สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

ประเทศไทยถือว่ามีความสามารถก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนสำหรับความจริงจังและการดำเนินการเพื่อให้เกิดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง นี่คือคำยืนยันที่ชัดเจนของ นายวิเวก ไวทยะ ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน จำกัด ที่กล่าวในงานสัมมนาทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าปี 2562 จัดโดย บีเอ็มดับเบิ้ลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ย้ำให้เห็นถึงการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยและภาคเอกชน ที่มีความพยายามขับเคลื่อนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ไปในทิศทางเดียวกับกระแสอุตสาหกรรมยานยนต์โลก ยิ่งถ้ามองจากนโยบายและการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมแล้วในหลายๆประเทศอาเซียนนั้น เป็นการสร้างในเชิงของนโยบายมากกว่า แต่ขณะที่ประเทศประเทศไทยนั้นแอดวานซ์กว่าประเทศอื่นและเป็รอีกหนึ่งความท้าทายของประเทศไทย ทั้งนี้ เชื่อว่าอนาคตทิศทางของรถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์การขยายตัวของภาครัฐจะเห็นได้ชัดเจนว่าวันนี้แม้ยังคงมีความไม่สอดคล้องกันระหว่างสถานีชาร์จไฟและจำนวนของรถยนต์ไฟฟ้า แต่จากความตื่นตัวของค่ายรถยนต์ ภาคเอกชนที่ได้เริ่มมการลงทุนในส่วนของสถานีชาร์จ ไม่ว่าจะเป็นค่ายอีเอ เอนี่แวร์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ หรือบีเอ็มดับเดิลยู ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะเพิ่มการลงทุนในส่วนนี้ เชื่อว่าความต้องการของตลาดรถยนต์เมืองไทยในปีพ.ศ. 2561 อยู่ที่ 1.050 ล้านคันแบ่งเป็นรถปิกอัพ 560,700 คัน รถยนต์ 489,300 คัน เป็นเป้าหมายภายใต้ปัจจัยบวกที่มีการเติบโตของจีดีพที่ระดับ 4.3% ภาคอุตสาหกรรมการส่งออกและการลงทุนของภาครัฐ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างรถยนต์ไฟฟ้าความเร็วสูง รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวน่าจะเป็นปัจจัยบวกที่ดี ตลาดโดนรวมมีทิศทางที่ดี แต่ทั้งนี้ก็ยังคงต้องจับตาภาวะหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 มกราคม 2562

             นักวิชาการมั่นใจการเปลี่ยนเทคโนโลยีรถยนต์ไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า กระทบฐานการผลิตในไทยไม่มากเชื่อไทยยังคงเบอร์ 1 ในอาเซียน เผยนโยบายอีโคอีวีของรัฐบาลมาถูกทางช่วยให้รถยนต์ไฮบริดราคาถูกลง กระตุ้นลงทุนผลิตชิ้นส่วนสำคัญในไทย นายเกรียงไกร เตชกานนท์ อาจารย์ประจคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อนวัตกรรมพลิกโลก แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์และเปลี่ยนผ่านสู่ New S-Curve โดยระบุว่าทิศทางเทคโนโลยียานยนต์ที่จะก้าวไปเป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริดที่ผสมผสานระหว่างเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันและมอเตอร์ไฟฟ้า และชาร์ตไฟฟ้าได้ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าจะไปในทิศทางใด การเข้ามาของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า จะกระทบกับอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมไม่มาก เพราะบริษัทยานยนต์ส่วนใหญ่ล้วนแต่มีเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าของตัวเองและได้เตรียมการสำหรับทิศทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ไว้แล้ว แต่ค่ายเล็กที่ไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าของตัวเอง อาจจะได้รับผลกระทบมากกว่า นอกจากนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของตัวเอง อาจจะได้รับผลกระทบมากกว่า นอกจากนี้อุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นต้องใช้ส่วนประกอบจำนวนมาก แม้จะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนบางประเภทอาจจะหายไป เช่น ชิ้นส่วนส่งกำลังเครื่องงยนต์ แต่ส่วนใหญ่ที่เป็นตัวถังยังคงไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากราคาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญแล้วรถยนต์ยังเป็นสินค้าที่ต้องมีการบำรุงรักษา ผู้จำหน่ายรถยนต์จำเป็นต้องสร้างศูนย์บริการที่ครอบคลุมเพียงพอในตลาดที่จำหน่ายจึงจะจำเป็นต้องสร้างศูนย์บริการที่ครอบคลุมเพียงพอในตลาดที่จำหน่ายจึงจะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้ากลุ่มผู้ผลิตเดิมที่เป็นเจ้าตลาดได้มีการขยายเครือข่ายและลงทุนในศูนย์บริการไว้ค่อนข้างครอบคลุม ดังนั้นการเข้าตลาดของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหม่ยังนับว่ามีอุปสรรคอยู่พอสมควร

ที่มา : หนังสือพิมพ์  กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 มกราคม 2562

                 เอสจีซี ออโต้แก๊สเอนเนอร์จี รีฟอร์มแนะรัฐจริงจังกับการแก้ปัญหาฝุ่นควันเผยนำร่องรถในหน่วยงานราชการทุกคันให้เป็นมอตรกับสิ่งแวดล้อมก่อนชี้รถสาธารณะต้องใช้พลังงานสะอาด “เอ็นจีวี” นายอภิสิทธิ์ ธนาดำรงศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี ออโต้แก๊ส จำกัด ผู้ให้บริการติดตั้งก๊าซรถยนต์รายใหญ่ เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าปัจจุบันแม้ความต้องการติดตั้งก๊าซเอ็นจีวีหรือซีเอ็นจี สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปจะลดลงไปมาก จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รถยนต์รุ่นใหม่ ประหยัดน้ำมันมากขึ้น ทั้งอีโคคาร์และปิกอัพ แต่การแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นควันโดยเฉพาะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพรัฐบาลต้องจริงจัง “เรายอมรับว่าตลาดหดตัวลงเยอะจากลูกค้าหลายร้อยคันต่อเดือน ตอนนี้เหลือเป็นหลักสิบ ทำให้ตอนนี้เราได้ลดขนาดของธุรกิจติดตั้งก๊าซรถยนต์ลงให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของตลาด และหันไปทำตลาดโดยเจาะกลุ่มลูกค้ารถตู้ หรือรถโดยสารสาธารณะรวมทั้งกลุ่มลูกค้าที่มีความชื่นชอบและพอใจกับการใช้ก๊าซติดรถยนต์เป็นหลัก โดยมีลูกค้าเข้ามารับการติดตั้งเฉลี่ยเดือนละ 20-30 คัน นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ช่วงที่เกิดวิกฤตหมอกควันฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานนั้น อยากแนะภาครัฐควรรณรงค์ให้หลายภาคส่วนหันมาใช้รถยนต์พลังงานทางเลือกก๊าซเอ็นจีวีให้มากขึ้น ควรกำหนดเป็นนโยบายให้รถโดยสารสาธารณะ,รถของหน่วยงานราชการ,รถตู้ หรือแท็กซี่ ต้องใช้พลังงานทางเลือก หรือก๊าซเอ็นจีวีในการขับเคลื่อนอย่างจริงจังเพื่อช่วยลดปัญหา

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 มกราคม 2562