สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรม

Shares of Maruti Suzuki India and Hero MotoCorp hit multi-year lows on Monday after the government proposed to raise duties on auto parts and slapped additional taxes on fuel, posing new challenges to the sector already gripped by a slowdown.Maruti's shares plunged as much as 6% to touch 5,985.55 rupees, the lowest in more than two years. Hero MotoCorp, India's biggest two-wheeler maker, hit a near four-year low with a 6.1% slump. Mahindra and Mahindra and Tata Motors, too, fell 1.1% and 3.4% respectively, while the benchmark S&P BSE Sensex lost 2%.The government plans to increase customs duties on automobiles and parts such as locks and catalytic converters, Finance Minister Nirmala Sitharaman said in her maiden budget speech on Friday. The government also proposes to increase certain taxes on petrol and diesel, she said."The auto industry is currently going through a very difficult time and the industry was expecting some form of a stimulus package in the budget," Rajan Wadhera, president of the Society of Indian Automobile Manufacturers, or SIAM, said in a statement. "It is disappointing that the finance minister has not recognized the distress in the auto sector and not come out with any kind of support or stimulus."The government's proposed measures could further aggravate the slowdown in the industry, he said.India's automobile industry has been facing a downtrend over the past one year as lack of credit and rural distress weakened consumer spending in Asia's third-largest economy. The industry's sales volumes expanded at the slowest pace in five years in the fiscal year ended March 31.

มารูติ ซูซูกิ หุ้นส่วนของฮีโร่ มอเตอร์คอร์ป แชร์ความตกต่ำหลังหักภาษีในงบประมาณของอินเดีย

ผู้ถือหุ้นของ มารูติ ซูซูกิอินเดีย (Maruti Suzuki India) และฮีโร่ มอเตอร์คอร์ป (Hero MotoCorp) แตะยอดขายระดับต่ำสุดในรอบหลายปีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลประกาศจะขึ้นภาษีในส่วนของชิ้นส่วนยานยนต์ รวมถึงภาษีน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ความท้าทายใหม่ๆในวงการดังกล่าวเข้าสู่การชะลอตัวหุ้นของมูราติลดลงมากถึง6เปอร์เซ็นต์ โดยราคาตกลงมาแตะ5,985.55รูปี ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ2ปี ฮีโร่ มอเตอร์คอร์ป บริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์สองล้อรายใหญ่ของอินเดีย ยอดขายลดลงในรอบ4ปี โดยมีเปร์เซ็นต์ลดลงถึง 6.1เปอร์เซ็นต์ โดยยอดขายของมหินทรา (Mahindra) และทาทา มอเตอร์ (Tata Motors) ก็ตกลงกว่า 1.1 และ 3.4 เปอรเซ็นต์ตามลำดับเช่นกัน ในขณะที่ เอสแอนด์พี บีเอสอี เซนเส็กส์ ลดลงถึง2เปอร์เซ็นต์รัฐบาลมีแผนที่จะขึ้นภาษีในส่วนของรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เช่นกลอนประตูรถ คาตาลิค คอนเวอร์เตอร์ รัฐมนตรีวารเงินของอินเดีย เนอร์มาลา สิทารามัน (Nirmala Sitharaman) กล่าวในแถลงการณ์งบประมาณครั้งแรกของเธอว่า รัฐบาลยังมีแผนการที่จะปรับขึ้นภาษีในส่วนของน้ำมันปิโตรและดีเซล“อุตสาหกรรมยานยนต์ในขณะนี้กำลังเข้าสู่ชาวงยากลำบาก อีกทั้งยังคงมองหาแนวทางเพื่อกระตุ้นสถานการณ์ทางการเงิน” กล่าวโดย ราชัน วัดเฮร่า (Rajan Wadhera) ประธานสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ของอินเดีย (the Society of Indian Automobile Manufactures: SIAM) ยังกล่าวอีกว่า “นี่ยังเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังที่รัฐมนตรีการเงินไม่ได้คิดถึงความทุกข์ร้อนของฝั่งผู้ผลิตยานยนต์ และไม่มีแนวทางได้ที่จะมาสนับสนุนหรือกระตุ้นเลย”อุตสาหกรรมยานยนต์ของอินเดียยังคงเผชิญหน้าอย่างหนักกับขาลงในช่วงปีที่ผ่านมาจากการขาดเครดิต ความลำบากที่เกิดขึ้นในชาวชนบททำให้ยอดผู้บริโภคของสามบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียต้องลดลง ยอดขายในอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างช้าๆในจำนวนน้อยกว่าที่ตั้งเป้าไว้ โดยปีงบประมาณจะจบในวันที่31มีนาคม

