บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นและยานยนต์พลังงานลูกผสม สบโอกาสรุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประสบปัญหาการจราจรติดขัดอย่างหนัก กระแสตลาดโลกที่เดินหน้ารถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ สืบเนื่องจากการที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานในการประจุพลังงานแบตเตอรีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซี่งไม่ใช่ปัญหาสำหรับยานยนต์พลังงานลูกผสม (ไฮบริด) ส่งผลให้บริษัทผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น ทั้งโตโยต้า ฮอนด้า และค่ายรถอื่นๆ เล็งใช้โอกาสจากนโยบายส่งเสริมผู้ผลิตยานยนต์ไฮบริดของรัฐบาลไทย เพิ่มศักยภาพการผลิตในประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียง โตโยต้ามอเตอร์ บริษัทผลิตรถยนต์ที่มียอดขายสูงสุดของไทยมีแผนผลิตรถยนต์เอนกประสงค์ (เอสยูวี) ไฮบริดไซส์กลาง "ซี-เอชอาร์" คาดว่า บริษัทจะแถลงแผนนี้ต่อสื่อมวลชนในงานไทยแลนด์อินเตอร์เนชันแนลมอเตอร์เอ็กซ์โป ที่กรุงเทพฯในวันที่ 29 พ.ย.นี้ ปัจจุบัน รถเอสยูวีได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศตลาดเกิดใหม่ หนุนให้โตโยต้าเลือกผลิตรถซี-เอชอาร์ไฮบริดมากกว่ารุ่นอื่นๆ จากที่เคยผลิตรถรุ่นพริอุสในไทยมาแล้ว แต่สุดท้ายต้องยกเลิกไปเนื่องจากยอดขายไม่ดีนัก นอกจากนี้โตโยต้ายังคงผลิตโตโยต้าคัมรีไฮบริดในไทยเช่นกัน แต่ปีที่แล้วทำยอดขายไปได้เพียง 1,550
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 27 เมษายน 2561
ยานยนต์ไฟฟ้า ส่วนแบ่งของรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดยานยนต์ของจีน อเมริกา และสหภาพยุโรป ถูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 20 ปีข้างหน้า การคาดการณ์ของการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่มากขึ้นมาจากการที่หลายประเทศได้เริ่มออกนโยบายยับยั้งการใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ระบบเผาไหม้ภายใน โดยจะมีผลบังคับใช้ระหว่างปี 2568-2583 ถึงแม้ยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าจะคิดเป็นร้อยละ 1 ของยอดขายรถยนต์ในปัจจุบัน แต่ภายในปี 2583 กว่าร้อยละ 50 ของรถใหม่จะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น สัดส่วนของยานยนต์ไฟฟ้าในยานยนต์ขนาดเล็กของทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1 ในปัจจุบันเป็นร้อยละ 30 ในปี 2583 ซึ่งตรงกับการคาดการณ์ของผู้ผลิตรายใหญ่ต่าง ๆ ที่ได้ตั้งเป้าการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไว้ที่ 20 ล้านคันต่อปีภายในปี 2568 ไทยมีบทบาทอย่างมากในตลาดยานยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะผู้ผลิตหลักของเครื่องยนต์ดั้งเดิมต่าง ๆ ผลิตรถยนต์และรถบรรทุกมากกว่า 2.6 ล้านคันในปี 2558 ไทยจำเป็นต้องปรับทิศทางการผลิตยานยนต์ไปในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เพราะหากผู้ผลิตยานยนต์เปลี่ยนไปผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและไม่เลือกที่จะผลิตยานยนต์ในไทย แรงงานกว่า 650,000 ราย อาจได้รับความเสี่ยง เนื่องจากแรงงานกว่า 450,000 ราย ทำงานกับผู้ผลิตเทียร์ 1 เทียร์ 2 และเทียร์ 3 มีแรงงาน 1 แสนราย ทำงานกับอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ และอีก 1 แสนราย ทำงานกับโรงงานประกอบรถยนต์