สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

          ประเทศสหรัฐอเมริกา–เจนเนอรัล มอเตอร์ส ผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก และเป็นผู้ผลิตยานยนต์แบรนด์เชฟโรเลตได้นำเทคโนโลยีการออกแบบขั้นสูงด้วยซอฟต์แวร์ใหม่ มาใช้ในการออกแบบยานยนต์รุ่นใหม่ที่มีน้ำหนักเบา โดยเทคโนโลยีล้ำสมัยดังกล่าวเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนารถยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีน้ำหนักเบาขึ้น และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  จีเอ็ม เป็นหนึ่งในผู้ผลิตยานยนต์รายแรกของโลกที่นำเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ใหม่จากบริษัท ออโตเดสก์ซึ่งเป็นบริษัทรับออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์จากเบย์ แอเรียซานฟรานซสโกโดยเทคโนโลยีล้ำสมัยดังกล่าวใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing)และอัลกอริทึมในปัญญาประดิษฐ์(AI)*ซึ่งสามารถจัดเรียงและสับเปลี่ยนแบบชิ้นส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ได้ตัวเลือกแบบที่มีประสิทธิภาพสูง และมักจะเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบออแกนิค แบบที่ได้จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายและการตั้งค่าของพารามิเตอร์ของผู้ใช้ โดยผู้ใช้จะต้องป้อนข้อมูลต่างๆ เช่น น้ำหนัก ความทนทาน ประเภทวัสดุ วิธีการผลิต และอื่นๆ จากนั้นผู้ใช้จะสามารถเลือกชิ้นส่วนที่เหมาะสมดีที่สุด
ที่มา : หนังสือพิม เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11  พฤษภาคม 2561

 

              ส.อ.ท.ปลื้มยอดผลิตรถยนต์ช่วงเม.ย.เพิ่ม 11.87% รวม 4 เดือนทำยอดแตะ 6.7 แสนคัน ชี้สถานการณ์เข้าสู่ปกติ เผยยอดผลิตเพื่อส่งออก-จำหน่ายในประเทศโต มั่นใจทั้งปีทำเป้า 2 ล้านคันได้          10 พ.ค. 2561 - นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าจำนวนการผลิตรถยนต์ของประเทศ ในเดือนเม.ย.2561 มีทั้งสิ้น 134,779 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.87% จากการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น 12.08% และรถกระบะเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น 11.41% ขณะที่การผลิตรถยนต์นั่งและรถกระบะเพื่อจำหน่ายในประเทศก็เพิ่มขึ้น 28.21% และ 2.41% ตามลำดับ ทั้งนี้จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในช่วง 4 เดือนของปี 2561 (ม.ค.-เม.ย.) มีจำนวนทั้งสิ้น 674,469 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.29% ถือเป็นสัญญาณที่ดีสะท้อนการผลิตรถยนต์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ที่มา:หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ไทยโพสต์ วันที่ 10  พฤษภาคม 2561

 

                "รถยนต์ไฟฟ้า" ทุกค่ายยานยนต์ไม่ว่าเป็น รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ต่างก็ตื่นตัวและประกาศนโยบายออกมาในทิศทางเดียวกันทั่วโลกว่า "เราจะทำรถไฟฟ้าอย่างแน่นอน" ดังข่าวคราวที่ทุกท่านเคยได้อ่านได้เห็นผ่านสายตามาไม่มาก ก็น้อยสำหรับปัจจัยที่จะทำให้รถไฟฟ้าแจ้งเกิดแบบเต็มตัวได้ มีอยู่ด้วยกัน 3+1 รวมเป็น ปัจจัยสี่ แต่ที่จริงแล้วทั้งหมดต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน มิฉะนั้น จะกลายเป็นปัญหาว่า ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน ซึ่งหากทุกฝ่ายต่างเกี่ยงกันแล้ว รับรองไม่มี ทางแจ้งเกิดได้ ส่วนที่เราแยกออกเป็น 3+1 นั้นเนื่องจากอะไร ขอเชิญติดตามได้    ปัจจัยแรกสุด และดูเหมือนจะเป็นปัจจัยที่มาทีหลังสุด แต่กลับสำคัญที่สุด นั่นก็คือ "ความต้องการของผู้บริโภค" ชัดเจนในบริบท ที่แทบไม่ต้องบรรยาย เพราะหากผู้บริโภคไม่ต้องการแล้ว ไม่ว่าค่ายรถหรือภาครัฐจะผลักดันอย่างไร ไม่มีทาง แจ้งเกิดได้ เนื่องจาก คงไม่มีใครไปบังคับให้ผู้บริโภคควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อรถไฟฟ้าได้อย่างแน่นอน ดังนั้น ปัจจัยข้อนี้จึงสำคัญที่สุด       ส่วนการสร้างให้ปัจจัยข้อนี้เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยาก สิ่งสำคัญที่สุดคือประการแรกต้องให้ผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรถไฟฟ้าอย่างดีก่อน มิฉะนั้น คงไม่มีใครกล้าซื้อแน่ แล้วจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภครู้และเข้าใจเกี่ยวกับรถไฟฟ้า คำตอบแสนง่ายอยู่ที่ ให้ผู้บริโภคได้สัมผัสและทดลองใช้ อาจจะด้วยผ่านกระบวนการ เปลี่ยนรถสาธารณะ เช่น รถเมล์หรือรถแท็กซี่ เป็นรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชน เกิดความคุ้นเคย หรือเปิดให้มีระบบ รถเช่าใช้ Car Sharing เฉกเช่นในยุโรปหลายประเทศที่เริ่มต้นแล้ว
ที่มา : หนังสืพิมพ์  ผู้จัดการรายวัน  วันที่ 9  พฤษภาคม 2561