สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

         รัฐบาลอินโดนีเซียวางแผนผลักดันการใช้น้ำมันไบโอดีเซลทั่วประเทศในเดือน ก.ย.ที่จะถึงนี้ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศ และลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าน้ำมันจากต่างชาติ รวมถึงลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอินโดนีเซียที่มีมากถึง 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.6 แสนล้านบาท) ในปีนี้ ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการตอบรับอย่างดีจากทั้งรัฐบาลและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม โดยมาตรการสนับสนุนการใช้ไบโอดีเซล และระบุให้โรงผลิตไฟฟ้าและรถไฟหันมาใช้น้ำมันไบโอดีเซลชนิดบี20 นั้นคาดว่าจะทำให้อินโดนีเซียประหยัดต้นทุนด้านน้ำมันได้มากถึง 6,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 2 แสนล้านบาท) ต่อปี ในปัจจุบันอินโดนีเซียนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันแปรรูป 4 แสนบาร์เรล/วัน  ในทางตรงข้ามข้อเสนอนี้สร้างความกังวลให้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์ว่า การใช้น้ำมันไบโอดีเซลอาจทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ลดลง สอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ระบุว่า การใช้น้ำมันบี20 นั้นมีผลต่อตัวทำละลายที่สามารถกัดกร่อนสารกันรั่วของเครื่องยนต์ และเพิ่มการปล่อยก๊าซไนโตรเจนและสารพิษอื่นๆ สู่อากาศมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม ทางการอินโดนีเซียยืนยันว่า การใช้น้ำมันบี20 นั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการเร่งของเครื่องยนต์ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 9 สิงหาคม 2561

 

          รองเลขาธิการบีโอไอ กล่าวถึงสถานะ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมที่กำลังถูกจับตาว่าเป็นตัวขับเคลื่อนการลงทุนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไล่เลียงไปจะเห็นว่ากลุ่มยานยนต์ ที่เวลานี้โลกโฟกัสไปที่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถอีวี รถยนต์ในอนาคตมากขึ้น และขึ้นอยู่ที่ความพร้อมของแต่ละประเทศ     โดยที่ผ่านมานโยบายจาก บีโอไอจะให้การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า 3 แบบ ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้า (Hybrid  Electric Vehicle: HEV) และ รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (Plug-In Hybrid Electric Vehicle: PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) โดยให้ส่งเสริมการผลิตทั้งรถยนต์นั่ง รถกระบะ และรถโดยสาร และให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ที่แตกต่างกันตามระดับเทคโนโลยีในการผลิต   เมื่อมาดูการลงทุนในแต่ละประเภท รถ HEV มี 3 ค่ายที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอไปแล้วคือค่าย โตโยต้า ฮอนด้า และนิสสัน ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องเสนอเป็นแผนงานรวม (Package) ที่ประกอบด้วย โครงการประกอบรถยนต์ และโครงการผลิตหรือใช้ชิ้นส่วนสำคัญๆ ส่วนสิทธิและประโยชน์จะได้รับเฉพาะการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยสิ้นสุดการขอรับการส่งเสริมไปแล้วเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
ที่มา หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 8 สิงหาคม 2561

 

             Chinese vehicle imports declined 87 percent in June from a year earlier to 15,000 vehicles as automakers delayed shipments before tariff cuts on foreign-made vehicles took effect last month, according to an industry association.  The data from the China Automobile Dealers Association, which was reported by local media on Monday, also showed that overall sales of imported vehicles during the first half of 2018 fell 22 percent year on year to 451,971 vehicles.  The association published the June data last week and has yet to release July figures. In May, China said it would steeply cut import tariffs for foreign-made automobiles and car parts to 15 percent from 25 percent starting July 1. But in July, China raised tariffs on vehicles imported from the United States to 40 percent amid rising trade tensions with Washington. "June was the most impacted month," said Wang Cun, director of the China Automobile Dealers Association's import committee. "Many car dealers held back their import orders and decided not to import until July 1," he said.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 7 สิงหาคม 2561

 

