สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

         ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 61 พุ่ง 1.6 พันโครงการ มูลค่ากว่า 9 แสนล้านบาทสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 25  เป็นคำขอลงทุนในพื้นที่อีอีซีกว่า 6.8 แสนล้าน ค่ายรถยนต์แห่ยื่นขอลงทุนผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการทำงานและการลงทุนในปี 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า บีโอไอได้รายงานสถานการณ์การลงทุนในปี 2561 ที่ผ่านมา มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 1,626 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 901,770 ล้านบาท สูงกว่าปี 2560 โดยจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 43  ทั้งนี้ยอดคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในปี 2561 มีมูลค่า 720,000 ล้านบาท ร้อยละ 25 โดยภาพรวมของโครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 2561 พบว่าอย่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 84 หรือมูลค่าการลงทุนกว่า 758,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ( New S-curve) ได้แก่ ดิจิทัลการแพทย์ ปิโตเคมีและเคมีภัฒฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติและอากาศยาน เงินลงทุนรวม 539,000 ล้านบาท และ 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม (First S-curve) ได้แก่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ท่องเที่ยว และอาหารแปรรูป เงินลงทุนรวม 219,000 ล้านบาท ในช่วงไตรมาตรสุดท้ายของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกลุ่มยานยนต์หลายรายมายื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี ซึ่งมาตรการส่งเสริมจะสิ้นสุดในปี 2561 จึงทำให้มูลค่าคำขอในปีที่ผ่านมาสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงร้อยละ 25 นาย สมคิด กล่าว สำหรับการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี พบว่า มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 422 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนในพื้นที่จังหวัดชลบุรีมากที่สุดจำนวน 193 โครงการ เงินลงทุนรวม 576,910 ล้านบาท ตามด้วยจังหวัดระยอง 156 โครงการ เงินลงทุนรวม 58,700 ล้านบาทและจังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน 73 โครงการ เงินลงทุนรวม 48,300 ล้านบาท

 
 
ที่มา : หนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ  ฉบับวันที่ 15 มกราคม 2562
 

 

         ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ส่งหนังสือไปยังผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ หรือเกรย์มาร์เก็ต 120 ราย ซึ่งครอบครองรถนำเข้ามากกว่า 5,000 คัน ให้นำรถยนต์นำเข้ามาตรวจสอบเพื่อขอใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. ด้านมลพิษเทียบเท่ากับมาตรฐานกลุ่มประเทศยุโรประดับยูโร 4 ก่อนที่จะขายให้ผู้ที่ต้องการซื้อ เนื่องจากผู้ที่ผ่านมามีผู้นำเข้าบรถยนต์อิสระหลายรายไม่นำรถยนต์มาตรวจสอบขอใบอนุญาตถือว่าผิดกฎหมายหากว่าใน 30 วันยังไม่นำเอกสารหรือนำรถเข้ามาตรวจสอบ ถือว่าฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับและจะส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินคดีเพราะอาจเข้าข่ายฟอกเงิน “ผู้ประกอบการนำรถมาตรวจสอบเพียง 1,000 คันจากทั้งหมด 5,000 กว่าคัน ทั้งที่ขั้นตอนกาตรวจสอบระบบใหม่มีความสะดวกขึ้นมากและมีค่าใช้จ่ายใบอนุญาตคันละ 3,000 บาท ค่าทดสอบมลพิษ 50,000 บาท ซึ่งใช้เวลาไม่นาน บางรายก็อ้างว่าปล่อยรถออกไปแล้วตามกลับมาไม่ได้ ทั้งที่ผิดเงื่อนไขตั้งแต่ต้นเรื่องที่ไม่ขอใบอนุญาต

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 14 มกราคม 2562
 

 

          อธิบดีกรมสรรพสามิตเผย อยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ผลิตรถยนต์ประเภท “มายไฮบริด” ดดยกระทรวงอุตสาหกรรมผู้เสนอ ระบุ เพื่อสร้างตลาดรถยนต์อีวี ให้เกิดในประเทศในอนาคต นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอให้กรมสรรพสามิตพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ค่ายรถยนต์ที่ผลิตรถยนต์ประเภท Mild Hybrid เพื่อเป็นการสร้างตลาดรถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในอนาคตซึ่งกรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว  แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า ข้อเสนอเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่รถยนต์ประเภท Mild Hybrid นั้น ต้องการอัตราภาษีเท่ากับ Hybrid ที่ได้รับจากบีโอไอ ซึ่งได้อัตราภาษีสรรพสามิตในอัตรา 4% ซี่งมาจากการผลักดันของค่ายรถยนต์ค่ายหนึ่งในประเทศที่ยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะผลิตรถไฟฟ้าได้ซึ่งหากลดภาษีให้ในอัตราที่ 4% จะทำให้อัตราเท่ากับรถ Hybrid และต่ำกว่ารถ Eco car ที่เก็บภาษีในอัตรา 12-14% ทั้งนี้เงื่อนไขของกรมสรรพามิตรถยนต์ Hybrid ที่ได้รับการส่งเสริม BOI และได้อัตราภาษีที่ 4% คือจะต้องสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยภายใน 5 ปี นับจากวันที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ทำตามเงื่อนไขจะถูกเก็บภาษีปกติย้อนหลังจนถึงวันแรกที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ปัจจุบันมีค่ายรถยนต์ 2-3 ค่ายที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มได้รับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป

 

 

 

 

ที่มา: : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 11 มีนาคม  2559