กลุ่มบริษัท มาสเตอร์ กรุ๊ป คอรปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด หรือ เอ็มจีซี-เอเชีย เป็นกลุ่มธุรกิจของคนไทย ที่มีความหลากหลาย ทั้งการเป็นผู้นำเข้ารถยนต์ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ตลาดมือสอง รถเช่า ศูนย์บริการรถยนต์ ประกันภัย ไอที ฝึกอบรม รวมไปถึงธุรกิจเรือยอชต์ ซึ่งที่ผ่านมา เอ็มจีซี-เอเชีย ขยายงานมาโดยตลอด และต้นปีนี้ก็จะขยับตัวอีกครั้งด้วยการประกาศว่าจะขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค “ดิจิทัล 5.0” ก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ พร้อมบริการครบวงจร สัณหวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบอกว่าปี 2561 ที่ผ่านมากลุ่มมีรายได้รวม 2.5 หมื่นล้านบาทเติบโตกว่า 15% โดยกลุ่มธุรกิจรถใหม่เติบโต 20% กลุ่มธุรกิจการบริการหลังการขาย เติบโต 9% รถเช่าเติบโตใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาและธุรกิจประกันภัยโตกว่า 30% ส่วนการกำหนดวิสัยทัศน์ ดิจิทัล 5.0 เพราะเห็นว่าในช่วงกว่า 5 ปีที่ผ่านมาหลายธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง จากผลกระทบของดิจิทัล ดิสรัปชั่น และกลุ่มมองว่านี้เป็นโอกาสครั้งสำคัญที่องค์กรจะมีการเปลี่ยนแปลง
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562
นายกฯ ยกระดับแก้ฝุ่นเป็นวาระแห่งชาติ จี้ทุกส่วนร่วมแก้ปัญหา กำชับงดเผาในที่โล่ง “บิ๊กป้อม” สั่งเฝ้าระวังต่อเนื่องจนกว่าจะปกติ สศอ. หารือ 9 ค่ายรถยนต์ ขานรับ เร่งยกระดับมาตรฐานยูโร 5 ตั้งเป้าผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ทุกคันภายในปี 2564 ลดการปล่อยฝุ่นพิษ 80% การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (12 ก.พ.) ได้ยกระดับการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน โดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ หลังจากการประขุม ครม. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เห็นแผนการแก้ปัญหาในระยะสั่น – ยาว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐบาล กล่าวหลังการประชุม ครม. ว่า สถานการณ์ฝุ่นละอองในกรุงเทพฯ ดีขึ้น แต่การแก้ไขปัญหาต้องทำต่อไปซึ่งมติ ครม. ให้การกำจัดฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งมีหลายหน่วยงาน เกี่ยวข้องเพื่อให้จัดการปัญหา ฝุ่นละอองย่างยั่งยืน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562
ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นไปอีกระดับ หลังค่ายรถรายใหญ่เกือบทุกรายที่มีการผลิตรถยนต์ในประเทศได้ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนประกอบรถยนต์ไฟฟ้าจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นที่เรียบร้อยก่อนครบกำหนดไปปเมื่อสิ้นปี 2561 และในปีนี้เราจะได้เห็นถึงทิศทางการลงทุนที่สำคัญและจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน คือ กิจกรรมการผลิตแบตเตอรี่ โดยเฉพาะ เพื่อรองรับติ่ความต้องการใช้ของรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย โดยศูนย์ข้อมูลจากกสิกรไทยพบว่า อุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นตามการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ระยะเริ่มต้น ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้น จากแนวโน้มการขอรับการส่งเสริมการลงทุนของค่ายรถยนต์จะเห็นได้ว่า ทิศทางการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในยุคไทยมุ่งเน้นไปยัง 