สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

ซับพลายเออร์ของบริษัทเทสล่าในประเทศเกาหลีใต้ตกลงที่จะซื้อโรงงานของบริษัท เจนเนอรัลมอเตอร์ เพื่อเริ่มการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และเป็นสัญญาของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ จีเอ็ม ประกาศปิดโรงงาน Gunsan เป็นโรงงานท้องถิ่นในประเทศเกาหลีใต้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม และการปิดโรงงานครั้งนี้เป็นหนึ่งในแผนการปรับโครงสร้างหนี้ระดับโลก ซึ่งส่งผลให้ได้รับการสนับสนุนเงินจากรัฐบาลเกาหลีใต้ ทางบริษัท จีเอ็มยังไม่มีการเปิดเผยราคาขายของโรงงานแต่ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ Myongshin กล่าวว่าจะซื้อที่ดินและอาคารของโรงงานจีเอ็มจำนวน 113 พันล้านวอน (99.5 ล้านดอลลาร์) Myongshin ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ของฮุนไดมอเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่จะใช้เงินจำนวน 200,000 ล้านวอนในโรงงานเพื่อผลิตรถยนตไฟฟ้า 50,000 จาก 2021 และ 150,000 EV ในปี 2568 ตามคำแถลงของรัฐบาล"เราตั้งเป้าหมายที่จะปิดข้อตกลงนี้โดยเร็วที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง" จีเอ็มเกาหลีกล่าวในแถลงการณ์สมาคมกำลังเจรจากับผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลกที่ไม่มีรายชื่อโรงงานสำหรับผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่โรงงานแห่งนี้ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความรู้โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้ยานยนตไฟฟ้าได้บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์กล่าวเสริมว่ามันไม่ใช่เทสลาโรงงานสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีของเกาหลีใต้กับสหรัฐอเมริกาและยุโรปรวมถึงห่วงโซ่อุปทานรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศเขากล่าว

Tesla supplier agrees to buy GM Korean plant for EV manufacturing

A South Korean supplier of Tesla has agreed to buy a shuttered factory from General Motors' local unit to start contract manufacturing of electric vehicles, possibly for the U.S. and Europe.The deal comes after GM closed its Gunsan factory, one of its four South Korean plants, in late May as part of a global restructuring drive which culminated in a major financial support package from the South Korean government.GM did not disclose the sales price of the Gunsan factory, but auto parts maker Myongshin said it would buy the land and buildings of the GM facility for 113 billion won ($99.5 million).Myongshin, also a Hyundai Motor supplier, is part of a consortium that would initially spend a total of 200 billion won on the factory to produce 50,000 EVs starting 2021 and 150,000 EVs in 2025, according to a statement by a provincial government."We aim to close this deal as soon as possible to ensure that there will be ongoing economic activity," GM Korea said in a statement.The consortium was in talks with an unidentified global automaker to manufacture electric vehicles at the facility, a source with direct knowledge of the matter earlier told Reuters, adding that it was not Tesla.The plant could take advantage of South Korea’s free trade deal with the United States and Europe, as well as the country's electric car supply chain, he said.

