สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

           เผยค่ายรถที่ลงทุนในอีอีซีเตรียมลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าอีก 2-3 เดือน ด้านกระทรวงพลังงานเร่งหนุนตั้ง ปั๊มชาร์จไฟฟ้า 150 หัวจ่ายในปีนี้ ปตท.เพิ่ม ที่ชาร์จไฟในปั๊ม 21 แห่ง ด้าน สวทช.ทุ่มงบวิจัย แบตฯ 700 ล้าน หนุนตลาดรถยนต์ไฟฟ้า รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนในรถยนต์ไฟฟ้า(EV) โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ผู้ลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด ซึ่งยื่นมา 5 ราย และอนุมัติแล้ว 1 ราย และปิดรับคำขอแล้ว ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรีเปิดรับคำขอถึงสิ้น ธ.ค.2561 นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้มีบริษัทรถยนต์หลายรายสนใจผลิตรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่น โดยที่ผ่านมา ที่มีความล่าช้าเพราะผู้ผลิตรถยนต์รอความชัดเจนของเทคโนโลยีว่าจะปรับเปลี่ยนไปทิศทางใด และเมื่อชัดเจนแล้วว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีการเติบโตรวดเร็ว และเริ่มเข้ามาแทนตลาดรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน ทำให้บริษัทรถยนต์หลายแห่งให้ความสำคัญในการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 4  มิถุนายน  2561

 

              ก่อนหน้านี้ ที่รัฐบาลปักกิ่งประกาศความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ด้วยการลดกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมด 1,500 รายการ ตั้งแต่เครื่องสำอางจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นความพยายามเปิดเสรีทางการค้าที่มากขึ้น โดยจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ก.ค.นี้  “รถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์” ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด สื่อท้องถิ่นอย่าง เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ รายงานว่า มาตรการดังกล่าวนี้จะช่วยดึงดูดผู้ผลิตรถยนต์ต่างสัญชาติจากประเทศอื่น ให้เข้ามาลงทุนในจีนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งจะช่วยให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมรถยนต์นั้นคึกคักมากขึ้นด้วย   คณะรัฐมนตรีของจีน แถลงว่า รัฐบาลจีนตัดสินใจปรับลดภาษีนำเข้ายานพาหนะจากต่างประเทศทั้งหมด 139 รายการ เหลือเพียง 15% จากเดิมที่เรียกเก็บอยู่ที่ 20% และ 25% นอกจากนี้ยังลดภาษีนำเข้า ชิ้นส่วนยานยนต์นำเข้า ให้เหลือ 6% จากเดิมเรียกเก็บอยู่ที่ 8%, 10%, 15%, 20% และ 25%    รวมถึงได้ประกาศยกเลิกข้อบังคับ “การตั้งบริษัทร่วมทุนของต่างชาติ” คาดว่าจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการภายในปี 2022   โดยในปัจจุบัน บริษัทต่างชาติที่ต้องการตั้งโรงงานในจีน ต้องจดทะเบียนในรูปแบบของบริษัทร่วมทุน หรือ joint venture ซึ่งต้องมีบริษัทจีนร่วมถือหุ้นในสัดส่วน 50% อย่างเช่น บริษัทรถยนต์ FAW-Volkswagen และ Chery Jaguar Land Rover ที่มีโรงงานในจีน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจวันที่ 1  มิถุนายน 2561

 

            นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒน พงษ์ รองประธานและโฆษก กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประ เทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคเอกชนอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (เอ็นทีบี) โดยเฉพาะการส่ง ออกรถยนต์ไปยังประเทศเวียดนาม เนื่องจากมาตร การใหม่ของเวียดนามได้ส่งผลกระทบทำให้การส่งออกรถยนต์ล่าช้ากว่าเดิมมาก ส่งผลให้ยอดการส่งออกไปยังเวียดนามในช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) มีปริมาณเพียง 4,000 คัน จากปกติต้องส่ง ออกไปแล้ว 20,000 คัน ขณะ ที่ทั้งปีตั้งเป้าการส่งออกรถ ยนต์ไปเวียดนามที่ 65,000 คัน  ทั้งนี้ หากทางภาครัฐยัง นิ่งเฉย จะส่งผลกระทบอย่าง มากกับอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย และเกรงว่าประเทศ อื่นๆ จะเลียนแบบด้วย โดยมาตรการนี้เป็นผลจากการที่ เวียดนามต้องการปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ในประ เทศของตัวเอง เพราะปีที่ผ่านมาทางรัฐบาลของเวียดนามเองตั้งเป้าจะชูอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ   นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตร ฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาห กรรม (สศอ.) กล่าวว่า ขณะนี้สศอ.ได้ติดตามใกล้ชิดเกี่ยวกับมาตรการกีดกันทางการค้าดังกล่าว ซึ่งจากการประ เมินในระยะยาวว่าอาจส่งผล กระทบต่อฐานการผลิตอุตสาห กรรมรถยนต์ของไทย และเป็นตัวอย่างให้ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนดำเนินมาตรการดังกล่าวตามได้ ซึ่งคงจะไม่ เป็นผลดีต่อการลงทุนในภูมิ ภาคอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมานั้นเวียดนามเคยดำเนินการกับอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยมาแล้ว ซึ่งส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามค่อนข้างมาก
ที่มา:หนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์ วันที่ 31  พฤษภาคม 2561