ที่มา: Nikkei Asian Review ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม  2562

              บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับทั้งภาครัฐ และพันธมิตรภาคเอกชน ในการสนับสนุน พัฒนาระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยนตรกรรมไฟฟ้า และการติดตั้งสถานีชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และการติดตั้งสถานีชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยในปี 2559 ที่ผ่านมา บริษัทร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อดำเนินโครงการนำร่อง “Electric Vehicle Charging and Car Sharing Zones” หรือ Charge&Share โดยบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย นำรถยนต์บีเอ็มดับเบิ้ลยู 330e และบีเอ็มดับเบิลยู x5 xDrive40e ให้ทางมหาวิทยาลัยทดลองใช้ในโครงการดังกล่าว การร่วมมือกับบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นอีกก้าวสำคัญที่จำนำประเทศไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน สำหรับโครงการ Charge & Share นั้น มจธ. เปิดสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขึ้น โดยมีรถยนต์ให้บริการในรูปแบบ Car Sharing ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรถยนต์ไฟฟ้า บีเอ็มดับเบิลยู i3 บุคคลากรของวิทยาลัยนำไปใช้ในงานราชการ พร้อมเก็บข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่เพื่อศึกษาลักษณะการใช้งาน รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการศึกษาพฤติกรรมของคนไทยในการใช้บริการระบบ Car Sharing และ EV Car Sharing เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และระบบ Car Sharing แห่งแรกของประเทศไทย ในการช่วยบริหารจัดการระบบการจองและคืนรถ รวมไปถึงให้บริการผู้ใช้อีกด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ดอกเบี้ยธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 กรกฎาคม 2562

นายพัฒนเดช อาสาสรรพกิจ ประธานจัดงาน ฟาสต์ ออโต โชว์ ไทยแลนด์ 2019 เปิดเผยว่างานมหกรรมแสดงและจำหน่ายรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้ว หรืองานฟาสต์ ตั้งแต่วันที่ 26-30 มิถุนายน 2562 ที่ไบเทค ยอดขายดีเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้พอสมควร เพราะตลอด 5 วันจัดงานมีฝนตกลงมาต่อเนื่อง แต่ผู้สนใจเข้ามาชมงานปีนี้ 292,500 คน จากเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้ 250,000 คน มากกว่าเป้า 17% ยอดขายรถยนต์รวมทั้ง 2 ประเภท คือรถยนต์ใหม่ป้ายแดงและรถยนต์ที่ใช้แล้ว 3,335 คัน ยอดขายตั้งไว้ 3,000 คันมากกว่าเป้าหมาย 11.2% จำแนกยอดขายรถใหม่ป้ายแดง 2,121 คัน ยอดขายที่ตั้งไว้ 2,000 คัน มากกว่าที่ตั้งไว้ 6% และยอดขายรถยนต์ใช้แล้วอยู่ที่ 1,214 คัน ยอดขายที่ตั้งไว้ 1,000 คัน เติบโต 21.24% มียอดเงินสะพัดกว่า 2,855 ล้านบาท จากตัวเลขที่คาดการณ์ก่อนจัดงาน 2,000-2,500 ล้านบาท มากกว่าคาดการณ์ 14.2% สำหรับการจัดงานครั้งต่อไป ก้าวสู่ปีที่ 9 กำหนดให้มีขึ้นระหว่างที่ 1-5 กรกฎาคม 2563

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 9 กรกฎาคม 2562

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับทั้งภาครัฐ และพันธมิตรภาคเอกชน ในการสนับสนุน พัฒนาระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยนตรกรรมไฟฟ้า และการติดตั้งสถานีชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และการติดตั้งสถานีชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยในปี 2559 ที่ผ่านมา บริษัทร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อดำเนินโครงการนำร่อง “Electric Vehicle Charging and Car Sharing Zones” หรือ Charge&Share โดยบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย นำรถยนต์บีเอ็มดับเบิ้ลยู 330e และบีเอ็มดับเบิลยู x5 xDrive40e ให้ทางมหาวิทยาลัยทดลองใช้ในโครงการดังกล่าว การร่วมมือกับบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นอีกก้าวสำคัญที่จำนำประเทศไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน สำหรับโครงการ Charge & Share นั้น มจธ. เปิดสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขึ้น โดยมีรถยนต์ให้บริการในรูปแบบ Car Sharing ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรถยนต์ไฟฟ้า บีเอ็มดับเบิลยู i3 บุคคลากรของวิทยาลัยนำไปใช้ในงานราชการ พร้อมเก็บข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่เพื่อศึกษาลักษณะการใช้งาน รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการศึกษาพฤติกรรมของคนไทยในการใช้บริการระบบ Car Sharing และ EV Car Sharing เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และระบบ Car Sharing แห่งแรกของประเทศไทย ในการช่วยบริหารจัดการระบบการจองและคืนรถ รวมไปถึงให้บริการผู้ใช้อีกด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ดอกเบี้ยธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 กรกฎาคม 2562

กรมศุลกากรลุยประมูลรถยนต์ กว่า 1 พันคันในสต๊อก ดันรายได้ปีนี้เกินเป้า 1.08 แสนล้าน เร่งหารือกรมบัญชีกลาง ขอยกเว้นไม่นำเงินส่งเข้าคลังทันที กันไว้คืนเงินผู้ประมูลรถ กรณีรถบางคันนำไปจดทะเบียนขนส่งไม่ได้ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรมฯ อยู่ระหว่างการหารือกับกรมขนส่งทางบก เพื่อทำให้ผู้ประมูลรถยนต์ของกลางจากกรมศุลกากร สามารถนำรถไปจดทะเบียนกับกรมขนส่งได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ประมูลรถยนต์ของกลางจากกรมศุลกากรจำนวนหนึ่ง ไม่สามารถนำรถไปจดทะเบียนกับกรมขนส่งได้ โดยปัจจุบันมีรถยนต์ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินที่กรมศุลกากรจับยึดมาได้กว่า 1,000 คัน ซึ่งต้องหาทางบริหารจัดการ หากไม่สามารถประมูลได้ จะหาทางออกอื่น เช่น นำไปทำลาย ไปบริจาคหรือนำไปขายเพื่อส่งออกไปนอกประเทศ สำหรับกรณีรถยนต์ที่ประมูลจากกรมศุลกากรไปแล้ว และไม่สามารถจดทะเบียนกับกรมขนส่งได้ ทางกรมศุลกากรอยู่ระหว่างหารือ กับกรมบัญขีกลาง เพื่อนำเงินมาจ่ายคืนให้กับผู้ประมูล เพราะเงินที่ประมูลได้ดังกล่าวถูกนำส่งไปคลังแล้ว ทั้งนี้ จากการหารือกับกรมขนส่งทางออกหนึ่ง คือ กรมศุลกากรจะเปิดให้มีการประมูลรถยนต์ของกลางเหมือนทุกครั้ง และรถคันไหนจดทะเบียนกับกรมขนส่งไม่ได้ สามารถมาขอเงินคืนจากกรมศุลกากรได้ โดยกรมศุลกากรจะหารือกับกรมบัญชีกลางว่าเงินที่ได้จากการประมูลจะไม่ขอนำส่งคลังทันที จะขอกันไว้จ่ายคืนกรณีที่มีปัญหาดังกล่าวก่อน หากกรมขนส่งและกรมบัญชีกลางเห็นด้วย ก็จะทำให้กรมศุลกากรประมูลรถยนต์ของกลางกว่า 1,000 คันได้ ทันภายในปีงบประมาณ 2562

