สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
ข่าวสารยานยนต์
อ่านข่าวสารล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

ยานยนต์

         เฟียต ไครส์เลอร์ บริษัทรถยนต์รายใหญ่ สัญชาติอิตาลี-สหรัฐ แถลงว่า บริษัทได้ทำหนังสือถึงเรโนลต์ ค่ายรถดังจาก ฝรั่งเศส เสนอควบรวมธุรกิจแบบ 50/50 ก่อตั้ง บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ข่าวดังกล่าวส่งผลให้ราคาหุ้นบริษัท เฟียตไครส์เลอร์ (เอฟซีเอ) ในตลาดหุ้นมิลาน พุ่งขึ้นกว่า 18% ก่อนจะร่วงลงมาอยู่ที่ 10% ในการซื้อขายช่วงสาย ส่วนหุ้นเรโนลต์พุ่งขึ้นกว่า 13% หลังจากรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งถือหุ้นในบริษัทนี้ 15% แสดงท่าทีอยากให้ดีลนี้สำเร็จ โฆษกรัฐบาลเผยว่า รัฐบาลเห็นชอบแต่เงื่อนไขการควบรวมต้องสนับสนุนการ พัฒนาเรโนลต์ โดยเฉพาะพนักงานบริษัท

         ค่ายรถฝรั่งเศสรายนี้ประสบกับความ ปั่นป่วนตั้งแต่เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจาก นายคาร์ลอส กอส์น ประธานคณะเจ้าหน้าที่ บริหาร ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานบริษัท นิสสันของญี่ปุ่นด้วย ถูกจับกุมที่กรุงโตเกียว พันธมิตรสามประสานระหว่างเรโนลต์- นิสสัน-มิตซูบิชิ ขณะนี้ผลิตรถยนต์ได้ราว 10.8 ล้านคัน เทียบกับโฟล์คสวาเกนของเยอรมนี และโตโยต้าของทั้งสองบริษัทผลิตได้ราว 10.6 ล้านคัน แต่อนาคตของกลุ่มยังไม่แน่นอน หลังจากนายกอส์นถูกขับพ้นเรโนลต์และนิสสัน เรโนลต์ถือหุ้นนิสสัน 43% ขณะที่นิสสันถือหุ้นเรโนลต์ 15%

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2562

 

 

           สถาบันยานยนต์ระบุประเทศไทยตอบรับเทรนด์รถอีวี คาดปีหน้าผลิตเกินครึ่งแสน หลังค่ายรถยนต์-ค่ายแบตเตอรี่ 9 รายผ่านบีโอไอทุ่มลงทุนกว่า 5.4 หมื่นล้าน นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน กรรมการสถาบันยานยนต์ ผู้ทำการแทนผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยถึงแนวโน้มการใช้รถยนต์อีวี, ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และไฮบริด ว่า เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากยอดผลิตทั้งสิ้น 8,900 คัน เพิ่มเป็น 25,200 คัน ในปี 2561 ขณะที่ปีนี้คาดว่าตลาดทั้ง 3 แบบจะมียอดผลิตเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 36,000 คัน และเพิ่มเป็น 50,000 คัน ในปีถัดไป

                 ปัจจุบันมีค่ายรถที่ได้รับอนุมัติจากบีโอไอ เป็นรถไฮบริด 4 ราย รถปลั๊ก-อิน ไฮบริด 4 ราย และรถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่อีก 1 ราย รวมทั้งสิ้น 9 ราย โดยมีกำลังการผลิตรวมประมาณปีละ 500,000 คัน นับเป็นมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นจำนวน 54,000 ล้านบาท รวมทั้งยังมีค่ายรถยนต์ที่รอการอนุมัติรถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่อีกจำนวน 7 ราย และการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า มีผู้ที่ได้รับการส่งเสริมแล้ว 5 ราย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นทำการผลิตได้ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป อีกทั้งในปี พ.ศ. 2561ได้มีการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วกว่า 400 แห่ง

ที่มา : www.prachachat.net ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2562

 

 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้ประชุมร่วมกับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เพื่อติดตามสถานการณ์ และกำหนดท่าทีในการดำเนินการของไทย หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) ดำเนินการเจรจาทำความตกลงกับประเทศที่ส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนสหรัฐฯ โดยเฉพาะกับสหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ เพื่อลดการนำเข้า หรือจำกัดการนำเข้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐฯ และป้องกันผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ โดยให้รายงานผลภายใน 180 วัน
 
