สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

          "บลูมเบิร์ก" ประเมิน 20 ปี ตลาดโลก "อีวี" แซงเครื่องยนต์สันดาปภายใน ชี้รถบัสโตเร็วสุด รถบรรทุกยังมีข้อจำกัด ด้าน "จามา" ชี้สัดส่วนอีวียังต่ำ ระบุปี 61 ตลาดใหญ่สุด "จีน" ครองตลาดแค่ 5%  เผยไทยผลักดันจริงจังส่งผลเอกชนลงทุน- เปิดตัวรถใหม่ "เอ็มจี" เผยยอดจองพุ่ง ด้าน "เบนซ์" จับมือ "สวทช." ศึกษาแบตเตอรี "วอลโว่" เตรียมเปิดตัว ปี 68 เหตุผลที่อีก 20 ปี ข้างหน้าตลาดจะขยายตัวอย่างชัดเจนเป็นเพราะราคาแบตเตอรีที่ต่ำลงมาก ซึ่งส่งผลให้นับตั้งแต่ช่วงกลางหรือปลายปี 2563 เป็นต้นไป รถยนต์ไฟฟ้า จะมีราคาถูกกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ไอซีอี) ในแทบทุกตลาด

          สำหรับอีวีในไทย อยู่ในช่วง เริ่มต้น โดยภาครัฐมีนโยบายส่งเสริม การผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีทั้งไฮบริด ปลั๊กอิน ไฮบริด และอีวี โดยบีโอไอระบุว่ามี ผู้ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งรายเล็กรายใหญ่รวม 21 ราย โดยส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติ ซึ่งต้องใช้เวลา เนื่องจากเป็นของใหม่ทำให้ต้องพิจารณาอย่างรัดกุม และหากมีข้อสงสัยก็จะต้องเรียกผู้ยื่นเข้ามาชี้แจงเป็นกรณีไป ส่วนค่ายรถที่เปิดตัวแล้วขณะนี้ มีหลายยี่ห้อ เช่น เกีย โซล อีวี, ฮุนได ไอออนิค, ฮุนได โคน่า, จากัวร์ ไอ-ไทป์, อาวดี้ อี-ตรอน, ไมน์ สปา วัน, ฟอมม์ วัน, นิสสัน ลีฟ และ เอ็มจี แซดเอส อีวี

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม 2562

          ค่ายรถประเมิน 5 ปัจจัยฉุดตลาดโลก ทั้งเศรษฐกิจจีน-เบรกซิท- สิ่งแวดล้อม "มูดีส์"ลดคาดการณ์เติบโตปีนี้เหลือ 0.5% พร้อมลดแนวโน้มอุตสาหกรรมจากมีเสถียรภาพเป็น"ลบ"  ด้านผู้ประกอบการ ไทยรับส่งผลกระทบส่งออก ครึ่งปีติดลบ 0.37% เบนเข็มเน้นตลาดอาเซียน ชี้มีศักยภาพหลายแห่ง "โตโยต้า"หวังฟื้นตลาดตะวันออกกลาง

          ค่ายรถยนต์ทั่วโลกดิ้นรนรับความท้าทายรอบด้าน ขณะที่ผู้บริโภคเริ่มซื้อรถน้อยลง ทำให้ปีนี้เป็นช่วงขาลงของอุตสาหกรรม รถยนต์โลก โดยประเมินกันว่ามาจาก 5 เหตุผลหลักคือ1.ความต้องการรถยนต์ ที่ถดถอย 2.ปมโกงค่ามลพิษ 3.ความท้าทายของรถไฟฟ้า 4.การมาของรถยนต์อัตโนมัติ โดยนักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ให้ความเห็นว่า หากรถขับเคลื่อนอัตโนมัติกลายเป็นรถกระแสหลักใน 15 ปีข้างหน้า ผู้บริโภคจำนวนมากอาจเลือกใช้บริการแชร์รถหรือ เช่ารถมากกว่าจะซื้อรถเป็นของตัวเอง และ 5.ประเด็นเบร็กซิท ซึ่งบรรดาค่ายรถชั้นนำ ของโลก ออกมาเตือนหลายครั้งว่าจะเกิด ความเสียหายขั้นรุนแรงหากสหราชอาณาจักรออกจากอียูโดยไม่มีข้อตกลง นับตั้งแต่ ลงประชามติออกจากอียูตั้งแต่ปี 2559

