สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

                  นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เผยว่า โตโยต้าร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประกวดโครงการ ซียู โตโยต้า ฮาโม โอเพ่น อินโนเวชั่น คอนเทสต์ (CU TOYOTA Ha:mo OPEN INNOVATION CONTEST) เพื่อร่วมพัฒนานวัตกรรมการเดินทางในอนาคต โดยรองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการพัฒนางานใหม่และงานนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมเป็นประธานในงานตัดสินรอบชิงชนะเลิศ ณ อาคารฌฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็วๆนี้ นายนินนาทกล่าวว่า บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ริเริ่มโครงการนี้ภายใต้ความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2560 เพื่อทดลองระบบการแบ่งปันรถกันใช้ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก อีวี คาร์แชริ่ง (EV Car Sharing) เพื่อวิ่งมนระยะทางสั้นๆ สำหรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งสาธารณะ และการเดินทางส่วนบุคคลอย่างราบรื่น เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย เดินทางสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างรวดเร็วและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันโครงการมีรถไฟฟ้าที่ให้บริการรวมทั้งหมด 30 คัน ใน 22 สถานี โดยครอบคลุมพื้นที่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ สามย่าน และสวนหลวง จากการประเมินโครงการ “CU TOYOTA Ha:mo” พบว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อขยายระบบคมนาคม Ha:mo ออกไปในวงกว้าง ทางโครงการจึงเปิดให้นิสิตนักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโครงการจะประสบการณ์การใช้งานจริง ภายใต้โครงการ “เวทีเปิดทาง นวัตกรรม” เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ความสามารถ และนำแนวความคิดหรือแผนงานที่เข้าร่วมแข่งขันไปประยุกต์ใช้งานในอนาคตตลอดจนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ EV Car Sharing ไปในมิติต่างๆ มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 30 ทีม ผลการตัดสิน ด้านระบบขับขี่อัตโนมัติ เพื่อการรีโลเคชั่นรถ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม KWY ด้านการนำเทคโนโลยีหรือแอพพลิเคชั่นเข้ามาปรับปรุงให้ผู้ใช้งานขับขี่ปลอดภัยและประหยัดมากขึ้น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม SIMPLE HARMOIC ด้านการออกแบบระบบรีโลเคชั่นรถ สำหรับ CU TOYOTA Ha:mo รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม CAPANITY ด้านแผนการตลาดเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกและการใช้งาน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม องศ์หญิงสามย่าน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562

