สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

          ประเทศสหรัฐอเมริกา–เจนเนอรัล มอเตอร์ส ผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก และเป็นผู้ผลิตยานยนต์แบรนด์เชฟโรเลตได้นำเทคโนโลยีการออกแบบขั้นสูงด้วยซอฟต์แวร์ใหม่ มาใช้ในการออกแบบยานยนต์รุ่นใหม่ที่มีน้ำหนักเบา โดยเทคโนโลยีล้ำสมัยดังกล่าวเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนารถยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีน้ำหนักเบาขึ้น และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  จีเอ็ม เป็นหนึ่งในผู้ผลิตยานยนต์รายแรกของโลกที่นำเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ใหม่จากบริษัท ออโตเดสก์ซึ่งเป็นบริษัทรับออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์จากเบย์ แอเรียซานฟรานซสโกโดยเทคโนโลยีล้ำสมัยดังกล่าวใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing)และอัลกอริทึมในปัญญาประดิษฐ์(AI)*ซึ่งสามารถจัดเรียงและสับเปลี่ยนแบบชิ้นส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ได้ตัวเลือกแบบที่มีประสิทธิภาพสูง และมักจะเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบออแกนิค แบบที่ได้จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายและการตั้งค่าของพารามิเตอร์ของผู้ใช้ โดยผู้ใช้จะต้องป้อนข้อมูลต่างๆ เช่น น้ำหนัก ความทนทาน ประเภทวัสดุ วิธีการผลิต และอื่นๆ จากนั้นผู้ใช้จะสามารถเลือกชิ้นส่วนที่เหมาะสมดีที่สุด
ที่มา : หนังสือพิม เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11  พฤษภาคม 2561

 

              ส.อ.ท.ปลื้มยอดผลิตรถยนต์ช่วงเม.ย.เพิ่ม 11.87% รวม 4 เดือนทำยอดแตะ 6.7 แสนคัน ชี้สถานการณ์เข้าสู่ปกติ เผยยอดผลิตเพื่อส่งออก-จำหน่ายในประเทศโต มั่นใจทั้งปีทำเป้า 2 ล้านคันได้          10 พ.ค. 2561 - นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าจำนวนการผลิตรถยนต์ของประเทศ ในเดือนเม.ย.2561 มีทั้งสิ้น 134,779 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.87% จากการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น 12.08% และรถกระบะเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น 11.41% ขณะที่การผลิตรถยนต์นั่งและรถกระบะเพื่อจำหน่ายในประเทศก็เพิ่มขึ้น 28.21% และ 2.41% ตามลำดับ ทั้งนี้จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในช่วง 4 เดือนของปี 2561 (ม.ค.-เม.ย.) มีจำนวนทั้งสิ้น 674,469 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.29% ถือเป็นสัญญาณที่ดีสะท้อนการผลิตรถยนต์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ที่มา:หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ไทยโพสต์ วันที่ 10  พฤษภาคม 2561

 

