟแนนซ์เข้ม สงครามการค้าจีน-สหรัฐบานปลายเร่งแผนผลิตแบตเตอรี่ไฮบริดเดือน พ.ค. พร้อมศึกษาความพร้อมโครงการลงทุนปลั๊กอินไฮบริด – อีวี ต่อเนื่อง บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถานการณ์ตลาดรถยนต์โดยระบุว่าปี 2561 ที่ผ่านมา ตลาดยอดขายมากกว่า ล้านคันเป็นครั้งที่ 3 ในประวัติศาสตร์โดยทำได้ 1.039 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 19.2 % จากปีก่อนหน้า โดยสิ่งที่สนับสนุนการเติบโตมาจากหลายปัจจัย ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ผลักดันให้ จีดีพี เติบโต 4.2 % จากการประเมินของธนาคารปห่งประเทศไทย ณ วันที่ 2 มกราคม ปีนี้และผลมาจากที่บริษัทรถยนต์มีมาตรการส่งเสริมการขายจำนวนมากผ่านทางแคมเปญที่หลากหลายโดยเฉพาะเงื่อนไขทางการเงิน ทั้งการดาวน์ต่ำ ผ่อนชำระยาวนาน และอัตราดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงกิจกรรมการตลาดอื่นๆและการมีสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดตลอดทั้งปี ประเมินตลาดรถยนต์ปีนี้ 1 ล้านคัน นายมิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า เมื่อแบ่งเป็นประเภท พบว่ารถยนต์นั่งมียอดขายรวม 3.97 แสนคัน เพิ่มขึ้น 14.8% รถเพื่อการพานิชย์ (รวมรถปิกอัพ) 6.41 แสนคัน เพิ่มขึ้น 22.1% และปิกอัพ 4.47 แสนคัน เพิ่มขึ้น 22.6% ส่วนแนวโน้มตลาดปีนี้ประเมินว่าใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยติดลบเล็กน้อย 3.8% ด้วยยอดขาย 1 ล้านคัน โดยรถยนต์นั่งคาดว่าทำได้ 3.84 แสนคัน ลดลง 3.2% รถเพื่อการพานิชย์ (รวมปิกอัพ) 6.15 แสนคัน ลดลง 4.1% และรถปิกอัพ 4.3 แสนคัน ลดลง 3.7% การประเมินว่าตลาด 1 ล้านคันซึ่งเป็นระดับที่สูง เพราะเห็นว่าการลงทุนภาครัฐบาลมีความชัดเจนและต่อเนื่อง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชน รวมถึงการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ แต่การที่มองว่าติดลบเล็กน้อยเนื่องจากยอดขายในปีที่ผ่านมามีการเติบโตสูงจากแรงกระตุ้นด้านต่างๆจำนวนมาก แต่ปีนี้ความร้อนแรงเหล่านั้นอาจจะลดลง การประเมินดังกล่าวคำนึงถึงปัจจัยลบที่อาจจะเกิดขึ้นรวมเอาไว้แล้ว แต่ถ้าทุกอย่างดี ก็มีความเป็นไปได้ที่ยอดขายจะศุงกว่า 1 ล้านคัน เหมือนกับที่ปี 2561 ที่ช่วงต้นปี โตโยต้าประเมินไว้แค่ 9 แสนคันเท่านั้น แต่เมื่อสิ้นปี ก็พบว่าตลาดขยายตัวเกินกว่าที่คาดไว้
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 มกราคม 2562