อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีมูลค่าถึง 5.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทั้งจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนแนวโน้มเทคโนโลยีแต่จุดยืนที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ การส่งเสริมการผลิตและใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเพื่อให้เกิดการจ้างงาน เกิดการถ่ายถอดเทคโนโลยีรวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรืออุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry ) นี่คือภารกิจหลักที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาวอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยึดถือมาโดยตลอด เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเปิดรับทุกเทคโนโลยีจากทุกภูมิภาคเรายังต้องเรียนรู้เทคโนโลยีจากต่างประเทศที่หลากหลายเหล่านั้น รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมมีความเห็นตรงกันว่า ควรเปิดโอกาสให้มีการถ่ายถอดเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาในประเทศในรูปแบบอื่น เพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) เพื่อขีดความสามารถในการแข่งขันและต่อยอดการเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกในประเทศไทยแม้ไม่มีรถยนต์แห่งชาติก็ตาม จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีแผนพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเดิม ที่มีศักยภาพ (First S-Curve) และ 5 อุตสาหกรรมในอนาคต (New-S-Curve) และหนึ่งข้อสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ก็คือ The Next Generation Automotive Industry หรืออุตสาหกรรมยานยนต์สมันใหม่ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัฃญในการพัฒนาต่อยอดไปเป็น New S-Curve หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมนั้นเอง โดยภาพรวมขณะนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยมีความพร้อมมาก และมองเห็นว่า EEC เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงและมีความเหมาะสมหลายด้าน อาทิ เป็นที่ตั้งของผู้ผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญอละอุตสาหกรรมสนับานุนต่างๆจำนวนมาก รวมถึงศักยภาพด้านโลจิสติกส์ เช่น ท่าเรือน้ำลึกที่สามารถขนส่งรถยนต์หรือชิ้นส่วนต่างๆในปริมาณมากได้ รวมไปถึงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (Automatic and Tyre Testing Research and Innovation Center – ATTRIC ) ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ณ บริเวณเขตสวนป่าลาดกระทิง อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นศูนย์ทดสอบกลาง ให้บริการทดสอบและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และยางล้อตามาตรฐานสากล อีกทั้งช่วยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ สมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 มกราคม 2562
รัฐบาลฝรั่งเศสให้แจ้งกับญี่ปุ่นว่า จะหาทางทำให้เกิดการรวบกิจการกันระหว่าง เรโนลต์ – นิสสัน ภายหลัง คาร์ลาส โกส์น อดีตประธานนิสสันถูกแดนอาทิตย์อุทัยจับกุมอย่างสุดช็อค รายงานข่าวของสื่อญี่ปุ่นหลายรายที่ระบุในวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2562 โกส์นซึ่งเป็นผู้นำที่มีชื่อเสียงที่โด่งดังคนหนึ่งในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ของโลก เคยเป็นหัวหน้าของกลุ่มพันธมิตระหว่าง เรโนลต์ แห่งฝรั่งเศสและนิสสันกับมิตซูบิชิ แห่งญี่ปุ่น