สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

                 นายศุกรศิษฎ์ หริตวร ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายเพาเวอร์ ออโต้โมบิล บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัท ตุ๊กตุ๊ก แฟคตอรี่ จำกัด เปิดตลาดรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ภายใต้แบรนด์ “TTF” ในไทยและภูมิภาคอาเซียนมุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าสหกรณ์สามล้อเครื่อง โรงแรม โรงพยาบาล คอนโดมิเนี่ยม ร้านอาหาร สถานศึกษา และกลุ่มรถขายอาหาร (Food Truck) เป็นหลัก โดยในปี 2561 บริษัทได้ขายรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า TIF ให้ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวไปแล้วกว่า 10 คัน และในปี 2562 นี้มีแผนจะขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผุ้ขับรถสามล้อรับจ้างสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันได้รับอนุมัติให้จะทะเบียนเพิ่มเติมเฉพาะในเชียงใหม่ 450 คัน คาดว่าบริษัทจะชิงส่วนแบ่งตลาดได้ประมาณ 10% ในขณะเดียวกันได้จับมือกับธนาคารออมสิน ในการสนับสนุนสินเชื่อรถสามล้อรับจ้างมีโอกาสซื้อรถสามล้อไฟฟ้าไว้ใช้ประกอบอาชีพได้ง่ายขึ้น ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการใช้รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าแทนสามล้อเครื่อง เพื่อลดปัญหามลภาวะฝุ่นละอองในอากาศที่กำลังเป็นปัญหาอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดสามล้อรับจ้างในกรุงเทพฯนั้น ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้จดทะเบียนเพิ่ม จึงยังไม่สามารถขยายตลาดในส่วนนี้ได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 21 มีนาคม 2562

              นายพิทักษ์ พฤทธิสาริการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฎิบัติการบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย)  เปิดเผยว่า การปฎิเสธ เข้าร่วมโครงการอีโคอีวีของรัฐในมุมมองของบริษัทมองของบริษัทมองเจตนาของรัฐบาลในการสนับสนุนนั้นดี แต่การต่อยอดทางเทคโนโลยีดังกล่าวไปสู่เทคโนโลยีไฮบริดหรือปลั๊ก-อิน ไฮบริด นั้นไม่สามารถทำได้ “เราเสนอให้รัฐบาล ถ้าหากจะมีการแก้ไขปัญหาของการสนับสนุนรถยนต์อีโคคาร์ควรแก้ทั้งระบบ ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาด้วยการออกมาตรการใหม่ออกมาเป็นอีโคอีวีในลักษณะนี้ ซึ่งเคยมีการสะท้อนมุมมองไปให้ทางภาครัฐในการสร้างความสมดุลของนโยบายเก่ากับนโยบายใหม่ให้สามารถเทียบเท่ากันได้ โดยหากโครงการอีโคคาร์จะเดินหน้าต่อไปได้นั้น รัฐบาลจะต้องปรับปรุงภาษีสรรพสามิตให้เหมาะสม” นายพิทักษ์ กล่าว ทั้งนี้ สำหรับการก้าวสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้น มองว่าในประเทศไทยนั้น มองว่าในประเทศไทยอาจจะยังไม่ก้าวไปถึงจุดนั้นเร็วนัก เนื่องจากราคาของแบตเตอรี่ยังเป็นอุปสรรคอยู่ และความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานยังมีข้อจำกัดอยู่โดยหากรัฐบาลสนับสนุนให้เป็นธุรกิจหรือสินค้าพิเศษดังเช่น กลยุทธ์ในประเทศจีน ที่รัฐบาลสนับสนุนให้ราคาถูกลง และโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอก็จะทำให้ตลาดเกิดขึ้นได้ สำหรับแผนบริษัท ล่าสุดเปิดตัว ฮอนด้า แอคคอร์ด ใหม่ เจเนอเรซั่นที่ 10 มีให้เลือก 2 เครื่องยนต์ ได้แก่ เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร เทอร์โบ และเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ไฮบริดราคาเริ่มต้นไม่เกิน 1.5-1.8 ล้านบาท โดยรถยนต์รุ่นดังกล่าวเป็นรุ่นแรกที่อยู่ภายใต้การขอรับส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอในโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในส่วนของเทคโนโลยีไฮบริด ขณะที่ภายในงานบางกอก อินเตอร์ เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 7 เมษายน นี้ ที่ชาเลนเจอร์ฮอลล์ อินมแพ็ค เมืองทองธานี จะมีการเปิดให้สำรองสิทธิการซื้อรถยนต์รุ่นดังกล่าว และจะสามารถส่งมอบได้ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป โดยตั้งเป้ายอดขายภายใน 1 ปีหลังจากการส่งมอบไว้อยู่ที่ 9,000 คัน ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นตลาดได้เป็นอย่างดี

