สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

             นักวิชาการมั่นใจการเปลี่ยนเทคโนโลยีรถยนต์ไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า กระทบฐานการผลิตในไทยไม่มากเชื่อไทยยังคงเบอร์ 1 ในอาเซียน เผยนโยบายอีโคอีวีของรัฐบาลมาถูกทางช่วยให้รถยนต์ไฮบริดราคาถูกลง กระตุ้นลงทุนผลิตชิ้นส่วนสำคัญในไทย นายเกรียงไกร เตชกานนท์ อาจารย์ประจคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อนวัตกรรมพลิกโลก แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์และเปลี่ยนผ่านสู่ New S-Curve โดยระบุว่าทิศทางเทคโนโลยียานยนต์ที่จะก้าวไปเป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริดที่ผสมผสานระหว่างเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันและมอเตอร์ไฟฟ้า และชาร์ตไฟฟ้าได้ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าจะไปในทิศทางใด การเข้ามาของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า จะกระทบกับอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมไม่มาก เพราะบริษัทยานยนต์ส่วนใหญ่ล้วนแต่มีเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าของตัวเองและได้เตรียมการสำหรับทิศทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ไว้แล้ว แต่ค่ายเล็กที่ไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าของตัวเอง อาจจะได้รับผลกระทบมากกว่า นอกจากนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของตัวเอง อาจจะได้รับผลกระทบมากกว่า นอกจากนี้อุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นต้องใช้ส่วนประกอบจำนวนมาก แม้จะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนบางประเภทอาจจะหายไป เช่น ชิ้นส่วนส่งกำลังเครื่องงยนต์ แต่ส่วนใหญ่ที่เป็นตัวถังยังคงไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากราคาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญแล้วรถยนต์ยังเป็นสินค้าที่ต้องมีการบำรุงรักษา ผู้จำหน่ายรถยนต์จำเป็นต้องสร้างศูนย์บริการที่ครอบคลุมเพียงพอในตลาดที่จำหน่ายจึงจะจำเป็นต้องสร้างศูนย์บริการที่ครอบคลุมเพียงพอในตลาดที่จำหน่ายจึงจะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้ากลุ่มผู้ผลิตเดิมที่เป็นเจ้าตลาดได้มีการขยายเครือข่ายและลงทุนในศูนย์บริการไว้ค่อนข้างครอบคลุม ดังนั้นการเข้าตลาดของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหม่ยังนับว่ามีอุปสรรคอยู่พอสมควร

ที่มา : หนังสือพิมพ์  กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 มกราคม 2562

                 เอสจีซี ออโต้แก๊สเอนเนอร์จี รีฟอร์มแนะรัฐจริงจังกับการแก้ปัญหาฝุ่นควันเผยนำร่องรถในหน่วยงานราชการทุกคันให้เป็นมอตรกับสิ่งแวดล้อมก่อนชี้รถสาธารณะต้องใช้พลังงานสะอาด “เอ็นจีวี” นายอภิสิทธิ์ ธนาดำรงศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี ออโต้แก๊ส จำกัด ผู้ให้บริการติดตั้งก๊าซรถยนต์รายใหญ่ เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าปัจจุบันแม้ความต้องการติดตั้งก๊าซเอ็นจีวีหรือซีเอ็นจี สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปจะลดลงไปมาก จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รถยนต์รุ่นใหม่ ประหยัดน้ำมันมากขึ้น ทั้งอีโคคาร์และปิกอัพ แต่การแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นควันโดยเฉพาะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพรัฐบาลต้องจริงจัง “เรายอมรับว่าตลาดหดตัวลงเยอะจากลูกค้าหลายร้อยคันต่อเดือน ตอนนี้เหลือเป็นหลักสิบ ทำให้ตอนนี้เราได้ลดขนาดของธุรกิจติดตั้งก๊าซรถยนต์ลงให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของตลาด และหันไปทำตลาดโดยเจาะกลุ่มลูกค้ารถตู้ หรือรถโดยสารสาธารณะรวมทั้งกลุ่มลูกค้าที่มีความชื่นชอบและพอใจกับการใช้ก๊าซติดรถยนต์เป็นหลัก โดยมีลูกค้าเข้ามารับการติดตั้งเฉลี่ยเดือนละ 20-30 คัน นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ช่วงที่เกิดวิกฤตหมอกควันฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานนั้น อยากแนะภาครัฐควรรณรงค์ให้หลายภาคส่วนหันมาใช้รถยนต์พลังงานทางเลือกก๊าซเอ็นจีวีให้มากขึ้น ควรกำหนดเป็นนโยบายให้รถโดยสารสาธารณะ,รถของหน่วยงานราชการ,รถตู้ หรือแท็กซี่ ต้องใช้พลังงานทางเลือก หรือก๊าซเอ็นจีวีในการขับเคลื่อนอย่างจริงจังเพื่อช่วยลดปัญหา

