สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

                 ผลจากการพัฒนาประเทศผ่านอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด ทำให้จีนเป็นหนึ่งในชาติแรกๆ ที่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ ประเด็นที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในประเทศไทยเวลานี้ การแก้ไขปัญหามลพิษของจีนนั้น นอกจากการออกนโยบายเชิงรุกอย่างเข้มงวด เช่น การไล่ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน การจำกัดจำนวนรถยนต์ที่วิ่งในเขตเมือง หรือแม้กระทั่งการสร้างอาคารกรองอากาศขนาดยักษ์แล้ว หนึ่งนโยบายสำคัญซึ่งเป็นที่น่าศึกษาก็คือ การสนับสนุนการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง ด้วยความที่จีนเองเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานพาหนะขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (อีวี) โดยในปีนี้รถยนต์อีวีทำยอดขายำด้มากถึง 1 ล้านคันเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อเสียเปรียบของรถยนต์ไฟฟ้า ที่ยังมีราคาสูงเมื่อเทียบกับรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยการสันดาปภายใน (ไอซีอี) หรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน รัฐบาลจีนจึงมีนโยบายอุดหนุนทั้งฝั่งของผู้ผลิตรถยนต์อย่างจริงจังนับตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกออกวางตลาดเมื่อกว่า 10 ปีก่อน ผลจากแรงจูงใจในการผลิตที่เห็นได้ชัดเจน เดิกขึ้นในอุตสาหกรรมผลิตรถบัสไฟฟ้าของจีนเองโดยสามารถกระตุ้น การผลิตเพิ่มขึ้นจากในปี 2011 ที่ 1000 คัน ให้มีจำนวนมากถึง 132,000 คันในปี 2016

ที่มา : หนังสือพิมพ์  มติชนสุดสัปดาห์  ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562

                โตโยต้าทำกำไรในช่วงไตรมาตรสามเพิ่มขึ้น 0.4% ยอดขายในเอเชียซึ่งรวมถึงจีนยังคงเพิ่มขึ้น ช่วยชดเชยยอดขายที่ลดลงในอเมริกาเหนือได้ ในทางกลับกัน สงครามการค้าทำกำไรไตรมาตรสี่ของเมอร์เซเดส - เบนซ์ ร่วงถึง 22% แม้ว่ายังคงเป็นแบรนด์รถหรูที่มียอดขายมากที่สุดในปีที่ผ่านมา บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ แถลงเมื่อวันพุธว่ากำไรจากการดำเนินงานในช่วงไตรมาสสามเพิ่มขึ้น 0.4% เป็น 676,100 ล้านเยน หรือ 6,160 ล้านดอลลาร์ จาก 673,640 ล้านเยนในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายในเอเซียซึ่งรวมถึงจีนยังคงเพิ่มขึ้น จึงช่วยชดเชยยอดขายในอเมิกาเหนือ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่สุดของบริษัทได้ ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์ 10 คนที่เรฟินิทีฟได้รวบรวมประมาณการมา คาดการณ์โดยเฉลี่ยว่าโตโยต้าจะมีกำไร 680,840 ล้านเยน  โตโยต้าได้ลดปราณการกำไรสุทธิของปีนี้ทั้งปี เหลือ 1.87 ล้านล้านเยน จากเดิมประมาณการไว้ 2.3 ล้านล้านเยน แต่ได้คงประมาณการกำไรจากการดำเนินงานทั้งปีไว้ที่ 2.4 ล้านล้านเยนเช่นเดิม ในทางกลับกัน บริษัทเดมเลอร์ เอจี เจ้าของแบรนด์รถยนต์เมอร์เซเดส- เบนซ์ แถลงว่า กำไรจากการดำเนินการในช่วงไตรมาสสี่ลดลงถึง 22% เนื่องจากสงครามการค้าและการลงทุนในการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับและรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อกำไรของรถยนต์เมอร์เซเดส – เบนซ์ กำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ย (EBIT) ลดลงเหลือ 2.670 ล้านยูโร หรือ 3,040 ล้านดอลลาร์ ในช่วงไตรมาสสี่ ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งอยู่ที่ 2,920 ล้านยูโรมาก เมอร์เซเดส – เบนซ์ แถลงว่าว่าการขึ้นภาษีรถยนต์นำเข้าจากสหรัฐที่ส่งไปยังจีนและการหยุดส่งมอบรถยนต์ดีเซล ส่งผลกระทบต่อดีมานด์ และส่งกระทบให้ราคารถยนต์ดีเซลต่ำลง ผลตอบแทนจากยอดขายรถยนต์เมอร์เซเดส – เบนซ์ ลดลงเหลือ 7.3% ในช่วงไตรมาสสี่ จาก 9.5% ในช่วงปีก่อนหน้า สำหรับปี 2562 บริษัทคาดการณ์ว่ายอดขาย รายได้กำไรก่อนหักภาษี และดอกเบี้ย จะโตเล็กน้อยโดยคาดว่าผลตอบแทนจากยอดขายรถเก๋งเมอร์เซเดส – เบนซ์ จะอยู่ระหว่าง 6-8% ในขณะที่ผลตอบแทนยอดขายของรถแวนเมอร์เซเดส – เบนซ์อยู่ระหว่าง 5-7% ดีเตอร์ เซตเตอ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเดมเลอร์ กล่าวว่า ประมาณการยอดขายรถยนต์และรถแวน เมอร์เซเดส – เบนซ์ ต่ำกว่าเป้าหมายในระยะยาว บริษัทไม่สามารถพอใจกับการประมาณการนี้ได้ และตั้งเป้าที่จะทำให้มีกำไรระหว่าง 8-10% ภายในปี 2564 อย่างไรก็ดี เมอร์เซเดส – เบนซ์ยังคงเป็นแบรนด์รถยนต์หรูที่มียอดขายมากสุดในปีที่ผ่านมา โดยยอดขายมากสุดในปีที่ผ่านมา โดยยอดขายรถยนต์ใหม่อยู่ที่ 2.31 ล้านคัน ตามาด้วยบีเอ็มดับเบิ้ลยูมียอดขาย 2.12 ล้านคัน และออดี้มียอดขายรถยนต์ใหม่ 1.81 ล้านคันในปีที่ผ่านมา