“นับเป็นข่าวดีสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทย เพราะไม่มีรายชื่ออยู่ที่สหรัฐฯ ระบุไว้ในเป้าหมาย และไม่น่าจะต้องมาหารือกับไทย เพราะยานยนต์และชิ้นส่วนของไทย มีสัดส่วนในตลาด สหรัฐฯน้อยมาก สำหรับรายการสินค้าที่สหรัฐฯระบุว่ามีการนำเข้าสหรัฐฯเพิ่มขึ้น เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถปิกอัพ รถขับเคลื่อน 4 ล้อ (โฟร์วีล), ชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น เครื่องยนต์และชิ้นส่วน ระบบส่งกำลัง ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น”
 
ที่มา : www.thairath.co.th ฉบับวันที่ 27 พฤษภาคม 2562
 

 

                  นายณัฐพล รังสิตผล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากช่องโหว่ของมาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าในระยะแรก ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการลดอัตราภาษีสรรพสามิตให้กับผู้ผลิตรถยนต์ HEV/PHEV โดยไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Vehicles) ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม S-Curve ของประเทศ ดังนั้น สศอ. จึงได้นำเสนอมาตรการในการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนการผลิตชิ้นส่วนสำคัญ “Core Tecnology” ของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นหัวจำสำคัญในการยกระดับไปสู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต รวมทั้งต้องการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ำด้ราคาประหยัด และยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากฝุ่นละองขนาดเล็ก หรือเรียกว่า “อีโค่อีวี” (ECO EV)  นายณัฐพล เปิดเผยเพิ่มเติมว่ามาตรการ ECO EV มีวัตถุประสงค์หลัด 2 ประการ คือ (1) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถปรับพลิกโฉมฐานการผลิตรถยนต์ ECO Car ซึ่งเป็นฐานการผลิตรถยนต์นั่งหลักของประเทศไทยซึ่งถูกกระทบอย่างรุนแรงจากมาตรการาภาษ๊สรรพามิตของการส่างเสริม EV ระยะแรก และ (2) เพื่อปิดจุดอ่อนของมาตรการส่งเสริม EV ในรอบแรก ซึ่งจากโครงการที่บริษัทเสนอขอรับการสนับสนุนทั้งหมด สศอ. พบว่ามีปัญหาใน 3 ประเด็นหลัก คือ ร้อยละ 79.8 ของรถยนต์ทุกคันเป็นการลงทุนผลิต HEV ที่ไม่สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ จึงไม่เอื้อให้เกิดการพัฒาโครงข่ายไฟฟ้าที่จำเป็นต่อการพัฒนาให้ไปสู่ BEV ในอนาคตได้และกว่าร้อยละ 91.8 ของรถยนต์ที่ทุกบริษัท เสนอขอรับการสนับสนุน ไม่มีการลงทุนใน Core technology ของ EV ในประเทศไทยลเลย โดยเป็นการประกอบขั้นปลายสุด คือ ประกอบตัวถังและแบตเตอรี่ นอกจากนี้รถยนต์ทุกคันที่ทุกบริษัทเสนอขอรับการสนับสนุนมีราคาสูงกว่าที่ประชาชนผู้ใช้รถยนต์ส่วนใหญ่จะเข้าถึงได้ คือ ราว 1-6 ล้านบาท ซึ่งย่อมทำให้ไม่แพร่หลายหรือมีขนาดการผลิตที่เพียงพอสำหรับการลงทุนผลิต Core Technology ของ EV ในประเทศไทย

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 มีนาคม 2562

                 นายศุกรศิษฎ์ หริตวร ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายเพาเวอร์ ออโต้โมบิล บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัท ตุ๊กตุ๊ก แฟคตอรี่ จำกัด เปิดตลาดรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ภายใต้แบรนด์ “TTF” ในไทยและภูมิภาคอาเซียนมุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าสหกรณ์สามล้อเครื่อง โรงแรม โรงพยาบาล คอนโดมิเนี่ยม ร้านอาหาร สถานศึกษา และกลุ่มรถขายอาหาร (Food Truck) เป็นหลัก โดยในปี 2561 บริษัทได้ขายรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า TIF ให้ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวไปแล้วกว่า 10 คัน และในปี 2562 นี้มีแผนจะขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผุ้ขับรถสามล้อรับจ้างสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันได้รับอนุมัติให้จะทะเบียนเพิ่มเติมเฉพาะในเชียงใหม่ 450 คัน คาดว่าบริษัทจะชิงส่วนแบ่งตลาดได้ประมาณ 10% ในขณะเดียวกันได้จับมือกับธนาคารออมสิน ในการสนับสนุนสินเชื่อรถสามล้อรับจ้างมีโอกาสซื้อรถสามล้อไฟฟ้าไว้ใช้ประกอบอาชีพได้ง่ายขึ้น ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการใช้รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าแทนสามล้อเครื่อง เพื่อลดปัญหามลภาวะฝุ่นละอองในอากาศที่กำลังเป็นปัญหาอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดสามล้อรับจ้างในกรุงเทพฯนั้น ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้จดทะเบียนเพิ่ม จึงยังไม่สามารถขยายตลาดในส่วนนี้ได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 21 มีนาคม 2562