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 มกราคม 2562

                  โตโยต้าประเมินตลาดรวมรถยนต์ปีนี้ 1 ล้านคันติดลบ 3.8% เหตุมาตรการกระตุ้นยอดขายลดความร้อนแรงหวั่นปัจจัยลบอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ไฟแนนซ์เข้ม สงครามการค้าจีน-สหรัฐบานปลายเร่งแผนผลิตแบตเตอรี่ไฮบริดเดือน พ.ค. พร้อมศึกษาความพร้อมโครงการลงทุนปลั๊กอินไฮบริด – อีวี ต่อเนื่อง บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถานการณ์ตลาดรถยนต์โดยระบุว่าปี 2561 ที่ผ่านมา ตลาดยอดขายมากกว่า  ล้านคันเป็นครั้งที่ 3 ในประวัติศาสตร์โดยทำได้ 1.039 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 19.2 % จากปีก่อนหน้า โดยสิ่งที่สนับสนุนการเติบโตมาจากหลายปัจจัย ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ผลักดันให้ จีดีพี เติบโต 4.2 % จากการประเมินของธนาคารปห่งประเทศไทย ณ วันที่ 2 มกราคม ปีนี้และผลมาจากที่บริษัทรถยนต์มีมาตรการส่งเสริมการขายจำนวนมากผ่านทางแคมเปญที่หลากหลายโดยเฉพาะเงื่อนไขทางการเงิน ทั้งการดาวน์ต่ำ ผ่อนชำระยาวนาน และอัตราดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงกิจกรรมการตลาดอื่นๆและการมีสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดตลอดทั้งปี ประเมินตลาดรถยนต์ปีนี้ 1 ล้านคัน นายมิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า เมื่อแบ่งเป็นประเภท พบว่ารถยนต์นั่งมียอดขายรวม 3.97 แสนคัน เพิ่มขึ้น 14.8% รถเพื่อการพานิชย์ (รวมรถปิกอัพ) 6.41 แสนคัน เพิ่มขึ้น 22.1% และปิกอัพ 4.47 แสนคัน เพิ่มขึ้น 22.6% ส่วนแนวโน้มตลาดปีนี้ประเมินว่าใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยติดลบเล็กน้อย 3.8% ด้วยยอดขาย 1 ล้านคัน โดยรถยนต์นั่งคาดว่าทำได้ 3.84 แสนคัน ลดลง 3.2% รถเพื่อการพานิชย์ (รวมปิกอัพ) 6.15 แสนคัน ลดลง 4.1% และรถปิกอัพ 4.3 แสนคัน ลดลง 3.7% การประเมินว่าตลาด  1 ล้านคันซึ่งเป็นระดับที่สูง เพราะเห็นว่าการลงทุนภาครัฐบาลมีความชัดเจนและต่อเนื่อง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชน รวมถึงการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ แต่การที่มองว่าติดลบเล็กน้อยเนื่องจากยอดขายในปีที่ผ่านมามีการเติบโตสูงจากแรงกระตุ้นด้านต่างๆจำนวนมาก แต่ปีนี้ความร้อนแรงเหล่านั้นอาจจะลดลง การประเมินดังกล่าวคำนึงถึงปัจจัยลบที่อาจจะเกิดขึ้นรวมเอาไว้แล้ว แต่ถ้าทุกอย่างดี ก็มีความเป็นไปได้ที่ยอดขายจะศุงกว่า 1 ล้านคัน เหมือนกับที่ปี 2561 ที่ช่วงต้นปี โตโยต้าประเมินไว้แค่ 9 แสนคันเท่านั้น แต่เมื่อสิ้นปี ก็พบว่าตลาดขยายตัวเกินกว่าที่คาดไว้

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 มกราคม 2562