2 กลุ่ม ได้แก่ รถยนต์ไฮบริด (Hybrid electric vehicle : HEV) และรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in hybrid electric vehicle : RHEV ) โดยบางส่วนได้เริ่มมีการลงทุนประกอบรถยนต์ไปบ้างแล้วตั้งแต่ปี 2561 ขณะที่การลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery electric vehicle :BEV ) ในไทยค่ายรถต่างมองว่าอาจต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะ เมื่อโครงข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้ามีความพร้อมมากขึ้น แต่ก็น่าจะไม่นานเกินไปกว่าปี 2564 ตามเงื่อนไขบีโอไอที่กำหนดให้ต้องมีการผลิตรถยนต์ขึ้นจริงในประเทศภายใน 3 ปี หลังจากได้รับอนุมัติส่งเสริม
ที่มา : หนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562
นายสเตฟาน ดอร์สกี กรรมการผู้จัดการบริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด แดเผยว่า สแกนเนียพร้อมสนับสนุนให้ไทย ดำเนินการเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงทางเลือก เพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษโดยที่ผ่านมาสแกนเนียได้ลงทุนพัฒนาโซลูชั่นรองรับการใช้พลังงานเลือกและเชื่อเพลิงทดแทน เน ไบโอดีเซลและก๊าซชีวภาพ ขณะที่รถบรรทุกสแกนเนียสามารถปรับใช้ไบโอดีเซลได้ 100% และเป็นที่หน้ายินดีว่าความต้องการใช้น้ำมันดีเซล B20 ในไทยเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มั่นใจว่าสแกนกเนียสามารถช่วยลดการปล่อยมลพิษได้ สำหรับในปี 2561 สแกนเนียมียอดขายรถบรรทุกและรถหัวลาก 506 คัน ส่วนปี 2562 ตั้งเป้ายอดขาย 700 คันขึ้นไป โดยวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 จะเปิดตัวรถบรรทุกทุกรุ่นใหม่ที่สุดดิโอปาร์ค จังหวัด สมุทรปราการ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า ฉบับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562
ผลจากการพัฒนาประเทศผ่านอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด ทำให้จีนเป็นหนึ่งในชาติแรกๆ ที่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ ประเด็นที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในประเทศไทยเวลานี้ การแก้ไขปัญหามลพิษของจีนนั้น นอกจากการออกนโยบายเชิงรุกอย่างเข้มงวด เช่น การไล่ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน การจำกัดจำนวนรถยนต์ที่วิ่งในเขตเมือง หรือแม้กระทั่งการสร้างอาคารกรองอากาศขนาดยักษ์แล้ว หนึ่งนโยบายสำคัญซึ่งเป็นที่น่าศึกษาก็คือ การสนับสนุนการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง ด้วยความที่จีนเองเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานพาหนะขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (อีวี) โดยในปีนี้รถยนต์อีวีทำยอดขายำด้มากถึง 1 ล้านคันเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อเสียเปรียบของรถยนต์ไฟฟ้า ที่ยังมีราคาสูงเมื่อเทียบกับรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยการสันดาปภายใน (ไอซีอี) หรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน รัฐบาลจีนจึงมีนโยบายอุดหนุนทั้งฝั่งของผู้ผลิตรถยนต์อย่างจริงจังนับตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกออกวางตลาดเมื่อกว่า 10 ปีก่อน ผลจากแรงจูงใจในการผลิตที่เห็นได้ชัดเจน เดิกขึ้นในอุตสาหกรรมผลิตรถบัสไฟฟ้าของจีนเองโดยสามารถกระตุ้น การผลิตเพิ่มขึ้นจากในปี 2011 ที่ 1000 คัน ให้มีจำนวนมากถึง 132,000 คันในปี 2016
ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562
โตโยต้าทำกำไรในช่วงไตรมาตรสามเพิ่มขึ้น 0.4% ยอดขายในเอเชียซึ่งรวมถึงจีนยังคงเพิ่มขึ้น ช่วยชดเชยยอดขายที่ลดลงในอเมริกาเหนือได้ ในทางกลับกัน สงครามการค้าทำกำไรไตรมาตรสี่ของเมอร์เซเดส - เบนซ์ ร่วงถึง 22% แม้ว่ายังคงเป็นแบรนด์รถหรูที่มียอดขายมากที่สุดในปีที่ผ่านมา บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ แถลงเมื่อวันพุธว่ากำไรจากการดำเนินงานในช่วงไตรมาสสามเพิ่มขึ้น 0.4% เป็น 676,100 ล้านเยน หรือ 6,160 ล้านดอลลาร์ จาก 673,640 ล้านเยนในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายในเอเซียซึ่งรวมถึงจีนยังคงเพิ่มขึ้น จึงช่วยชดเชยยอดขายในอเมิกาเหนือ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่สุดของบริษัทได้ ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์ 10 คนที่เรฟินิทีฟได้รวบรวมประมาณการมา คาดการณ์โดยเฉลี่ยว่าโตโยต้าจะมีกำไร 680,840 ล้านเยน โตโยต้าได้ลดปราณการกำไรสุทธิของปีนี้ทั้งปี เหลือ 1.87 ล้านล้านเยน จากเดิมประมาณการไว้ 2.3 ล้านล้านเยน แต่ได้คงประมาณการกำไรจากการดำเนินงานทั้งปีไว้ที่ 2.4 ล้านล้านเยนเช่นเดิม ในทางกลับกัน บริษัทเดมเลอร์ เอจี เจ้าของแบรนด์รถยนต์เมอร์เซเดส- เบนซ์ แถลงว่า กำไรจากการดำเนินการในช่วงไตรมาสสี่ลดลงถึง 22% เนื่องจากสงครามการค้าและการลงทุนในการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับและรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อกำไรของรถยนต์เมอร์เซเดส – เบนซ์ กำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ย (EBIT) ลดลงเหลือ 2.670 ล้านยูโร หรือ 3,040 ล้านดอลลาร์ ในช่วงไตรมาสสี่ ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งอยู่ที่ 2,920 ล้านยูโรมาก เมอร์เซเดส – เบนซ์ แถลงว่าว่าการขึ้นภาษีรถยนต์นำเข้าจากสหรัฐที่ส่งไปยังจีนและการหยุดส่งมอบรถยนต์ดีเซล ส่งผลกระทบต่อดีมานด์ และส่งกระทบให้ราคารถยนต์ดีเซลต่ำลง ผลตอบแทนจากยอดขายรถยนต์เมอร์เซเดส – เบนซ์ ลดลงเหลือ 7.3% ในช่วงไตรมาสสี่ จาก 9.5% ในช่วงปีก่อนหน้า สำหรับปี 2562 บริษัทคาดการณ์ว่ายอดขาย รายได้กำไรก่อนหักภาษี และดอกเบี้ย จะโตเล็กน้อยโดยคาดว่าผลตอบแทนจากยอดขายรถเก๋งเมอร์เซเดส – เบนซ์ จะอยู่ระหว่าง 6-8% ในขณะที่ผลตอบแทนยอดขายของรถแวนเมอร์เซเดส – เบนซ์อยู่ระหว่าง 5-7% ดีเตอร์ เซตเตอ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเดมเลอร์ กล่าวว่า ประมาณการยอดขายรถยนต์และรถแวน เมอร์เซเดส – เบนซ์ ต่ำกว่าเป้าหมายในระยะยาว บริษัทไม่สามารถพอใจกับการประมาณการนี้ได้ และตั้งเป้าที่จะทำให้มีกำไรระหว่าง 8-10% ภายในปี 2564 อย่างไรก็ดี เมอร์เซเดส – เบนซ์ยังคงเป็นแบรนด์รถยนต์หรูที่มียอดขายมากสุดในปีที่ผ่านมา โดยยอดขายมากสุดในปีที่ผ่านมา โดยยอดขายรถยนต์ใหม่อยู่ที่ 2.31 ล้านคัน ตามาด้วยบีเอ็มดับเบิ้ลยูมียอดขาย 2.12 ล้านคัน และออดี้มียอดขายรถยนต์ใหม่ 1.81 ล้านคันในปีที่ผ่านมา
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562
