สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

              ภาครัฐของหลายประเทศกำลังพยายามหาทางนำผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดแอฟริกา โดยมีแม่เหล็กดึงดูดสำคัญจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแร่ธาตุซึ่งมีอยู่หลายชนิดและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน อาทิ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เป็นแหล่งผลิตแร่โคบอลต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  แม้อุตสาหกรรมรถยนต์ในทวีปแอฟริกายังมีขนาดเล็กด้วยกำลังการผลิตเพียงปีละ 1 ล้านคัน แต่ทวีปแอฟริกาเป็นที่ตั้งฐานการผลิตของค่ายรถยนต์กว่า 10 ค่าย จากทั้งยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐ โดยประเทศในทวีปแอฟริกาที่ค่ายรถยนต์เข้าไปลงทุนมากที่สุด คือ แอฟริกาใต้ ตามมาด้วยโมร็อกโก โดยในช่วงระหว่างปี 2556-2560 ปริมาณการผลิตรถยนต์ในทวีปแอฟริกา ขยายตัวเฉลี่ยถึง 10% ต่อปี  ผู้ประกอบการของไทยที่สนใจส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ควรหาทางเร่งทำตลาดแอฟริกาในช่วงที่อุตสาหกรรมกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในระยะยาว เพราะนอกจากทวีปแอฟริกาจะมีแรงงานจำนวนมาก คาดาจะมีจำนวนแซงหน้าจีนและอินเดียในอีก 15 ปีข้างหน้าแล้ว ประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกายังให้ความสำคัญกับการขจัดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เพื่อเพิ่มปริมาณการค้าภายในกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดในโลกเพียง 18% เมื่อเทียบกับยุโรปที่สูงถึง 70% และเอเชียที่ราว 45%

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 25มีนาคม 2562

              ก้าวสู่ปีที่ 40 ซะแล้วหากจะเปรียบเป็นช่วงอายุรวมถึงจังหวะชีวิต ต้องบอกเลยว่าตัวเลข 40 นั้น ถือว่า “หนักแน่นมั่นคง” ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมาปฎิเสธไม่ได้ว่า งานมอเตอร์โชว์ เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์บ้านเรา นวัตกรรมใหม่ๆมีให้คนไทยได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด และถือเป็นอีเวนต์รถยนต์ ค่ายเดียวที่มี “รถต้นแบบ” ให้ได้ยลโฉมมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนปีนี้จะมีอะไรเป็นไฮไลต์ ไปฟังจากปาก “ดร.ปราจิน เอี่นมลำเนา” ผู้อยู่เบื้องหลังจากโชว์ที่ยิ่งใหญ่ และเป็นงานเดียวที่ถูกบรรจุอยู่ในปฎิทินงานมอเตอร์โชว์ทั่วโลก ปีนี้มีคอนเซ็ปต์ "สุนทรียภาพทางอารมณ์" หรือ  ENJOYMENT OF AUTOMOBILES ซึ่งเราต้องการสื่อสารให้ผู้เข้าร่วมชมงานได้สัมผัสถึงการออกแบบของยนตกรรมยุคใหม่ผ่านอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อระหว่างนวัตกรรมยานยนต์และผู้ขับขี่เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีร่วมกัน ทั้งนี้เราหวังว่าผู้ร่วมงานทุกคนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการค่านรถยนต์ จักรยานยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และประดับยนต์ ร่วมทั้งผู้เข้าร่วมงานหรือทุกๆคนที่มีโอกาสได้เข้ามาเยี่ยมชมงานมอเตอร์โชว์ของเรานั้นต้องได้รับความประทับใจกลับบ้านไปอย่างแน่นอน เพราะพวกเราทีมงานทุกคนมีความตั้งใจอย่างยิ่งในการจัดงานตลอดทั้ง 12 วัน และตลอดระยะเวลาของการเตรียมงานซึ่งทุกคนพยายามรักษามาตรฐานและพัฒนาให้งานคงคุณภาพและดียิ่งๆขึ้นเสมอ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 มีนาคม 2562

          "โตโยต้า มอเตอร์"ค่ายรถยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น และบริษัท ยานยนต์ญี่ปุ่น 10 รายจับมือกันวิจัยเทคโนโลยี ส่งกำลังรถยนต์ ซึ่งถือเป็นความพยายาม ที่พุ่งเป้าเร่งความคืบหน้าให้ทันการพัฒนา ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าทั่วโลก  พันธมิตร 11 บริษัทได้ก่อตั้งองค์กร์ ที่เรียกว่า "สมาคมวิจัยการส่งกำลังเพื่อ นวัตกรรมยานยนต์" หรือ "ทรามี" (TRAMI) เพื่อศึกษาวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการ ส่งกำลังขับเคลื่อนรถจากเครื่องยนต์และ มอเตอร์ การเพิ่มการส่งกำลังสามารถทำให้ รถประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น   9 ใน 11 บริษัทเหล่านี้เป็นคู่แข่งกัน ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้แก่ "โตโยต้า" "ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี" หน่วยวิจัยของฮอนด้า มอเตอร์ "นิสสัน มอเตอร์" "อีซูซุ มอเตอร์ส" "ซูซูกิ มอเตอร์" "ซูบารุ" "ไดฮัตสุ มอเตอร์" "มาสด้า มอเตอร์" และ "มิตซูบิชิ มอเตอร์ส" ส่วนอีก 2 รายคือซัพพลายเออร์ระบบ ส่งกำลังอย่าง "ไอซิน เอดับเบิลยู" และ "จาโตโค" ทรามีเป็นองค์กรวิจัยร่วมรายที่ 2 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่น หลังมี 9 บริษัทก่อตั้งสมาคมเพื่อศึกษาเครื่องยนต์ เผาไหม้ภายในเมื่อปี 2557  มี 2 ปัจจัยที่ทำให้บรรดาผู้ผลิตรถ ร่วมมือกัน ได้แก่ การเปลี่ยนรถเป็นแบบ ไฮบริดและพลังงานไฟฟ้าเต็มตัวทำให้ การพัฒนาเพียงบริษัทเดียวมีความยาก ลำบากกว่า และความรวดเร็วของการวิจัย ในเยอรมนีและจีนเพิ่มแรงกดดันต่อ ผู้ผลิตในประเทศอื่น ๆ
ที่มา:หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ   วันที่  5 มิถุนายน 2561

 

        นายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการบริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนลในฐานะ รองประธานจัดงาน "บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์" ครั้งที่ 39 เปิดเผยว่าบริษัทได้จัดพื้นที่ขนาด 1,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) สำหรับการจัดแสดงยานยนต์ไฟฟ้าภายในงานเพื่อรองรับทิศทางการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต    ทั้งนี้ จะมี 3 แบรนด์นำมาจัดแสดงและจำหน่ายภายในงาน ได้แก่ รถยนต์บีวายดี ฟอมม์ และรถจักรยานยนต์ซีโร่รวมถึงยังมีกระแสข่าวการเปิดตัวรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าภายในงานจากบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์รายใหญ่อีกด้วย
สำหรับยอดจองรถยนต์ภายในงานคาดว่าจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับการจัดงานในครั้งก่อนอยู่ที่ 3.6 หมื่นคัน โดยมองว่ารถยนต์ที่มีแนวโน้มความนิยมภายในงานจะอยู่ในกลุ่มระดับราคา 8 แสนบาท ขึ้นไป จากปัจจัยสถานการณ์เศรษฐกิจฟื้นตัว รวมถึงความชัดเจนของสถานการณ์ทางการเมืองส่งผลดีต่อกลุ่มผู้บริโภคระดับกลาง ขณะที่จะต้องจับตาดูสถานการณ์กำลังซื้อผู้บริโภคกลุ่มระดับล่างที่อาจมีผลกระทบจากราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำและความแปรปรวนของสภาพอากาศ
ที่มา: หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์   วันที่ 8 มีนาคม 2561
 

ค่ายรถเปิดตัวอีวี

 

          รายงานการวิเคราะห์จากสำนักข่าวรอยเตอร์บอกว่า มูลค่าการลงทุน 90,000 ล้านดอลลาร์ดังกล่าวทุ่มให้กับรถไฟฟ้าหรืออีวีที่มีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของยอดขายรถ 90 ล้านคันโดยประมาณ ในแต่ละปี และเป็นพื้นที่ที่ครอบงำโดยเทสลาของอีลอน มัสค์ ที่มียอดขายกว่า 100,000 คันจากรถที่เพิ่งผลิตออกมาแค่ 3 รุ่น  นอกจากนั้น ขณะที่ค่ายรถชั้นนำของโลกเตรียมเปิดตัวรถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่และรถไฮบริดที่ใช้น้ำมันและไฟฟ้ารวมแล้วนับสิบรุ่นในช่วง 5 ปีข้างหน้า ซึ่งหลายรุ่นในจำนวนนี้จะประเดิมกันที่ตลาดจีนนั้น ผู้บริหารกลุ่มใหญ่ยังเฝ้าถามตัวเองว่า ใครจะซื้อรถมากมายเหล่านี้   บิลล์ ฟอร์ด จูเนียร์ ประธานบริหารฟอร์ด มอเตอร์ ที่ประกาศลงทุน 11,000 ล้านดอลลาร์ในโครงการพัฒนารถไฟฟ้ากลางงานนอร์ธ อเมริกัน อินเตอร์เนชันแนล ออโต้โชว์ที่ดีทรอยต์เมื่อวันอาทิตย์ (14 ม.ค.) บอกว่า ฟอร์ดลงเล่นในเซกเมนต์นี้ เต็มตัวแล้ว    ไมค์ แจ็คสัน ประธานบริหารออโต้เนชั่น เชนขายปลีกรถยนต์ใหญ่ที่สุดในอเมริกา คาดว่า ภายในปี 2030 อีวีจะมีสัดส่วนเพิ่มเป็น 15-20% ของยอดขายรถป้ายแดงในอเมริกา และสำทับว่า เทสลากำลังจะเจอของจริงคืออีวีจากสารพัดค่าย
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน 360 องศา วันที่ 24 มกราคม  2561