ที่มา : Automotive News Europe ฉบับวันที่ 29 มีนาคม 2562

          นายโทชิอากิ มาเอคาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลล์ จำกัด เปิดเผยว่า ในงานมอเตอร์โชว์ 2019 ซึ่งกำลังจัดขึ้นอยู่ในขณะนี้จนถึงวันที่ 7 เมษายนนี้ ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพค เมือทองธานี เนื่องจากงานบางกอกมอเตอร์โชว์ปีนี้นับเป็นการจัดครั้งที่ 40 และยังเป็ฯงานมอเตอร์โชว์ที่ยิ่งใหญ๋ที่สุดระดับภูมิภาคนี้ อีซูซุจึงได้ทุ่มสร้างบูธสุดอลังการ จัดกิจกรรมร่วมสนุกหลากหลายพร้อมนำยนตกรรม “อีซูซุบลูเพาเวอร์” หลากรุ่นทั้งเครื่องยนต์ 1.9 และ 3.0 ดีดีไอ บลูเพาเวอร์ นำโดยรถรุ่นพิเศษที่มาพร้มอชุดแต่ง ซึ่งมีดีไซต์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของลูกค้า ได้แก่อีซูซุมิว เอ็กซ์ รุ่นพิเศษ “ดิ ออนิคซ์” ยนตกรรมอเนกประสงค์สุดหรูที่แฝงความสปอร์ตด้วยชุดแต่ง “ออนิกดีไซน์เอดิชั่น” และใหม่อีซูซุดีแมกซ์ รุ่นพิเศษ สเทลธ์ ที่เพิ่มไลน์อัปให้ครอบคลุมทั้งรุ่น 4 ประตู และ 2 ประตู พร้อมเครื่องยนต์ 1.9 และ3.0 ดีดีไอ บลูเพาเวอร์ สำหรับผู้ชื่นชอบปิกอัพพันธุ์เท่ และใหม่ อีซูซุ วี-ครอส MAX 4x4 ปิกอัพสปอร์ตออฟโรด ทั้งภายนอกและภายในมีระบบกับชุดแต่ง MAX 4x4 ดีไซตืใหม่ พิเศษ รวมทั้งรถรุ่นมาตรฐาน ได้แก่ อีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮแลนด์เดอร์ 1.9 และ 3.0 ดีดีไอ บลูเพาเวอร์ ที่ปรับโฉมสู่ความสปอร์ตที่ล่ำสมัย นอกจากนี้ยังนำ “ใหม่ อีซูซุ เอ็ช์ ซีรีย์ 1.9 ดีดีไอ บลูเพาเวอร์” ไลฟ์สไตล์ปิกอัพเพื่อคนสายพันธุ์เรชชิงสปอร์ตเหนือชั้นไปกับดีไซน์ภายในสีดำ-สีขาว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 2 เมษายน 2562

              งานมอเตอร์โชว์ 2019 ที่กำลังจัดขึ้นอยู่ตอนนี้ ที่เมืองทองธานีและกำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 7 เมษายนนี้ ต้องบอกเลยว่ามีเรื่องราวชวนให้ติดตามมากมาย ยิ่งปีนี้ค่ายกรังด์ปรีซ์จัดใหญ่เพราะครบรอบปีที่ 40 ใครที่ยังลังเลหรือกำลังจดๆจ้องๆ ไม่อยากให้พลาดด้วยประการทั้งปวง โดยเฉพาะนิทรรศการที่ทางผู้จัดงานเตรียมพื้นที่ พาย้อนรำลึกไปยังอดีตเพื่อสัมผัสกับบรรยากาศบอกเล่าความเป็นมาและการเติบโตของงานมอเตอร์โชว์ตั้งแต่ครั้งแรกที่สวนลุมพินี เมื่อปี 2522 มาจนถึงปัจจุบัน มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้เห็นพัฒนาการของงานที่ยิ่งใหญ่ ถือว่าเป็น 40 ปีที่ช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมรถยนต์บ้านเราขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถทำยอดขายต่อปีมากกว่า 1 ล้านคัน ถึงบรรทัดนี้ ต้องขอตีมือดังๆให้ ดร.ปราจิน  เอี่ยมสำเนา หัวเรือใหญ่ของค่ายกรังปรีช์ อีกเรื่องที่หลายคนชื่นชอบ คือรางวัลรถยอดเยี่ยมแห่งปี ซึ่งเขาเฟ้นทั้งซื่อมวลชน ผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ ฯลฯ มาเป็นกรรมการตัดสิน รางวัลดังกล่าวนับว่าเป็น “ไกด์” ให้ลูกค้าเลือกซื้อรถได้ตรงตามโจทย์ที่ตัวเองต้องการ ปีนี้ยังมีเพิ่มเติมรางวัล “ประธานบริษัทที่สมาร์ทที่สุดแห่งปี ซึ่ง คุณโทชิอากิ มาเอคาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลล์ จำกัด ได้รับมอบรางวัลพิเศษ The Smartest CEO of The Year

