ย้อนกลับไปเมื่อ 100 ที่แล้ว รถยนต์คันแรกเข้ามาวิ่งในแผ่นดินสยามถือเป็นสิ่งแปลกใหม่บนท้องถนน คนยุคนั่นคงนึกไม่ถึงว่ามันจะเป็นพาหนะสำคัญ จนเป็นปัจจัยที่ 5 ของผู้คนในยุคปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเรื่องเทอร์โบ - ทำความเข้าใจพื้นฐานของระบบเทอร์โบ ส่วนประกอบ หลักการทำงาน
ถึงแม้ว่าระบบเทอร์โบชาร์จ จะเป็นเทคโนโลยีด้านระบบอัดอากาศที่ขาดความแพร่หลายในเมืองไทย อันมีเหตุมาจาการปิดกั้นเทคโนโลยีที่มีมาหลายทศวรรษ แต่ระบบเทอร์โบชาร์จในตลาดรถยนต์ต่างประเทศกลับได้รับความนิยมแพร่หลาย เพราะระบบเทอร์โบชาร์จเป็นเทคโนโลยีที่เปรียบเสมือน “ทางลัด” ในการเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์
ข้อมูลสำคัญเบื้องต้นที่ต้องรู้หากคิดจะเล่นเทอร์โบ อัตราส่วนกำลังอัดมากหรือน้อยเกินไป ก่อให้เกิดผลเสียอย่างที่คาดไม่ถึง
การเลือกขนาดของเทอร์โบ
ปริมาตรความจุกระบอกสูบเป็นองค์ประกอบหลักในการเลือกขนาดของเทอร์โบ ตามหลักการนั้น การเลือกขนาดเทอร์โบ จะต้องเลือกให้เหมาะสมทั้งด้านกังหันไอดีหรือคอมเพรเซอร์ และกังหันไอเสียหรือเทอร์ไบน์
ซีล และระบบหล่อลื่นของเทอร์โบ
ซีลกันน้ำมันเครื่อง
ซีลกันน้ำมันเครื่องภายในตัวเทอร์โบ มีหน้าที่ป้องกันการรั่วของน้ำมันเครื่องระหว่าง ระบบหล่อลื่นช่วงแกนกลาง กับกังหันไอดี และไอเสีย ถ้าซีลชำรุด… น้ำมันเครื่องรั่วเข้าไปในส่วนของกังหันไอดีได้ น้ำมันเครื่องก็จะผสมเข้ากับไอดี เผาไหม้ออกมาเป็นควันสีขาวทางท่อไอเสีย ถ้าน้ำมันเครื่องรั่วออกทางกังหันไอเสีย ก็จะถูกความร้อนเผากลายเป็นควันสีขาวออกมาทางท่อไอเสียเช่นกัน
ระบบเทอร์โบดูดผ่านคาร์บูเรเตอร์
เทอร์โบจะถูกติดตั้งให้ดูดไอดีจากคาร์บูเรเตอร์ ผ่านกังหันไอดีแล้วจึงอัดผ่านเข้าสู่ท่อร่วมไอดี มีแรงดูดสุญญากาศมาเกี่ยวข้องกับเทอร์โบอยู่ตลอดเวลา จึงต้องใช้ซีลน้ำมันเครื่องด้านไอดีแบบ Manchanical Seal (Carbon Seal) เท่านั้น
ระบบเทอร์โบอัดผ่านคาร์บูเรเตอร์
เทอร์โบจะถูกติดตั้งเพื่อดูดอากาศเปล่า ๆ (ผ่านไส้กรองอากาศ) แล้วจึงอัดผ่านปากคาร์บูเรเตอร์ ลงสู่ท่อร่วมไอดี เทอร์โบไม่ได้ทำงานภายใต้แรงดูดสุญญากาศ เพราะลิ้นปีกผีเสื้อจะอยู่หลังเทอร์โบ สามารถใช้เทอร์โบที่มีซีลกันน้ำมันเครื่องด้านไอดีแบบใดก็ได้
Blow Off Valve ในระบบเทอร์โบ
ทำไมต้องใส่ Blow Off Valve
เพราะต้องการให้การประจุอากาศมีความต่อเนื่องมากขึ้น และป้องกันแกนเทอร์โบขาดในช่วงที่เทอร์โบบูสท์อยู่แล้วถอนคันเร่งกระทันหัน ในช่วงเปลี่ยนเกียร์หรือในช่วงที่ถอนคันเร่งแล้วจะเหยียบคันเร่งต่อ
To make your Joomla! website unavailable to visitors, replacing it with a simple message, do this: