สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

                  ฮอนด้าปิดโรงงานในเมืองสวินดอน ปรปะเทศอังกฤษตามแผนการปรับโครงสร้างทั่วโลกส่งผลให้มีการลดจำนวนพนักงาน 3,500 คน ขณะซีอีโอยืนยันไม่เกี่ยวกับกรณีเบร็กซิท นายทากาฮิโร ฮาชิโกะ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ ยืนยันเมื่อวานนี้ ( 19 ก.พ. ) ว่า บริษัทจะปิดโรงงานผลิตรถยนต์ในเมืองสวินดอนในสหราชอาณาจักรในปี 2564 ซึ่งจะส่งผลให้มีการปลดพนักงาน 3,500 ตำแหน่ง นายทากาฮิโระ ระบุว่า การตัดสินใจปิดโรงงานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างทั่วโลก และระบุด้วยว่า ฮอนด้าจะยังคงมีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหราขอาณาจักรต่อไป ซึ่งถ้อยแถลงของนายทากาฮิโร สอดคล้องกับเจ้าหน้าที่อีกคนของฮอนด้า ที่เปิดผยกับสำนักข่าวบีบีซี เรดิโอในวันเดียวกันว่า การปิดโรงงานไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (เบร็กซิท)  ด้านเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอังกฤษแสดงความผิดหวังเกี่ยวกับการตัดสินใจของฮอนด้าที่จะปิดโรงงานเพียงแห่งเดียวในสหราขอาณาจักร ขณะที่ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจไลบ์นิช และมหาวิทยาลัย มาร์ติน ลูเธอร์ ฮอล วิทเทนเบิร์ก ระบุว่า การแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (เบร็กซิท) โดยไม่มีการทำข้อตกลงจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานจำนวนมากกว่า 100,000 ตำแหน่งในเยอรมนี

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562

             หลังหายใจหายคอโล่งไปได้พักใหญ่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกก็กลับเข้าสู่ความหวาดหวั่นอีกครั้ง จากรายงานข่าวว่า กระทรวงพานิชย์สหรัฐได้ส่งมอบรายงานผลการศึกษาเรื่องภาษีรถยนต์ ให้ประธานอธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อพิจารณาว่าจะขึ้นภาษีรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์นำเข้าจากต่างชาติหรือไม่ การศึกษาดังกล่าวดำเนินการตามมาตรา 232 เพื่อสืบหาว่ารถยนต์และชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างชาติเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐหรือไม่ คล้ายคลึงกับกรณีการสอบสวนการเก็บภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมนำเข้าจากต่างชาติก่อนหน้านี้ ทรัมป์มีเวลาอีก 90 วัน ในการตัดสินใจว่า จะประกาศขึ้นภาษีดังกล่าวตามรายงานของกระทรวงพานิชย์หรือทรัมป์จะประกาศตั้งภาษีรถยนต์นำเข้าที่อัตรา 20-25% หลังข่มขู่จะเก็บภาษีดังกล่าวมาโดยตลอดและล่าสุดทรัมป์ยังเปิดเผยว่า การตั้งภาษีช่วยปกป้องภาคอุตสาหกรรมของประเทศ และทำให้สหรัฐได้เปรียบในการทำข้อตกลงการค้ากับชาติอื่นๆ ความเป็นไปได้สูงที่สหรัฐจะประกาศตั้งภาษีนำเข้ารภต่างชาติ จึงเป็นฝันร้ายที่หากเกิดขึ้นจริง จะยิ่งซ้ำให้ภาคยานยนต์โลกบอบช้ำยิ่งขึ้นไปอีก หลังสหรัฐเก็บภาษีเหล็กและอะลูมอเนียมนำเข้าจากต่างชาติไปแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้ค่ายรถต้องแบกต้นทุนการผลิตเพิ่ม โดยชาติที่ได้รับกระทบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นเยอรมนี และญี่ปุ่น ขณะที่สหรัฐเองก็มีแนวโน้มเจ็บหนักไม่แพ้กัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562

