รถยนต์พระที่นั่งองค์แรกแห่งราชสำนักไทยมีการบันทึกไว้ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ที่รู้จักกันว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” พระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จฯทรงรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศส ได้ซื้อรถเดมเลอร์ เบนซ์ (Daimler Benz)มาไว้ใช้งาน และเมื่อเสด็จฯกลับสยาม ก็ได้ถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้ใช้เป็นราชยานยนต์ส่วนพระองค์เป็นคันแรก รถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สมัยประทับอยู่เมืองโลซานประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ คือ“เมอร์เซเดส-เบนซ์ นูร์เบิร์ก 500 (Mercedes-Benz Nurburg 500)” ซึ่งเป็นรถยนต์พระที่นั่งที่รัฐบาลไทยจัดถวาย รถยนต์ฝรั่งเศสที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดและเสด็จฯทอดพระเนตร ยี่ห้อเดอลาเฮย์ (Delahaye)ผลิตในกรุงปารีส โดยทรงซื้อรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์จากเดอลาเฮย์ถึง 4 คัน คือเดอลาเฮย์ โมเดล 135สองประตูเปิดประทุน คาบริโอเล่ต์,เดอลาเฮย์ โมเดล 178เครื่องยนต์หกสูบ สามคาร์บิวเรเตอร์แบบรถแข่ง ตัวถังซาลูน,เดอลาเฮย์โมเดล 178เครื่องยนต์หกสูบ คาร์บิวเรเตอร์เดี่ยว เดิมเป็นตัวถังซาลูน ต่อมาปรับปรุงเป็นแวก้อนติดซันรู้ฟโดยบริษัท ไทยประดิษฐ์, และเดอลาเฮย์ โมเดล 180ตัวถังลีมูซีน เครื่องยนต์หกสูบ สามคาร์บิวเรเตอร์ ฐานล้อยาว มีกระจกกั้นกลางห้องโดยสารกับห้องคนขับ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 24 ตุลาคม 2560
สมชาย หาญหิรัญ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม มองเห็นการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทย มาทุกยุค ขยายความให้ฟังว่า ภาคอุตสาหกรรม ของไทยเติบโตตามนโยบายส่งเสริมการลงทุน ของรัฐบาล โดยในช่วงปี 2528- 2529 เกิด "จุดเปลี่ยน" สำคัญทำให้อุตสาหกรรมไทย เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมาจาก 2 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่ 1. การค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และการเริ่มต้นพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรือ อีสเทิร์นซีบอร์ด และ 2. ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประเทศต่างๆขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่น กลายเป็น "แรงกดดัน"ให้ญี่ปุ่นต้องปรับค่าเงินเยน ให้แข็งค่าขึ้นเกือบเท่าตัว จึงต้องหาทางออกด้วยการย้ายฐานไปผลิตในประเทศอื่น จึงมุ่งมาลงทุนที่อิสเทิร์นซีบอร์ดเป็นจำนวนมากเพราะมีก๊าซธรรมชาติ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 ตุลาคม 2560
นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) เปิดเผยว่า ข้อตกลงเขตการค้าอาเซียน - จีน (เอซีเอฟทีเอ) จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2561 นี้ โดยขณะนี้มีความกังวลประเด็นการนำเข้ารถยนต์นั่งไฟฟ้าที่ภาษีจะเหลือ 0% อาจส่งผลกระทบต่อแผนส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย เนื่องจากราคารถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) จากประเทศจีนถูกกว่า ประเด็นนี้ สมอ.ต้องขอหารือกับผู้บริหาร กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ก่อน โดยก่อนหน้านี้ ทางกรมศุลได้แจ้งมามายังสมอ.แล้วว่า มีความประสงค์หารือร่วมกับสมอ.ถึงแนวทางการดูแลเรื่องนี้ นายณัฐพลกล่าวว่า สำหรับบทบาทของสมอ.ต่อการกำกับดูแลรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี)ได้กำหนดแผนงานอย่างชัดเจนในการกำหนดมาตรฐาน ปลั๊กสำหรับชาร์จรถอีวี แบตเตอรี่ ซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดมาตรฐานทั่วไปปลั๊กแล้ว 6 ประเภท ขณะนี้ทราบว่า กระทรวงพลังงาน เตรียมเสนอให้กำหนดเหลือ 2 ประเภท เพื่อให้การจัดตั้งสถานีชาร์จมีความคล่องตัวมากขึ้น ขณะที่แบตเตอรี่จะมีการจัดตั้งห้องทดสอบ(แล็บ)ภายในปี 2562 มีสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ดูแล ซึ่งแบตเตอรี่จะกำหนดเป็นมาตรฐานบังคับเพราะหากไม่ได้มาตรฐานจะเป็นระเบิดขนาดใหญ่ ที่อยู่ใกล้ผู้ใช้รถ โดยจะมีการประกาศหลังปี 2562 นอกจากนี้ สมอ. อยู่ระหว่างการกำหนดมาตรฐานด้านการท่องเที่ยวและบริการ เช่น มาตรฐานด้านความสะอาด สารที่ใช้ปรุงแต่ง ฯลฯ ตลอดจนการกำหนดมาตรฐานของอุตสาหกรรมสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว อาทิ กลุ่มของฝาก ของที่ระลึก ที่อยู่อุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอ โดยกลุ่มนี้จะมี 2 มาตรฐานหลักดูแล คือ มาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ(เอสเอ็มอีไลท์) ซึ่งสมอ.กำลัง จัดทำคาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ช่วงต้นปี 2561 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.)ซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 20 ตุลาคม 2560
นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่าดัชนีเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนกันยายน 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่2อยู่ที่ระดับ 86.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ระดับ 85.0 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือนจากเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 86.4 ส่วนดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ระดับ 101.9 เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศ การส่งออก การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐ ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคำสั่งซื้อจาก ต่างประเทศเพื่อส่งมอบในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ประกอบกับการบริโภคภายในประเทศเริ่มมีสัญญาณที่ดี เห็นได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 80.3 จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 77.8 โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดย่อม ที่ดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ในรอบ 6 เดือน อยู่ที่ระดับ 70.6 หลังจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมาปรับลดลงติดต่อกัน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 19 ตุลาคม 2560
