สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

                  หนุนลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าเหลือแค่ 2%  กรมสรรพสามิต เตรียมเสนอมาตรการภาษีลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ให้คลัง ก่อนเสนอ ครม. พร้อมทั้งลดภาษีรถไฟฟ้าหรืออีวีเหลือ 2% ขณะที่จัดเก็บรายได้เดือน มกราคม กว่า 5.4 หมื่นล้านบาท เกินเป้า กลุ่มสุรา ยาสูบ เบียร์ เครื่องดื่ม และรถยนต์ขายดี นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพาสามิต เปิดเผยว่าอำ 1-2 สัปดาห์ จะเสนอมาตรการทางภาษีสรรพสามิต เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป โดยเองต้นหากผู้ประกอบการรถยนต์รายใดติดตั้งอุปกรณ์ที่ลดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กจากโรงงานผลิตให้ได้เท่ากับมาตรฐานยูโร 5 ที่ปล่อ่ยค่าฝุ่นละออง 0.005 มิลลิกรัม จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ลดลง ซึ่งไม่เป็ฯทางการบังคับให้ทุกรายต้องติดตั้งเครื่องดังกล่าว นอกจากนี้ ยังประสานกระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนดีเซลลดค่าฝุ่นละอองให้ได้เทียบเท่ามาตรฐานยูโร 5 เร็วขึ้น จากกำหนดการเดิมบังคับให้รถยนต์ที่จะผลิตออกมาใหมในอีก 3 ปีข้างหน้า ต้องเป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5 ทั้งนี้กรมสรรพสามิตจะดำเนินตามนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรืออีวี ด้วยการลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้าเหลือ 2% และยกเว้นภาษ๊นำเข้ากรณีบริษัทผู้ผลิตเข้ารับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จากปัจจุบันจัดเก็บอัตรา 8% โดยกรมฯ จะขอสงวนสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการทที่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว หากพบว่าไม่สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ตามกำหนดกับบีโอไอ กรมฯ จะเรียกคืนภาษีจากบริษัทที่เคยได้รับส่วนลดไปก่อนหน้านี้ทั้งหมด เพื่อเป็นการจูงใจให้บริษัทเร่งผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ตามเป้า ขณะที่การจัดเก็บรายได้เดือนมกราคม 2562 เป็นเดือนแรกที่กรมฯ จัดเก็บภาษีได้ 54,056 ล้านบาท เกินกว่าเป้าหมายที่คาดไว้ 78 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.15% จากสินตชค้าในกลุ่มสุรา ยาสูบ เบียร์ เครื่องดื่ม และรถยนต์ขายดี สำหรับเดือนมกราคมที่ผ่านมายอดจัดเก็บภาษีกลุ่มรถยนต์เพิ่มขึ้น 14% สุราเพิ่มขึ้น 3% เบียร์เพิ่มขึ้น 9% ยาสูบเพิ่มขึ้น 18% ทั้งนี้การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงประชาชนเชื่อมั่นเศรษฐกิจมากขึ้น คาดว่ายอดการจัดเก็บภาษีกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้ เนื่องจากใกล้วันเลือกตั้งยิ่งกระตุ้นในเกิดการซื้อสินค้ากลุ่มนี้ไปบริโภคมากขึ้น ส่วนสินค้าที่จัดเก็บภาษีลดลง คือ น้ำมันติดลบร้อยละ 2 เป็นผลมาจากราคาน้ำมันโลกที่ผันผวน ส่วนผลการจัดเก็บรายได้สะสม 4 เดือนแรกปีงบประมาณ 2562 (ต.ค. 2561 – ม.ค. 2562 ) เก็บได้ 185,400 ล้านบาท ยังต่ำกว่าเป้าหมายตามเอกสารงบประมาณ 5% หรือต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท เพราะยอดจัดเก็บ 3 เดือนแรกต่ำกว่าเป้า แต่มั่นใจว่าขะสามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมายของกระทรวงการคลังที่ 584,000 ล้ายบาทแน่นอน แต่กรมสรรพสามิตจะมุ่งจัดเก็บรายได้ตามเป้าของกรมฯ ที่ 622,000 ล้านบาท