                  หนุนลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าเหลือแค่ 2%  กรมสรรพสามิต เตรียมเสนอมาตรการภาษีลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ให้คลัง ก่อนเสนอ ครม. พร้อมทั้งลดภาษีรถไฟฟ้าหรืออีวีเหลือ 2% ขณะที่จัดเก็บรายได้เดือน มกราคม กว่า 5.4 หมื่นล้านบาท เกินเป้า กลุ่มสุรา ยาสูบ เบียร์ เครื่องดื่ม และรถยนต์ขายดี นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพาสามิต เปิดเผยว่าอำ 1-2 สัปดาห์ จะเสนอมาตรการทางภาษีสรรพสามิต เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป โดยเองต้นหากผู้ประกอบการรถยนต์รายใดติดตั้งอุปกรณ์ที่ลดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กจากโรงงานผลิตให้ได้เท่ากับมาตรฐานยูโร 5 ที่ปล่อ่ยค่าฝุ่นละออง 0.005 มิลลิกรัม จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ลดลง ซึ่งไม่เป็ฯทางการบังคับให้ทุกรายต้องติดตั้งเครื่องดังกล่าว นอกจากนี้ ยังประสานกระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนดีเซลลดค่าฝุ่นละอองให้ได้เทียบเท่ามาตรฐานยูโร 5 เร็วขึ้น จากกำหนดการเดิมบังคับให้รถยนต์ที่จะผลิตออกมาใหมในอีก 3 ปีข้างหน้า ต้องเป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5 ทั้งนี้กรมสรรพสามิตจะดำเนินตามนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรืออีวี ด้วยการลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้าเหลือ 2% และยกเว้นภาษ๊นำเข้ากรณีบริษัทผู้ผลิตเข้ารับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จากปัจจุบันจัดเก็บอัตรา 8% โดยกรมฯ จะขอสงวนสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการทที่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว หากพบว่าไม่สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ตามกำหนดกับบีโอไอ กรมฯ จะเรียกคืนภาษีจากบริษัทที่เคยได้รับส่วนลดไปก่อนหน้านี้ทั้งหมด เพื่อเป็นการจูงใจให้บริษัทเร่งผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ตามเป้า ขณะที่การจัดเก็บรายได้เดือนมกราคม 2562 เป็นเดือนแรกที่กรมฯ จัดเก็บภาษีได้ 54,056 ล้านบาท เกินกว่าเป้าหมายที่คาดไว้ 78 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.15% จากสินตชค้าในกลุ่มสุรา ยาสูบ เบียร์ เครื่องดื่ม และรถยนต์ขายดี สำหรับเดือนมกราคมที่ผ่านมายอดจัดเก็บภาษีกลุ่มรถยนต์เพิ่มขึ้น 14% สุราเพิ่มขึ้น 3% เบียร์เพิ่มขึ้น 9% ยาสูบเพิ่มขึ้น 18% ทั้งนี้การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงประชาชนเชื่อมั่นเศรษฐกิจมากขึ้น คาดว่ายอดการจัดเก็บภาษีกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้ เนื่องจากใกล้วันเลือกตั้งยิ่งกระตุ้นในเกิดการซื้อสินค้ากลุ่มนี้ไปบริโภคมากขึ้น ส่วนสินค้าที่จัดเก็บภาษีลดลง คือ น้ำมันติดลบร้อยละ 2 เป็นผลมาจากราคาน้ำมันโลกที่ผันผวน ส่วนผลการจัดเก็บรายได้สะสม 4 เดือนแรกปีงบประมาณ 2562 (ต.ค. 2561 – ม.ค. 2562 ) เก็บได้ 185,400 ล้านบาท ยังต่ำกว่าเป้าหมายตามเอกสารงบประมาณ 5% หรือต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท เพราะยอดจัดเก็บ 3 เดือนแรกต่ำกว่าเป้า แต่มั่นใจว่าขะสามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมายของกระทรวงการคลังที่ 584,000 ล้ายบาทแน่นอน แต่กรมสรรพสามิตจะมุ่งจัดเก็บรายได้ตามเป้าของกรมฯ ที่ 622,000 ล้านบาท

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562