                "รถยนต์ไฟฟ้า" ทุกค่ายยานยนต์ไม่ว่าเป็น รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ต่างก็ตื่นตัวและประกาศนโยบายออกมาในทิศทางเดียวกันทั่วโลกว่า "เราจะทำรถไฟฟ้าอย่างแน่นอน" ดังข่าวคราวที่ทุกท่านเคยได้อ่านได้เห็นผ่านสายตามาไม่มาก ก็น้อยสำหรับปัจจัยที่จะทำให้รถไฟฟ้าแจ้งเกิดแบบเต็มตัวได้ มีอยู่ด้วยกัน 3+1 รวมเป็น ปัจจัยสี่ แต่ที่จริงแล้วทั้งหมดต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน มิฉะนั้น จะกลายเป็นปัญหาว่า ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน ซึ่งหากทุกฝ่ายต่างเกี่ยงกันแล้ว รับรองไม่มี ทางแจ้งเกิดได้ ส่วนที่เราแยกออกเป็น 3+1 นั้นเนื่องจากอะไร ขอเชิญติดตามได้    ปัจจัยแรกสุด และดูเหมือนจะเป็นปัจจัยที่มาทีหลังสุด แต่กลับสำคัญที่สุด นั่นก็คือ "ความต้องการของผู้บริโภค" ชัดเจนในบริบท ที่แทบไม่ต้องบรรยาย เพราะหากผู้บริโภคไม่ต้องการแล้ว ไม่ว่าค่ายรถหรือภาครัฐจะผลักดันอย่างไร ไม่มีทาง แจ้งเกิดได้ เนื่องจาก คงไม่มีใครไปบังคับให้ผู้บริโภคควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อรถไฟฟ้าได้อย่างแน่นอน ดังนั้น ปัจจัยข้อนี้จึงสำคัญที่สุด       ส่วนการสร้างให้ปัจจัยข้อนี้เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยาก สิ่งสำคัญที่สุดคือประการแรกต้องให้ผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรถไฟฟ้าอย่างดีก่อน มิฉะนั้น คงไม่มีใครกล้าซื้อแน่ แล้วจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภครู้และเข้าใจเกี่ยวกับรถไฟฟ้า คำตอบแสนง่ายอยู่ที่ ให้ผู้บริโภคได้สัมผัสและทดลองใช้ อาจจะด้วยผ่านกระบวนการ เปลี่ยนรถสาธารณะ เช่น รถเมล์หรือรถแท็กซี่ เป็นรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชน เกิดความคุ้นเคย หรือเปิดให้มีระบบ รถเช่าใช้ Car Sharing เฉกเช่นในยุโรปหลายประเทศที่เริ่มต้นแล้ว
ที่มา : หนังสืพิมพ์  ผู้จัดการรายวัน  วันที่ 9  พฤษภาคม 2561

 

               นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)ในฐานะประธานกรรมการสถาบันยานยนต์เปิดเผยว่า ได้ลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงเรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ระหว่างองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น(JETRO)กับสถาบันยานยนต์ โดยมีประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น(เจโทรฯ กรุงเทพฯ)และนายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน ผู้ทำการแทนผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์เป็นผู้ลงนามหนังสือแสดงเจตจำนง ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อประสานความร่วมมือในการส่งเสริมความเข้าใจ และร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ของทั้งสองประเทศประกอบด้วย ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) ยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด(PHEV),ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่(BEV),ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง(FCEV)และยานยนต์แห่งอนาคต ซึ่งจะเน้นการประสานความร่วมมือด้านต่างๆเช่น การแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับยานยนต์สมัยใหม่ ระบบความปลอดภัยการจัดการแบตเตอรี่ ระบบประจุไฟฟ้าการทดสอบยานยนต์ และชิ้นส่วนยางยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยี ส่งเสริมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วย พลังงานไฟฟ้า และการพัฒนาบุคลากรการวิจัยพัฒนานวัตกรรม เพื่อก้าวสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่เต็มรูปแบบ มีระยะเวลา3 ปีในการประสานความร่วมมือดังกล่าว
ที่มา:หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ วันที่ 8  พฤษภาคม 2561
 


 

           นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมลงพื้นที่กลุ่มจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และชัยภูมิโดยจะนำหารือแนวคิดโครงการพัฒนาชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ต่อยอดศักยภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งจะเสนอแนวทางจัดศูนย์ทดสอบยานยนต์ประสิทธิภาพสูงสอดคล้องกับนโยบายพัฒนาช่างฝีมือด้านวิชาชีพเฉพาะทางให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่(ครม.สัญจร) พิจารณาในวันที่ 8 พ.ค.นี้ ที่จ.บุรีรัมย์  ขณะเดียวกัน จะเสนอ ครม. พิจารณาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า เพื่อยกระดับการพัฒนาศักยภาพจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นประตูสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องในพื้นที่โดยรอบ อาทิ ธุรกิจบำรุงรักษาคอนเทนเนอร์ โลจิสติกส์ เป็นต้น พร้อมกันนี้จะหารือกับผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ ถึงแนวทางส่งเสริมงานวิจัยผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชีวภาพต่อยอดอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลในพื้นที่ เพราะมีความใกล้ชิดกับชาวไร่ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์อื่นนอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำตาล
ที่มา : หนังสืพิมพ์  ไทยโพสต์ วันที่ 7  พฤษภาคม 2561