              นายพิทักษ์ พฤทธิสาริการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฎิบัติการบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย)  เปิดเผยว่า การปฎิเสธ เข้าร่วมโครงการอีโคอีวีของรัฐในมุมมองของบริษัทมองของบริษัทมองเจตนาของรัฐบาลในการสนับสนุนนั้นดี แต่การต่อยอดทางเทคโนโลยีดังกล่าวไปสู่เทคโนโลยีไฮบริดหรือปลั๊ก-อิน ไฮบริด นั้นไม่สามารถทำได้ “เราเสนอให้รัฐบาล ถ้าหากจะมีการแก้ไขปัญหาของการสนับสนุนรถยนต์อีโคคาร์ควรแก้ทั้งระบบ ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาด้วยการออกมาตรการใหม่ออกมาเป็นอีโคอีวีในลักษณะนี้ ซึ่งเคยมีการสะท้อนมุมมองไปให้ทางภาครัฐในการสร้างความสมดุลของนโยบายเก่ากับนโยบายใหม่ให้สามารถเทียบเท่ากันได้ โดยหากโครงการอีโคคาร์จะเดินหน้าต่อไปได้นั้น รัฐบาลจะต้องปรับปรุงภาษีสรรพสามิตให้เหมาะสม” นายพิทักษ์ กล่าว ทั้งนี้ สำหรับการก้าวสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้น มองว่าในประเทศไทยนั้น มองว่าในประเทศไทยอาจจะยังไม่ก้าวไปถึงจุดนั้นเร็วนัก เนื่องจากราคาของแบตเตอรี่ยังเป็นอุปสรรคอยู่ และความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานยังมีข้อจำกัดอยู่โดยหากรัฐบาลสนับสนุนให้เป็นธุรกิจหรือสินค้าพิเศษดังเช่น กลยุทธ์ในประเทศจีน ที่รัฐบาลสนับสนุนให้ราคาถูกลง และโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอก็จะทำให้ตลาดเกิดขึ้นได้ สำหรับแผนบริษัท ล่าสุดเปิดตัว ฮอนด้า แอคคอร์ด ใหม่ เจเนอเรซั่นที่ 10 มีให้เลือก 2 เครื่องยนต์ ได้แก่ เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร เทอร์โบ และเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ไฮบริดราคาเริ่มต้นไม่เกิน 1.5-1.8 ล้านบาท โดยรถยนต์รุ่นดังกล่าวเป็นรุ่นแรกที่อยู่ภายใต้การขอรับส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอในโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในส่วนของเทคโนโลยีไฮบริด ขณะที่ภายในงานบางกอก อินเตอร์ เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 7 เมษายน นี้ ที่ชาเลนเจอร์ฮอลล์ อินมแพ็ค เมืองทองธานี จะมีการเปิดให้สำรองสิทธิการซื้อรถยนต์รุ่นดังกล่าว และจะสามารถส่งมอบได้ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป โดยตั้งเป้ายอดขายภายใน 1 ปีหลังจากการส่งมอบไว้อยู่ที่ 9,000 คัน ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นตลาดได้เป็นอย่างดี

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม 2562

                  กลุ่มสื่อต่างชาติรายงาน กรมศุลกากรจีนประกาศประกาศยกเลิกการระงับการนำเข้ารถยนต์เทสลาโมเดล 3 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้กรมศุลกากรจีนระงับนำเข้ารถยนต์รุ่นดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า บริษัทฯ ไม่ได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยการติดป้ายเตือนเป็นภาษาจีนภายในรถยนต์ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ราคาหุ้นของเทสลาร่วงลงทันทีร้อยละ 5  แหล่งข่าวภายในเปิดเผยว่า ขณะนี้เทสลาได้ปรับปรุงรถยนต์ของตรให้สอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว ทำให้ได้รับบริการอนุญาตให้นำเข้าจีนอีกครั้ง ข่าวดีดังกล่าวทำให้หุ้นของเทสลาในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นทนที่ร้อยละ 3  ทั้งนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เทสลาได้เปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเทสลา บนที่ดินมูลค่ากว่า 40 ล้านดอลลาร์ ในเชตชานเมืองของเซี่ยงไฮ้ โดยนับเป็นเดิมพันที่สำคัญของเทสลาที่ต้องการปัจจัยสนับสนุนในประเทศจีน อันเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก การผลิตรถยนต์ในประเทศจีนจะลดต้นทุนจากภาษีศุลกากรและการขนส่งทางทะเลสำหรับเทสลา เนื่องจากต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในท้องถิ่น โรงงานแห่งใหม่ของเทสลาในจีน ตั้งเป้าจะมีกำลังการผลิตสูงสุด 500,000 คันต่อปี และจะกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่แข่งขันกันเพื่อแย่งส่วนแบ่งชองภาคยานยนต์ไฟฟฟ้าของจีน อันเป็นอุตสหกรรมที่คาดว่าจะเติบโตต่อไป เนื่องจากรัฐบาลมุ่งมั่นผลักดันเทคโนโลยีพลังงานสะอาด