              นายธนานันต์ กาญจนคูหา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเซีย) จำกัด ปิดเผยว่าจากการเปิดตัว FOMM One รถไฟฟ้าจากแบตเตเอรี่ 100% ใน 2 จังหวัดคือ ภูเก็ตและขอนแก่นที่ผ่านมา พบว่าลูกค้าให้ความสนใจอย่างมาก แต่ลูกค้ายังต้องการเวลาศึกษาและตัดสินใจการเลือกซื้อเพราะเป็นรถที่เป็นเซ็กเมนต์ใหม่ในตลาด ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล้ำยุค ซึ่งนอกจากใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแล้ว รถคันนนี้จะเชื่อมต่อกับระบบอิรเตอร์เน็ตที่รู้จักกันในชื่อว่า Internet of Things อีกด้วย ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวในเมืองพัทยา ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 11-17 กุมภาพันธ์  ณ ศูนย์แสดงสินค้า ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล พลาซ่า มารีน่า ภายใต้ความร่วมมือของ PEA Encom ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายและเป็นบริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยได้ร่วมกันจัดแคมเปญลดราคาพิเศษ เฉพาะในงานพร้อมกันนี้ ยังจัดรถให้ท่านผู้สนใจทดลองขับรถ EV FOMM One และร่วมกับกรุงศรีออโต้ จัดออกเบี้ยพิเศษดริ่มต้น  2.9% ผ่อนสูงสุดนาน 72 เดือน ให้แก่ลูกค้าจองรถในงาน โดย FOMM One เป็นรถนั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กที่ขับเคลื่อนด้วยระบบพลังงานไฟฟ้า 100% ออกแบบโดยทีมงานวิศวกรชาวญี่ปุ่น โดย นายฮิเดโอะ ชูรุมากิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเชีย) จำกัด และลงทุนเปิดสายการผลิตรุ่นแรกในประเทศไทยด้านเงินลงทุน 1,000 ล้านบาท และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในประเภทการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ‘Micro-Fab’ อันเป็นเทคโนโลยีการผลิตรถไฟฟ้า เป็นการคิดค้นโดยวิศวกรของ FOMM เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการผลิตรถยนต์ ซึ่งรถรุ่นนี้แม้จะมีขนาดเล็กกระทัดรัด แต่สามารถรองรับได้ถึง 4 ที่นั่ง และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่เป็นเทคโนโลยีรุ่นใหม่ล่าสุดจากประเทญี่ปุ่นคือ In-Wheel Motor สามารถชาร์จไฟฟ้าจากระบบภายในบ้านเพียง 6 ชั่วโมง (0-100%) คิดเป็นค่าใช้จ่าย 42 บาท วิ่งได้ไกล 160 กิโลเมตร (WLTC) ปัจจุบันมีผู้สนใจสั่งจองรถ FOMM One แล้ว 616 คัน คาดว่าจะสามารถส่งมอบรถคันแรกได้ประมาณปลายเดืทอนมีนาคม 2562 นี้ โดยมีสีให้เลือกทั้งหมด 7 สี ได้แก่ สีส้ม สีขาว สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน สีชมพู และสีขียว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562

                     บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลล์ จำกัด ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) สานต่อโครงการพัฒนาสู่มาตรฐานความป็นเลิศจัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร “เทคโนโลยียานยนต์อีซูซุ” รุ่นที่ 19-20 พร้อมมอบชุดเครื่องยนต์อีซูซุ 1.9 ดีดีไอ บลูเพาเวอร์ และอุปกรณ์เพื่อการส่งเสริมการเรียน-การสอนอันทันสมัยให้แก่สถานศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยได้รับเกียรติจาก มร.โทชิอากิ มาเอคาะ ประธานกรรมการมูลนิธิกลุ่มอีซูซุ และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลล์ จำกัด และ ดร. บุญส่ง จำปาโพธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบประกานียบัตรให้แก่คณาจารย์จากสถาบัน อาชีวศึกษาต่างๆ ที่ผ่านอบรม โทชิอากิ มาเอคาวะ ประธานกรรมการมูลนิธิกลุ่มอีซูซุ และกรรมการผู้จัดการบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลล์ จำกัด เปิดเผยว่า กว่า 6 ทศวรรษ ที่อีซูซุ ได้ดำเนินงานตามปรัชญาการดำเนินธุรกิจของอีซูซุที่เรียกว่า “วิถีอีซูซุ” นั่นคือ ผู้ใช้สุขใจเพิ่มพูลรายได้ ช่วยให้สังคมพัฒนา โดยได้ริเริ่มและสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพราะเชื่อว่าการศึกษาคือรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมาอีซูซุได้ร่วมมือกับสำนักงานาคณะกรรมการอาชีวศึกษาในการพัฒนาบุคคลากรของอาชีวะมายาวนาน ผ่านโครงการต่างๆ ในหลายรูปแบบ อาทิ ศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยียานยนต์ สนับสนุนโดยอีซูซุ 12 แห่ง สื่อการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ มัลติมิเดีย รวมถึงการมอบสื่อการเรียนให้แก่วิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศไทย ดังนั้นการสร้างพื้นฐานทางการเรียนรู้อย่างบูรณาการ อีซูซุจึงผลักดันให้มีการจัดอบรมสัมมนาเชิงปฎิบัติการ ในหลักสูตร “เทคโนโลยียายนต์อีซูซุ” ขึ้น เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการสร้างเสริมและต่อยอดความรู้ด้านเทคโนโลยียานยนต์จากอีซูซุไปสู่สังคมโดยรวม โดยมีบุคคลในสังกัด สอศ. เป็นกุญแจสำคัญในการเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นไปสู่นักเรียน นักศึกษา ในสายสาขาวิชาชีพ ซึ่งอีซูซุหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดอบรมดังกล่าว จะช่วงเสริมสร้างศักยภาพให้กับนักเรียนนักศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562