ก่อนที่เค้าจะถูกจับกุมอย่างกระทันหันขณะกลับมาถึงท่าอากาศยานกรุงโตเกียวในเดือนพฤศจิกายน ด้วยข้อหามีความประพฤติมิชอบทางการเงิน เวลานี้เค้ายังคงถูกคุมขังอยู่ โดยทีทั้งบอร์ดของนิสสันและมิตชูบิชิต่างมีมติปลดโกส์นออกจากตำแหน่งประธาน ขณะที่เรโนลต์ยังคงให้เค้าอยู่ในตำแหน่งประธานและซีอีโอของตนต่อไปเพียงแต่ตั้งผู้รักษาการแทน สำนักข่าวโตเกียวในประเทศญีปุ่น รายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวหลายรายที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้ว่า คณะผู้แทนของฝ่ายฝรั่งเศส ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ มาร์แตง เวียล กรรมการบริหารคนหนึงของบริษัท เรโนลต์ ที่ทางรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งชื่อเข้าไป ได้เสนอการควบรวมดังกล่าวในระหว่างการเจรจากับพวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว ในโครงสร้างผู้ถือหุ้นของเรโนลต์ รัฐบาลฝั่งเศสคือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดโดยถือครองในสัดส่วนมากกว่า 15% ขณะเดียวกันเรโนลต์ก็เป็นเจ้าของหุ้นนิสสันอยู่ 43.4% ดดยเป็นหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงด้วย เกียวโดบอกว่า การควบรวมกิจการระหว่างเรโนลต์กับนิสสันนี้ ทางประธานาธิบดีเอมมานูแอล มาครอง ของฝรั่งเศส ก็ได้แสดงความชื่นชอบ ทางด้าน นิกเกอิ หนังสือพิมพ์ธุรกิจทรงอิทธิพลของญี่ปุ่น ได้รายงานข่าวขณะผู้แทนฝรั่งเศสเสนอเรื่องการควบรวมนี้เช่นกัน ดดยระบุด้วยว่านิสสันคัดค้านเรื่อยมาต่อการที่จะให้ฝ่ายฝรั่งเศสมีอำนาจในการกำหนดทิศทางของอนาคตเหนือนิสสัน บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันทำยอดขายได้สูงกว่าเรโนลต์มาก ตามข่าวนิกเกอิ คณะผู้แทนแดนน้ำหอมยังบอกด้วยว่า เรโนลต์ต้องการที่จะเสนอชื่อแต่งตั้งประธานคนใหม่ของนิสสัน ซึ่งตอนนี้ยังคงว่างอยู่หลังจากการปลดโกส์น มีรายงานว่า เมื่อเดือนที่แล้ว มาครงได้เจรจาหารือกับนายกรัฐมลตรีชินโอ อาแบะ ของญี่ปุ่น ในการประชุมข้างเคียงของซับมิตกลุ่ม จี 20 ที่กรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของอาเจนตืนา โดยที่ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องกันเพียงแค่รับประกันให้ภายในกลุ่มพันธมิตร เรโนลต์-นิสสัน-มิตซูบิชิ ยังคงความสัมพันธ์ที่มีความเสถีนรภาพ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 21 มกราคม 2562
นิสสันรอบีโอไอเคาะส่งเสริมการลงทุน มั่นใจฐานผลิตไทยคุณภาพสูง ล่าสุดฉลองส่งออกครบ 1 ล้านคัน นายยูตากะ ชานาดะ รองประธานอาวุโสของนิสสันเอเซียและโอเชียเนีย เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตรถยนต์ที่มคุณภาพระดับโลก และยังสามารถผลิตพร้อมทั้งส่งกลับไปยังประเทศญี่ปุ่นได้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ไทยเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) นอกญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก จากศักยภาพดังกล่าวที่มีของไทย โดยคาดว่าจะผลิตเพื่อรองรับตลาดในประเทศและรองรับการส่งออกในอนาคต “เราได้มีการพิจารณาจริงภายในบริษัท แต่ขณะนี้อาจจะยังไม่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกได้ ซึ่งเร็วๆนี้จะมีคำตอบที่กระจ่างชัด” นายชานาดะกล่าว นอกจากนี้ในช่วงสิ้นปีพ.