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 8 กรกฎาคม 2562

            กรมศุลกากรลุยประมูลรถยนต์ กว่า 1 พันคันในสต๊อก ดันรายได้ปีนี้เกินเป้า 1.08 แสนล้าน เร่งหารือกรมบัญชีกลาง ขอยกเว้นไม่นำเงินส่งเข้าคลังทันที กันไว้คืนเงินผู้ประมูลรถ กรณีรถบางคันนำไปจดทะเบียนขนส่งไม่ได้ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรมฯ อยู่ระหว่างการหารือกับกรมขนส่งทางบก เพื่อทำให้ผู้ประมูลรถยนต์ของกลางจากกรมศุลกากร สามารถนำรถไปจดทะเบียนกับกรมขนส่งได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ประมูลรถยนต์ของกลางจากกรมศุลกากรจำนวนหนึ่ง ไม่สามารถนำรถไปจดทะเบียนกับกรมขนส่งได้ โดยปัจจุบันมีรถยนต์ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินที่กรมศุลกากรจับยึดมาได้กว่า 1,000 คัน ซึ่งต้องหาทางบริหารจัดการ หากไม่สามารถประมูลได้ จะหาทางออกอื่น เช่น นำไปทำลาย ไปบริจาคหรือนำไปขายเพื่อส่งออกไปนอกประเทศ สำหรับกรณีรถยนต์ที่ประมูลจากกรมศุลกากรไปแล้ว และไม่สามารถจดทะเบียนกับกรมขนส่งได้ ทางกรมศุลกากรอยู่ระหว่างหารือ กับกรมบัญขีกลาง เพื่อนำเงินมาจ่ายคืนให้กับผู้ประมูล เพราะเงินที่ประมูลได้ดังกล่าวถูกนำส่งไปคลังแล้ว ทั้งนี้ จากการหารือกับกรมขนส่งทางออกหนึ่ง คือ กรมศุลกากรจะเปิดให้มีการประมูลรถยนต์ของกลางเหมือนทุกครั้ง และรถคันไหนจดทะเบียนกับกรมขนส่งไม่ได้ สามารถมาขอเงินคืนจากกรมศุลกากรได้ โดยกรมศุลกากรจะหารือกับกรมบัญชีกลางว่าเงินที่ได้จากการประมูลจะไม่ขอนำส่งคลังทันที จะขอกันไว้จ่ายคืนกรณีที่มีปัญหาดังกล่าวก่อน หากกรมขนส่งและกรมบัญชีกลางเห็นด้วย ก็จะทำให้กรมศุลกากรประมูลรถยนต์ของกลางกว่า 1,000 คันได้ ทันภายในปีงบประมาณ 2562

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 8 กรกฎาคม 2562

            นายพัฒนเดช อาสาสรรพกิจ ประธานจัดงาน ฟาสต์ ออโต โชว์ ไทยแลนด์ 2019 เปิดเผยว่างานมหกรรมแสดงและจำหน่ายรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้ว หรืองานฟาสต์ ตั้งแต่วันที่ 26-30 มิถุนายน 2562 ที่ไบเทค ยอดขายดีเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้พอสมควร เพราะตลอด 5 วันจัดงานมีฝนตกลงมาต่อเนื่อง แต่ผู้สนใจเข้ามาชมงานปีนี้ 292,500 คน จากเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้ 250,000 คน มากกว่าเป้า 17% ยอดขายรถยนต์รวมทั้ง 2 ประเภท คือรถยนต์ใหม่ป้ายแดงและรถยนต์ที่ใช้แล้ว 3,335 คัน ยอดขายตั้งไว้ 3,000 คันมากกว่าเป้าหมาย 11.2% จำแนกยอดขายรถใหม่ป้ายแดง 2,121 คัน ยอดขายที่ตั้งไว้ 2,000 คัน มากกว่าที่ตั้งไว้ 6% และยอดขายรถยนต์ใช้แล้วอยู่ที่ 1,214 คัน ยอดขายที่ตั้งไว้ 1,000 คัน เติบโต 21.24% มียอดเงินสะพัดกว่า 2,855 ล้านบาท จากตัวเลขที่คาดการณ์ก่อนจัดงาน 2,000-2,500 ล้านบาท มากกว่าคาดการณ์ 14.2% สำหรับการจัดงานครั้งต่อไป ก้าวสู่ปีที่ 9 กำหนดให้มีขึ้นระหว่างที่ 1-5 กรกฎาคม 2563