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 เมษายน 2562

               สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสุวรรณภูมิฯ เซ็นจองรถไฟฟ้าอิวี 3.5 พันคัน จาก “ไมน์ โมบิลิตี้” เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับสมาชิกสหกรณ์ ต้นปีหน้าให้กับสมาชิกสหกรณ์ ต้นปีหน้าจะเริ่มให้บริการแท็กซี่อีวี ชาร์จเพียง 15 นาที ด้วยระบบ Quick Charge ความเร็วถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมงวิ่งยาว 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า บริษัท ไมน์ โมบิลิตี้ คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด หรือ MMC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ EA ถือหุ้นสัดส่วน 99.99% ดำเนินธุรกิจหลักเพื่อประกอบ ผลิตและจัดจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ MINE Mobility ได้ลงนามบันทึกคามเข้าใจ กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสุวรรณภุฒิพัฒนา จำกัด กลุ่มผู้ให้บริการรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) เพื่อตกลงให้จองสิทธิซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) และอะไหล่จำนวน 3,500 คัน โดยจะนำไปจดทะเบียนเป็ฯรถยนต์รับจ้าง เพื่อจำหน่ายให้กับสมาชิกของสหกรณ์ อีกทั้งยังตกลงใช้บริการชาร์จไฟฟ้าจากสถานีชาร์จของกลุ่ม EA ที่ได้ลงทุนเตรียมไว้อำนวยความสะดวกล่วงหน้าแล้วภายใต้ชื่อสถานีชาร์จ EA  Anywhere จึงมั่นใจได้ว่า ธุรกิจใหม่ของ EA ที่ต่อยอดออกมาโดยใช้แบตเตอรี่ที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูง รวมถึงช่วยลดมลพิษทางอากาศได้เป็นอย่างดีเนื่องจากไม่มีไอเสีย รถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างชัดเจนมากขึ้น และขับเคลื่อนสังคมไทยเข้าสู่ยุค Energy 4.0 ได้อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าอเนกประสงค์ MINE รุ่น SPA 1 รถครอบครัวขนาด 5 ที่นั่ง ผลิตด้วยวัสดุที่มีน้ำหนักเบา เสริมความแข็งแรงด้วยอลูมิเนี่ยมแพลตฟอร์ม อัตราความเร็วสูงถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาด 30 kWh พร้มอเทคโนโลยี STOBA ช่วยป้องกันการลัดวงจรจากภายในเซลล์แบตเตอรี่ สาเหตุหลักของการเกิดไฟไหม้ สามารถขับเคลื่อนให้วิ่งระยะทางกว่า 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ 28 มีนาคม 2562

                 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดตัว เลกซัส UX ยนตรกรรมหรู คอมแพกต์ ครอสโอเวอร์ รุ่นใหม่ล่าสุด มาพร้อมกับเทคโนโลยีมากมาย เครื่องยนต์ระบบไฮบริด 2.0 ลิตร โครงสร้างตัวถังแบบใหม่ GA-C ( Global Architecture – Compact Platform ) พร้อมด้วยการเชื่อมต่อตัวถังด้วยระบบเลเซอร์ เอกสิทธิ์เฉพาะของเลกซัส และการใช้อะลูมิเนียมเข้ามาเป็ฯองค์ประกอบของตัวรถ ส่งผลให้ได้ตัวถังที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแกร่ง มีจุดศูนย์ถ่วงต่ำ ระบบไฮบริดเจเนอร์เรชั่นที่ 4 รุ่นล่าสุด ติดตั้งเทคโนโลยีความปลอดภัย เลกซัส เซฟตี้ ซิสเต็ม พลัส (Lexus Safety System Plus) เจเนอเรชั่นที่ 2 พร้อมระบบป้องกัน มาพร้อมกับรุ่นเอฟ สปอร์ต (F SPORT) ได้รับการถ่ายทอดดีเอ็นเอจากรถสปอตซุปเปอร์คาร์อย่าง เลกซัส แอลเอฟเอ (Lexus LFA) ชุดแต่งรอบคันและเบาะนั่งดีไซน์เฉพาะของเอฟ สปอร์ต ให้ความรู้สึกโอบกระชับ เพิ่มความเร้าใจจากเสียงเครื่องยนต์ในการขับขี่ด้วยระบบ แอ๊กทีฟ ซาวด์ คอนโทรล (Active Sound Control) และระบบกันสะเทือนแบบแปรผัน อแดพทีฟ แวเรียเบิล ซัสเพนชั่น (Adaptive Variable Suspension) ช่วยดูดซับแรงของโช๊คอัพที่ล้อทั้ง 4 ให้ตอบสนองต่อการควบคุมของผู้ขับขี่และสภาพพื้นผิวถนนได้อย่างเหมาะสม