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562

                 นายณัฐพล  รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอตสาหกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าบริษัทรถยนต์ 9 ราย ได้แก่ โตโยต้า , บีเอ็มดับเบิ้ลยู , จีเอ็ม , อิซูซุ , มาสด้า , เมอร์เซเดส-เบนซ์ , มิตซูบิชิ , เอ็มจี , ซูซิกิ ตอบรับกำหนดเวลาบังคับใช้มาตรฐานมลพิษระดับยูโร 5 ในรถยนต์ใหม่ทุกรุ่น ภายในปี 2564 เพื่อจะช่วยลดปัญหามลพิษฝุ่นว่า ในวันประชุมหารือมีค่ายรถยนต์เข้าร่วมทั้งหมด12 ค่าย ตอบรับ 9 ค่าย มี 3 ค่ายไม่ปฎิเสธ แต่ขอไปหารือกับบริษัทแม่ ศึกษาเทคโนโลยีก่อน คือ ฮอนด้า ฟอร์ด และนิสสัน ดังนั้น สศอ. จะติดตามว่าทั้ง 3 ค่ายจะตอบรับเร็วๆนี้หรือไม่ หากตอบรับก็สามารถเข้าร่วมแถลงความร่วมมือกับอีก 9 ค่ายได้เลย หลังจากที่อุตสาหกรรม และ 9 ค่ายรถยนต์น่าจะมีการแถลงข่าวถึงความร่วมมือดังกล่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้งภายในเดือน กุมภาพันธ์นี้ นายณัฐพลกล่าวว่า หลังจากนี้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จะเร่งกำหนดมาตรฐานบังคับเครื่องยนต์ยูโร 5 ทั้งเบนซินและดีเซล คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี รองรับค่ายรถที่ผลิตรถยนต์ใหม่มาตรฐานยูโร 5 อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเรื่องนี้ไทยมีความล่าช้าทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะเดิมไทยกำหนดกรอบเวลา ใช้มาตรฐานยูโร 5 ทั้งรถยนต์และน้ำมันตามหลังสหภาพยุโรป (ยูอี) 2 ปี ซึ่งที่ผ่านมาอียูเริ่มยูโร 5 ตั้งแต่ปี 2562 และไทยควรเริ่มปี 2554 แต่ไทยกลับเริ่มยูโร 4 เมื่อปี 2555 เป็นคามล่าช้าที่ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันแก้ไข

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน (ตจว.) ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562

                กลุ่มบริษัท มาสเตอร์ กรุ๊ป คอรปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด หรือ เอ็มจีซี-เอเชีย เป็นกลุ่มธุรกิจของคนไทย ที่มีความหลากหลาย ทั้งการเป็นผู้นำเข้ารถยนต์ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ตลาดมือสอง รถเช่า ศูนย์บริการรถยนต์ ประกันภัย ไอที ฝึกอบรม รวมไปถึงธุรกิจเรือยอชต์ ซึ่งที่ผ่านมา เอ็มจีซี-เอเชีย ขยายงานมาโดยตลอด และต้นปีนี้ก็จะขยับตัวอีกครั้งด้วยการประกาศว่าจะขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค “ดิจิทัล 5.0” ก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ พร้อมบริการครบวงจร สัณหวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบอกว่าปี 2561 ที่ผ่านมากลุ่มมีรายได้รวม 2.5 หมื่นล้านบาทเติบโตกว่า 15% โดยกลุ่มธุรกิจรถใหม่เติบโต 20% กลุ่มธุรกิจการบริการหลังการขาย เติบโต 9% รถเช่าเติบโตใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาและธุรกิจประกันภัยโตกว่า 30%  ส่วนการกำหนดวิสัยทัศน์ ดิจิทัล 5.0 เพราะเห็นว่าในช่วงกว่า 5 ปีที่ผ่านมาหลายธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง จากผลกระทบของดิจิทัล ดิสรัปชั่น และกลุ่มมองว่านี้เป็นโอกาสครั้งสำคัญที่องค์กรจะมีการเปลี่ยนแปลง

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562