สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

              นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักงานแผนภาษีในฐานะริงโฆษกกรมสรรพสามิต แดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 ได้เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ในการลดภาษีสรรพสามิตให้กับรถยนต์ที่สามารถลดฝุ่นขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) คือลดอัตราภาษีรถกระบะ(ปิกอัพ) และรถกระบะ 4 ประตู (ดับเบิลแค็บ) ที่ใช้น้ำมันดีเซลบี 20 และยกระดับมาตรฐานการปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ดีเซล เป็นมาตรฐานยูโร 5 หรือรถที่มีค่า PM ไม่เกิน 0.005 กรัมต่อกิโลเมตร ซึ่งได้รับการลดภาษีให้ประมาณ 1-2% ขณะนี้ผู้ประกอบการรายใหญ่ 5 ยี่ห้อ ซึ่งมีรถกระบะและรถกระบะ 4 ประตู  มีความพร้อมที่จะใชชัน้ำมันบี 20 และสามารถปรับเปลี่ยนอุปกรณืต่างๆของรถยนต์ อาทิ เปลี่ยนท่อไอเสีย เป็นต้น เพื่อให้รองรับน้ำมันบี 20 ได้แล้ว โดยคาดว่า ไม่เกินปีนี้จะเห็นรถกระบะปี 20 คันแรกออกวางจำหน่าย “ทั้งนี้ คาดว่ามาตราการภาษีดังกล่าว จะจูงใจให้ผู้ผลิตปรับเปลี่ยนรถยนต์ให้เป็นบี 20 ได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีลดภาษีให้ต่ำมากและมาตรการที่ออกมาเป็นมาตรการมีประโยชน์ต่ผู้ประกอบการและผู้ใช้รถยนต์โดยเฉพาะเรื่องของการลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นนโยบายมี่สำคัญของรัฐ” นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังเห็นชอบให้ลดอัตราภาษีรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า (อีวี)  ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จากปัจจุบันภาษี 2% ลดลงหลือ 0% สำหรับรถยนต์ที่ผลิตตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2565 ระยะเวลาทั้งสิน 3 ปี เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเร่งผลิตรถอีวีออกมาเร็วขึ้น โดยหากรถอีวี ราคา 1 ล้านบาท จะไดรับส่วนลดภาษีประมาณ 20,000 บาทต่อคัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 8  มีนาคม 2562

               ฮุนได มอเตอร์ กำลังพิจารณาแผนการที่จะระงับการผลิตในโรงงานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศจีน เนื่องจากยอดขายตกและมีขีดความสามารถเกินความต้องการ การเคลื่อนไหวฮุนไดเป็นการย้ำให้เห็นว่าถึงชะตาที่ผลิกผันของอุตสาหกรรมรถยนต์จีน ซึ่งได้หดตัวครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษในปีที่ผ่านมา ฮุนได เกียร์ มอเตอร์ เผชิญความเสี่ยงจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์มาก เนื่องจากต้องแข่งขันกับบริษัทจีนและบริษัทรถยนต์ระดับโลก บริษัทแถลงว่ากำลังทบทวนการผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรและความสามารถในการแข่งขันและกล่าวว่าแผนการนั้น รวมถึง การระงับ ไม่ใช่การปิดโรงงาน 1 ในปักกิ่ง อย่างไรก็ดีบริษัทยังไม่ตัดสินใจว่าเมื่อไหร่ที่จะเริ่มระงับการผลิต แม้หนังสือพิมพ์โคเรีย อีโคโนมิคเดรี่ รายงานว่าอาจเริ่มระงับการผลิตในต้นเดือนหน้า ขณะนี้โรงงานทั้ง 5 แห่งของฮุนไดในประเทศจีน บริหารโดยบริษัทร่วมทุนฮุนไดกับ BAIC Motor Corp พนังงานประมาณ 2,000 คนได้ของเกษียณอายุโดยสมัครใจหรือโอนย้ายไปทำงานโรงงานอื่นๆ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 8 มีนาคม 2562

                    ค่ายรถท้อแบงค์ชาติขยายวงคุมเข้มสินเชื่อรถยนต์หวั่นสะเทือนตลาด ลามถึงยอดขายงนมอเตอร์โชว์ ปลายมีนาคมนี้  เผยสัญญาณชัดอนุมัติล่าช้า เงื่อนไขยุบยับขอเพิ่ม “เงินดาวน์-คนค้ำประกัน” ค่ายรถดิ้นจับมือพันธมิตร “แคปทีฟไฟแนนซ์” ร่วมทำตลาด พลิกเกมเน่นแคมเปญช่วยผ่อนลดภาระลูกค้า แหล่งข่าวในวงการรถยนต์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงภายรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ปี 2562 ว่ายังมีปัจจัยค่อนข้างลบเยอะ แม้ว่าช่วง 1-2 เดือนแรกของปีจะมีตัวเลขยอดขายเป็นบวก รวมถึงในเดือนมีนาคมต่อเนื่องเมษายนจะมีอิเวนต์ใหญ่ขายรถอย่างงานมอเตอร์โชว์ก็ตาม แต่สิ่งที่ต้องกังวลคือภาวะเศรษฐกิจโลก สงครามการค้า รวมถึงแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศนโยบายคุมเข้มมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งน่าจะมีผลค่อภาวะการขายรถยนต์อย่างมีนัยสำคัญ และมีความกังวลว่าจะส่งผลต่อภาวะการขายในงานมอเตอร์โชว์ช่วงปลายเดือนนี้ เนื่องจากแบงค์ชาติมองว่ามาตรการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมาของสถาบันการเงินต่างๆ อาจหย่อนยานเกินไป โดยพบว่าปี 2561 ที่ผ่านมาสินเชื่อรถยนต์มีอัตราเติบโตสูงสุดในบรรดาสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยเติบโตสูงสุดในรอบ 6 ปี ขณะเดียวกัน หนี้เสียที่ขยับเพิ่มขึ้นด้วยมาอยู่ที่ระดับ 1.66% จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 1.60% เพิ่มเงื่อนไขเงินดาวน์-คนค้ำ แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ตอนนี้การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อรถยนต์อาจต้องลงรายละเอียดลูกค้าแต่ละรายมากขึ้นเนื่องจากยอดขายรถยนต์ใหม่ปีที่ผ่านมาขยายตัวสูงมากทะลุ 1 ล้านคันไปแล้ว ขณะที่ความเหมาะสมของตลาดและกำลังซื้อปริมาณการขายรถควรอยู่ที่ 9 แสน -1 ล้านคันต่อปี แต่ปัจจุบันทะลุ 1 ล้านคันไปแล้ว ดังนั้น สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือดีมานด์เทียม หรือลูกค้ากู้เงินไปแล้วไม่มีความสามารถผอนชำระที่แท้จริง ขณะที่ผู้บริหารสถาบันการเงินบางรายก็ยอมรับว่า แนวโน้มเอ็มพีแอลสินเชื่อรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายค่ายต้องคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อเพื่อไม่ให้เอ็นพีแอลขยายตัว ทั้งนี้ จากความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อดังกล่าว ทำให้ตอนนี้การอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ ช้าลงมาก และจากเดิมที่ซื้อรถอาจไม่ต้องมีคนค่ำประกัน ระยะหลังก็ต้องใช้หรือบีบบังคับให้เพิ่มเงินดาวน์จากเดิมเริ่มต้น 15-20% เพิ่มเป็น 25-30% หรือมีหลักฐานทางการเงินในการขอกู้เพิ่มเติมเพื่อการันตีและรองรับว่าลูกค้ามีศักยภาพในการกู้และสามารถผ่อนชำระได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 มีนาคม 2562

                    ครม.ไฟเขียว รื้อภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะแก้ปัญหาฝุ่นละออง หั่นภาษีรถไฟฟ้าเหลือ 0% 3 ปี ส่วนรถกระบะปรับภาษีลง 0.5-2% นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมาได้เห็นชอบการปรับปรุงมาตรการภาษีสำหรับยานพาหนะเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5-PM10) ตามที่กรมสรรพสามิตเสนอ โดยทั้งหมดจะส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ไม่เกิน 1,500 ล้านบาท ประกอบด้วย 1)มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า ให้ลดภาษีภายใต้หลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการฯ จากปัจจุบันอัตราภาษี 2% ให้ลดลงเหลืออัตรา 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2565 และใช้ปรับอัตราภาษี 2% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ให้ใช้อัตราภาษี 8% ตามเดิม 2) มาตรการปรับลดอัตราภาษีรถยนต์กระบะและรถยนต์กระบะ 4 ประตู ให้ปรับลดอัตราภาษีรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล โดยอัตราภาษีสรรพสามิตตามการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ (CO2) และการปล่อยฝุ่น PM หรือการที่เครื่องยนต์สามารถใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของบี 20 ได้แบ่งเป็น 1.รถยนต์กระบะที่มีปล่อย CO2 ไม่เกิน 200 กรัม (n) ต่อกิโลเมตร (กม.) ปรับลดอัตราภาษ๊จากสรรพสามิตจาก 2.5% เหลือ 2% ส่วนที่ปล่อยCO2 ไม่เกิน 200 กรัมต่อกม. ปรับลดภาษีสรรพสามิตจาก 4% เหลือ 3% ที่ปล่อย CO2 เกิน 200 ก.ต่อกม. ปรับลดภาษีสรรพสามิตลงจาก 6% เหลือ 5%

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเพทธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 มีนาคม 2562

                  ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐเดินหน้าปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศล่าสุด หันมาปกป้องอุตสาหกรรมยนตรกรรม โดยเฉพาะรถยนต์นำเข้าจากต่างชาติ ถึงกับสั่งให้กระทรวงพานิชย์ดำเนินการสอบสวนว่ารถยนต์นำเข้าของบริษัทสัญชาติใดบ้างที่เข้ามาทำลายตลาดรถยนต์ในประเทศ และเข้าช่วยเหลือภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศภายใต้มาตรา 232 หรือไม่ ทรัมป์ย้ำด้วยว่าสหรัฐจะเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จากสหภาพยุโรป (อียู) เพิ่มเติม ถ้าหากหารเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับอียูล้มเหลวแถมยังบอกด้วยว่า อียูเป็นกลุ่มประเทศที่ทำข้อตกลงด้วยยาก และถ้าหากไม่มีการทำข้อตกลง สหรัฐก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกเหนือจากภาษีนำเข้า คำพูดของผู้นำสหรัฐเกี่ยวกับการเกก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ครั้งนี้ เท่ากับตอกย้ำทวีตเมื่อเดือนมิถุนายน ปีที่แล้วที่ว่า สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีรถยนต์นำเข้าจากอียูในอัตรา 20% และในเดือนพฤศจิกายน ทรัมป์ ประกาศเพิ่มอัตราภาษีเป็น 25% หลังจากบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม) ตัดสินใจปิดโรงงานหลายแห่งในสหรัฐและปลดพนักงานเพิ่มอีกกว่า 14,000 ตำแหน่ง สงครามการค้ากับจีนยังไม่ทันจบ ทรัมป์ก็เปิดศึกแนวใหม่กับยุโรปเสียแล้ว คาดปีนี้คงเป็นปีที่เหนื่อยหนักทั้งสหรัฐและประเทศคู่ค้า

