สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

            ส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไทยป่วน หวั่น “อินโดนีเซีย” ออกกฎเพิ่มสัดส่วน local content ผลิตรถยนต์-จักรยานยนต์ ชิ้นส่วนไทยผวาเชื่อถ้าทำจริงกระทบทั้งระบบ “ไทยซัมมิท” หวั่นคู่ค้าหั่นออร์เดอร์ทูตพาณิชย์รายงาน ตามหลัก WTO ไม่น่าทำได้  ดร.สาโรจน์ วสุวานิช รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด ในเครือไทยซัมมิทกรุ๊ป ผู้ผลิตสายไฟรถยนต์สำเร็จรูป กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวรัฐบาลอินโดนีเซียกำลังจะปรับปรุงเงื่อนไขการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศใหม่ ด้วยการบังคับให้ผู้ผลิตเพิ่มสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (local content requirement) มาเป็น 90% โดยนโยบายนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากชิ้นส่วนทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทย          “รัฐบาลอินโดนีเซียต้องการเพิ่มการใช้วัตถุดิบในประเทศให้มากขึ้น เพราะปัจจุบันชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าไปจากประเทศไทย ส่งเป็น OEM เข้าโรงงานประกอบ รวมถึงชิ้นส่วนประเภทรีเพรซเมนต์หรืออะไหล่ทดแทนด้วย” ดร.สาโรจน์กล่าว

ที่มา:หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17  พฤษภาคม 2561

 

        สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แนะ BOI ปรับแพ็กเกจรถยนต์ ไฟฟ้า EV-สถานีชาร์จไฟใหม่ หลัง 1 ปี 2 เดือนที่ผ่านมายังไม่มีค่ายรถยนต์รายใดยื่นขอรับการส่งเสริม เหตุ 8 ค่ายรถยนต์หลักมุ่งไปที่รถแบบไฮบริดปลั๊กอินแทน ที่เหลือยังติดโครงการรถยนต์ ecocar การลงทุนโครงการใหม่ต้องรอโครงการเก่าผลิตคุ้มทุนก่อน ยกเว้นค่ายเบนซ์ที่ตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่แล้ว   นับเป็นเวลามากกว่า 1 ปี 2 เดือนหลังจากที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้เปิดให้มีการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ (เดือนมีนาคม 2560) ปรากฏจนกระทั่งถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดได้รับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (battery electric vehicle หรือ BEV)          นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ในฐานะประธานกรรมการคณะกรรมการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า มาตรการส่งเสริม การลงทุนในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนและอุปกรณ์กำลังจะสิ้นสุดการเปิดรับคำขอภายในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ หรือเท่ากับผู้ประกอบการมีระยะเวลาเหลืออยู่เพียง 7 เดือนเท่านั้น โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการจะยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (hybrid electric vehicle หรือ รถ HEV) กับ โครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (plug-in hybrid electric vehicle หรือ รถ PHEV) มากกว่า
ที่มา : หนังสืพิมพ์  ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16  พฤษภาคม 2561

 

           พ.ร.บ.อีอีซีบังคับใช้วันนี้ (15 พ.ค.) กำหนดให้ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นเขตพัฒนาพิเศษ วางเป้าหมายอุตสาหกรรมพิเศษ อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ การบิน เป็นต้น กำหนดการเช่าที่ดินของต่างชาติไม่เกิน 99 ปี วานนี้ (14 พ.ค.) ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 2561 เป็นต้นไป โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้มีทั้งหมด 73 มาตรา รวมบทเฉพาะกาล โดยเหตุผลของการตรา พ.ร.บ. เพื่อกำหนดให้ภาคตะวันออกเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มีการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ชัดเจนแน่นอนโดยสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการบูรณาการการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคให้ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน ทั้งในและนอกเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พัฒนาเมืองให้มีความทันสมัยระดับนานาชาติ ที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยและการประกอบกิจการ มีการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์ทั้งแก่ผู้ประกอบกิจการและผู้อยู่อาศัยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นการเฉพาะ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.อีอีซี อาทิ มาตรา 6 กำหนดให้พื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และพื้นที่อื่นใดที่อยู่ในภาคตะวันออกที่กำหนดเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา เป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อวัตถุประสงค์ อาทิ 1.พัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2.จัดให้มีการบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ลดอุปสรรคและต้นทุนในการประกอบกิจการ 3.พัฒนาเมืองให้ทันสมัยระดับนานาชาติ สะดวก ปลอดภัย
ที่มา:หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น  วันที่ 15  พฤษภาคม 2561