สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

ประเทศไทยถือว่ามีความสามารถก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนสำหรับความจริงจังและการดำเนินการเพื่อให้เกิดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง นี่คือคำยืนยันที่ชัดเจนของ นายวิเวก ไวทยะ ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน จำกัด ที่กล่าวในงานสัมมนาทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าปี 2562 จัดโดย บีเอ็มดับเบิ้ลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ย้ำให้เห็นถึงการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยและภาคเอกชน ที่มีความพยายามขับเคลื่อนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ไปในทิศทางเดียวกับกระแสอุตสาหกรรมยานยนต์โลก ยิ่งถ้ามองจากนโยบายและการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมแล้วในหลายๆประเทศอาเซียนนั้น เป็นการสร้างในเชิงของนโยบายมากกว่า แต่ขณะที่ประเทศประเทศไทยนั้นแอดวานซ์กว่าประเทศอื่นและเป็รอีกหนึ่งความท้าทายของประเทศไทย ทั้งนี้ เชื่อว่าอนาคตทิศทางของรถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์การขยายตัวของภาครัฐจะเห็นได้ชัดเจนว่าวันนี้แม้ยังคงมีความไม่สอดคล้องกันระหว่างสถานีชาร์จไฟและจำนวนของรถยนต์ไฟฟ้า แต่จากความตื่นตัวของค่ายรถยนต์ ภาคเอกชนที่ได้เริ่มมการลงทุนในส่วนของสถานีชาร์จ ไม่ว่าจะเป็นค่ายอีเอ เอนี่แวร์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ หรือบีเอ็มดับเดิลยู ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะเพิ่มการลงทุนในส่วนนี้ เชื่อว่าความต้องการของตลาดรถยนต์เมืองไทยในปีพ.ศ. 2561 อยู่ที่ 1.050 ล้านคันแบ่งเป็นรถปิกอัพ 560,700 คัน รถยนต์ 489,300 คัน เป็นเป้าหมายภายใต้ปัจจัยบวกที่มีการเติบโตของจีดีพที่ระดับ 4.3% ภาคอุตสาหกรรมการส่งออกและการลงทุนของภาครัฐ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างรถยนต์ไฟฟ้าความเร็วสูง รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวน่าจะเป็นปัจจัยบวกที่ดี ตลาดโดนรวมมีทิศทางที่ดี แต่ทั้งนี้ก็ยังคงต้องจับตาภาวะหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 มกราคม 2562