 

       อุตสาหกรรมคาด ปีนี้ค่ายรถยื่นลงทุนปลั๊กอินไฮบริดหลายราย สศอ.ประเมินค่ายรถพร้อมลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรืออีวีในไทยอีก 7 ปี สถาบันยานยนต์ชี้ต้องรอให้รถไฮบริดคุ้มทุนก่อน สถาบันยานยนต์จับมือเจโทร ร่วมพัฒนารถยนต์สมัยใหม่เตรียมความพร้อมไปสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยภายหลังการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ว่า ความร่วมมือระหว่างองค์กรการส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) กับสถาบันยานยนต์มีเจตนาร่วมมือเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของทั้ง 2 ประเทศ ประกอบด้วย ยานยนต์ไฟฟ้า เซลเชื้อเพลิง และยานยนต์แห่งอนาคต
ที่มา : หนังสือพิม กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 4  พฤษภาคม 2561

 

               Germany leapfrogged Norway as Europe's biggest market for electrified cars, a sign consumers are warming to the technology just as Volkswagen Group and Daimler ready models to take on Tesla. Sales of electrified vehicles surged 70 percent in Germany to 17,574 cars in the first quarter, nudging ahead of Norway for the first time, according to data from European industry association ACEA. The figure includes full-electric cars such as Tesla's Model S, as well as plug-in hybrids such as the BMW 2-series Active Tourer. VW, Daimler and BMW are retooling their assembly lines in response to stricter European regulations on combustion engines and fallout from the 2015 VW emissions-cheating scandal. While consumers have turned away from diesel -- especially in Germany automakers are depending on customers to embrace electrified powertrains if they are to recover the massive investments they are making.

ที่มา: www.autonews.com วันที่ 3  พฤษภาคม 2561

 

ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (Electric Vehicle Association of Thailand) หรือ EVAT เปิดเผยว่า แม้ในวันนี้รถยนต์ไฟฟ้าจะยังเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่อนาคตอันใกล้ไม่เกิน 5 ปีจากนี้ไปคนไทยจะใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการช่วยกระตุ้นให้ตัดสินใจเป็นเจ้าของ ทั้งในเรื่องของราคารถยนต์ถูกลง จากต้นทุนแบตเตอรี่ คิดเป็น 40% ของต้นทุนรถยนต์ไฟฟ้าทั้งคัน ราคาลดลงเรื่อยๆ ประสิทธิภาพของรถยนต์ไฟฟ้าไม่ต่างจากรถยนต์ใช้น้ำมัน ทั้งในเรื่องของสมรรถนะ ความสะดวกสบาย แต่ได้ความประหยัดและไม่มีมลพิษ รวมถึงการมีสถานีอัดประจุไฟฟ้ารองรับความต้องการได้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชนเร่งลงทุน คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีมากกว่า 1,000 แห่ง สร้างความมั่นใจให้กับผู้กำลังจะเลือกใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้มากขึ้น

ที่มา : หนังสืพิมพ์ มติชน  วันที่ 2  พฤษภาคม 2561

 

     Daimler plans to invest 5 billion yuan ($755 million) in China for factory capacity to manufacture electric cars and the batteries to power them, part of an effort to help its Mercedes-Benz and Smart brands comply with the country's green car production and sales quotas. Hubertus Troska, head of Daimler's greater China operations, told reporters that the investment was part of Daimler's previously announced 10 billion euros ($11.8 billion) global green car initiative. Daimler said in September that it plans to expand its partnership with local automaker BYD to bring new EV models to China. Currently, the partnership produces an electric sedan under the Denza brand in the country. China has set strict quotas for electric and plug-in hybrid cars (New Energy Vehicles) that come into effect from 2019. It has an ambitious target of 2 million NEV sales by 2020 and has signaled longer-term it will phase out the sale of conventional combustion-engine cars. This seismic shift towards NEVs has prompted a flurry of electric car deals and new launches as manufacturers worldwide race for a share of the world's largest auto market.

ที่มา : www.thaiautonews.com วันที่ 30 เมษายน 2561
 

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th