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562

                 ครม.เคาะปัญหาฝุ่น 3 ระยะ เผย 11 หน่วยงานเกาะติดแก้ปัญหา ชงขึ้นภาษีรถยนต์เก่า ห้ามนำเข้าเครื่องยนต์เก่าจากต่างประเทศ ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า หนุนแผนผลิตน้ำมันยูโร 5 นายกฯเผย 600 โรงงานหยุดปรับปรุง รับมือฝุ่นอีกระลอกวันนี้ “ปตท.-บางจาก” นำร่องลดดีเซลพรีเมียม 1 บาท สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดต่างๆนำมาสู่การออกมาตรการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึง 11 หน่วยงานเพื่อแก้ปัญหาตั้งแต่ระยะสั้นถึงระยะยาว รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลระบุว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีแนวโน้มสูงขึ้นและเกินมาตรฐานหลายพื้นที่ โดยมีแนวทางการปฎิบัติ 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นเตรียมการ(ช่วงดก่อนเกิดสถานการณ์ : ก.ย. – พ.ย. ) เพื่อพร้อมรับมือเมื่อฝุ่นละอองสูงขึ้น ขั้นปฎิบัติการ (ช่วงเกิดสถานการณ์ : ธ.ค. – เม.ย.) ซึ่งได้ปรับปรุงแผนปฎิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและจังหวัดต่างๆ โดยยกระดับความเข่มข้นของมาตรการตามความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง รวมถึงปรับเปลี่ยนใช้น้ำมัน B20 ในรถโดยสารดีเซล และเร่งผลิตน้ำมันดีเซลเทียบเท่ามตรฐานยูโร 5 (กำมะถัน ไม่เกิน 10 พีพีเอ็ม) มาจำหน่ายในพื้นที่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงงดกิจกรรมที่ส่งผลทำให้เกิดฝุ่นละออง ห้ามเผาในที่โล่งแจ้ง ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด ห้ามรถยนต์ที่มีมลพิษสูงสัญจรในกรุงเทพฯชั้นกลางและชั้นนอก

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562