สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

   Brussels, 17 October 2017 – In September 2017, passenger car registrations across the European Union fell by 2.0%, totalling 1,427,105 units. In September 2017, passenger car registrations across the European Union fell by 2.0%, totalling 1,427,105 units. However, it must be noted that September 2016 figures (the highest total on record to date) constituted a high basis of comparison. Momentum in some of the EU’s five key markets is starting to slow, especially in the United Kingdom (‐9.3%) and Germany (‐3.3%). However, these declines were partially offset by the solid performance of the Italian and Spanish markets (up 8.1% and 4.6% respectively). Over the first nine months of 2017, demand for passenger cars remained positive in the EU, with almost 11.7 million new vehicles registered – an increase of 3.7% compared to the same period last year. Italy (+9.0%), Spain (+6.7%), France (+3.9%) and Germany (+2.2%) performed well so far in 2017, although UK car demand fell by 3.9%. Noteworthy is the strong performance of the new EU member states, where registrations went up by 13.8% during the period.

ที่มา : acea.be วันที่ 18 ตุลาคม 2560

 
 

 

           Sales of electric vehicles and plug-in hybrids in China continue to gather steam, rising 79 percent to roughly 78,000 vehicles in September. EV deliveries soared 83 percent to 64,000 last month over September 2016 while plug-in hybrid demand jumped 62 percent to 14,000, the China Association of Automobile Manufacturers said. Through September, sales of EVs and plug-in hybrids totaled 398,000, up 38 percent. That sales figure includes 325,000 EVs and 73,000 plug-in hybrids. In China, only domestically produced EVs, plug-in hybrids and fuel-cell powered vehicles qualify for government subsidies. To date, no automaker has launched sales of fuel-cell vehicles. The Chinese government plans to end subsidies for EVs and plug-in hybrids by 2020. Despite that, EV sales are expected to remain robust as automakers attempt to comply with a California-style carbon credit trading program that takes effect in 2019. 

ที่มา : www.autonews.com วันที่ 17 ตุลาคม 2560

 

 

            FTA อาเซียน-จีน ป่วน กระทบแผนปั้นไทยขึ้นเป็นฮับผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภูมิภาค เหตุซุกภาษี 0% รถอีวี มีผล 1 ม.ค.61 กรมศุลกากรปวดขมับภาษี 2 มาตรฐาน กระทบหนักทั้งนำเข้า-ผลิตในประเทศ "นิสสัน" ยื่นรัฐทบทวนด่วน!  กลายเป็นประเด็นร้อนฉ่าขึ้นมาทันทีจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) นี้ หลังจากกระทรวงการคลังออกประกาศมาตั้งแต่ปี 2547 สินค้าภายใต้ข้อผูกพัน ACFTA  จำนวน  703 รายการ มีอัตราอากรลดลงจากปีนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่เคยเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 20% 15%  12%  และ 10% เหลือเสีย 5%  และกลุ่มที่ 2 อัตราภาษีนำเข้าทั่วไปต่ำกว่า 5% จะมีตั้งแต่ 5% 3% และ 0% จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 โดย 1 ในสินค้าที่กระทบอย่างหนักคือรถยนต์นั่งไฟฟ้าที่จะจัดเก็บ 0% นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า สินค้าเกษตร รถยนต์นั่งไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) อุปกรณ์ส่วนควบคุมและอุปกรณ์เสริมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ เครื่องอัดประจุไฟฟ้า จะมีอัตราภาษีเหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ไม่นับรถเมล์ไฟฟ้า ที่ยังคงเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 30% ซึ่งหากมีการนำเข้าจากจีนจำนวนมากก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศ โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลกำลังส่งเสริมและดึงให้ผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ต่างชาติเข้ามาใช้ไทยเป็นฐานในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 16 ตุลาคม 2560

 

 

 