ศ. 2560 บริษัทได้ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในส่วนของเทคโนโลยีไฮบริด ซึ่งบริษัทจะมีการนำเสนอเทคโนโลยีไฮบริด ซึ่งบริษัทจะมีการนำเสนอเทคโนโลยีอี-เพาเวอร์ ลงสู่ตลาด นายอันดวน บาร์เตส ประธานนิสสัน มอเตอร์ ประทศไทย กล่าวว่า การสิ้นสุดระยะเวลาขอรับส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในส่วนของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2561 ที่ผ่านมานั้นบริษัทได้ทำงานร่วมกับบีโอไออย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ซึ่งจะต้องรอการประกาศจากบีโอไอในเร็วๆนี้ สำหรับเทคโนโลยีรถอีวีในต่างประเทศของนิสสัน มีเทคโนโลยีที่พร้อมนำเสนอสู่ตลาดในรถนต์ทุกประเภท ซึ่งบริษัทมองว่าเทคโนโลยี อี-เพาเวอร์เป็นเทคโนโลยีเชื่อมโยงระหว่างเครื่องยนต์สันดาปภายในกับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ขณะที่การสนับสนุนของรัฐบาลเพื่อให้เทคโนโลยีรถอีวีเกิดขึ้นในไทยนั้น มีการส่งเสริมในภาคผู้ผลิตจากการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ แต่ในแง้ของผู้บริโภคนั้นยังไม่มีความชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ช่องทางพิเศษสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ที่จอดรถพิเศษ เป็นต้น นายบาร์เดส กล่าวว่า การสนับสนุนที่ส่งผลให้ตลาดอีวีเกิดขึ้นนั้นจะต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ 1 ภาคผู้ผลิต และ 2. ภาคผู้บริโภค ซี่งไทยได้ส่งเสริมภาคผู้ผลิตแล้ว แต่ถ้าหากมีการส่งเสริมในภาคผู้บริโภคจะยิ่งสนับสนุนให้ตลาดตลาดเกิดขึ้นโดยเร็ว โดยอาจจะต้องทำทั้งสองส่วนควบคู่กันไป ด้านยอดขายปีงบประมาณ 2561 (มี.ค. 2561 – เม.ษ. 2562) ของบริษัทคาดว่าจะเติบโตเหนือการคาดการณ์เดิมที่จะมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 6.9% เพิ่มขึ้นเป็น 7.5% จากสภาพรวมตลาดเติบโตและความมั่นใจของผู้บริโภค รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจเติบโต ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทได้จัดงานฉลองความสำเร็จในการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกรถยนต์ครบ 1 ล้านคัน นับตั้งแต่เริ่มส่งออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยตลาดที่ส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ตามลำดับ และในปีงบประมาณ 2561 บริษัทติดอันดับ 1 ใน 5 ของผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์ของอุตสาหกรรม
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 18 มกราคม 2562
“สมอ.”หนุนผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยตอบโจทย์อุตฯเป้าหมาย สนามทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ จ.ฉะเทริงเทรา เปิดดำเนินการไตรมาส 3 ปีนี้ช่วยไทยรักษาแชมป์ศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในอาเซียน ก้าวพ้นผู้รับจ้างผลิตไปสู่ผู้วิจัยพัฒนาและออกแบบรถยนต์ด้านผู้ผลิตยางล้อเผย ช่วยลดต้นทุนทดสอบกว่า 30% หนุนเพิ่มใช้ยางในประเทศ นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยหลังเป็นประธานรับมอบใบรับรองสนามทดสอบยางล้อตามาตรฐาน UNR117 จาก Applus+ IDIADA ประเทศสเปน ว่าศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติได้รับใบรับรองสนามทดสอบมาตรฐาน UNR117 และผิวสนามทดสอบเสียง ตามมาตรฐาน ISO 10844 : 2014 ทำให้สนามทดสอบแห่งนี้ได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ เฟส 1 จะเปิดบริการในไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งจะให้บริหารทดสอบยางล้อมาตรฐาน UN R117 ที่เป็นมาตรฐานบังคับในปลายปีนี้ จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมยางล้อของไทยให้สูงขึ้นมีความปลอดภัยขึ้นและทำให้ต้นทุนการวิจัยพัฒนายางล้อรุ่นใหม่ลดลง ส่วนในเฟสที่ 2 ก็จะก่อสร้างทันที่ และศูนย์ทดสอบยานยนต์แห่งนี้จะเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2564 “ศูนยน์ทดสอบยานยนต์ฯแห่งนี้ จะเป็นสนามที่ได้รองรับมาตรฐานสากลแห่งแรกในอาเซียน จะช่วยดึงดูดการลงทุนด้านการวิจัยพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ และยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ และยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ช่วยเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้แข็งแกร่ง และเป็นแหล่งลงทุนของทั้งผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ” หนุนวิจัยชิ้นส่วนยานยนต์ นายสมชายกล่าวว่า 50 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้เติบโตตามแผนที่รัฐบาลวางไว้ จนในปัจจุบันไทยเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่แข็งแร่งที่สุดในอาเซียน มีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ใกล้เคียงกับการส่งออกรถยนต์ทั้งคัน สิ่งนี้จะเป็นจุดแข็งของไทยในอนาคต ซึ่งการที่ไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งห่วงโซ่การผลิต จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมดึงดูดการวิจัย พัฒนาออกแบบและพัฒนายานยนต์แบบเข้ามาในไทยและศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯแห่งนี้เป็นเครื่องจักรสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ ส่วนการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ หลังจากการก่อสร้างเสร็จจะมอบมายให้สถาบันยานยนต์และบริษัทตรวจสอบรับรองมาตรฐานยานยนต์และล้อยาง ต่างประเทศ เข้ามาร่วมบริหารจัดการ เพราะบริษัทผู้เชี่ยวชาญต่างชาติมีมาตรฐานการทดสอบที่เป็นมาตรฐานสากล มีความเป็นกลางที่ทั่วโลกให้การยอมรับรวมทังภายในศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ ยังมีอาคารปฎิบัติการวิจัย ที่เปิดให้บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ต่างๆ ก็จะเข้ามาตั้งศูนย์วิจัยในบริเวณนี้
นายชาญชัย ตระการอุดมสุข ประธานบริหาร บริษัทมาด้าเซลล์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่าในปี พ.ศ. 2562 บริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายไว้มากกว่า 75000 คัน หรือเติบโตประมาณ 5-10% และมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 6.7% เป็นอันดับ 3 ของตลาดรถยนต์นั่งแบบมั่นคงซึ่งเติบโตต่อเนื่องจากปีพ.ศ. 2561 ที่ถือว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจสามารถทำยอดขายได้สูงสุดถึง 70000 คัน เติบโตถึง 37% นับว่าเป็นการเติบโตสูงสุดของมาสด้าทั่วโลก และส่งผลให้ในระยะ 5 ปี มาสด้ามียอดขายสะสมในไทยรวม 2 แสนคัน ผลักดันให้ไทยเป็นตลาดหลักที่สำคัญ “ในปีพ.ศ. 2561 ตลาดรถยนต์แข่งขันสูงมาก แม้มาสด้าจะไม่มีรถยนต์รุ่นใหม่มาทำตลาดเลย มีแต่รุ่นปรับโฉม แต่สร้างยอดขายและทำลายสถิติ มาจากลูกค้ามั่นใจในตัวสินค้าทุกรุ่น โดยมาสด้า 2 ทำยอดขายให้ได้มากที่สุด 45,972 คัน เติบโตถึง 45% ตลอดจนกิจกรรมการตลาดที่เข้าถึงทุกพื้นที่ ในปีพ.ศ. 2562 ถือเป็นปีทอง ที่จะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้ามาทำตลาดรวม 6 รุ่น มีทั้งรุ่นใหม่และรุ่นปรับโฉม อาทิ CX 8 , CX 3 และมาสด้า 3 ที่มาพร้อมรูปลักษณ์ดีไซต์จากไคโดะดีไซต์ เจเนอเรชั่น 2 และเทคโนโลยีสกายแอ๊กทีฟ” ส่วนภาพรวมตลาดรถยนต์ในปีนี้ จะเติบโตเล็ดน้อย หรือทรงตัวประมาณการที่ 1.03-1.06 ล้านคัน จากปีที่แล้วยอดขายรวมทั้งปี 1,040,000 คัน เติบโต 19% ความเสี่ยงที่น่ากังวล สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และภาระหนี้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น มีผลต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ในขณะที่การเลือกตั้งมองว่าเป็นปัจจัยบวกที่จะส่งผลดีด้วย นายธีร์ เพิ่มพงษ์พันธ์ รองประธานบริหารฝ่ายการตลาดและรัฐกิจ สัมพันธ์ มาสด้าเซลล์ กล่าวว่า ปีนี้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับการสร้างแบรนด์สไตล์ของมาสด้า สื่อสารให้ครบทุกช่องทาง โดยเฉพาะออนไลน์ ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่ปูทางไปสู่การมาของรถยนต์มาสด้าเจเนอเรชั่นที่ 7 มาสด้ายังเดินหหน้าสู่นโยบาย Sustainable Zoom-Zoom 2030 โดยในปีค.