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม 2562

          อินโดนีเซียเตรียมออกมาตรการกระตุ้น ชุดใหญ่เพื่อส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้า รวมทั้งการสร้างฐานผลิตและส่งออกอีวีแข่งกับสิงคโปร์และไทย สู่เป้าหมายผู้นำอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดีเดย์เริ่มการผลิตใน ปี 2022 ขณะที่มาตรการจูงใจที่เตรียมไว้มีทั้ง ลดภาษีสำหรับผู้ซื้อและผู้ผลิต ที่จอดรถพิเศษและอีกมากมาย

           สำหรับอินโดนีเซียนั้น นอกจากการแย่งชิง ความเป็นหนึ่งในตลาดอีวีอาเซียนแล้ว แผนการ ส่งเสริมรถไฟฟ้ายังเป็นส่วนหนึ่งของความพยายาม ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ควบคู่ไปกับการลดการพึ่งพิงน้ำมันนำเข้าและการปล่อย ไอเสียจากเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยนอกจากการ ส่งเสริมอีวีแล้ว รัฐบาลอินโดนีเซียยังเล็งยกเลิก การขายรถใช้น้ำมันภายในปี 2040

          กฎใหม่ของอินโดนีเซียจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบภาษียานยนต์โดยอิงกับปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้และการปล่อยก๊าซคาร์บอนแทนประเภทตัวถังและขนาดเครื่องยนต์ เท่ากับว่า รถไฟฟ้าจะเสียภาษีน้อยกว่ารถใช้น้ำมันนอกจากนั้นผู้ผลิตอีวียังต้องเพิ่มจำนวน ชิ้นส่วนที่ผลิตในท้องถิ่นจนถึง 80% ภายในปี 2030 และปี 2026 สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม 2562

          เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้วสำหรับ “เอ็กเทนเดอร์” รถปิดอัพ รุ่นแรกของ เอ็มจี และเป็นการเข้าสู่ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ด้วยสัดส่วนการขายว่า 45% แต่ก็แน่นอนว่าเป็นตลาดที่แข่งขันกันดุเดือดเช่นกัน เพราะมีขาใหญ่คุมตลาด 2 ยี่ห้อ ด้วยยอดขายรวมกัน กินพื้นที่กว่า 70% ของตลาดทั้งหมด แต่เอ็มจี ก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถเข้าไปแทรกตลาดได้ ด้วยจุดเด่นหลายอย่างเติมเต็มในสิ่งที่ขาดไปสำหรับรถปิกอัพในบ้านเรา จากการออกสำรงจข้อมูลกลุ่มลูกค้า สำหรับปิกอัพเอ็มจีนั้น มีต้นกำเนิดในจีน โดย SAIC Motor บริษัทแม่ ที่สร้างปิดอัพในยี่ห้อ แม็กซัส และรุ่นล่าสุดคือ ที่ 70 อย่างไรก็ตาม เอ็มจีบอกว่าเมื่อแม็กซัสในจีนมาเป็นเอ็มจีในไทย ได้ปรับเปลี่ยนหลายอย่างเพราะความต้องการไม่เหมือนกัน สเปกต่างๆรวมไปถึงการปรับตั้งระบบช่วงล่างต่างๆ รองรับตลาดประเทศไทยโดยเฉพาะ รวมไปถึงเครื่องยนต์ที่เป็นรุ่นเฉพาะของไทย แม้ว่าจะมีพื้นฐานเดียวกันก็ตาม

