นิสสันรอบีโอไอเคาะส่งเสริมการลงทุน มั่นใจฐานผลิตไทยคุณภาพสูง ล่าสุดฉลองส่งออกครบ 1 ล้านคัน นายยูตากะ ชานาดะ รองประธานอาวุโสของนิสสันเอเซียและโอเชียเนีย เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตรถยนต์ที่มคุณภาพระดับโลก และยังสามารถผลิตพร้อมทั้งส่งกลับไปยังประเทศญี่ปุ่นได้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ไทยเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) นอกญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก จากศักยภาพดังกล่าวที่มีของไทย โดยคาดว่าจะผลิตเพื่อรองรับตลาดในประเทศและรองรับการส่งออกในอนาคต “เราได้มีการพิจารณาจริงภายในบริษัท แต่ขณะนี้อาจจะยังไม่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกได้ ซึ่งเร็วๆนี้จะมีคำตอบที่กระจ่างชัด” นายชานาดะกล่าว นอกจากนี้ในช่วงสิ้นปีพ.ศ. 2560 บริษัทได้ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในส่วนของเทคโนโลยีไฮบริด ซึ่งบริษัทจะมีการนำเสนอเทคโนโลยีไฮบริด ซึ่งบริษัทจะมีการนำเสนอเทคโนโลยีอี-เพาเวอร์ ลงสู่ตลาด นายอันดวน บาร์เตส ประธานนิสสัน มอเตอร์ ประทศไทย กล่าวว่า การสิ้นสุดระยะเวลาขอรับส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในส่วนของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2561 ที่ผ่านมานั้นบริษัทได้ทำงานร่วมกับบีโอไออย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ซึ่งจะต้องรอการประกาศจากบีโอไอในเร็วๆนี้ สำหรับเทคโนโลยีรถอีวีในต่างประเทศของนิสสัน มีเทคโนโลยีที่พร้อมนำเสนอสู่ตลาดในรถนต์ทุกประเภท ซึ่งบริษัทมองว่าเทคโนโลยี อี-เพาเวอร์เป็นเทคโนโลยีเชื่อมโยงระหว่างเครื่องยนต์สันดาปภายในกับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ขณะที่การสนับสนุนของรัฐบาลเพื่อให้เทคโนโลยีรถอีวีเกิดขึ้นในไทยนั้น มีการส่งเสริมในภาคผู้ผลิตจากการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ แต่ในแง้ของผู้บริโภคนั้นยังไม่มีความชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ช่องทางพิเศษสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ที่จอดรถพิเศษ เป็นต้น นายบาร์เดส กล่าวว่า การสนับสนุนที่ส่งผลให้ตลาดอีวีเกิดขึ้นนั้นจะต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ 1 ภาคผู้ผลิต และ 2. ภาคผู้บริโภค ซี่งไทยได้ส่งเสริมภาคผู้ผลิตแล้ว แต่ถ้าหากมีการส่งเสริมในภาคผู้บริโภคจะยิ่งสนับสนุนให้ตลาดตลาดเกิดขึ้นโดยเร็ว โดยอาจจะต้องทำทั้งสองส่วนควบคู่กันไป ด้านยอดขายปีงบประมาณ 2561 (มี.ค. 2561 – เม.ษ. 2562) ของบริษัทคาดว่าจะเติบโตเหนือการคาดการณ์เดิมที่จะมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 6.9% เพิ่มขึ้นเป็น 7.5% จากสภาพรวมตลาดเติบโตและความมั่นใจของผู้บริโภค รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจเติบโต ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทได้จัดงานฉลองความสำเร็จในการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกรถยนต์ครบ 1 ล้านคัน นับตั้งแต่เริ่มส่งออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยตลาดที่ส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ตามลำดับ และในปีงบประมาณ 2561 บริษัทติดอันดับ 1 ใน 5 ของผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์ของอุตสาหกรรม
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 18 มกราคม 2562
“สมอ.”หนุนผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยตอบโจทย์อุตฯเป้าหมาย สนามทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ จ.ฉะเทริงเทรา เปิดดำเนินการไตรมาส 3 ปีนี้ช่วยไทยรักษาแชมป์ศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในอาเซียน ก้าวพ้นผู้รับจ้างผลิตไปสู่ผู้วิจัยพัฒนาและออกแบบรถยนต์ด้านผู้ผลิตยางล้อเผย ช่วยลดต้นทุนทดสอบกว่า 30% หนุนเพิ่มใช้ยางในประเทศ นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยหลังเป็นประธานรับมอบใบรับรองสนามทดสอบยางล้อตามาตรฐาน UNR117 จาก Applus+ IDIADA ประเทศสเปน ว่าศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติได้รับใบรับรองสนามทดสอบมาตรฐาน UNR117 และผิวสนามทดสอบเสียง ตามมาตรฐาน ISO 10844 : 2014 ทำให้สนามทดสอบแห่งนี้ได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ เฟส 1 จะเปิดบริการในไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งจะให้บริหารทดสอบยางล้อมาตรฐาน UN R117 ที่เป็นมาตรฐานบังคับในปลายปีนี้ จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมยางล้อของไทยให้สูงขึ้นมีความปลอดภัยขึ้นและทำให้ต้นทุนการวิจัยพัฒนายางล้อรุ่นใหม่ลดลง ส่วนในเฟสที่ 2 ก็จะก่อสร้างทันที่ และศูนย์ทดสอบยานยนต์แห่งนี้จะเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2564 “ศูนยน์ทดสอบยานยนต์ฯแห่งนี้ จะเป็นสนามที่ได้รองรับมาตรฐานสากลแห่งแรกในอาเซียน จะช่วยดึงดูดการลงทุนด้านการวิจัยพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ และยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ และยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ช่วยเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้แข็งแกร่ง และเป็นแหล่งลงทุนของทั้งผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ” หนุนวิจัยชิ้นส่วนยานยนต์ นายสมชายกล่าวว่า 50 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้เติบโตตามแผนที่รัฐบาลวางไว้ จนในปัจจุบันไทยเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่แข็งแร่งที่สุดในอาเซียน มีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ใกล้เคียงกับการส่งออกรถยนต์ทั้งคัน สิ่งนี้จะเป็นจุดแข็งของไทยในอนาคต ซึ่งการที่ไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งห่วงโซ่การผลิต จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมดึงดูดการวิจัย พัฒนาออกแบบและพัฒนายานยนต์แบบเข้ามาในไทยและศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯแห่งนี้เป็นเครื่องจักรสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ ส่วนการบริหารจัดการศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ หลังจากการก่อสร้างเสร็จจะมอบมายให้สถาบันยานยนต์และบริษัทตรวจสอบรับรองมาตรฐานยานยนต์และล้อยาง ต่างประเทศ เข้ามาร่วมบริหารจัดการ เพราะบริษัทผู้เชี่ยวชาญต่างชาติมีมาตรฐานการทดสอบที่เป็นมาตรฐานสากล มีความเป็นกลางที่ทั่วโลกให้การยอมรับรวมทังภายในศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ ยังมีอาคารปฎิบัติการวิจัย ที่เปิดให้บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ต่างๆ ก็จะเข้ามาตั้งศูนย์วิจัยในบริเวณนี้
นายชาญชัย ตระการอุดมสุข ประธานบริหาร บริษัทมาด้าเซลล์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่าในปี พ.ศ. 2562 บริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายไว้มากกว่า 75000 คัน หรือเติบโตประมาณ 5-10% และมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 6.7% เป็นอันดับ 3 ของตลาดรถยนต์นั่งแบบมั่นคงซึ่งเติบโตต่อเนื่องจากปีพ.ศ. 2561 ที่ถือว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจสามารถทำยอดขายได้สูงสุดถึง 70000 คัน เติบโตถึง 37% นับว่าเป็นการเติบโตสูงสุดของมาสด้าทั่วโลก และส่งผลให้ในระยะ 5 ปี มาสด้ามียอดขายสะสมในไทยรวม 2 แสนคัน ผลักดันให้ไทยเป็นตลาดหลักที่สำคัญ “ในปีพ.ศ. 2561 ตลาดรถยนต์แข่งขันสูงมาก แม้มาสด้าจะไม่มีรถยนต์รุ่นใหม่มาทำตลาดเลย มีแต่รุ่นปรับโฉม แต่สร้างยอดขายและทำลายสถิติ มาจากลูกค้ามั่นใจในตัวสินค้าทุกรุ่น โดยมาสด้า 2 ทำยอดขายให้ได้มากที่สุด 45,972 คัน เติบโตถึง 45% ตลอดจนกิจกรรมการตลาดที่เข้าถึงทุกพื้นที่ ในปีพ.ศ. 2562 ถือเป็นปีทอง ที่จะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้ามาทำตลาดรวม 6 รุ่น มีทั้งรุ่นใหม่และรุ่นปรับโฉม อาทิ CX 8 , CX 3 และมาสด้า 3 ที่มาพร้อมรูปลักษณ์ดีไซต์จากไคโดะดีไซต์ เจเนอเรชั่น 2 และเทคโนโลยีสกายแอ๊กทีฟ” ส่วนภาพรวมตลาดรถยนต์ในปีนี้ จะเติบโตเล็ดน้อย หรือทรงตัวประมาณการที่ 1.03-1.06 ล้านคัน จากปีที่แล้วยอดขายรวมทั้งปี 1,040,000 คัน เติบโต 19% ความเสี่ยงที่น่ากังวล สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และภาระหนี้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น มีผลต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ในขณะที่การเลือกตั้งมองว่าเป็นปัจจัยบวกที่จะส่งผลดีด้วย นายธีร์ เพิ่มพงษ์พันธ์ รองประธานบริหารฝ่ายการตลาดและรัฐกิจ สัมพันธ์ มาสด้าเซลล์ กล่าวว่า ปีนี้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับการสร้างแบรนด์สไตล์ของมาสด้า สื่อสารให้ครบทุกช่องทาง โดยเฉพาะออนไลน์ ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่ปูทางไปสู่การมาของรถยนต์มาสด้าเจเนอเรชั่นที่ 7 มาสด้ายังเดินหหน้าสู่นโยบาย Sustainable Zoom-Zoom 2030 โดยในปีค.ศ. 2030 รถยนต์ทุกรุ่นของมาสด้าจะเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว