สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
Offline Page
Sample Maintenance Mode Page

       ข้อมูลสำคัญเบื้องต้นที่ต้องรู้หากคิดจะเล่นเทอร์โบ อัตราส่วนกำลังอัดมากหรือน้อยเกินไป ก่อให้เกิดผลเสียอย่างที่คาดไม่ถึง

 

 

       อัตราส่วนกำลังอัด
       คือ ปริมาตรของกระบอกสูบทั้งหมด เมื่อลูกสูบเลื่อนสู่ศูนย์ตายล่าง (รวมปริมาตรของห้องเผาไหม้ด้วย) นำมาหารด้วยปริมาตรของห้องเผาไหม้ เมื่อลูกสูบเลื่อนขึ้นสู่ศูนย์ตายบน เช่น ปริมาตรของช่องว่าง (ห้องเผาไหม้) เมื่อลูกสูบเลื่อนขึ้นศูนย์ตายบน 6 ซีซี และปริมาตรกระบอกสูบ เมื่อลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายล่างหรือเรียกว่าปริมาตรที่ลูกสูบแทนที่ (Displacement Volume=Vd) = 36 ซีซี อัตราส่วนกำลังอัดก็คือ (6+36)/6=42/6=7 ต่อ 1

 

      อย่าลืมว่า ปริมาตรเมื่อลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบน จะต้องวัดปริมาตรของห้องเผาไหม้ในฝาสูบบวกกับปริมาตรช่องว่างของปะเก็นฝาสูบ ด้วย และถ้าบนหัวสูบไม่ใช่แบบหัวเรียบ มีหลุมบนหัวลูกสูบ ก็ต้องบวกเข้าไปด้วย การวัดหาปริมาตรในแต่ละส่วนนั้น ต้องวัดด้วยการตวงด้วยของเหลว ด้วยเข็มฉีดยากับกระจกเจาะรู ถ้ามีสเปกจากสมุดคู่มือ รู้ซีซี รู้กำลังอัด ก็กดเครื่องคิดเลขหาปริมาตรห้องเผาไหม้ได้

 

      ปริมาตรกระบอกสูบ (Displacement Volume = VC) คือ ปริมาตรของกระบอกสูบระหว่างศูนย์ตายบน และศูนย์ตายล่าง หาได้จากสูตรคณิตศาสตร์ r ยกกำลังสอง x ช่วงชัก หรือ (22/7) x rยกกำลังสอง x ช่วงชัก r คือรัศมีของกระบอกสูบ (ลูกสูบ) เช่น กระบอกสูบมีเส้นผ่าศูนย์กลาง80 มม. ดังนั้น r = 40 มม.

 

image-113-1

 

       อัตราส่วนกำลังอัด (Compression Ratio) มีความสำคัญต่อการทำงานของเครื่องยนต์ที่ติดตั้งเทอร์โบมาก เครื่องยนต์ที่ติดตั้งเทอร์โบจำเป็นต้องมีอัตราส่วนกำลังอัดต่ำกว่าเครื่อง ยนต์ปกติ เพราะว่าระบบเทอร์โบ จะช่วยประจุไอดีเข้าสู่กระบอกสูบได้มากกว่าอัตราปกติ ไอดีมีมวลมากกว่าปกติ เมื่อลูกสูบเลื่อนสู่ศูนย์ตายบนในจังหวะอัด ไอดีจะถูกอัดแน่น ก็เปรียบเสมือนอัตราส่วนกำลังอัดที่สูงขึ้น

 

       ถ้าเครื่องยนต์มีอัตราส่วนกำลังอัดสูงเกินขอบเขตของความเหมาะสม ไอดีที่ถูกอัดตัวแน่น และร้อน อาจทำให้เครื่องยนต์เกิดการน็อก (ชิงจุดระเบิด) คล้ายกับการตั้งไฟแก่เกินไป เครื่องยนต์ที่ติดตั้งเทอร์โบ จึงต้องมีอัตราส่วนกำลังอัดต่ำกว่าเครื่องยนต์ปกติ เมื่อถึงจังหวะอัดจะได้ไม่เกิดการน็อก ซึ่งถ้าเกิดการน็อกอย่างรุนแรง ลูกสูบจะแข็งแรงแค่ไหนก็ทนทานไม่ได้

 

      อัตราส่วนกำลังอัดที่เหมาะกับเครื่องยนต์เทอร์โบ ที่มีการควบคุมแรงดันเสริม ไม่เกิน 7-10 PSI ควรจะมีอัตราส่วนกำลังอัดไม่เกิน 9 : 1

 

image-113-2

 