ศ. 2030 รถยนต์ทุกรุ่นของมาสด้าจะเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว
ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 61 พุ่ง 1.6 พันโครงการ มูลค่ากว่า 9 แสนล้านบาทสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 25 เป็นคำขอลงทุนในพื้นที่อีอีซีกว่า 6.8 แสนล้าน ค่ายรถยนต์แห่ยื่นขอลงทุนผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการทำงานและการลงทุนในปี 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า บีโอไอได้รายงานสถานการณ์การลงทุนในปี 2561 ที่ผ่านมา มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 1,626 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 901,770 ล้านบาท สูงกว่าปี 2560 โดยจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 ทั้งนี้ยอดคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในปี 2561 มีมูลค่า 720,000 ล้านบาท ร้อยละ 25 โดยภาพรวมของโครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 2561 พบว่าอย่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 84 หรือมูลค่าการลงทุนกว่า 758,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ( New S-curve) ได้แก่ ดิจิทัลการแพทย์ ปิโตเคมีและเคมีภัฒฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติและอากาศยาน เงินลงทุนรวม 539,000 ล้านบาท และ 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม (First S-curve) ได้แก่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ท่องเที่ยว และอาหารแปรรูป เงินลงทุนรวม 219,000 ล้านบาท ในช่วงไตรมาตรสุดท้ายของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกลุ่มยานยนต์หลายรายมายื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี ซึ่งมาตรการส่งเสริมจะสิ้นสุดในปี 2561 จึงทำให้มูลค่าคำขอในปีที่ผ่านมาสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงร้อยละ 25 นาย สมคิด กล่าว สำหรับการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี พบว่า มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 422 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนในพื้นที่จังหวัดชลบุรีมากที่สุดจำนวน 193 โครงการ เงินลงทุนรวม 576,910 ล้านบาท ตามด้วยจังหวัดระยอง 156 โครงการ เงินลงทุนรวม 58,700 ล้านบาทและจังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน 73 โครงการ เงินลงทุนรวม 48,300 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ส่งหนังสือไปยังผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ หรือเกรย์มาร์เก็ต 120 ราย ซึ่งครอบครองรถนำเข้ามากกว่า 5,000 คัน ให้นำรถยนต์นำเข้ามาตรวจสอบเพื่อขอใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. ด้านมลพิษเทียบเท่ากับมาตรฐานกลุ่มประเทศยุโรประดับยูโร 4 ก่อนที่จะขายให้ผู้ที่ต้องการซื้อ เนื่องจากผู้ที่ผ่านมามีผู้นำเข้าบรถยนต์อิสระหลายรายไม่นำรถยนต์มาตรวจสอบขอใบอนุญาตถือว่าผิดกฎหมายหากว่าใน 30 วันยังไม่นำเอกสารหรือนำรถเข้ามาตรวจสอบ ถือว่าฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับและจะส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินคดีเพราะอาจเข้าข่ายฟอกเงิน “ผู้ประกอบการนำรถมาตรวจสอบเพียง 1,000 คันจากทั้งหมด 5,000 กว่าคัน ทั้งที่ขั้นตอนกาตรวจสอบระบบใหม่มีความสะดวกขึ้นมากและมีค่าใช้จ่ายใบอนุญาตคันละ 3,000 บาท ค่าทดสอบมลพิษ 50,000 บาท ซึ่งใช้เวลาไม่นาน บางรายก็อ้างว่าปล่อยรถออกไปแล้วตามกลับมาไม่ได้ ทั้งที่ผิดเงื่อนไขตั้งแต่ต้นเรื่องที่ไม่ขอใบอนุญาต
อธิบดีกรมสรรพสามิตเผย อยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ผลิตรถยนต์ประเภท “มายไฮบริด” ดดยกระทรวงอุตสาหกรรมผู้เสนอ ระบุ เพื่อสร้างตลาดรถยนต์อีวี ให้เกิดในประเทศในอนาคต นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอให้กรมสรรพสามิตพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ค่ายรถยนต์ที่ผลิตรถยนต์ประเภท Mild Hybrid เพื่อเป็นการสร้างตลาดรถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในอนาคตซึ่งกรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า ข้อเสนอเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่รถยนต์ประเภท Mild Hybrid นั้น ต้องการอัตราภาษีเท่ากับ Hybrid ที่ได้รับจากบีโอไอ ซึ่งได้อัตราภาษีสรรพสามิตในอัตรา 4% ซี่งมาจากการผลักดันของค่ายรถยนต์ค่ายหนึ่งในประเทศที่ยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะผลิตรถไฟฟ้าได้ซึ่งหากลดภาษีให้ในอัตราที่ 4% จะทำให้อัตราเท่ากับรถ Hybrid และต่ำกว่ารถ Eco car ที่เก็บภาษีในอัตรา 12-14% ทั้งนี้เงื่อนไขของกรมสรรพามิตรถยนต์ Hybrid ที่ได้รับการส่งเสริม BOI และได้อัตราภาษีที่ 4% คือจะต้องสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยภายใน 5 ปี นับจากวันที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ทำตามเงื่อนไขจะถูกเก็บภาษีปกติย้อนหลังจนถึงวันแรกที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ปัจจุบันมีค่ายรถยนต์ 2-3 ค่ายที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มได้รับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป
ที่มา: : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 11 มีนาคม 2559
สมาคมรถยนต์โดยสารจีน (พีซีเอ) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในจีนเมื่อปีพ.ศ. 2561 อยู่ที่ 22.7 ล้านบาท ลดลง 6% จากปีก่อนหน้า และเป็นยอดขายที่ลดลงครั้งแรกในรอบมากกว่า 2 ทศวรรษ เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เช่นเดียวกับความนิยมของบริการเรียกรถรับส่งก็ฉุดยอดขายรถเช่นกัน เลขาธิการพีซีเอ กล่าวว่า แรงกดดันต่อผู้ผลิตรถยนต์กำลังเพิ่มขึ้น ยอดขายรถยนต์ที่ซบเซาจะยิ่งสร้างแรงกดดันต่อผู้เล่นที่ไม่มีความสามารถในการแข่งขัน และคาดว่าค่ายรถบางแห่งอาจทิ้งตลาดจีนในปีหน้า ตามรอบซูซูกิ มอเตอร์ ที่ขายกิจการร่วมกาค้าแห่งสุดท้ายในจีนให้พันธมิตรท้องถิ่นเมื่อปีท่แล้ว โกลด์แมน แชคส์ กรุ๊ป คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในจีนอาจจะลดลงอีก 7% ในปีนี้ หลังจากตลาดรถจีนซบเซาต่อเนื่องหลายไตรมาสติดต่อกัน โดยคาดการณ์ว่ายอดขายอาจจะกลับมาเพิ่มขึ้น 3% ในปีพ.ศ. 2563 รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฎิรูปแห่งชาติจีนกำลังพิจารณาร่างมาตรการกระตุ้นยอดขายรถยนต์ในพื้นที่ชนบท ขณะเดียวกันก็จะเร่งปฎิรูปกระบวนการกระจายรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้มากขึ้น โดยจีนจะประกาศนโยบายเกี่ยวกับการเช่าบ้านและบริการต่างๆและเตรียมที่จะลดอุปสรรคด้านการลทุนในภาคส่วนต่างๆ