สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
Offline Page
Sample Maintenance Mode Page

การเลือกขนาดของเทอร์โบ

ปริมาตรความจุกระบอกสูบเป็นองค์ประกอบหลักในการเลือกขนาดของเทอร์โบ ตามหลักการนั้น การเลือกขนาดเทอร์โบ จะต้องเลือกให้เหมาะสมทั้งด้านกังหันไอดีหรือคอมเพรเซอร์ และกังหันไอเสียหรือเทอร์ไบน์

 

 

กังหันด้านไอดีจะต้องสามารถประจุไอดีเพียงพอต่อความต้องการของเครื่องยนต์ เทอร์โบที่มีขนาดเล็กเกินไปจะมีแต่แรงดันเสริม มวลของอากาศน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเครื่องยนต์ ขณะที่กังหันไอเสีย ก็จะต้องมีขนาดพอเหมาะ ถ้าเล็กเกินไป ถึงจะหมุนได้เร็ว บูสท์มาเร็ว แต่จะไปขัดขวางการไหลของไอเสีย ทำให้เกิดแรงดันย้อนกลับในระบบไอเสีย

 

กังหันไอเสียที่ใหญ่เกินไป ไอเสียจะปั่นกังหันไอเสียได้รอบการหมุนต่ำ กังหันไอดีก็จะหมุนช้าตามไปด้วย ทำให้สร้างแรงดันเสริมหรือบูสท์ได้ช้า และน้อย กังหันไอเสียที่มีขนาดเท่ากัน สามารถกำหนดอัตรารอบการหมุนให้ช้าหรือเร็วได้ ถึงแม้ว่าไอเสียจะมีมวลเท่าเดิม และกังหันไอเสียเท่าเดิม แต่สามารถปรับเปลี่ยนรอบการหมุนของกังหันไอเสียได้ด้วย A/R Ratio

 

image_112A/R Ratio คือ อัตราส่วนของคอคอดภายในโข่งไอเสีย ส่วนที่แคบที่สุดด้านในของโข่งไอเสียบริเวณทางเข้าของไอเสีย หารด้วยระยะตั้งแต่จุดศูนย์กลางของกังหันจนถึงจุดศูนย์กลางของทางเดินไอเสีย

 

A/R Ratio จะเป็นตัวกำหนดความเร็วรอบการหมุนของกังหันไอเสีย ซึ่งจะมีผลต่อการตอบสนองของบูสท์ด้วย บูสท์จะมาช้าหรือเร็ว ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ A/R Ratio นี้ด้วย

 

A/R Ratio จะกำหนดรอบการหมุนของกังหัน โดยการควบคุมความเร็วการไหลของไอเสีย ที่จะเข้าไปปั่นกังหันไอเสีย ในเมื่อกังหันไอเสียมีขนาดเท่าเดิม และไอเสียมีปริมาณเท่าเดิม การเปลี่ยนขนาดคอคอดหรือ A/R Ratio ก่อนที่ไอเสียจะเข้าไปปั่นกังหัน จะทำให้ไอเสียมีความเร็วแตกต่างกันตามขนาดของคอคอด ถ้าคอคอดใหญ่ กังหันไอเสียก็จะหมุนช้าตามไปด้วย ขนาดของคอคอดบริเวณทางเข้าภายในโข่งไอเสียมีขีดจำกัดอยู่ที่ แรงดันย้อนกลับ ยิ่งเล็กเท่าไรยิ่งมีแรงดันย้อนกลับมากขึ้น

 

ถ้า A/R Ratio สูงเกินไป คอคอดใหญ่ การตอบสนองต่ออัตราการเร่งของบูสท์เทอร์โบจะช้า แต่ความร้อนสะสมในตัวเทอร์โบจะน้อย การระบายของไอเสียจะไม่เกิดแรงดันย้อนกลับมาก การสร้างแรงดันเสริมหรือบูสท์จะช้า จะบูสท์ที่รอบสูง เรียกว่ามีการรอรอบมาก

 

คอคอดเล็ก A/R Ratio ต่ำเกินไป ถึงแม้ว่าไอเสียที่เข้าไปปั่นกังหันไอเสียจะมีความเร็วสูง มีการตอบสนองต่ออัตราเร่งของบูสท์รวดเร็ว แต่ความร้อนสะสมในตัวเทอร์โบจะสูง และเกิดแรงดันย้อนกลับในระบบไอเสียมาก