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 มีนาคม 2562

                     นายอัตสีชิ ยาชูโมโต รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท มาสด้า เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า นโยบายปรับปรุงและขยายเครือข่ายผู้จำหน่ายภายใต้ภาพลักษณ์ใหม่ Mazda Corporate Identity หลายปีก่อน ทำให้มีนักลงทุนใหม่ๆ เข้ามาเป็นสมาชิกมาสด้าเยอะขึ้น ล่าสุด กลุ่มพระนครยนตรการ (พีเอ็นอกรุ๊ป) ตัดสินใจทุ่มเม็ดเงินลงทุนกว่า 1,500 ล้านบาท เปิด 4 โชว์รูมรวด นายธวัชชัย จึงสงวนพรสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท พระนคร เซลล์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด กล่าวว่า กลุ่มพระนครเติบโตมาจากการประกอบธุรกิจ ในอุตสาหกรรมยานยนต์มายาวนานกว่า 58 ปี แตกย่อยเป็นหลากหลายสินค้าและบริการที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมรถยนต์แบบครบวงจร สำหรับ มาสด้า พระนคร เป็นธุรกิจอันดับที่ 13 เรามองเห็นการเติบโตของมาสด้ามาหลายปี ผนวกกับแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่เป็นรูปธรรม มีวิสัยทัศน์ที่เด่นชัด ในขณะที่ความต้องการครอบครองรถยนต์มาสด้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การตัดสินใจลงทุนภายใต้แบรด์มาสด้าจึงเกิดขึ้น ด้สยเงินลงทุนกว่า 1,500ล้านบาท กระจายอยู่บนทำเลศักยภาพ 4 แห่ง เน้นปักหมุดในจุดบนเส้นทางสายเสรษฐกิจเป็นหลัก และจะเปิดในครบทั้ง 4 แห่งภายในปีนี้ ซึ่งได้ฤกษ์ประเดิมเปิดสาขาแรกบนถนนเกษตร-นวมินทร์ และต่อด้วยสาขาอุดมสุขในเดือนมีนาคม สาขารัชโยธินในเดือนพฤศภาคม และสาขารัตนาธิเบศร์ในเดือนพฤศจิกายนนี้

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 มีนาคม 2562

                 นางปวีณา นันทิกุลวาณิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนมกราคม 2562 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 78,061 คัน เพิ่มขึ้น 17.3% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 30,221 คัน เพิ่มขึ้น 17.4% รถยนต์เพื่อการพานิชย์ 47,840 คัน เพิ่มขึ้น 17.3% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ มีจำนวน 39,674 คัน เพิ่มขึ้น 21% “ตลดรถยนต์เดือนมกราคม 2562 มีปริมาณการขาย 78,061 คัน เพิ่มขึ้น 17.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ และความต่อเนื่องของกิจกรรมส่งเสริมการขายประกอบกับยังมีการทยอยส่งมอบรถยนต์ที่จองไว้ในงาน Motor Expo ซึ่งจัดขึ้นในเดือนธันวาคมของปีที่ผ่านมา รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากการเมืองในประเทศมีสัญญาณดีขึ้นจากการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน ปัจจัยทั้งงหมดนี้ล้วนส่งผลบวกให้กับตลาดรถยนต์ในเดือนมกราคม สำหรับตลาดรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากภาพรวมของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และอุปสงค์ในประเทศ รวมถึงการบริโภคของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศ รวมถึงการยริโภคของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง

ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า ฉบับวันที่ 1 มีนาคม 2562

               ชี้ส่วนใหญ่หนีภาษีฟอกเงิน-แถมรับลูกครม.แก้ฝุ่น พาณิชย์เดินหน้าแก้กฎหมายนำเข้ารถยนต์มือสองส่วนบุคคล ชี้ส่วนใหญ่เป็นรถหรู รถหนีภาษีและผิดกฎหมาย มักเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ยาเสพติด มักมีการสวมสิทธิ์ใช้ชื่อผู้อื่น นำเข้าแทน เตรียมเสนอครม.พิจารณา แถมแก้ปัญญามลพิษจากรถยนต์เก่าด้วย นางสาวชุติมา บุญยประภัศร รมช.พานิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพานิชย์(พณ.)อยู่ระหว่างปรับปรุงประกาศระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้ารถยนต์ที่ใช้แล้ว(รถยนต์มือสอง) ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา เพื่อป้องกันปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน แก้ไขปัญหาการหลบเลี่ยงมาตรการคววบคุมเพื่อมาจำหน่ายในประเทศ รวมถึงการสวมสิทธิ์ใช้ชื่อผู้อื่นนำเข้าแทน การปลอมแปลงเอกสาร และสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง “รถยนต์มือสองอยู่ภายใต้การควบคุมนำข้าของกระทรวงพานิชน์ตั้งแต่พ.ศ.2496 จำนวน 9 ประเภท เบื้องต้นจะห้ามนำเข้ารถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อใช้เฉพาะตัว โดยส่วนใหญ่เป็นรถหรู ส่วนรถยนต์มือสองนำเข้าประเภทอื่นๆ ก็จะโอนหน้าที่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณานำเข้า” สำหรับรถยนต์ที่ใช้แล้วเป็นสินค้าควบคุมการเข้า ครอบคลุมรถยนต์ที่ใช้แล้ว 9 ประเภท ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.01,87.02,87.03,87.04 และ 87.05 ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร อาทิ รถยนต์นั่งที่ใช้แล้วเพื่อใช้เฉพาะตัว รถลักษณะพิเศษที่ใช้แล้วเพื่อใช้ในกิจกรรมของตน รถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อใช้ในกิจการของตน รถยนต์ที่ใช้แล้วทุกชนิดที่ได้รับการยกเว้นหรือชดเชยภาษี นอกจากนี้ยังมีรถยนต์ที่ใช้แล้วทุกชนิดโดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การสาธารณกุศล รถยนต์ที่ใช้แล้วทุกชนิดเป็นการชั่วคราว รถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อเป็นต้นแบบผลิตหรือศึกษาวิจัยรถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อปรับสภาพแล้วส่งออก รถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ฯลฯ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ 1 มีนาคม 2562