                สแกนเนีย เสริมความแข็งเกร่งตลาดไทย-เอเชีย ผุดโรงงานประกอบรถบรรทุกในประเทศไทย มูลค่า 800 ล้านบาท ระบุเป็นการลงทุนใหญ่สุดนอกยุโรป-ละติน อเมริกา พร้อมเปิดตัวรถยูโร 6 ชูจุดขายประหยัด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นายกุสต๊าฟ ชันเดล กรรมการผู้จัดการ สแกนเนีย กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า สแกนเนียเปิดโรงงานใหม่ในประเทศไทย เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทั้งตลาดในประเทศเอเซีย โดยโรงงานใหม่ตั้งอยู่ในเขตการค้าเสรีกรุงเทพ รองรับการประกอบรถบรรทุก และแชสซีส์รถโดยสารรวมไปถึงสามารถทำการผลิตรถเก๋ง รถบรรทุกใช้งบประมาณ 800 ล้านบาท เป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในสายงานการผลิตของสแกนเนียที่ดำเนินกิจการนอกทวีปยุโรปและละตินอเมริกา “การจัดตั้งโรงงานใหม่นี้เป็นความร่วมมือจากซับพลายเออร์ในประเทศสแกนเนีย สามารถสร้างรถบรรทุกและรถโดยสาร ได้ตามมาตรฐานระดับโลกโดยฝีมือคนไทย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับการเติบโตของเรา ในเขตการค้าเสรีอาเซียนเพราะการมีถิ่นฐานในภูมิภาคนี้ทำให้สามรถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ำด้อย่างรวดเร็ว และทำให้แน่ใจว่าเราจัดหาโซลูชั่นการขนส่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า นอกจากนี้สำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นในไทยยังสามารถสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจให้กับตัวแทนจำหน่ายของสแกนเนียในเอเชียและโอเชียเนีย นายซันเดล กล่าวว่านอกจากนี้ สแกนเนียยังเปิดตัวรถบรรทุกขนาดใหญ่ มาตรฐานยูโร 6 รุ่นแรกของไทย ซึ่งสามารถช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงได้มาก และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพอากาศโดยรถรุ่นนี้ได้เข้าสู่ตลาดยุโรปตั้งแต่เดือน ส.ค. 2559 และได้รับการายอมรับจากสื่อมวลชน ยืนยันผลการทดสอบคุณภาพ ด้วยรางวัลรถบรรทุกยอดเยี่ยนานาชาติแห่งปี รถบรรทุกรุ่นใหม่ที่ไม่ได้เป็นเพียงยานพาหนะ หากยังเป็นเหมือนเครื่องมือพิเศษในรูปแบบของโซลูชั่นสินค้าและบริการที่ยังยืนอย่างครบวงจร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ลูกค้าของเรามีเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืนในธุรกิจ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562