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 19 มีนาคม 2562

               อีก 2 ปีข้างหน้าหรือปี 2564 รถยนต์ทุกรุ่นจาก 12 ค่ายรถที่ผลิตขายในประเทศ จะต้องปรับระบบเครื่องยนต์เพื่อรองรับน้ำมันมาตรฐานที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาตรการแก้ไขวิกฤตมลพิษทางอากาศที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เกินค่ามาตรฐานในปี 2562 แต่ทว่าการพัฒนาไปสู่ระบบดังกล่าวยังต้องอาศัยระยะเวลาปรับตัว 12 ค่ายรถพร้อมปี 64  การลดฝุ่นละอองได้กลายเป็นวาระแห่งชาติในทันที ไม่เพียงการควบคุมปริมาณการเผาป่าการปล่อยควันจากยานพาหนะให้เป็นจำเลยที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด “นายสมชาย หาญหิรัญ” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดทำมาตรฐานการระบายสารมลพิษจากเครื่องยนต์เทียบเท่า EURO 5 (มอก. EURO 5 ) ให้มีผลบังคับใช้ในปี 2564 ที่จะกำหนดค่ากำมะถันไม่เกิน 10 ppm รวมถึงกำหนดค่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์และไนโตรเจนออกไซต์ เป็นต้น โดยล่าสุดมีค่ายรถยนต์ 12 แบรนด์ ประกอบด้วย Audi, BMW, Isuzu, Mazda, Mercedes-Benz, Mitsubishi, Mini, MG, Nissan, Suzuki, Toyota และ Volvo พร้อมที่จะปรับมาตรฐานเครื่องยนต์และผลิตภัณฑ์รถยนต์ทุกรุ่นเพื่อขายในประเทศให้เป็นไปตาม มอก. EURO 5 ในปี 2564 จากนั้นมาตรฐาน EURO 6 จะออกมาบังคับในปี 2565 ต่อไป สอดคล้องกับกระทรวงพลังงานที่มีเป้าหมายว่า ในอีก 2 ปี หรือปี 2564 กำลังการผลิตน้ำมันดีเซลมาตรฐาน EURO 5 ของโรงกลั่นทั้งหมด 6 แห่งทั้งโรงกลั่นไทยออยส์ IRPC เอสโซ่บางจาก SPRC และเซลล์ จะต้องผลิตน้ำมันและขายน้ำมันยูโร 5 ในสถานีจ่ายน้ำมันได้ครบทั้งหมด 100% ซึ่งล่าสุดทางคณะกรรมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้พิจารณาออกมาตรการเร่งรัดการลงทุนเพื่อให้โรงกลั่นน้ำมันจะได้รับสิทธิประโยชน์ ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรในการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน ทั้งนี้ จะต้องยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์ตามาตรการนี้ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2562

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 มีนาคม 2562

               นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้สั่งการให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เร่งดำเนินการปรับมาตรฐานการระบายสารมลพิษจากเครื่องยนต์จากปัจจุบันที่ใช้มาตรฐานยูโร 4 ให้เทียบเท่ายูโร 5 ในปี 2564 และยูโร 6 ในปี 2565 เพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวว่า สมอ. อยู่ระหว่างจัดทำมาตรฐานยูโร 5 โดยกำหนดรายละเอียดการระบายสารมลพิษและฝุ่นละอองที่เข้มกว่ายูโร 4 คาดว่าจะสามารถลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ภายในปีนี้ และบังคับใช้ในปี 2563  แต่ละบังคับใช้จริงปี 2564 เพื่อให้เวลาปรับตัว 1 ปี คาดว่าต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้นราว 3-4 % จะส่งผลกระทบกับรถยนต์อีโคคาร์และรถยนต์หรูต่างกันตามต้นทุน นายครรชิต ไชยสุโพธิ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่อยนต์โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลที่อาจจะต้องชดเชยเพราะหากต้นทุนเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะขายในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม

ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15 มีนาคม 2562

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th