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม 2562

          รองผู้อำนวยการเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2562 หดตัวร้อยละ 5.54 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ชะลออย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 หดตัวลงร้อยละ 2.64 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนี MPI เดือนมิถุนายน 2562 ได้แก่ รถยนต์และเครื่องยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำมันปิโตเลี่ยม Hard Disk Drive และเครื่องประดับแท้ สาเหตุหลักมาจากความต้องการบริโภคภายในประเทศและคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศชะลอตัวลง ยกเว้นน้ำมันปิโตเลี่ยมที่มีการซ่อมบำรุงโรงกลั่นตามวาระการตรวจซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ ในขณะที่อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวกต่อ MPI ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ขยายตัเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.79 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ได้มีการลงนามสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B20 เพิ่มขึ้นเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.64 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากตลาดในประเทศและเนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด

ที่มา : หนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 สิงหาคม 2562

          ปี 2562 นี้ ถือเป็นปีแห่งการเปิดศักราชตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเมืองไทยอย่างแท้จริง แม้ในช่วงก่อนหน้านี้จะมีหลายค่ายนำรถยนต์ไฟฟ้ามานำเสนอให้กับนักเลงรถหัวใจสีเขียว แต่ดูเหมือน แต่ดูเหมือนไม่ได้รับการตอบรับสักเท่าใด ด้วยเพราะราคาที่ค่อนข้างสูงอยู่พอสมควร จวบจนกระทั่งค่ายรถยนต์สายเลือดอังกฤษ MG ได้เปิดตัว MG ZS EV รถยนต์ครอสโอเวอร์ไฟฟ้าในราคาสุดเร้าใจ ช่วยสร้างกระแสรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นมาพอสมควร เราไปดูกันว่ารถยนต์ไฟฟ้าเมืองไทยเพลานี้มีรุ่นไหน ค่ายอะไรบ้าง เริ่มการที่รุ่นแรกที่เข้ามาทำการตลาดอย่างเป็นทางการ “เกียโซล” ที่นำรถยนต์อเนกประสงค์ขนาดกระทัดรัดมาใส่หัวใจไฟฟ้า พร้อมปรับแต่งหน้าตาสีสันให้เข้ากันกับการเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% เปิดตัวในบ้านเราตั้งแต่ปี 2560 รูปร่างหน้าตาถือว่าน่ารักน่าชังทีเดียว “ฮุนได” อีกค่ายจากแดนกิมจิ ส่งมาให้เลือก 2 รุ่น ฮุนได ไอออนิค เก๋งไฟฟ้า กระจังหน้าแบบทึบ กันชนหน้าขนาดใหญ่พร้อมไฟขับขี่เวลากลางวันแนวตั้ง แม้จะเป็นรถซีดาน แต่ด้านท้ายดีไซต์คล้ายรถแฮกแบ็กแบบ 5 ประตู เดินเส้นสายสีทองแดงรอบคัน เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100%