      ถ้าเครื่องยนต์มีกำลังอัดเกิน 9 : 1 ก่อนการติดตั้งเทอร์โบ ควรลดกำลังอัดก่อน ถ้าเครื่องยนต์ไม่มีระบบควบคุมการน็อก เช่น ลดไฟอ่อนหรือฉีดน้ำเพิ่ม อัตราส่วนกำลังอัดที่เหมาะสมจะอยู่ในระดับ 7.5 : 1 – 9.0 : 1 (กับบูสท์ไม่เกิน 7-10 PSI)

 

       ถ้าเป็นเครื่องยนต์หัวฉีดในยุคไฮเทค อัตราส่วนกำลังอัดระดับ 9.0-9.5 : 1 กับบูสท์ 10 PSI อาจจะไม่เกิดการน็อกก็ได้ เพราะมีการควบคุมการจ่ายน้ำมัน และการจุดระเบิดที่แม่นยำ

 

       วิธีลดอัตราส่วนกำลังอัด
       วิธีที่น่าปฏิบัติที่สุดคือ การเพิ่มปริมาตรห้องเผาไหม้ โดยการเพิ่มความหนาในส่วนของประเก็นฝาสูบ อาจจะใช้วิธีสั่งตัดแผ่นใหม่ที่มีความหนามากขึ้นกว่าเดิม อีกวิธีหนึ่ง คือ ใช้ประเก็นฝาสูบ 2 แผ่น เรียงซ้อนกัน ซึ่งก็ต้องคำนวณหาอัตราส่วนกำลังอัดกันใหม่

 

       ถ้ารองประเก็นฝาสูบ 2 แผ่นแล้ว คำนวณอัตราส่วนกำลังอัดได้ต่ำกว่าความเหมาะสม (กรณีนี้ไม่ค่อยพบ) ก็อาจจะนำไปไสฝาสูบออก จนได้อัตราส่วนกำลังอัดที่ต้องการ แต่ถ้าใส่ไปแล้วกำลังอัดไม่ต่ำกว่า 7.5 ก็ไม่ควรนำไปไสฝาสูบ เพราะเสียเงิน เสียเวลา และก็เสียเนื้อโลหะของฝาสูบ อีกหน่อยถ้าเลิกเล่นเทอร์โบ พอใส่ประเก็นแผ่นเดียวกำลังอัดอาจจะสูงเกินไป การลดอัตราส่วนกำลังอัดของเครื่องยนต์อยู่ในระดับ 9.0 – 10.0 : 1 การรองประเก็นฝาสูบ 2 แผ่น จะไม่ต้องกังวลว่ากำลังอัดจะต่ำเกินไป เพราะกำลังอัดจะลดลงมาในระดับ 8.0 – 9.0 : 1 พอดี

 

       การลดกำลังอัดอีกวิธี คือ ขุดเนื้อฝาสูบบริเวณห้องเผาไหม้ออกจนได้ปริมาตรตามที่ต้องการ วิธีนี้ไม่ค่อยน่าปฏิบัติ เพราะเสียเนื้อโลหะของฝาสูบโดยใช่เหตุ และจะต้องขุดให้มีปริมาตรเท่ากันทุกสูบ จะต้องเท่ากันทั้งปริมาตรและรูปทรงของห้องเผาไหม้ ถ้าไม่เหมือนกับรูปทรงเดิม ลักษณะการลามของการเผาไหม้จะเปลี่ยนไป อาจทำให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ต่ำลง การลดกำลังอัดวิธีนี้ จึงไม่อยากแนะนำให้ปฏิบัติกัน

 

       อัตราส่วนกำลังอัดที่ต่ำเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบหรือไม่เทอร์โบนั้น จะมีผลเสียทำให้การอัดตัวของไอดีไม่แน่นเท่าที่ควร การจุดระเบิดก็ไม่รุนแรง สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง สมรรถนะของเครื่องยนต์จะลดลง

 

       THAIDRIVER
       ที่มา : http://automobile.mweb.co.th/technology/

 

To make your Joomla! website unavailable to visitors, replacing it with a simple message, do this:

  1. Log in to the Administrator back-end.
  2. Click on the Global Configuration button in the main Control Panel or System → Global Configuration in Joomla 3.x.
  3. There are so many configuration options that they need to be divided into separate groups or tabs. The Site tab, it should be the default first view displayed, if not click on the tab.
  4. Find where it says Site Offline and click the Yes button in Joomla 3.x.
  5. Optional: Change the Offline Message to give your visitors some explanation about why your website is unavailable.
  6. Click the Save toolbar button to implement the new settings:
    • The Save toolbar button will save your changes and but leave you in Global Configuration.
    • The Save and Close button will save your changes and return you to the Administrator Control Panel.
  7. You should see a message confirming the settings have been changed.

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th