Tencent Holdings has developed its own autonomous driving system, according to people familiar with the matter, becoming the latest technology player to dive into a crowded field that could become a $42 billion industry. The social media giant intends to leverage its mapping and artificial intelligence technology to compete in a sector that's attracted investment from the likes of Alphabet Inc.'s Waymo as well as local rivals Baidu Inc. and Alphabet Inc., the people said, requesting not to be named because the matter is private. It's unclear how far the development effort has advanced though Tencent has a prototype and begun testing the system internally, the people said.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 8 พฤศจิกายน 2560
ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ วิจารณ์ว่าญี่ปุ่นทำการค้าที่ไม่ยุติธรรมกับสหรัฐ และกระตุ้นให้อุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นลงทุนผลิตรถยนต์ในสหรัฐมากกว่าส่งออกชิ้นส่วนรถไปประกอบเป็นหลักเหมือนในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่นพบว่าปัจจุบันรถยนต์ญี่ปุ่นที่จำหน่ายในสหรัฐนั้น เป็นรถที่ผลิตในอเมริกาเหนือมากถึง 75% ขณะที่ข้อมูลระบุว่า ในปี 2015 กลุ่มบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นมีโรงงานผลิตอย่างน้อย 26 แห่ง และมีบริษัทวิจัยและพัฒนาอีกราว 36 แห่งทั่วสหรัฐ โดยมีการผลิตรถยนต์ในสหรัฐทั้งหมด 3.9 ล้านคัน ขณะที่ในการแถลงข่าวร่วมระหว่างทรัมป์และนายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ของญี่ปุ่น ผู้นำสหรัฐได้ชื่นชมญี่ปุ่นที่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์สหรัฐว่าเป็นการสร้างงานให้ชาวอเมริกัน หลังจากญี่ปุ่นได้สั่งซื้อเครื่องบินขับไล่เอฟ-35 รวมถึงขีปนาวุธและระบบต่อต้านขีปนาวุธไปก่อนหน้านี้ พร้อมมีแผนจะซื้อระบบอาวุธเอจิสบนเรือรบเพิ่ม ขณะที่อาเบะระบุว่า จะมีการคุยประเด็นเศรษฐกิจระหว่าง 2 ประเทศในเวทีต่อไป
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2560
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง ซึ่งจะหมดอายุลงในวันที่ 31 ธ.ค. 2560 อาจต้องขยายระยะเวลาออกไปอีก หรือจะต้องมีมาตรการอะไรมาเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ระหว่างรอ พ.ร.บ.อีอีซี ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยจะหารือในที่ประชุมของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เร็วๆ นี้ นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) (กรศ.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ขยายระยะเวลาการเชิญชวนนักลงทุนเทคโนโลยีขั้นสูงในต่างประเทศให้ได้ตามเป้าหมายระยะแรก 30 ราย จากสิ้นปี 2560 เป็นเดือน มี.ค. 2561 เนื่องจากสำนักงาน อีอีซีเริ่มก่อตั้งช่วงเดือน มี.ค. 2560 ดังนั้นอยากขอเวลาทำงาน 1 ปี เพื่อให้การชักชวนการลงทุนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยนักลงทุนต่างชาติที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจะเน้นกลุ่มที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง เป็นเทคโนโลยีใหม่ของประเทศ เน้นผลประโยชน์กับประเทศ เน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยี การฝึกฝนบุคลากร มากกว่าเม็ดเงินลงทุนที่จะเข้ามา
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2560