ครม.เคาะปัญหาฝุ่น 3 ระยะ เผย 11 หน่วยงานเกาะติดแก้ปัญหา ชงขึ้นภาษีรถยนต์เก่า ห้ามนำเข้าเครื่องยนต์เก่าจากต่างประเทศ ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า หนุนแผนผลิตน้ำมันยูโร 5 นายกฯเผย 600 โรงงานหยุดปรับปรุง รับมือฝุ่นอีกระลอกวันนี้ “ปตท.-บางจาก” นำร่องลดดีเซลพรีเมียม 1 บาท สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดต่างๆนำมาสู่การออกมาตรการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึง 11 หน่วยงานเพื่อแก้ปัญหาตั้งแต่ระยะสั้นถึงระยะยาว รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลระบุว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีแนวโน้มสูงขึ้นและเกินมาตรฐานหลายพื้นที่ โดยมีแนวทางการปฎิบัติ 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นเตรียมการ(ช่วงดก่อนเกิดสถานการณ์ : ก.ย. – พ.ย. ) เพื่อพร้อมรับมือเมื่อฝุ่นละอองสูงขึ้น ขั้นปฎิบัติการ (ช่วงเกิดสถานการณ์ : ธ.ค. – เม.ย.) ซึ่งได้ปรับปรุงแผนปฎิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและจังหวัดต่างๆ โดยยกระดับความเข่มข้นของมาตรการตามความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง รวมถึงปรับเปลี่ยนใช้น้ำมัน B20 ในรถโดยสารดีเซล และเร่งผลิตน้ำมันดีเซลเทียบเท่ามตรฐานยูโร 5 (กำมะถัน ไม่เกิน 10 พีพีเอ็ม) มาจำหน่ายในพื้นที่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงงดกิจกรรมที่ส่งผลทำให้เกิดฝุ่นละออง ห้ามเผาในที่โล่งแจ้ง ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด ห้ามรถยนต์ที่มีมลพิษสูงสัญจรในกรุงเทพฯชั้นกลางและชั้นนอก
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562
“บ้านปู” ลุยธุรกิจผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ทุ่ม 635 ล้าน เข้าถือหุ้น 21.5% ใน “ฟอมม์ คอร์ปอเรชั่น” หวังขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดต่อยอดธุรกิจแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ถาคเอกชน เริ่มขยายธุรกิจแตกไลน์ลุยตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นโดยก่อนหน้านี้ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เปิดตัวรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าอีวีสกูดเตอร์ ช่วยลดมลพิษ ล่าสุด บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ส่งบริษัทย่อยซื้อหุ้นในบริษัท ฟอมม์ คอร์ปอเรชั่น ผู้ออกแบบและผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (Compact EV) จากประเทศญี่ปุ่นมูลค่าลงทุน 20 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 635 ล้านบาท นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ได้กล่าวว่า บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด (BPIN) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ได้ลงนามสัญญาเพื่อเข้าซื้อหุ้นจำนวน 21.5% ในฟอมม์ คอร์ปอเรชั่น การลงทุนครั้งนี้เป็นการขยายการลงทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดที่ทันสมัยในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ซึ่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอีกหนึ่งโซลูชั่นที่บริษัทได้ศึกษา และเชื่อว่าเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตได้ดีถือเป็นการต่อยอดธุรกิจจากการลงทุนในบริษัทผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และเป็นการต่อยอดความพร้อมในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้อย่างสมบูรณ์ในอนาคต นอกจากการลงทุนดังกล่าวแล้วหน่วยงาน BANPU Innovation & Ventures หรือ BIV ซึ่งกลุ่มบ้านปูได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ เพื่อรองรับรูปแบบการใช้พลังงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดดยได้มีการลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างกันในการถ่ายทอดวิทยาการ ความรู้ต่างๆโดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาและการลงทุนในธุรกิจ โรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power plants) , การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Micro-grids), รถยนต์ไฟฟ้า (EV), สถานีชาร์จรถไฟฟ้า และแบตเตอรี่ ซึ่งภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว ยานพาหนะไฟฟ้าภายใต้การพัฒนาของ FOMM ได้มีการใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไออน ที่พัฒาและผลิตโดยบริษัท Durapower Technology (Singapore) Pte.Ltd. ซึ่งบ้านปูเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น 47.68%
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562
รถยนต์มายด์ไฮบริด (Mild Hybrid) เล็งปลดเงื่อนไขภาษีสรรพสามิต ไม่จำเป็นต้องผลิตกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 60 โวลต์ ส่งผลอัตราภาษีเท่ากับรถยนต์ไฮบริดที่อัตรา 4% แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผยว่ากระทรวงการคลังเตรียมเสนอปลดล็อคเงื่อนไขภาษีสรรพสามิตของรถยนต์ประเภท มายด์ไฮบริด ที่อาจไม่จำเป็นต้องผลิตกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 60 โวลต์อีกต่อไป การปลดล็อคในครั้งนี้ เนื่องจากจะสามารถได้รับอัตราภาษีสรรพสามิตเท่ากับรถยนต์ไฮบริด คืออัตรา 4% ทั้งนี้ ฟลูไฮบริด จะสร้างกระแสไฟฟ้าเกิน 60 โวลต์และสามารถขับเคลื่อนรถยนต์ด้วยไฟฟ้าได้ การเสนอประเภทรถยนต์ใหม่เป็นมายด์ไฮบริด ดังกล่าว เนื่องจากบางค่ายรถยนต์ ยังมองเห็นว่า รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ยังไม่สามารถทำตลาดได้ในประเทศไทย เนื่องจากยังมีราคาแพงกว่ารถยนต์ที่สันดาปภายในเครื่องยนต์ โดยเฉพาะตัวแบตเตอรี่ที่เก็บกระแสไฟฟ้าราคาเป็นหลักแสนบาท รวมทั้งการชาร์ตไฟต่อครั้งใช้เวลานาน 8 ชั่วโมงจึงเต็ม แต่วิ่งได้เพียง 160 กิโลเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ราคาขายต่อจะตกลงมากกว่ารถที่ใช้น้ำมัน ดังนั้นการทำรถประเภท มายด์ไฮบริด น่าจะเป็นทางเลือกในระหว่างประเทศยังไม่มีความพร้อมที่จะไปสู่รถยนยต์ประเภท EV อย่างเต็มตัว ซึ่งปัจจุบันสถานีเติมไฟฟ้าก็ยังมีไม่แพร่หลาย อย่างไรก็ตามหากอนุมัติให้มีมายด์ไฮบริด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของโครงสร้างภาษีสรรพสามิต โดยให้อัตราภาษีเท่ากับรถยนต์ประเภท ฟลู ไฮบริด คือที่อัตรา 4% อาจทำให้การพัฒนสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ EV ของประเทศไทยสะดุดเนื่องจาก ยังเป็นการส่งเสริมรถยนต์ที่ใช้ระบบสันดาปภายใน ด้วยอัตราภาษีที่ต่ำเท่ากับรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนด้วย EV ไม่สามารถมุ่งสู่ทิศทางที่เป็นแนวโน้มของโลกที่มุ่งสู่รถยนต์ EV ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้สาเหตุที่ค่ายรถยนต์บางค่ายเสนอให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีบีโอไอและกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาเพิ่มประเภทรถยนต์มายด์ไฮบริด นั้นนอกจากปัญหาด้านการตลาดดังกล่าวแล้ว ยังเป็นเรื่องการลงทุนที่สูงกว่าซึ่งค่ายรถยนตยังไม่ต้องลงทุน ซึ่งค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในแระเทศไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวที่กระทรวงอุตสาหกรรมต้องการสนับสนุน และได้เสนอความเห็นมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562