               เตรียมทะยานขึ้นแท่นผู้นำธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ นายสัณหาวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท มาสเตอร์ กรุ๊ป คอณืเปอร์เรชั่น (เอเชีย) จำกัด หรือ “กลุ่มเอ็มจีซี – เอเชีย” หนึ่งในกลุ่มทุนยานยนต์ลายใหญ่ของประเทศไทย เปิดเผยว่าในปีนี้กลุ่มเอ็มจีซี-เอเชียเดินหน้าเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ดิจิทัล 5.0 และขยายเครือข่ายด้านการบริการ โดยยึดหลักการ “ลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญ” ตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ปี 2020 (พ.ศ. 2563) หรือ VISION 2020 เพื่อมุ่งสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ พร้อมบริการครบวงจรในประเทศไทยและอาเซียน “โดยในช่วงเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา หลายธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบจาก Digital Disruption (สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เดิกจาดเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจขึ้นมาใหม่) ทางกลุ่มเอ็มจีซี-เอเชียตระหนัดและมองว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่องค์กรจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยเดินหน้าเตรียมความพร้อมให้กลับทุกหน่วยธุรกิขในเครือเพื่อก้าวสู่ยุคดิจิทัล 5.0 อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีการนำระบบมารเก็ตติ้งออโตเมชั่น มาใช้ฐานลูกค้าของเรากว่า 500,000 ราย รวมถึงลูกค้าผู้มุ่งหวังกว่า 700,000 ราย เพื่อวเคราะห์และยกระดับการสื่อสาร พร้อมสร้างประสบการณ์กับกลุ่มลูกค้าเหล่านี้การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อสร้างบริการแบบใหม่ที่ง่ายและสะดวก

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562

                  ฮอนด้าปิดโรงงานในเมืองสวินดอน ปรปะเทศอังกฤษตามแผนการปรับโครงสร้างทั่วโลกส่งผลให้มีการลดจำนวนพนักงาน 3,500 คน ขณะซีอีโอยืนยันไม่เกี่ยวกับกรณีเบร็กซิท นายทากาฮิโร ฮาชิโกะ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ ยืนยันเมื่อวานนี้ ( 19 ก.พ. ) ว่า บริษัทจะปิดโรงงานผลิตรถยนต์ในเมืองสวินดอนในสหราชอาณาจักรในปี 2564 ซึ่งจะส่งผลให้มีการปลดพนักงาน 3,500 ตำแหน่ง นายทากาฮิโระ ระบุว่า การตัดสินใจปิดโรงงานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างทั่วโลก และระบุด้วยว่า ฮอนด้าจะยังคงมีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหราขอาณาจักรต่อไป ซึ่งถ้อยแถลงของนายทากาฮิโร สอดคล้องกับเจ้าหน้าที่อีกคนของฮอนด้า ที่เปิดผยกับสำนักข่าวบีบีซี เรดิโอในวันเดียวกันว่า การปิดโรงงานไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (เบร็กซิท)  ด้านเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอังกฤษแสดงความผิดหวังเกี่ยวกับการตัดสินใจของฮอนด้าที่จะปิดโรงงานเพียงแห่งเดียวในสหราขอาณาจักร ขณะที่ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจไลบ์นิช และมหาวิทยาลัย มาร์ติน ลูเธอร์ ฮอล วิทเทนเบิร์ก ระบุว่า การแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (เบร็กซิท) โดยไม่มีการทำข้อตกลงจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานจำนวนมากกว่า 100,000 ตำแหน่งในเยอรมนี