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2562

             นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้เตรียมความพร้อมกรณีที่สหรัฐจะมีการเรียกเก็บภาษีสินค้ายานยนต์เพิ่มขึ้นในอัตรา 25% หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ส่งรายงานความมั่นคงแห่งชาติ มาตรา 232 ถึงนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐให้พิจารณาตัดสินแล้ว โดยขั้นตอนจากนี้ต้องรอประธานาธิบดีสหรัฐตัดสินใจภายใน 90 วันว่าจะดำเนินการตามคำแนะนำรายงายงานฉบับนี้หรือไม่ คาดว่าจะทราบผลภายในเดือน พ.ค.นี้

              อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐมีการเรียกเก็บภาษีสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนตามมาตรา 232 จริง แนวทางที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบของผู้ประกอบการไทย จะยึดแนวทางเดียวกับสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมที่สหรัฐเคยเรียกเก็บภายใต้มาตรา 232 เมื่อต้นปี 61 ที่ผ่านมา โดยไทยจะขอยกเว้นการเรียกภาษีสินค้าทั้งประเทศ โดยจะต้องชี้แจงถึงสาเหตุที่สหรัฐยังคงจำเป็นต้องนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนจากไทยอยู่ เช่น อุตสาหกรรมภายในสหรัฐไม่มีการผลิต หรือสินค้าที่นำเข้าจากไทยไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในสหรัฐ รวมทั้งจะขอยกเว้นภาษีเป็นรายบริษัท ที่จะต้องประสานกับผู้นำเข้าสหรัฐในการขอยกเว้น

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 26 มีนาคม 2562

              ภาครัฐของหลายประเทศกำลังพยายามหาทางนำผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดแอฟริกา โดยมีแม่เหล็กดึงดูดสำคัญจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแร่ธาตุซึ่งมีอยู่หลายชนิดและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน อาทิ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เป็นแหล่งผลิตแร่โคบอลต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  แม้อุตสาหกรรมรถยนต์ในทวีปแอฟริกายังมีขนาดเล็กด้วยกำลังการผลิตเพียงปีละ 1 ล้านคัน แต่ทวีปแอฟริกาเป็นที่ตั้งฐานการผลิตของค่ายรถยนต์กว่า 10 ค่าย จากทั้งยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐ โดยประเทศในทวีปแอฟริกาที่ค่ายรถยนต์เข้าไปลงทุนมากที่สุด คือ แอฟริกาใต้ ตามมาด้วยโมร็อกโก โดยในช่วงระหว่างปี 2556-2560 ปริมาณการผลิตรถยนต์ในทวีปแอฟริกา ขยายตัวเฉลี่ยถึง 10% ต่อปี  ผู้ประกอบการของไทยที่สนใจส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ควรหาทางเร่งทำตลาดแอฟริกาในช่วงที่อุตสาหกรรมกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในระยะยาว เพราะนอกจากทวีปแอฟริกาจะมีแรงงานจำนวนมาก คาดาจะมีจำนวนแซงหน้าจีนและอินเดียในอีก 15 ปีข้างหน้าแล้ว ประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกายังให้ความสำคัญกับการขจัดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เพื่อเพิ่มปริมาณการค้าภายในกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดในโลกเพียง 18% เมื่อเทียบกับยุโรปที่สูงถึง 70% และเอเชียที่ราว 45%