 

       ตลาดรถจักรยานยนต์โตเกินคาด มั่นใจยอดรวมปีนี้ 1.8 ล้านคัน  หลังตลาดแข่งดุ แห่เปิดตัวดันยอด พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน หันใช้รถรองรับไลฟ์สไตล์-หนีปัญหาจราจร  เผยรถครอบครัวกลุ่มราคาต่ำสุด สัดส่วนเพิ่ม "ยามาฮ่า"เชื่อปีหน้าเติบโตชัด คาด 3-5 ปีไทยได้เห็นรถพลังงานไฟฟ้า หลังพัฒนาสเปคเทียบเท่ารถเครื่องยนต์ 125 ซีซี  ตลาดรถจักรยานยนต์ไทยเคยสร้างยอดขายต่อปีในระดับกว่า 2 ล้านคัน ช่วงปี 2554-2556 ก่อนที่จะหดตัวลงมาเหลือ 1.8 ล้านคันในปี 2557 และประเมินกันว่า ตลาดเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว อย่างไรก็ตามล่าสุดช่วง ม.ค.-พ.ย.ยอดขายเกือบ 1.68 ล้านคัน ใกล้เคียงทั้งปีที่แล้วที่ทำได้ 1.74 ล้านคัน  นายประพันธ์ พลธนะวสิทธิ์ รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด กล่าวว่า ช่วงต้นปีประเมินว่าตลาดปีนี้ จะไม่เติบโต หรือโตเล็กน้อย ด้วยยอดประมาณ 1.75 ล้านคัน ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว แต่เมื่อผ่านไปครึ่งปีพบว่าโต 4% และยามาฮ่า เพิ่มขึ้น 14% ทำให้ต้องเพิ่มเป้าขายใหม่ โดยคาดตลาดรวม 1.8 ล้านคันยามาฮ่า 2.85 แสนคัน  เพิ่มขึ้น 14% จากปี 2559
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 25 ธันวาคม  2560

 

 

      Brussels, 14 December 2017 – In November 2017, registrations of new passenger cars in the EU totalled 1,216,702 units. Demand increased by 5.9% compared to the same month last year, mostly driven by the fact that there was one extra working day this November. In November 2017, registrations of new passenger cars in the EU totalled 1,216,702 units. Demand increased by 5.9% compared to the same month last year, mostly driven by the fact that there was one extra working day this November. Nearly all major EU markets performed well: Spain (+12.4%) and France (+10.3%) posted double-digit growth, followed by Germany (+9.4%) and Italy (+6.8%). The UK car market, however, contracted for the eighth consecutive month, with registrations falling by 11.2% in November. Eleven months into the year, the European car market continued its positive momentum (+4.1%), counting more than 14 million new passenger cars registered. Among the five big markets, Italy (+8.7%) and Spain (+7.8%) recorded the strongest gains, followed by France (+5.3%) and Germany (+3.0%). By contrast, car demand in the United Kingdom decreased by 5.0% so far in 2017.
 
ที่มา : acea.be วันที่ 15 ธันวาคม 2560
 



 

       นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 85.9 ลดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ 86.7 เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภายในประเทศชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ ประกอบกับฝนตกจนเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ขณะเดียวกันในเดือนตุลาคม ยังมีวันทำงานน้อยกว่าเดือนก่อนหน้า ขณะที่ภาคเอกชนเองก็ติดตามปัจจัยการเมืองเรื่องปรับ คณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีตำแหน่งใด และนโยบายจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่  “แม้เดือนตุลาคมความเชื่อมั่นจะลดลง แต่เชื่อว่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป ความเชื่อมั่นจะดีขึ้น เพราะเริ่มเห็นสัญญาณราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะมีส่วนกระตุ้นกำลังซื้ออย่างมากขณะเดียวกันยังมีมาตรการช้อปช่วยชาติ ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงปี 2561 แน่นอน” นายเจน กล่าว  ด้าน นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สอท. กล่าวว่ายอดผลิตรถยนต์ในเดือนตุลาคม 2560 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 163,487 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.48% จากการผลิตรถกระบะเพื่อส่งออก 57,599 คัน เพิ่มขึ้น 6.16% และยอดผลิตรถยนต์นั่งเพื่อจำหน่ายในประเทศ 37,810 คัน เพิ่มขึ้น12.63% ส่งผลให้ยอดผลิตรถยนต์ 10 เดือน (มกราคม-ตุลาคม) มี 1,641,231 คัน เพิ่มขึ้น 0.21%

ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 23 พฤศจิกายน 2560

 

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th