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562

             หลังหายใจหายคอโล่งไปได้พักใหญ่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกก็กลับเข้าสู่ความหวาดหวั่นอีกครั้ง จากรายงานข่าวว่า กระทรวงพานิชย์สหรัฐได้ส่งมอบรายงานผลการศึกษาเรื่องภาษีรถยนต์ ให้ประธานอธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อพิจารณาว่าจะขึ้นภาษีรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์นำเข้าจากต่างชาติหรือไม่ การศึกษาดังกล่าวดำเนินการตามมาตรา 232 เพื่อสืบหาว่ารถยนต์และชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างชาติเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐหรือไม่ คล้ายคลึงกับกรณีการสอบสวนการเก็บภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมนำเข้าจากต่างชาติก่อนหน้านี้ ทรัมป์มีเวลาอีก 90 วัน ในการตัดสินใจว่า จะประกาศขึ้นภาษีดังกล่าวตามรายงานของกระทรวงพานิชย์หรือทรัมป์จะประกาศตั้งภาษีรถยนต์นำเข้าที่อัตรา 20-25% หลังข่มขู่จะเก็บภาษีดังกล่าวมาโดยตลอดและล่าสุดทรัมป์ยังเปิดเผยว่า การตั้งภาษีช่วยปกป้องภาคอุตสาหกรรมของประเทศ และทำให้สหรัฐได้เปรียบในการทำข้อตกลงการค้ากับชาติอื่นๆ ความเป็นไปได้สูงที่สหรัฐจะประกาศตั้งภาษีนำเข้ารภต่างชาติ จึงเป็นฝันร้ายที่หากเกิดขึ้นจริง จะยิ่งซ้ำให้ภาคยานยนต์โลกบอบช้ำยิ่งขึ้นไปอีก หลังสหรัฐเก็บภาษีเหล็กและอะลูมอเนียมนำเข้าจากต่างชาติไปแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้ค่ายรถต้องแบกต้นทุนการผลิตเพิ่ม โดยชาติที่ได้รับกระทบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นเยอรมนี และญี่ปุ่น ขณะที่สหรัฐเองก็มีแนวโน้มเจ็บหนักไม่แพ้กัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562

                  หนุนลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าเหลือแค่ 2%  กรมสรรพสามิต เตรียมเสนอมาตรการภาษีลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ให้คลัง ก่อนเสนอ ครม. พร้อมทั้งลดภาษีรถไฟฟ้าหรืออีวีเหลือ 2% ขณะที่จัดเก็บรายได้เดือน มกราคม กว่า 5.4 หมื่นล้านบาท เกินเป้า กลุ่มสุรา ยาสูบ เบียร์ เครื่องดื่ม และรถยนต์ขายดี นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพาสามิต เปิดเผยว่าอำ 1-2 สัปดาห์ จะเสนอมาตรการทางภาษีสรรพสามิต เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป โดยเองต้นหากผู้ประกอบการรถยนต์รายใดติดตั้งอุปกรณ์ที่ลดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กจากโรงงานผลิตให้ได้เท่ากับมาตรฐานยูโร 5 ที่ปล่อ่ยค่าฝุ่นละออง 0.005 มิลลิกรัม จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ลดลง ซึ่งไม่เป็ฯทางการบังคับให้ทุกรายต้องติดตั้งเครื่องดังกล่าว นอกจากนี้ ยังประสานกระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนดีเซลลดค่าฝุ่นละอองให้ได้เทียบเท่ามาตรฐานยูโร 5 เร็วขึ้น จากกำหนดการเดิมบังคับให้รถยนต์ที่จะผลิตออกมาใหมในอีก 3 ปีข้างหน้า ต้องเป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5 ทั้งนี้กรมสรรพสามิตจะดำเนินตามนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรืออีวี ด้วยการลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้าเหลือ 2% และยกเว้นภาษ๊นำเข้ากรณีบริษัทผู้ผลิตเข้ารับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จากปัจจุบันจัดเก็บอัตรา 8% โดยกรมฯ จะขอสงวนสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการทที่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว หากพบว่าไม่สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ตามกำหนดกับบีโอไอ กรมฯ จะเรียกคืนภาษีจากบริษัทที่เคยได้รับส่วนลดไปก่อนหน้านี้ทั้งหมด เพื่อเป็นการจูงใจให้บริษัทเร่งผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ตามเป้า ขณะที่การจัดเก็บรายได้เดือนมกราคม 2562 เป็นเดือนแรกที่กรมฯ จัดเก็บภาษีได้ 54,056 ล้านบาท เกินกว่าเป้าหมายที่คาดไว้ 78 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.15% จากสินตชค้าในกลุ่มสุรา ยาสูบ เบียร์ เครื่องดื่ม และรถยนต์ขายดี สำหรับเดือนมกราคมที่ผ่านมายอดจัดเก็บภาษีกลุ่มรถยนต์เพิ่มขึ้น 14% สุราเพิ่มขึ้น 3% เบียร์เพิ่มขึ้น 9% ยาสูบเพิ่มขึ้น 18% ทั้งนี้การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงประชาชนเชื่อมั่นเศรษฐกิจมากขึ้น คาดว่ายอดการจัดเก็บภาษีกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้ เนื่องจากใกล้วันเลือกตั้งยิ่งกระตุ้นในเกิดการซื้อสินค้ากลุ่มนี้ไปบริโภคมากขึ้น ส่วนสินค้าที่จัดเก็บภาษีลดลง คือ น้ำมันติดลบร้อยละ 2 เป็นผลมาจากราคาน้ำมันโลกที่ผันผวน ส่วนผลการจัดเก็บรายได้สะสม 4 เดือนแรกปีงบประมาณ 2562 (ต.ค. 2561 – ม.ค. 2562 ) เก็บได้ 185,400 ล้านบาท ยังต่ำกว่าเป้าหมายตามเอกสารงบประมาณ 5% หรือต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท เพราะยอดจัดเก็บ 3 เดือนแรกต่ำกว่าเป้า แต่มั่นใจว่าขะสามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมายของกระทรวงการคลังที่ 584,000 ล้ายบาทแน่นอน แต่กรมสรรพสามิตจะมุ่งจัดเก็บรายได้ตามเป้าของกรมฯ ที่ 622,000 ล้านบาท