Brussels, 17 October 2017 – In September 2017, passenger car registrations across the European Union fell by 2.0%, totalling 1,427,105 units. In September 2017, passenger car registrations across the European Union fell by 2.0%, totalling 1,427,105 units. However, it must be noted that September 2016 figures (the highest total on record to date) constituted a high basis of comparison. Momentum in some of the EU’s five key markets is starting to slow, especially in the United Kingdom (‐9.3%) and Germany (‐3.3%). However, these declines were partially offset by the solid performance of the Italian and Spanish markets (up 8.1% and 4.6% respectively). Over the first nine months of 2017, demand for passenger cars remained positive in the EU, with almost 11.7 million new vehicles registered – an increase of 3.7% compared to the same period last year. Italy (+9.0%), Spain (+6.7%), France (+3.9%) and Germany (+2.2%) performed well so far in 2017, although UK car demand fell by 3.9%. Noteworthy is the strong performance of the new EU member states, where registrations went up by 13.8% during the period.
ที่มา : acea.be วันที่ 18 ตุลาคม 2560
Sales of electric vehicles and plug-in hybrids in China continue to gather steam, rising 79 percent to roughly 78,000 vehicles in September. EV deliveries soared 83 percent to 64,000 last month over September 2016 while plug-in hybrid demand jumped 62 percent to 14,000, the China Association of Automobile Manufacturers said. Through September, sales of EVs and plug-in hybrids totaled 398,000, up 38 percent. That sales figure includes 325,000 EVs and 73,000 plug-in hybrids. In China, only domestically produced EVs, plug-in hybrids and fuel-cell powered vehicles qualify for government subsidies. To date, no automaker has launched sales of fuel-cell vehicles. The Chinese government plans to end subsidies for EVs and plug-in hybrids by 2020. Despite that, EV sales are expected to remain robust as automakers attempt to comply with a California-style carbon credit trading program that takes effect in 2019.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 17 ตุลาคม 2560
FTA อาเซียน-จีน ป่วน กระทบแผนปั้นไทยขึ้นเป็นฮับผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภูมิภาค เหตุซุกภาษี 0% รถอีวี มีผล 1 ม.ค.61 กรมศุลกากรปวดขมับภาษี 2 มาตรฐาน กระทบหนักทั้งนำเข้า-ผลิตในประเทศ "นิสสัน" ยื่นรัฐทบทวนด่วน! กลายเป็นประเด็นร้อนฉ่าขึ้นมาทันทีจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) นี้ หลังจากกระทรวงการคลังออกประกาศมาตั้งแต่ปี 2547 สินค้าภายใต้ข้อผูกพัน ACFTA จำนวน 703 รายการ มีอัตราอากรลดลงจากปีนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่เคยเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 20% 15% 12% และ 10% เหลือเสีย 5% และกลุ่มที่ 2 อัตราภาษีนำเข้าทั่วไปต่ำกว่า 5% จะมีตั้งแต่ 5% 3% และ 0% จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 โดย 1 ในสินค้าที่กระทบอย่างหนักคือรถยนต์นั่งไฟฟ้าที่จะจัดเก็บ 0% นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า สินค้าเกษตร รถยนต์นั่งไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) อุปกรณ์ส่วนควบคุมและอุปกรณ์เสริมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ เครื่องอัดประจุไฟฟ้า จะมีอัตราภาษีเหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ไม่นับรถเมล์ไฟฟ้า ที่ยังคงเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 30% ซึ่งหากมีการนำเข้าจากจีนจำนวนมากก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศ โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลกำลังส่งเสริมและดึงให้ผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ต่างชาติเข้ามาใช้ไทยเป็นฐานในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 16 ตุลาคม 2560
นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการก่อสร้างศูนย์ทดสอบ ยานยนต์และยางล้อรถยนต์แห่งชาติ ที่อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานใน เฟสแรก สร้างสนามทดสอบยางล้อมาตรฐาน R117 และศูนย์การเรียนรู้รถยนต์ไฟฟ้า และศูนย์การเรียนรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจะแล้วเสร็จและ ให้บริการได้ในปลายไตรมาส 1 ถึง ต้นไตรมาส 2 ปี 2561 ส่วนเฟส 2 จะเริ่มก่อสร้าง ในปี 2561 จะสร้างสนามทดสอบยานยนต์ อีก 5 สนาม ใช้งบประมาณ 800 ล้านบาท และห้องทดสอบความปลอดภัยรถยนต์ไฟฟ้าใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท รวมทั้งจะสร้างห้องทดสอบแบตเตอร์รี่ รถยนต์ไฟฟ้า 270 ล้านบาท รวมแล้วจะใช้งบประมาณ 1,570 ล้านบาท จะแล้วเสร็จในต้นปี 2562
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 12 ตุลาคม 2560