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว นำคณะผู้แทนไทยจากภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมการประชุม คณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ระดับรัฐมนตรีการค้าไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 2-3 สิงหาคม 2561 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนามว่า ฝ่ายไทยได้ติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการออกระเบียบควบคุมการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา โดยเวียดนามได้กำหนดให้รถยนต์ที่นำเข้าทุกรุ่น-ทุกแบบ ต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยกับห้องทดลองของรัฐบาลเวียดนามเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยได้เสนอให้เวียดนามจัดทำความตกลงยอมรับร่วม (MRA) มาตรฐานยานยนต์ไทย-เวียดนาม เพื่อแก้ไขปัญหาการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่หน่วยงานทั้ง 2 ฝ่ายตรวจซ้ำในเรื่องเดียวกัน“ผลการหารือครั้งนี้มีสัญญาณบวก เพราะเวียดนามรับข้อเสนอไทยในเรื่องการปรับกระบวนการทำงานภายใต้กฎหมายตรวจสอบมาตรฐานรถยนต์นำเข้า ซึ่งปัจจุบันเวียดนามมีห้องปฏิบัติการการตรวจสอบเพียง 1 แห่ง และมีเจ้าหน้าที่ไม่มาก ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาตรวจสอบเพิ่มขึ้นจาก 3-4 วันกลายเป็น 30 วัน ฝ่ายไทยจะให้ความร่วมมือในการฝึกอบรมและพัฒนาผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบยานยนต์ให้กับเวียดนามรวมทั้งให้เวียดนามใช้ไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในซัพพลายเชน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติของเวียดนาม
ที่มา : หนังสือพิมพ์  ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 6 สิงหาคม 2561

 

               "พีเอ็นเอ กรุ๊ป" จ้องเรียกค่าเสียหายจากทาทา หลังประกาศยุติไลน์ผลิตใน ปท. เลิกใช้โรงงานบางชันฯ ย้ำสัญญาระบุจ้างผลิตปีละ 1,200 คัน ด้านทาทา ยันแผนรุกตลาดยังเหมือนเดิม ทั้งเซอร์วิสและงานขายอยู่ครบ โปรดักต์ ใหม่เน้นซีบียูจากอินเดีย กลุ่มพระนครยนตรการ หรือพีเอ็นเอ กรุ๊ป (PNA) เปิดเผย  กระแสข่าวรถยนต์ทาทายุติไลน์การผลิตในเมืองไทย หันไปใช้วิธีนำเข้าแทน ตามที่นายพี บาลาจี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (ซีเอฟโอ) ของกลุ่มบริษัท ทาทา มอเตอร์ส ประเทศอินเดีย ประกาศนั้นมีสัญญาณมาระยะหนึ่งแล้ว  หลังจากช่วงกลางปี 2560 ที่ผ่านมา บริษัททาทา มอเตอร์ ได้เจรจาใช้โรงงาน บางชันเยนเนอเรลเอเซมบลี ประกอบรถยนต์ทาทา ซีนอน ซึ่งได้มีการทดลอง ประกอบ แต่เป็นจำนวนไม่มากนัก เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ ผู้บริหารทาทา มีแผนจะขึ้นไลน์ประกอบรถยนต์ ทาทา ซูเปอร์เอซ มินต์ ที่โรงงานแห่งนี้ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2561 ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด  "เรามีข้อตกลงร่วมกันผลิต ปีละ 1,200 คัน นี่ผ่านมาเกือบเดือนเพิ่งประกอบไปได้เพียง 100-200 คันเท่านั้น ยิ่งช่วงหลังผลิตน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ช่วงย้ายจากโรงงานธนบุรีฯ มาอยู่โรงงาน บางชันฯ ทาทาประกาศว่าใช้เงินกว่า 500 ล้านบาท"  หากทาทา ตัดสินใจไม่ประกอบรถยนต์ที่โรงงาน บางชันฯ ทาทาต้องรับผิดชอบค่าขนย้าย อุปกรณ์ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามหาศาล รวมทั้งจะต้องมีการจ่ายค่าเช่า พื้นที่ของโรงงานให้กับทางพีเอ็นเอ กรุ๊ปด้วย
ที่มา หนังสือพิมพ์  ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 6 สิงหาคม 2561

 

             Used-vehicle sales continued to outpace new-vehicle deliveries in China over the first six months of the year, rising 13 percent to top 6.6 million behind demand for secondhand crossovers and SUVs. Deliveries of used crossovers and SUVs surged 37 percent from a year earlier to about 552,700, according to the China Automobile Dealers Association. Used bus sales jumped 15 percent to roughly 701,100 while secondhand truck deliveries advanced 14 percent to around 590,600. In the first six months, used multipurpose vehicle deliveries rose 13 percent to 386,400 and secondhand sedan sales increased 12 percent to approach 3.9 million. The dealer group did not disclose sales of other types of used vehicles such as minibuses. In the first half, sales of new vehicles in China including trucks and buses increased 5.6 percent to nearly 14.1 million, according to the China Association of Automobile Manufacturers.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 3 สิงหาคม 2561

 

         กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดฉากงาน "Thailand Industry Expo 2018"  อย่างยิ่งใหญ่ โดยได้รับเกียรติจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน ภายใต้แนวคิด "CHANGE to SHIFT" เปลี่ยนเพื่อปรับ ยกระดับอุตสาหกรรมไทยอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อแสดงศักยภาพและยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย จัดโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานพันธมิตรจากภาครัฐ ภาคเอกชนสถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน สถาบันวิจัย และองค์กรระหว่างประเทศ   พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในพิธีเปิดงาน "Thailand Industry Expo 2018"  ประเทศไทยในวันนี้เดินมาถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในการพัฒนาประเทศให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า ภายใต้โมเดลประเทศไทย 4.0 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการนำพาประเทศ ให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง ซึ่งตรงกับแนวคิดของการจัดงาน "CHANGE to SHIFT" เปลี่ยนเพื่อปรับ ยกระดับอุตสาหกรรมไทย โดยเชื่อมั่นว่าเอสเอ็มอี (SMEs) ที่มีอยู่ในประเทศไทย จะสามารถพัฒนาจาก Small & Medium Enterprise มาเป็น Smart Enterprise และจะเป็นแรงผลักดัน ที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปแบบก้าวกระโดด เกิดการกระจายรายได้ไปตามหัวเมืองต่าง ๆ ลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งเป็นแรงขับเคลื่อน สู่ประเทศไทย 4.0 ได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป
ที่มา : สำนักข่าวกระทรวงอุตสาหกรรม วันที่ 3 สิงหาคม 2561

 

         หลังจากรถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลก ล่าสุดทางบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่แห่งหนึ่งในจีนคือ คอนเทมโพรารี แอมเพอเร็กซ์ เทคโนโลยี (Contemporary Amperex echnology Ltd. หรือ CATL) บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ ลิเทียม-อิออนใหญ่ที่สุดในโลกของประเทศจีน ตัดสินใจเตรียมเปิดโรงงานในประเทศเยอรมนี เพื่อผลิตแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า ป้อนให้กับค่าย บีเอ็มดับเบิลยูเป็นหลัก ด้วยข้อตกลงมูลค่ากว่า 155,000 ล้านบาท   การลงทุนเปิดโรงงานขึ้นมาใหม่ในเมืองเออร์เฟิร์ต รัฐทูริงเกีย ประเทศเยอรมนี ถือเป็นโรงงานแรกที่เปิดขึ้นในยุโรป การเซ็นสัญญาครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างการไปเยือนประเทศเยอรมนีของนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีน และได้เข้าร่วมพบปะกับนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี  สำหรับลูกค้าหลักที่ทำการเซ็นสัญญาสั่งซื้อแบตเตอรี่แล้ว ก็คือค่ายรถยนต์ของเยอรมนีอย่าง บีเอ็มดับเบิลยู มูลค่าการสั่งซื้อช่วงแรกประมาณ 4 พันล้านยูโร หรือประมาณ 155,000 ล้านบาท โดยจะป้อนเข้าไปติดตั้งในทั้งบีเอ็มดับเบิลยูและมินิ ภายใต้แบรนด์ไอเน็กซ์ (iNext) รถลิมูซีนไฟฟ้า จะเริ่มผลิตขึ้นมาภายในปี 2021
 
ที่มา :หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 2 สิงหาคม 2561

 

           นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้หารือในเบื้องต้นกับกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เห็นพ้องกันว่าควรจะต้องหามาตรการ เพิ่มเติมเพื่อจูงใจให้ผู้ผลิตรถยนต์ลงทุนต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต เนื่องจากต้องการให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเกิดการเปลี่ยนถ่ายให้พร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต "ได้หารือกันกับกระทรวงการคลังและบีโอไอว่า ควรจะต้องหามาตรการทางภาษีใหม่ๆ เพิ่มเติมจูงใจให้เกิดการลงทุนและการบริโภครถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในประเทศ คาดว่ามาตรการใหม่น่าจะออกมาภายในปีนี้" นายณัฐพล กล่าว   ทั้งนี้ เบื้องต้นจะต้องส่งเสริมให้เกิดการลงทุนผลิต 4 ส่วน คือ ตัวชาร์จไฟฟ้า มอเตอร์ แบตเตอรี่ แบตเตอรี่แมเนจเมนต์ และตัวคอนโทรลที่จะใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นภายในประเทศให้ได้ก่อนซึ่งหากสามารถส่งเสริมให้เกิดและเข้าไปอยู่ในฐานการผลิตรถยนต์ได้ก็จะทำให้ในอนาคตประเทศไทยสามารถพัฒนา ขับเคลื่อนไปสู่อุตสาหกรรมรถยนต์แบบไร้คนขับได้ ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกและจะทำให้ประเทศไทยยังสามารถเป็นฐานการผลิตรถยนต์ได้ต่อไป
ที่มา: หนังสือพิมพ์  โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 1 สิงหาคม 2561

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th