การนำรถเข้ารับบริการล้างอัดฉีด จะช่วยจัดคราบความสกปรกต่างๆ ที่เกาะติดอยู่ตามตัวถังรถได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีข้อพึงระวังดังนี้
1.ไม่ควรล้างรถในขณะที่เครื่องยนต์ยังมีอุณหภูมิสูงเพราะจะทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่ยังคงมีความร้อนสะสมอยู่ เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างกระทันหัน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้
2. น้ำที่แรงดันสูง อาจจะก่อให้เกิดผลเสียกับสีรถ โดยเฉพาะรถเก่าซึ่งสีตามบริเวณขอบมุมต่างๆ อาจจะหลุดล่อนได้ง่าย
3. ไม่ควรใช้น้ำที่มีอุณหภูมิสูงเพราะอาจจะทำให้วัสดุประเภทพลาสติกเสียรูปทรงได้
4. ในขณะฉีดน้ำล้างรถ หัวฉีดควรอยู่ห่างจากตัวรถอย่างน้อย 50
เซนติเมตร เพื่อป้องกันความแรงของสายน้ำ
5. ไม่ควรล้างรถในเวลากลางคืน เพราะความชื้นที่เกิดจากการล้างรถ บริเวณซอกมุมต่างๆ จะแห้งช้า ซึ่งความชื้นดังกล่าวนี้จะป็นสาเหตุให้เกิดสนิมได้ง่าย
ก่อนนำรถไปรับบริการล้างอัดฉีดก็ควรเช็กข้อมูลจากสถานให้บริการก่อนว่า มีปัจจัยใดที่อาจส่งผลให้เกิดผลเสียกับรถยนต์แสนรักของคุณหรือเปล่า เพื่อยืดอายุการใช้งานรถยนต์ของคุณให้ยาวนานขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.betterchoice.co.th
การขับรถลุยน้ำเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยสำหรับทุกๆ ฤดูฝนแต่ในการตัดสินใจขับรถลุยน้ำนั้น ก็ต้องตระหนักด้วยว่าจะทำให้รถยนต์ของคุณเป็นอย่างไร และจะต้องมีการบำรุงรักษาอย่างไรหลังจากขับรถลุยน้ำไปแล้ว
ระดับแรกน้ำท่วมผิวถนนคือระดับความลึกของน้ำประมาณไม่เกิน 6 นิ้วส่วนที่จมน้ำอย่างมากที่สุดก็มีเพียงลูกหมากและบูชยางของระบบรองรับและระบบบังคับเลี้ยวเท่านั้นชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้แช่น้ำชั่วคราวได้โดยไม่เกิดความเสียหายสิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาระดับความเร็วของรถ โดยขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้น้ำที่ถูกล้อรถรีดด้วยความเร็ว จะทะลักพุ่งออกทางด้านข้าง ฉีดไปที่ห้องเครื่องยนต์จนอาจทำให้กระแสไฟจุดระเบิดลัดวงจรและเครื่องดับหรือไม่ก็ฉีดไปบนห้องเกียร์และเล็ดลอดเข้าไปภายในทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพได้
ระดับต่อมาระดับผิวน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวระดับนี้จะทำให้ขณะขับขี่ได้ยินเสียงน้ำกระทบท้องรถค่อนข้างดังวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องคือการขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้หลีกเลี่ยงการตกหลุมที่เรามองไม่เห็น โดยการเพ่งไปที่รถคันหน้าและพยายามจำแนวไว้ที่ความลึกระดับนี้ขึ้นไปจานเบรกจะจมอยู่ในน้ำตลอดเวลา ประสิทธิภาพจะลดลงอย่างมากโดยเฉพาะรถที่ใช้ "ดรัมเบรก" เมื่อพ้นช่วงน้ำท่วมจะต้องทดสอบเบรกทันทีโดยการเบรกและเร่งความเร็วสลับกันไปเพื่อให้ผ้าเบรกรีดน้ำจากจานเบรกและเพื่อให้จานเบรกหรือดุมเบรกร้อนจนน้ำระเหยเป็นไอหมด
