การขับรถลุยน้ำเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยสำหรับทุกๆ ฤดูฝนแต่ในการตัดสินใจขับรถลุยน้ำนั้น ก็ต้องตระหนักด้วยว่าจะทำให้รถยนต์ของคุณเป็นอย่างไร และจะต้องมีการบำรุงรักษาอย่างไรหลังจากขับรถลุยน้ำไปแล้ว
ระดับแรกน้ำท่วมผิวถนนคือระดับความลึกของน้ำประมาณไม่เกิน 6 นิ้วส่วนที่จมน้ำอย่างมากที่สุดก็มีเพียงลูกหมากและบูชยางของระบบรองรับและระบบบังคับเลี้ยวเท่านั้นชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้แช่น้ำชั่วคราวได้โดยไม่เกิดความเสียหายสิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาระดับความเร็วของรถ โดยขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้น้ำที่ถูกล้อรถรีดด้วยความเร็ว จะทะลักพุ่งออกทางด้านข้าง ฉีดไปที่ห้องเครื่องยนต์จนอาจทำให้กระแสไฟจุดระเบิดลัดวงจรและเครื่องดับหรือไม่ก็ฉีดไปบนห้องเกียร์และเล็ดลอดเข้าไปภายในทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพได้
ระดับต่อมาระดับผิวน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวระดับนี้จะทำให้ขณะขับขี่ได้ยินเสียงน้ำกระทบท้องรถค่อนข้างดังวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องคือการขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้หลีกเลี่ยงการตกหลุมที่เรามองไม่เห็น โดยการเพ่งไปที่รถคันหน้าและพยายามจำแนวไว้ที่ความลึกระดับนี้ขึ้นไปจานเบรกจะจมอยู่ในน้ำตลอดเวลา ประสิทธิภาพจะลดลงอย่างมากโดยเฉพาะรถที่ใช้ "ดรัมเบรก" เมื่อพ้นช่วงน้ำท่วมจะต้องทดสอบเบรกทันทีโดยการเบรกและเร่งความเร็วสลับกันไปเพื่อให้ผ้าเบรกรีดน้ำจากจานเบรกและเพื่อให้จานเบรกหรือดุมเบรกร้อนจนน้ำระเหยเป็นไอหมด
หากเส้นทางที่จะต้องผ่านมีระดับน้ำสูงกว่า 2 ระดับดังกล่าว ควรหลีกเลี่ยงโดยเปลี่ยนเส้นทาง หรือหายานพาหนะอื่นไปแทน เพราะความเสียหายต่อเนื่องมีมากหรือหากสุดวิสัยจริงๆให้ท่านนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายหลังจากลุยน้ำลึกมาทุกครั้งและควรให้พนักงานถอดเก้าอี้และตรวจด้านล่างของพรมปูพื้นว่ามีน้ำรั่วเข้ามาถึงหรือไม่ รถที่ลุยน้ำลึกมาแล้ว ถึงที่หมายเมื่อพ้นน้ำห้ามดึงเบรกมือทิ้งไว้เด็ดขาดเพราะเมื่อน้ำแห้งผ้าเบรกจะยึดกับจานเบรกจากการเกิดสนิมจนไม่สามารถออกรถได้นอกจากหลีกเลี่ยง ก็อย่าลืมบำรุงรักษาด้วยนะครับเพื่อรถยนต์ของคุณจะได้อยู่ให้คุณใช้งานไปได้ยาวนานยังไงล่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.betterchoice.co.th