       กรมศุลฯเรียกผู้นำเข้ารถยนต์ทั้ง "เกรย์มาร์เก็ต-ดีลเลอร์-ผู้ประกอบการ ยานยนต์" ทำความเข้าใจคำสั่ง 317 ฉบับปรับปรุงใหม่ 11 ต.ค.นี้ ยัน "ปิดลับ" ไม่เปิดรายละเอียดเกณฑ์หวั่นเป็นช่องเอกชนสำแดงต่ำ พร้อมเดินหน้าถก 3 ฝ่าย "ศุลกากร-พาณิชย์-อุตสาหกรรม" รับมือผลกระทบ FTA ไทย-จีนกรณีรถยนต์ไฟฟ้าได้รับยกเว้นภาษี  นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า วันที่ 11 ต.ค.นี้ กรมศุลกากรได้เชิญผู้ประกอบการนำเข้า รถยนต์ ทั้งผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ (เกรย์มาร์เก็ต) ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ (authorized dealer) และผู้ประกอบ การยานยนต์ มาประชุมชี้แจงความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบการนำเข้ารถยนต์หรูของกรมศุลกากร หรือคำสั่ง 317 ที่จะบังคับใช้ในระยะต่อไป  "เราเชิญทั้งเกรย์มาร์เก็ต ดีลเลอร์ และผู้ประกอบการยานยนต์มาคุย" นายกุลิศกล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจวันที่ 13 ตุลาคม 2560
 

 

        นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการก่อสร้างศูนย์ทดสอบ ยานยนต์และยางล้อรถยนต์แห่งชาติ ที่อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานใน เฟสแรก สร้างสนามทดสอบยางล้อมาตรฐาน R117 และศูนย์การเรียนรู้รถยนต์ไฟฟ้า และศูนย์การเรียนรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจะแล้วเสร็จและ ให้บริการได้ในปลายไตรมาส 1 ถึง ต้นไตรมาส 2 ปี 2561  ส่วนเฟส 2 จะเริ่มก่อสร้าง ในปี 2561 จะสร้างสนามทดสอบยานยนต์ อีก 5 สนาม ใช้งบประมาณ 800 ล้านบาท และห้องทดสอบความปลอดภัยรถยนต์ไฟฟ้าใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท รวมทั้งจะสร้างห้องทดสอบแบตเตอร์รี่ รถยนต์ไฟฟ้า 270 ล้านบาท รวมแล้วจะใช้งบประมาณ 1,570 ล้านบาท จะแล้วเสร็จในต้นปี 2562 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 12 ตุลาคม 2560

 
 

 

   เมื่อเทรนด์รถพลังงานไฟฟ้า (EV) รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Drive) และ คาร์แชริ่ง (Car sharing) ขยับมาเร็วกว่าที่คิด โดยเป็นทิศทางใหม่ของโลกที่สอดคล้องกันตั้งแต่ระบบขับเคลื่อนและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ขณะเดียวกันยังเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ทั้งขนาดกลาง ขนาดเล็ก ได้เข้ามาแข่งขันในตลาด ระหว่างที่ค่ายใหญ่ยังขยับตัวช้า เพราะติดกับดักในเทคโนโลยีดั้งเดิมที่ตนเองลงทุนไปมหาศาล    อย่างไรก็ตาม หลายค่ายรถยนต์รายใหญ่เริ่มปรับตัวให้ทันกับกระแสใหม่นี้ จากเดิมที่พยายามลดต้นทุนการพัฒนาด้วยการแลกเปลี่ยนโปรดักต์ในการทำตลาด หรือเป็นรถโมเดลเดียวแต่แปะป้ายขายคนละยี่ห้อ รวมถึงการลงทุนร่วมกันเพื่อให้ได้โปรเจ็กต์ใดโปรเจ็กต์หนึ่งแล้วแยกการทำตลาด ซึ่งมีทั้งเซ็นสัญญาความร่วมมือเป็นกรณีไป หรือเข้าไปถือหุ้นระหว่างกัน เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารและตัดสินใจ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 11 ตุลาคม 2560