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ 7 สิงหาคม 2562

          มาตรการบอยคอตสินค้าของชาวเกาหลีใต้ได้ผล ยอดขายรถยนต์ญี่ปุ่นในตลาดโสมขาวเดือน ก.ค. ร่วงทันตา สมาคมผู้แทนจำหน่ายและนำเข้ารถยนต์เกาหลี (ไคดา) รายงานวานนี้ ( 5 ส.ค.) ว่ายอดขายรถยนต์ฮอนด้าในเกาหลีใต้ประจำเดือน กรกฎาคม ร่วงลงถึง 33.5% เมื่อเทียบกับช่วงดัยวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับโตโยต้ามอเตอร์ลดฮวบ 32% ยอดขายเล็กซัสลดลง 24.6% จากเดือน มิ.ย. แม้ว่าถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เพิ่มขึ้น 32.5% ก็ตาม ฮอนด้าเผยว่า กำลังจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดด้วยความระมัดระวัง ด้านผู้บริการรายหนึ่งของโตโยต้าเกาหลีกล่าวว่า ยังไม่อาจสรุปได้ว่ายอดที่ลดลงเป็นผลจากข้อพิพาท การค้าระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้แต่เพียงประการเดียว “ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับยอดขายโตโยต้ายังมีอีกมาก” ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนก.ค. ญี่ปุ่นได้ออกมาตรการเข้มควบคุมการส่งออกวัตถุดิบสำคัญไปให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของเกาหลีใต้ เช่น ซัมซุง หลังจากศาลเกาหลีใต้พิพากษาให้บริษัทญี่ปุ่นจ่ายเงินชดชเยแก่ผู้ถูกบังคับใช้แรงงานชาวเกาหลีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันศุกร์ (2 สิงหาคม) ทั้งสองฝ่ายต่างถอดถอนชื่อฝ่ายตรงข้ามออกจากบัญชีประเทศที่ได้สิทธิพิเศษทางการค้า ไม่สนข้อเรียกร้องของสหรัฐที่ขอให้พันธมิตรทั้งสองลดความตรึงเครียดระหว่างกันและก่อนที่รัฐบาลโซลจะตัดสินใจถอนชื่อญี่ปุ่นออกไป ชาวเกาหลีใต้ผู้คั่งแค้นพากันต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นมาระยะหนึ่งแล้วพากันไม่ซื้อเบียร์ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง แม้กระทั่งปากกาของญี่ปุ่น แล้วหันมาซื้อสินค้าของเกาหลีใต้แทน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 สิงหาคม 2562

          นายโอชามุ มาสุโกะ ประธานคณะกรรมการ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ศูนย์การผลิตของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตนอก ประเทศญี่ปุ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น โดยปัจจุบัน มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย มีพนักงานมากกว่า 7,000 คน และอีกกว่า 1 หมื่นคนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่ส่งออกรถยนต์ที่ผลิตขึ้นด้วยฝีมือคนไทย และก้าวขึ้นเป็นหนี่งในผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ศูนย์ผลิตมอตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ประกอบด้วย โรงงานผลิตรถยนต์ 3 แห่ง และโรงงานผลิตเครื่องยนต์ 1 แห่ง ในอำเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี ถือเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์เปอร์เรชั่นโดยในปี 2561 ที่ผ่านมา มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ได้ทำการผลิตรถยนต์ทุกรุ่นรวม 440,000 คัน (รวมรถยนต์ชิ้นส่วนประกอบ หรือ KD) โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นยอดรถยนต์ที่ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศจำนวน 347,000 คัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 สิงหาคม 2562

          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ เมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและสนับสนุนการทดสอบแบตเตอรี่ในยานยนต์ไฟฟ้า โดยมอบให้ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สวทช. เป็นแล็บทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต เช่น การจัดตั้งห้องปฎิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ และห้องปฎิบัติการทดสอบยานยนต์อัตโนมัติ เป็นต้น โดยตั้งเป้าให้เกิดการใช้งานห้องปฎิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ในประเทศไทยและพัฒนาทักษะองค์ความรู้ของผู้ปฎิบัติงานทดสอบในประเทศ เพื่อสนองนโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และพัฒนาฐานการผลิตแบตเตอรี่ให้เกิดในประเทศไทยอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล PTEC สวทช. ห้องปฎิบัติการทดสอบแบตเตอรี่เป็นแลบทดสอบสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมพลังงานในประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่แบตเตอรี่ใช้งานในยานยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังก้าวไปถึงพลังงานสำรองสำหรับบ้าน โรงงานอุตสาหกรรม และโรงงานไฟฟ้าได้อีกด้วย โดยห้องปฎิบัติการที่ได้มาตรฐานสากล จะทำให้อุตสาหกรรมในประเทศประหยัดค่าทดสอบ ค่าขนส่ง สามารถแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ไม่เป็นไปตามที่ออกแบบ และที่สำคัญไม่ต้องเผชิญปัญหากฎหมายต่างประเทศหลายครั้ง ก่อนผลิตออกจำหน่ายเชิงปริมาณมาก

ที่มา : หนังสือพิมพ์ สยามกีฬา ฉบับวันที่ 5 สิงหาคม 2562

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th