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 25มีนาคม 2562

              ก้าวสู่ปีที่ 40 ซะแล้วหากจะเปรียบเป็นช่วงอายุรวมถึงจังหวะชีวิต ต้องบอกเลยว่าตัวเลข 40 นั้น ถือว่า “หนักแน่นมั่นคง” ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมาปฎิเสธไม่ได้ว่า งานมอเตอร์โชว์ เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์บ้านเรา นวัตกรรมใหม่ๆมีให้คนไทยได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด และถือเป็นอีเวนต์รถยนต์ ค่ายเดียวที่มี “รถต้นแบบ” ให้ได้ยลโฉมมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนปีนี้จะมีอะไรเป็นไฮไลต์ ไปฟังจากปาก “ดร.ปราจิน เอี่นมลำเนา” ผู้อยู่เบื้องหลังจากโชว์ที่ยิ่งใหญ่ และเป็นงานเดียวที่ถูกบรรจุอยู่ในปฎิทินงานมอเตอร์โชว์ทั่วโลก ปีนี้มีคอนเซ็ปต์ "สุนทรียภาพทางอารมณ์" หรือ  ENJOYMENT OF AUTOMOBILES ซึ่งเราต้องการสื่อสารให้ผู้เข้าร่วมชมงานได้สัมผัสถึงการออกแบบของยนตกรรมยุคใหม่ผ่านอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อระหว่างนวัตกรรมยานยนต์และผู้ขับขี่เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีร่วมกัน ทั้งนี้เราหวังว่าผู้ร่วมงานทุกคนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการค่านรถยนต์ จักรยานยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และประดับยนต์ ร่วมทั้งผู้เข้าร่วมงานหรือทุกๆคนที่มีโอกาสได้เข้ามาเยี่ยมชมงานมอเตอร์โชว์ของเรานั้นต้องได้รับความประทับใจกลับบ้านไปอย่างแน่นอน เพราะพวกเราทีมงานทุกคนมีความตั้งใจอย่างยิ่งในการจัดงานตลอดทั้ง 12 วัน และตลอดระยะเวลาของการเตรียมงานซึ่งทุกคนพยายามรักษามาตรฐานและพัฒนาให้งานคงคุณภาพและดียิ่งๆขึ้นเสมอ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 มีนาคม 2562

          "โตโยต้า มอเตอร์"ค่ายรถยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น และบริษัท ยานยนต์ญี่ปุ่น 10 รายจับมือกันวิจัยเทคโนโลยี ส่งกำลังรถยนต์ ซึ่งถือเป็นความพยายาม ที่พุ่งเป้าเร่งความคืบหน้าให้ทันการพัฒนา ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าทั่วโลก  พันธมิตร 11 บริษัทได้ก่อตั้งองค์กร์ ที่เรียกว่า "สมาคมวิจัยการส่งกำลังเพื่อ นวัตกรรมยานยนต์" หรือ "ทรามี" (TRAMI) เพื่อศึกษาวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการ ส่งกำลังขับเคลื่อนรถจากเครื่องยนต์และ มอเตอร์ การเพิ่มการส่งกำลังสามารถทำให้ รถประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น   9 ใน 11 บริษัทเหล่านี้เป็นคู่แข่งกัน ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้แก่ "โตโยต้า" "ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี" หน่วยวิจัยของฮอนด้า มอเตอร์ "นิสสัน มอเตอร์" "อีซูซุ มอเตอร์ส" "ซูซูกิ มอเตอร์" "ซูบารุ" "ไดฮัตสุ มอเตอร์" "มาสด้า มอเตอร์" และ "มิตซูบิชิ มอเตอร์ส" ส่วนอีก 2 รายคือซัพพลายเออร์ระบบ ส่งกำลังอย่าง "ไอซิน เอดับเบิลยู" และ "จาโตโค" ทรามีเป็นองค์กรวิจัยร่วมรายที่ 2 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่น หลังมี 9 บริษัทก่อตั้งสมาคมเพื่อศึกษาเครื่องยนต์ เผาไหม้ภายในเมื่อปี 2557  มี 2 ปัจจัยที่ทำให้บรรดาผู้ผลิตรถ ร่วมมือกัน ได้แก่ การเปลี่ยนรถเป็นแบบ ไฮบริดและพลังงานไฟฟ้าเต็มตัวทำให้ การพัฒนาเพียงบริษัทเดียวมีความยาก ลำบากกว่า และความรวดเร็วของการวิจัย ในเยอรมนีและจีนเพิ่มแรงกดดันต่อ ผู้ผลิตในประเทศอื่น ๆ
ที่มา:หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ   วันที่  5 มิถุนายน 2561

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th