                  ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles : EV) เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ปี 2560 โดยได้วางแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยในระหว่างปี 2557-2562 การที่รัฐบาลไทยพยายามผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่เพราะนี่คือส่วนหนี่งของการลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดย ผศ.ดร.ภูรี สิรสุนทร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์ นักวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฮิบายว่ายานยน๕ชต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ไฟฟ้ามีอัตราเร่งในการออกตัวสูงไม่ต้องทดเกียร์ไม่มีเสียงดังของเครื่องยนต์นอกจากนี้ยังประหยัดค่าซ้อมบำรุงและค่าเชื้อเพลิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ก่อให้เกิดมลพิษอย่างฝุนละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ยานยนต์ไฟฟ้ามีข้อด้อยที่นักขับไม่ค่อยปลื้มคือราคาที่ค่อนข้างสูงและการชาร์จพลังงาน 1 ครั้ง (ประมาณ 4 ชั่วโมง) จะวิ่งได้ประมาณ 400 กิโลเมตร ทำให้ไม่เหมาะแก่การใช้เดินทางไกล เพราะฉะนั้นต่อให้มีข้อดีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหลายๆประเทศ อาทิ นอร์เวย์ เยอรมนี ญี่ปุ่น อเมริกาและจีน เริ่มนำมาใช้จริง แต่ความคุ้มค่าคุ้มราคาสำหรับคนไทย อาจจะต้องใช้เวลาในการวัดผลสักนิด สกว. จึงได้ทำงานวิจัยโครงหารประเมินมาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าต่อการยอมรับของผู้บริโภคและประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคขนส่งเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาดูว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้รถตัดสินใจมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนยานยนต์ประเภทที่ใช้เชื้อเพลิง (เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal combustion engine : ICE )) ผลการวิจัยพบว่าสิ่งที่ต้องทำให้เกิดความชมัดเจนคือตัวชี้วัดเพื่อนเปรียเทียบให้เห็นชัดเจนทั้ง ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (Total cost Ownership : TCO) ต่อยานยนต์ 1 คันไม่ว่าจะเป็นราคารถมือหนึ่งและมือสอง รวมไปถึงค่าเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จะตามมา เช่น ดอกเบี้ยประกันและภาษี ซึ่งในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนที่ผู้ใช้ยานยนต์ต้องจ่ายหรือ ต้นทุนเอกชนแล้ว EV ยังมีความโดดเด่นจูงใจไม่มามกพอที่จะทำให้ผู้ซื้อเปลี่ยนมาซื้อ EV โดยเฉพาะเมื่อยานยนต์ในเซ็กเมนต์เดียวกันยานยนต์ประเภทสันดาปภายในมีราคาที่ถูกกว่าในขณะที่ ต้นทุนทางสังคม โดนเฉพาะต้นทุนที่เกิดจากมลพิษทางอากาศการใช้ EV ไม่ก่อให้เกิดต้นทุนนี้เลยและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th