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562

                 นายณัฐพล  รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอตสาหกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าบริษัทรถยนต์ 9 ราย ได้แก่ โตโยต้า , บีเอ็มดับเบิ้ลยู , จีเอ็ม , อิซูซุ , มาสด้า , เมอร์เซเดส-เบนซ์ , มิตซูบิชิ , เอ็มจี , ซูซิกิ ตอบรับกำหนดเวลาบังคับใช้มาตรฐานมลพิษระดับยูโร 5 ในรถยนต์ใหม่ทุกรุ่น ภายในปี 2564 เพื่อจะช่วยลดปัญหามลพิษฝุ่นว่า ในวันประชุมหารือมีค่ายรถยนต์เข้าร่วมทั้งหมด12 ค่าย ตอบรับ 9 ค่าย มี 3 ค่ายไม่ปฎิเสธ แต่ขอไปหารือกับบริษัทแม่ ศึกษาเทคโนโลยีก่อน คือ ฮอนด้า ฟอร์ด และนิสสัน ดังนั้น สศอ. จะติดตามว่าทั้ง 3 ค่ายจะตอบรับเร็วๆนี้หรือไม่ หากตอบรับก็สามารถเข้าร่วมแถลงความร่วมมือกับอีก 9 ค่ายได้เลย หลังจากที่อุตสาหกรรม และ 9 ค่ายรถยนต์น่าจะมีการแถลงข่าวถึงความร่วมมือดังกล่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้งภายในเดือน กุมภาพันธ์นี้ นายณัฐพลกล่าวว่า หลังจากนี้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จะเร่งกำหนดมาตรฐานบังคับเครื่องยนต์ยูโร 5 ทั้งเบนซินและดีเซล คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี รองรับค่ายรถที่ผลิตรถยนต์ใหม่มาตรฐานยูโร 5 อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเรื่องนี้ไทยมีความล่าช้าทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะเดิมไทยกำหนดกรอบเวลา ใช้มาตรฐานยูโร 5 ทั้งรถยนต์และน้ำมันตามหลังสหภาพยุโรป (ยูอี) 2 ปี ซึ่งที่ผ่านมาอียูเริ่มยูโร 5 ตั้งแต่ปี 2562 และไทยควรเริ่มปี 2554 แต่ไทยกลับเริ่มยูโร 4 เมื่อปี 2555 เป็นคามล่าช้าที่ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันแก้ไข

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน (ตจว.) ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th