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 9 กรกฎาคม 2562

ในความพยายามที่จะฟื้นฟูแบรนด์มาเซอราติ (Maserati) เฟียต คริสเลอร์ ออโตโมบิล (Fiat Chrysler Automobiles : FCA) ได้ทำการว่าจ้าง เดวิด แกรสโซ่ (David Grasso) อดีตCEO แบรนด์รองเท้ากีฬา ไนกี้ (Nike) เพื่อให้มารับตำแหน่ง COO (chief operating officer) สำหรับหน่วยรถหรู โดยไมค์ แมนเลย์ (Mike Manley) CEO ของ FCA กล่าวว่าแกรสโซ่จะนำ “ความสมบูรณ์การชำนาญในแบรนด์” มาสู่มาเซอราติ

                  แกรสโซ่เป็นผู้ชำนาญในด้านการตลาดที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของรองเท้าคอนเวิร์ส โดยประสบการณ์ล่าสุดของเขายังรวมถึงการเป็นหัวหน้าฝ่ายการตลาดของแบรนด์ไนกี้ ซึ่งแกรสโซ่ยังคงหวังว่าจะได้เป็นหนึ่งในกลุ่มกรรมการบริหารของ FCAเช่นกัน

                  ในขณะที่ ฮาราลด์ เวสเตอร์ (Harald Wester) COO คนปัจจุบันของมาเซอราติจะก้าวสู่ตำแหน่งประธานผู้บริหารของแบรนด์ เพื่อดูภาพรวมเกี่ยวกับเทคนิคและอุตสาหกรรม เวสเตอร์ยังคงเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของ FCA ในขณะนี้เช่นกัน ความรับผิดชอบของเขายังขยายไปครอบคลุมถึงระบบส่งกำลังและวิศวกรรมยานยนต์ในระดับโลกสำหรับ FCA เช่นกัน

                  แกรสโซ่และเวสเตอร์จะทำงานร่วมกันภายใต้แนวทาง “การฟื้นตัวของมาเซอราติในระดับโลก” ซึ่งFCA ได้วางแผนธุรกิจเพื่อจะเพิ่มยอดขายรายปีของมาเซอราติให้สูงถึง 100,000คัน ภายในปี 2022 ซึ่งส่วนช่วยสำคัญคือการปล่อยรถยนต์ SUV ขนาดกลางและรถยนต์รุ่นอัลเฟียรี่ คู้ป (Alfieri coupe) และ คาบริโอเลต (cabriolet)

                    ยอดการขนส่งมาเซอราติลดลงกว่า 41เปอร์เซ็นต์ถึง 5,500คันในช่วงไตรมาสแรกซึ่งเป็นผลมาจาก “การจัดการสินค้าคงคลัง” FCA กล่าวไว้ในรายงานการเงินของช่วง3เดือนแรกของรอบปี โดยในปีที่แล้วมาเซอราติมียอดขนส่งรถเพียง 35,900คัน ลดลงจากปี 2017 ที่มียอดกว่า 51,500คัน

ที่มา: Automotive News Europe ฉบับวันที่ 5 กรกฎาคม 2562

ญี่ปุ่นเตรียมพร้อมที่จะตัด เกาหลีใต้ออกจากรายชื่อ “whitelist”ของประเทศคู่ค้า ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ซึ่งนั้นน่าจะส่งผลให้เกิดความตึงเครียดระหว่างสองประเทศอย่างแน่นอน เกาหลีนับเป็นประเทศแรกที่จะถูกญี่ปุ่นนำออกจาก Whitelist
               สินค้าส่งออกของญี่ปุ่นนั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สารเคมี,ชิ้นส่วนวงจร หรือ ชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งของจำเป็นในอุตสาหกรรมของประเทศเกาหลีทั้งสิ้น แต่ด้วยการออกกฏหมายส่งออกอันใหม่ของญี่ปุ่นที่จะเพิ่มภาษีส่งผลกระทบโดยตรงต่อหลายบริษัท ยกตัวอย่างเช่น Hyundai motor ที่เริ่มพัฒนารถยนต์พลังไฟฟ้า ข้อบังคับอันใหม่ส่งผลกระทบต่อพวกเขาโดยตรง
 
ที่มา: https://asia.nikkei.com ฉบับวันที่ 5 กรกฎาคม 2562

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th