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม 2562

                  กลุ่มสื่อต่างชาติรายงาน กรมศุลกากรจีนประกาศประกาศยกเลิกการระงับการนำเข้ารถยนต์เทสลาโมเดล 3 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้กรมศุลกากรจีนระงับนำเข้ารถยนต์รุ่นดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า บริษัทฯ ไม่ได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยการติดป้ายเตือนเป็นภาษาจีนภายในรถยนต์ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ราคาหุ้นของเทสลาร่วงลงทันทีร้อยละ 5  แหล่งข่าวภายในเปิดเผยว่า ขณะนี้เทสลาได้ปรับปรุงรถยนต์ของตรให้สอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว ทำให้ได้รับบริการอนุญาตให้นำเข้าจีนอีกครั้ง ข่าวดีดังกล่าวทำให้หุ้นของเทสลาในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นทนที่ร้อยละ 3  ทั้งนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เทสลาได้เปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเทสลา บนที่ดินมูลค่ากว่า 40 ล้านดอลลาร์ ในเชตชานเมืองของเซี่ยงไฮ้ โดยนับเป็นเดิมพันที่สำคัญของเทสลาที่ต้องการปัจจัยสนับสนุนในประเทศจีน อันเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก การผลิตรถยนต์ในประเทศจีนจะลดต้นทุนจากภาษีศุลกากรและการขนส่งทางทะเลสำหรับเทสลา เนื่องจากต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในท้องถิ่น โรงงานแห่งใหม่ของเทสลาในจีน ตั้งเป้าจะมีกำลังการผลิตสูงสุด 500,000 คันต่อปี และจะกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่แข่งขันกันเพื่อแย่งส่วนแบ่งชองภาคยานยนต์ไฟฟฟ้าของจีน อันเป็นอุตสหกรรมที่คาดว่าจะเติบโตต่อไป เนื่องจากรัฐบาลมุ่งมั่นผลักดันเทคโนโลยีพลังงานสะอาด

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 19 มีนาคม 2562

               อีก 2 ปีข้างหน้าหรือปี 2564 รถยนต์ทุกรุ่นจาก 12 ค่ายรถที่ผลิตขายในประเทศ จะต้องปรับระบบเครื่องยนต์เพื่อรองรับน้ำมันมาตรฐานที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาตรการแก้ไขวิกฤตมลพิษทางอากาศที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เกินค่ามาตรฐานในปี 2562 แต่ทว่าการพัฒนาไปสู่ระบบดังกล่าวยังต้องอาศัยระยะเวลาปรับตัว 12 ค่ายรถพร้อมปี 64  การลดฝุ่นละอองได้กลายเป็นวาระแห่งชาติในทันที ไม่เพียงการควบคุมปริมาณการเผาป่าการปล่อยควันจากยานพาหนะให้เป็นจำเลยที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด “นายสมชาย หาญหิรัญ” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดทำมาตรฐานการระบายสารมลพิษจากเครื่องยนต์เทียบเท่า EURO 5 (มอก. EURO 5 ) ให้มีผลบังคับใช้ในปี 2564 ที่จะกำหนดค่ากำมะถันไม่เกิน 10 ppm รวมถึงกำหนดค่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์และไนโตรเจนออกไซต์ เป็นต้น โดยล่าสุดมีค่ายรถยนต์ 12 แบรนด์ ประกอบด้วย Audi, BMW, Isuzu, Mazda, Mercedes-Benz, Mitsubishi, Mini, MG, Nissan, Suzuki, Toyota และ Volvo พร้อมที่จะปรับมาตรฐานเครื่องยนต์และผลิตภัณฑ์รถยนต์ทุกรุ่นเพื่อขายในประเทศให้เป็นไปตาม มอก. EURO 5 ในปี 2564 จากนั้นมาตรฐาน EURO 6 จะออกมาบังคับในปี 2565 ต่อไป สอดคล้องกับกระทรวงพลังงานที่มีเป้าหมายว่า ในอีก 2 ปี หรือปี 2564 กำลังการผลิตน้ำมันดีเซลมาตรฐาน EURO 5 ของโรงกลั่นทั้งหมด 6 แห่งทั้งโรงกลั่นไทยออยส์ IRPC เอสโซ่บางจาก SPRC และเซลล์ จะต้องผลิตน้ำมันและขายน้ำมันยูโร 5 ในสถานีจ่ายน้ำมันได้ครบทั้งหมด 100% ซึ่งล่าสุดทางคณะกรรมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้พิจารณาออกมาตรการเร่งรัดการลงทุนเพื่อให้โรงกลั่นน้ำมันจะได้รับสิทธิประโยชน์ ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรในการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน ทั้งนี้ จะต้องยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์ตามาตรการนี้ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2562