หากเส้นทางที่จะต้องผ่านมีระดับน้ำสูงกว่า 2 ระดับดังกล่าว ควรหลีกเลี่ยงโดยเปลี่ยนเส้นทาง หรือหายานพาหนะอื่นไปแทน เพราะความเสียหายต่อเนื่องมีมากหรือหากสุดวิสัยจริงๆให้ท่านนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายหลังจากลุยน้ำลึกมาทุกครั้งและควรให้พนักงานถอดเก้าอี้และตรวจด้านล่างของพรมปูพื้นว่ามีน้ำรั่วเข้ามาถึงหรือไม่ รถที่ลุยน้ำลึกมาแล้ว ถึงที่หมายเมื่อพ้นน้ำห้ามดึงเบรกมือทิ้งไว้เด็ดขาดเพราะเมื่อน้ำแห้งผ้าเบรกจะยึดกับจานเบรกจากการเกิดสนิมจนไม่สามารถออกรถได้นอกจากหลีกเลี่ยง ก็อย่าลืมบำรุงรักษาด้วยนะครับเพื่อรถยนต์ของคุณจะได้อยู่ให้คุณใช้งานไปได้ยาวนานยังไงล่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.betterchoice.co.th
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า จากสภาพจราจรที่ติดขัดภายในกรุงเทพฯ เป็นสาเหตุทำให้เกิดสภาวะมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของฝุ่นควันพิษที่เกิดจากรถยนต์ หรือฝุ่นที่เกิดจากการก่อสร้างต่างๆ จำพวกรถไฟฟ้า ทางด่วน ทางเท้า ฯลฯ ฝุ่นควันพิษที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ที่เดินทางโดยอาศัยรถประจำทาง ต้องสูดดมควันพิษเข้าไปจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้หลายต่อหลายคนหันไปซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้กันเพิ่มมากขึ้น โดยหวังว่าจะอำนวยความสะดวก ไม่ต้องไปเบียดเสียด แออัดและหลบเลี่ยงสภาพอากาศที่เป็นพิษตามท้องถนน
คนมีรถทั้งหลายชอบนัก ปรับปุ่มแอร์รถยนต์ไปที่ขีดหนาวสุดตลอดเวลา มีผลให้ตู้แอร์ใต้คอนโซลหน้ารถผุ น้ำยาแอร์รั่วซึม จนกลายเป็นช่องทางให้ช่างแอร์ใช้ตุ๋นเงินจากกระเป๋าเรา
ปัญหาสตาร์ตเครื่องยนต์ไม่ติดเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ สาเหตุหนึ่งคือ เครื่องยนต์หมุนช้าในการสตาร์ตแต่ละครั้ง ซึ่งมักเกิดจากมอเตอร์สตาร์ตบกพร่อง แบตเตอรี่หมดสภาพ หรือเกิดจาการ ขาดการบำรุงรักษาแบตเตอรี่ ขั้วแบตเตอรี่สกปรก ทำให้กระแสไฟเดินผ่านสายแบตเตอรี่ไม่สะดวก เวลาสตาร์ตเครื่องยนต์ มอเตอร์สตาร์ตรับกระแสไฟจากแบตเตอรี่ไม่เพียงพอ
เรื่องรถความร้อนขึ้นกรณีที่เครื่องยนต์ร้อนจัดจนเครื่องดับกลางทาง หลังจากปิดแอร์เปิดไฟสัญญาณฉุกเฉินและเข็นรถเข้าข้างทาง เพื่อมิให้กีดขวางการจราจรแล้ว ให้เปิดฝากระโปรงห้องเครื่องค้างไว้ เพื่อช่วยระบายความร้อนของเครื่องยนต์และรอให้เครื่องยนต์เย็นตัวลง ซึ่งคงใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง
รถวิ่งทางไกลเมื่อไปถึงที่หมายสามารถดับเครื่องยนต์ทันทีได้หรือไม่
เรื่องนี้เป็นที่ถกเถียงกันมานาน ว่าจอดรถแล้วดับเครื่องทันทีจะเป็นอันตรายกับเครื่องยนต์ บางคันที่เปลี่ยนเครื่องยนต์หรือติดเทอร์โบมา สมัยก่อนมักติดไทม์เมอร์ ทรือไทม์มิ่ง ที่จะเป็นตัวสั่งให้เครื่องยนต์ทำงานต่อ หลังจากบิดสวิตช์กุญแจออกแล้ว โดยจะทำงานต่อประมาณ 3 นาที ในรอบเดินเบา เพื่อให้น้ำมันเครื่องไปหล่อลื่นที่สะสมความร้อนในแกนเทอร์โบให้ความร้อนลดลงในระดับไม่เป็นอันตรายกับเครื่องยนต์
ที่มา : หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 14 มิ.ย. 52
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 12 กันยายน 2552