สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

สืบเนื่องกรณีกระแสข่าวการปลดพนักงานจำนวน 300 รายของบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย หรือจีเอ็ม ล่าสุด บริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย ออกแถลงการณ์ชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าว ดังนี้ เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจในประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จ เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น บริษัทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปรับขนาดองค์กรให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดในปัจจุบัน บริษัทได้ดำเนินการทุกมาตรการเพื่อดูแลพนักงานของเราอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจของเจนเนอรัล มอเตอร์ส ในประเทศไทยนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง เรายังคงผลิตและจำหน่ายรถกระบะและรถอเนกประสงค์ระดับโลก รวมถึงเครื่องยนต์สำหรับตลาดประเทศไทยและตลาดทั่วโลก

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 30 สิงหาคม 2562

นายชาญชัย ตระการอุดมสุข ประธานบริหาร มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย กล่าวว่า การเผยโฉมของมาสด้า3 ใหม่

วอลโว่ คาร์ ประกาศทำตลาด "อีวี" ในไทยตามค่ายรถหรูอื่นๆ ด้วยการสั่งจากโรงงานจีนหรือมาเลเซีย รับภาษีนำเข้า 0% ด้านเจ้าตลาด "เมอร์เซเดส-เบนซ์" ยัน FTA จีน-อาเซียน ไม่กระทบแผนประกอบรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ส่วนนายกสมาคมอีวีชี้ นำเข้าจีนช่วยบูมตลาด และเปิดโอกาสไทยเป็นฐานส่งออกในยุคสงครามการค้าโหด รถหรูสัญชาติสวีเดน "วอลโว่" หลังได้เจ้าของใหม่ "จีลี่" ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์จากจีน สถานการณ์ธุรกิจกลับมาอยู่ในเส้นทางที่ควรจะเป็นอีกครั้ง ทั้งยอดขายและผลกำไรกลับมาเป็นบวกในช่วง 4-5 ปีหลัง

          บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผนึกกำลังกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. (PEA) ด้วยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกันส่งเสริมเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าของเอ็มจี รวมถึงตู้ชาร์จที่จะติดตั้งที่โชว์รูมรถยนต์ โดย PEA เตรียมความพร้อมรองรับรถ EV และมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของระบบอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งในรูปแบบสถานีอัดประจุไฟฟ้าและในครัวเรือน เตรียมความพร้อมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าเอ็มจีในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า

         การติดตั้งและปรับปรุงระบบไฟฟ้า เพื่อให้รองรับการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เช่น การเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าตามครัวเรือนที่จำเป็น รวมถึงการเพิ่มขนาดหม้อแปลงให้รองรับการใช้งานที่ เพิ่มขึ้น รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น PEA จะส่งข้อมูลสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ PEA ที่มีอยู่เดิม 11 แห่ง และที่จะติดตั้งเพิ่ม 62 แห่งให้เอ็มจี ขณะที่เอ็มจีจะให้ข้อมูลตู้ชาร์จของเอ็มจี เพื่อให้ผู้ใช้ PEA VOLTA ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของ PEA จะสามารถค้นหาตู้ชาร์จของเอ็มจีได้เช่นเดียวกัน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 28 สิงหาคม 2562

          นายมิโนรุ อามาโนะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ซูซูกิ เปิดตัวรถกระบะบรรทุกอเนกประสงค์เพื่อการพาณิชย์ขนาดย่อม ซูซูกิ แคร์รี่ (SUZUKI CARRY) ภายใต้แนวคิด แคร์รี่ ยัวร์ ดรีม (CARRY YOUR DREAM) หรือเคียงข้างทุกเส้นทางฝัน มาพร้อมนวัตกรรมยานยนต์ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อรองรับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจในยุคดิจิทัล เน้นเจาะไปยังกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงกลุ่มรถ ฟู้ดทรัค (Food Truck) ที่มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นต่อเนื่อง ตั้งเป้าหมายยอดขายไว้ที่ 4,000 คัน

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม 2562

          หลังจากค่าย "ฟอร์ด" แบรนด์ดังจากอเมริกา ประกาศนโยบายปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั่วโลก และมีผลทำให้ประเทศไทย ได้เป็น 1 ใน 5 ตลาดหลักกลุ่มตลาดนานาชาติ (International Markets Group หรือIMG) ที่ประกอบไปด้วย ออสเตรเลียนิวซีแลนด์, อินเดีย, แอฟริกาใต้ , ไทย และตลาดที่บริหารงานโดยผู้จำหน่าย

         ไทยยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของฟอร์ดในภูมิภาคนี้ จะว่าไปแล้วการปรับโครงสร้างใหม่ครั้งนี้ทำ ให้ไทยมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพราะประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นฐานการดำเนินงานของฝ่ายปฏิบัติการ กลุ่มตลาดนานาชาติ(IMG Operations)และฝ่ายบริหารกิจการกลุ่มผลิตภัณฑ์ ประเภทรถกระบะสำหรับตลาดโลก(Global Trucks Enterprise Product Line Management - EPLM)ทั้งยังเป็นศูนย์กลางด้านการสื่อสารการตลาดของกลุ่มตลาดนานาชาติอีกด้วย

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 สิงหาคม 2562

          นายยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า กล่าวว่าสมาคมไปยังกระทรวงพลังงาน ยื่น 8 ข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนการใช้และพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงแนวทางในการทบทวนข้อกฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วน ประเด็นเร่งด่วนที่ต้องการให้ภาครัฐผลักดันเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทย คือ การสนับสนุนให้มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Quick Charge ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณยานยนต์ไฟฟ้า

         ข้อเสนอ 8 ข้อที่ อยากให้ภาครัฐเร่งขับเคลื่อนเช่นเดียวกัน ประกอบด้วย 1. จัดทำแผนที่นำทางเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าแบบบูรณาการ (อีวี โรดแม็ป) อย่างเป็นรูปธรรม 2. ให้รัฐพิจารณาปรับปรุงข้อกฎหมายต่างๆ อาทิ ให้รถสามล้อ ไฟฟ้าและรถรับจ้างไฟฟ้าสามารถจดทะเบียนได้อย่างเสรี 3. ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยผ่านมาตรการส่งเสริม ลดภาษีส่วนบุคคลสำหรับผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เพิ่มแรงจูงใจผู้ใช้ ยานยนต์ไฟฟ้า 4. ควรส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในรูปแบบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและรถสามล้อไฟฟ้า 5. ส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 6.จัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง 7. การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า และ 8.ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า การอบรมและการจัดทำหลักสูตรวิชาชีพในสถาบันการศึกษา

ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม 2562

          ในกีฬาโอลิมปิกปี 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่น บริษัทโตโยต้าเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลัก โดยมีการจัดเตรียมยานยนต์และพาหนะที่ใช้เคลื่อนย้ายกว่า 3,700 คัน ซึ่งเกือบทั้งหมดใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นยานยนต์ไร้คนขับ ยานยนต์ไร้คนขับเป็นชัทเตอร์บัสรุ่น e-Palette ซึ่งเป็นยานยนต์อัตโนมัติระดับที่ 4 (ยังมีเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ) สามารถบรรทุกคนได้ 20 คน จำนวนประมาณ 12 คัน ใช้ในพื้นที่หมู่บ้านนักกีฬา รถยนต์ (เก๋ง) ใช้ไฮโดรเจนในการผลิตไฟฟ้า รุ่น Mirai จำนวน 500 คัน ใช้ในการเคลื่อนย้ายระหว่างสนามกีฬา รถสามล้อแบบยืน รถสกู๊ตเตอร์แบบนั่ง และรถพ่วงข้าง ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่สามารถวิ่งได้ระยะประมาณ 6 ไมล์ จำนวน 300 คัน ใช้สำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

ที่มา: Automotive News Europe ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม 2562

          กว่า 14 ปีที่ผ่านมานั้นผู้ผลิตรถยนต์ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตกล้องมองหลัง แต่ Swamy Kotakiri ประธานฝ่ายเทคโนโลยีของ Magna International ได้มองเห็นความสำคัญของการผลิตกล้องภายใต้สัญญา 350,000 หน่วยในปี 2007 ทุกวันนี้มีการรวมตัวกันในตลาดของระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) ซึ่งมองว่ากล้องติดรถยนต์นั้นในอนาคตจะมีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ในวันพุธนั้น Magna Electronic ได้เปิดโรงงานกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐใกล้ฟลินท์ รัฐมิชิแกนซึ่งมีพื้นที่ในการผลิตกว่า 230,000 ตารางฟุต ผลิตกล้อง 12 ล้านชิ้นต่อปีสำหรับลูกค้า ซึ่งบริษัท Magna ผลิตชิ้นส่วนมากกว่า 46 ล้านชิ้นสำหรับระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง Kotakiri มองว่าเป็นการสร้างระบบเทคโนโลยียานพาหนะไร้คนขับต่อไป เป็นต้น

ที่มา: Automotive News Europe ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม 2562

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th