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 มีนาคม 2562

               นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้สั่งการให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เร่งดำเนินการปรับมาตรฐานการระบายสารมลพิษจากเครื่องยนต์จากปัจจุบันที่ใช้มาตรฐานยูโร 4 ให้เทียบเท่ายูโร 5 ในปี 2564 และยูโร 6 ในปี 2565 เพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวว่า สมอ. อยู่ระหว่างจัดทำมาตรฐานยูโร 5 โดยกำหนดรายละเอียดการระบายสารมลพิษและฝุ่นละอองที่เข้มกว่ายูโร 4 คาดว่าจะสามารถลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ภายในปีนี้ และบังคับใช้ในปี 2563  แต่ละบังคับใช้จริงปี 2564 เพื่อให้เวลาปรับตัว 1 ปี คาดว่าต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้นราว 3-4 % จะส่งผลกระทบกับรถยนต์อีโคคาร์และรถยนต์หรูต่างกันตามต้นทุน นายครรชิต ไชยสุโพธิ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่อยนต์โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลที่อาจจะต้องชดเชยเพราะหากต้นทุนเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะขายในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม

ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15 มีนาคม 2562

                    สมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีนเปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ประมาณ 1.48 ล้านคัน หรือลดลง 13.8% โดยลดลงเป็นเดอยที่ 8 ติดต่อกัน ดีมานด์รถยนต์ในประเทศจีนเพิ่มขึ้นในรอบหลายปีเนื่องจากจีนได้พัฒนาเศรษฐกิจจนทำให้มีชนชั้นผู้บริโภคเพิ่มขึ้น แตยอดขายรายปีลดลงเป็นครั้งแรกประมาณ 2 ทศวรรษในปีที่ผ่านมาเนื่องจากเศรษฐกิจโตลดลงและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ดอยช์แบงก์คาดการณ์ว่าทางการจีนจะมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์หากไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาสงครามการค้า ในขณะที่ชิตี้แบงก์ กล่าวว่ายังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการลดภาษีเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายหรือไม่ ดังนั้นน่าจะทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อรถยนต์จนกว่าจะมีมาตรการทางภาษี ยอดขายรถยนต์เป็นตัววัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคจีนและเศรษฐกิจจีนโดยรวมและยังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับบริษัทรถยนต์ต่างชาติที่หวังว่าดีมานด์ของจีนจะสามารถช่วยหนุนภาครถยนต์ทั่วโลกได้  ทางด้านบริษัทโฟร์กสวาเกนเปิดเผยเมื่อเช้าวันพุธว่าจะลดกำลังแรงงานถึง 7,000 คนเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและจะประหยัดเงินในส่วนของแบรนด์โฟร์กสวาเกนหลักๆ ให้ได้ปีละ 5,900 ล้านยูโรภายในปี 2566 เพื่อเพิ่มกำไรในการดำเนินงานเป็น 6% นอกจากนี้ บริษัทยังไม่ปฎิเสธที่จะลดพนังงานไปจนกว่าจะถึงปี 2568 แต่การเกษียณอายุก่อนกำหนดจจะช่วยให้บริษัทลดกำลังแรงงานได้ระหว่าง 5,000 – 7,000 คน มาตรการเพิ่มกำไรจะสามารถช่วยให้แบรนด์ของบริษัทมีระดับผลตอบแทนที่สามารถแข่งขันได้ 6% ในปี 2565

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 14 มีนาคม 2562

                  คงอาจกล่าวได้ว่า “รถยนต์ไฟฟ้า” หรือ EV กำลังมาแรงอย่างฉุดไม่อยู่ทั่วโลก สะท้อนออกมาจากยอดขายอีวีทั่วโลก รวมถึงรถปลั๊กอินไฮบริดที่ทะลุ 2 ล้านคัน เมื่อปี 2018 เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากปีก่อนหน้านี้ ตามข้อมูลของบริษัทวิจัย เอสแอนด์พี โกลบอล แพลตส์ โดยยอดขายรถอีวีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วน 54% ขอกยอดขายรถทั้งหมดภายในปี 2040 ซึ่งตลาดอีวีตัวท็อปคงหนีไม่พ้น จีน สหรัฐ และยุโรป “อาเซียน” เองก็นับเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่น่าจับตามองไม่น้อย เพราะมีศักยภาพในการก้าวขึ้นเป็นตลาดอีวีดาวรุ่งพุ่งแรงทั้งในแง่ของขนาดตลาดและการเป็นหมุดลงทุนพัฒนารถอีวีของนานาชาติ ในแง่ของตลาดอีวีนั้นจำนวนรถอีวีในอาเซียนคาดว่าจะคิดเป็นสัดส่วนราว 20% ของรถยนต์บนท้องถนนภายในปี 2025 แบ่งเป็นรถอีวี 4 ล้อ 8.9 ล้านคัน และรถไฟฟ้า 2 ล้อ หรือ 3 ล้อ อีกกว่า 59 ล้านคัน ตามการประเมินของหน่วยงานด้านพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (iRENA) สำหรับปัจจัยหลักที่ผลักดันให้สัดส่วนอีวีอาเซียนเพิ่มขึ้นมาจากนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล โดย “สิงคโปร์” เริ่มมุ่งหน้าเข้าสู่เส้นทางรถยนต์ไฟฟ้ามานับตั้งแต่ปี 2011 ด้วยการออกแผนกลยุทธ์ลดการปล่อยคาร์บอนจากการคมนาคม และเมื่อเดือนธันวาคม 2017 สิงคโปร์เปิด Blue SG บริการแชร์อีวีเริ่มต้นด้วยจำนวนรถ 80 คัน และจุดชาร์จ 30 จุด ด้าน “มาเลเซีย” ประกาศเป้าหมายเพิ่มอีวีบนถนนเป็น 1 แสนคันภายในปี 2030 รวมถึงเปลี่ยนไปใช้รถเมย์ไฟฟ้า 2,000 คันและเพิ่มจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 1.25 แสนจุด ขณะที่ “อินโดนีเซีย” ระบุว่าจะเพิ่มสัดส่วนอีวีในตลาดรถเป็น 20% ภายในปี 2025 แบ่งเป็นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2.1 ล้านคัน และรถเก๋ง 2,200 คัน อีกทั้งก่อนหน้านี้ประกาศแบนการขายรถยนต์ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลภายในปี 2040 สำหรับ “ไทย” การผลักดันอีวีช่วงที่ผ่านมาอยู่ภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกปี 2012-2021 ที่ได้รับการอนุมัติเมื่อปี 2015 โดยแผนดังกล่าวส่งผลให้จำนวนรถอีวีไฮบริด ทั้งแบบไฮบริด (HEV) และปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.02 แสนคัน ส่วนรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้า (BEV) ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1,394 คัน ในปี 2017 จากจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดเพียง 6 หมื่นคันเมื่อปี 2014

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 13 มีนาคม 2562

                   EA เตรียมให้เปิดจองรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น MINE MVP ในงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 40 ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 7 เมษายน คาดยอดขายกว่า 4000-5000 คัน เดินหน้าโรงงานแบตเตอรี่ตามแผนเล็งเปิดดำเนินการเชิงพานิชย์ปลายปีนี้ พร้อมทุ่ม 1,000 ล้านบาท ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าไฮบริดในเมียนมา-เวียดนาม ลั่นชัดเจนภายในปีนี้ นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า บริษัทจะนำรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น MINE MVP ราคาเฉลี่ยไม่เกิน 1 ล้านบาท ไปแสดงในงาน Bangkok international Motor Show 2019 (มอเตอร์ โชว์ ครั้งที่ 40 ) ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 7 เมษายน 2562 และเปิดให้จองก่อน คาดว่าจะสามารถขายรถยนต์ไฟฟ้าได้กว่า 4,000-5,000 คัน ส่วนรุ่นอื่นจะออกในปีถัดไป ทั้งนี้สอดคล้องกับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการปรับลดภาษีสรรพสามิตเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2565 ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า รถยนต์กระบะ และรถยนต์กระบะ 4 ประตู ที่ปล่อยค่า PM2.5 ไม่เกิน 0.005 หรือสามารถใช้ B20 ได้ ให้เก็บภาษีลดลง 1-2% และลดอัตราภาษีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนการผลิต มองว่าจะช่วยกระตุ้นตลาดรถยนต์ด้านจิตวิทยามากกว่า เช่น ทำให้ผู้บริโภคอยากใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งในระหว่างนี้บริษัทจะเร่งเดินหน้าขยายจุดบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือสถานีชาร์จไฟฟ้า เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ MINE และแบรนด์อื่นๆ นอกจากนี้ บริษัทยังสนใจพัฒนารถยนต์ในรูปแบบอื่นๆเช่น รถกระบะ รถบรรทุก และยานพาหนะอื่นๆ ในอนาคต ส่วนการขยายจุดบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือสถานีชาร์จไฟฟ้า ปัจจุบันขยายไปมากกว่า 300 จุดแล้ว ซึ่งมีแผนจะดำเนินากรขยายจุดชาร์จให้ครบ 1,000 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 2563

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2562

                 การที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มั่นคงได้นั้น เราจะต้องเก่งกว่าเดิมและจำเป็นต้องมีโนว์ฮาว จุดแข็งในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์สำคัญๆอยู๋ในประเทศไทยแล้ว แต่ยังไม่พอประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถยิ่งๆขึ้น “อดิศักดิ์ โรหิตศุน” กรรมการสถาบันยานยนต์ ผู้ทำการแทยผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ ยังหมายรวมและมองไปถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การรองรับเทคโนโลยีอัตโนมัติจะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน ปิกอัพ-พีพีวี สดใส จะเห็นว่ายอดการผลิตรถยนต์ในปี 2561 ที่ผ่านมา มียอดผลิตทะลุ 2,167,694 คัน โต 9% แบ่งเป็นการผลิตในประเทศ 1,041,739 คัน โต 20% ส่งออก 1,140,640 คัน ทรงตัว 4% ในปีที่ผ่านมา ส่วนในปีนี้ค่ายรถต่างคาดการณ์ยอดผลิตน่าจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา สำหรับตลาดในประเทศ ส่วนส่งออกนั้นคาดว่าจะลดลงไปเล็กน้อย ลดไป 4-5% คาดปีนี้ยอดผลิตน่าจะใกล้เคียงกับปีที่แล้วที่สัดส่วนการผลิต 58% นั้นจะเป็นรถในกลุ่มปิกอัพและพีพีวี ที่เหลือจะเป็นกลุ่มรถยนต์นั่ง แบ่งตามขนาดเครื่องยนต์หลัก เป็นรถเครื่องยนต์น้อยกว่า 1,500 ซีซี อยู่ที่ 30% รถขนาด 1,500-2,000 ซีซี อยู่ที่ 9% และรถมากกว่า 2,000 ซีซี มีอยู่ 2% โดยแทรนด์ความต้องการใช้รถยนต์ของปีนี้จะเป็นไปได้ทิศทางนี้สำหรับตลาดในประเทศนั้นปี 2561 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ 3 ที่ประเทศไทยมียอดขายรถยนต์เกินกว่า 1 ล้านคัน ห่วงการเมืองกระทบ ปัจจัยลบที่ต้องจับตามองมีหลายตัวเหมือนกัน เช่น การครบกำหนดอายุของรถยนต์คันแรกที่ครบอายุ 5 ปี ยังมีอยู่ และกลุ่มรถยนต์ xEV ซึ่งมีทั้งไฮบริด ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และอื่นๆที่มีมอเตอร์ที่ค่ายรถยนต์ต่างๆจะทยอยส่งออกสู่ตลาด ทั้งญี่ปุ่นและยุโรปน่าจะมีออกสู่ตลาดมากขึ้น และช่วยกระตุ้นความต้องการในตลาดรถยนต์ได้ ส่วนปัญหาเรื่องไฟแนนซ์ สถาบันการเงิน ทั้งจากค่ายรถยนต์เองและจากสถาบันการเงินทั่วไป น่าจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ซื้อรถยนต์คันใหม่ได้ แต่เชื่อว่าทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคจะสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ แต่ปัจจัยที่ต้องจับตาคือ สถานการณ์การเลือกตั้ง รถใหม่ในปัจจุบันซื้อโดยวิธีการผ่อนชำระ 80-90% ผู้ที่ผ่อนรถเอาเงินเดือนส่วนพิเศษ เงินโอทีมาผ่อนรถ ถ้าเศรษฐกิจดีก็จะมีเงินมาผ่อน ทำให้วงจรเดินตามปกติ แม้ว่าดอกเบี้ยจะมีการปรับขึ้นบ้างแต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี หากลดโอทีก็จะส่งผลกระทบ ทั้งนี้ หากการเลือกตั้งราบรื่นก็ไม่น่าจะมีปัญหาหรือผลกระทบทแต่อย่างใด แต่หากการเลือกตั้งผ่านไปแล้วแต่ยังไม่แข็งแรง อาจจะส่งผลกระทบได้ กลุ่มเกษตรกรเองก็ยังต้องจับตาราคาพืชผล ที่ปัจจุบันยังถือว่าเป็นปัจจัยที่ต้องจับตา

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2562

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th