 

          The German government wants carmakers to offer mechanical modifications to engine and exhaust systems for some models, Der Spiegel reported on Saturday. The new government position was agreed to by experts and civil servants of the German transport ministry in an effort to prevent bans on diesel cars in some cities. The move would be a break with a less costly software-only overhaul agreed to just months ago. In August, German politicians and car bosses agreed to overhaul engine software on 5.3 million diesel cars to cut pollution and try to repair the industry's battered reputation. Politicians stopped short of demanding more expensive hardware adaptations. Environmentalists have said that agreement  two years after Volkswagen Group admitted to cheating diesel emissions tests was too little, too late, and have vowed to press ahead with legal action aimed at banning polluting vehicles. The German transport ministry was not immediately available for comment.

ที่มา : www.autonews.com วันที่ 10 ตุลาคม 2560

 

 

     "ค่ายรถ"เดินหน้าปูทางรับรถยนต์ไฟฟ้า "นิสสัน"หวังเปิดตัว"บีอีวี"ค่ายแรก ขณะ"บีเอ็มฯ-วอลโว่ร่วมพันธมิตรต่างธุรกิจ ผุดจุดชาร์จ "เบนซ์"ชี้กระแสปลั๊ก-อิน ไฮบริด มาแรง ขณะสนพ.ชี้ต่างชาติ 4 ค่ายหลัก ผนึก ผู้ประกอบการไทย ลงทุนสถานีชาร์จไฟฟ้า พร้อมเร่งวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่ ด้านสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า แจงเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดใน 5-10 ปี   รัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ที่ขับเคลี่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าหรืออีวี ครอบคลุมรถพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว(BEV) รถ ไฮบริด และปลั๊ก-อิน ไฮบริด ทั้งมาตรการส่งเสริม การลงทุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุนหรือบีโอไอ และมาตรการด้านภาษีจาก กรมสรรพสามิตที่ลดภาษีกึ่งหนึ่งสำหรับไฮบริดและ ปลั๊ก-อินไฮบริด  และภาษี 2% สำหรับบีอีวี ให้สอดคล้อง กับทิศทางโลกที่มุ่งมาทางยานยนต์ไฟฟ้า โดยเริ่มมี บางประเทศประกาศเลิกจดทะเบียนรถที่ใช้เครื่องยนต์น้ำมันภายในปี 2573

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 9 ตุลาคม 2560

 
 

 

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ ขอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 2-4 ต.ค. 2560 ประสบผลสำเร็จด้วยดี โดยเฉพาะการหารือด้านการค้าและการลงทุน และพร้อมที่จะร่วมมือเพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน โดยได้ก้าวข้ามปัญหาการขาดดุลการค้า เน้นการจับมือเป็นพันธมิตรเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างกัน ทั้งนี้ ผู้นำทั้งสองได้เห็นพ้องกันว่า นโยบายอเมริกันมาก่อน (America First) และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สามารถเกื้อกูลกันได้ โดยสินค้าที่ไทยส่งออกไปสหรัฐส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่สหรัฐนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าสำเร็จรูปในอุตสาหกรรมต่างๆ ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีคุณภาพสูงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการค้า ซึ่งจะนำไปสู่การขยายมูลค่าการค้าระหว่างกันในอนาคต นอกจากนี้ ยังได้ขอให้สหรัฐอำนวยความสะดวกการลงทุนของไทยในสหรัฐ เพราะในปีนี้นักธุรกิจไทยมีแผนจะเพิ่มการลงทุนในสหรัฐอีก 8,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สร้างงานเพิ่มอีกกว่า 1 หมื่นตำแหน่ง จากในปี 2559 ไทยลงทุนในสหรัฐเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ ในสาขาต่างๆ  เช่น อาหาร พลังงาน ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น มีมูลค่าลงทุน 5,600 ล้านดอลลาร์

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 6 ตุลาคม 2560

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th