 

ยิ่ง A/R Ratio น้อยเท่าไร ยิ่งเกิดแรงดันย้อนกลับมากขึ้น ถึงแม้จะมีการตอบสนองดี เครื่องยนต์จะกำลังตกในรอบสูง กำลังสูงสุดของเครื่องยนต์จะอยู่ที่รอบต่ำเท่านั้น

 

การคำนวณหาขนาดของเทอร์โบ และA/R Ratio ที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ตามทฤษฎีนั้นมีความละเอียดอ่อนมาก และถึงที่สุดเมื่อคำนวณตัวเลขออกมาก็ไม่สามารถหาเทอร์โบได้ตามขนาดที่คำนวณได้ ถึงสุดท้ายก็ต้องเทียบต้องดัดแปลงเลือกใช้กันตามมีตามเกิดเท่าที่มีให้เลือก พลิกแพลงไปบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังอ้างทฤษฎีมาใช้กันได้บ้าง

 

ถ้าเป็นเทอร์โบใหม่ 100% ก็อาจจะเลือกขนาดของเทอร์โบตามที่คำนวณไว้ แต่เทอร์โบใหม่ 100% มีราคาแพง ราคาที่พอหาซื้อได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท แต่เทอร์โบใหม่ที่กระจายขายกันอยู่ในร้านเล็ก ๆ ในเชียงกง อาจจะหาซื้อได้ในราคาตัวละไม่กี่พันบาทไล่ไปจนถึง 10,000 บาท ส่วนใหญ่จะเป็นเทอร์โบที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ คือ คุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงงานกำหนด เพราะดูกันในแง่ของความเป็นไปได้ในเรื่องของราคา ขนาดไปซื้อที่เมืองนอกเอง ก็ไม่เห็นว่าจะมีเทอร์โบใหม่คุณภาพดี จะมีราคาต่ำกว่าหมื่นบาทสักตัว (ยังไม่รวมภาษีและค่าขนส่งกำไร) การซื้อเทอร์โบที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพนั้น อาจจะนำมาใช้ได้ก็จริง แต่ต้องแล้วแต่ดวง ถ้ามีคุณภาพสัก 60-70% ก็อาจจะใช้งานได้ดีกว่าเทอร์โบเก่าตามเชียงกง บางครั้งเทอร์โบใช้แล้วที่ยังไม่ผ่านการใช้งานมามากนัก ก็อาจจะใช้งานได้ดีกว่าเทอร์โบนี้เสียอีก

 

เทอร์โบที่น่าเลือกใช้ที่สุด (ในงบประมาณที่ไม่สูงนัก) ก็เป็นเทอร์โบเก่าตามตลาดเชียงกง มีให้เลือกกันพอสมควร เทอร์โบเก่าจะมีราคาหนึ่งพันไล่ไปจนถึงกว่าห้าพันบาทตามแต่สภาพ และความต้องการของตลาด รวมถึงการตกแต่งด้วย การเลือกซื้อต้องเดินดูให้ทั่วก่อน อย่าลืมหาราคาต่ำสุดของแต่ละร้านก่อน ถ้าวนกลับมาซื้อในรอบสอง จะต่อราคาไม่ได้อีกแล้ว เพราะแสดงถึงความต้องการจะซื้อ

 

เล่นเทอร์โบเก่าเลือกอย่างไรให้เหมาะ

เลือกตามขนาดความจุกระบอกสูบ (ซีซี) ของเครื่องยนต์ที่เทอร์โบตัวนั้นเคยติดอยู่ เพราะนั่นหมายถึงว่า ทางโรงงานได้คำนวณความเหมาะสมระหว่างเทอร์โบกับขนาดของเครื่องยนต์ไว้แล้ว

 

ถ้าเลือกเทอร์โบที่เคยติดตั้งกับเครื่องยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบน้อยกว่าเครื่องยนต์ที่นำเทอร์โบมาติด หรืออัตราการตอบสนองต่ออัตราเร่งจะดี บูสท์เร็ว อาการ “รอบรอบ” (Turbo Lag) จะน้อย เร่ง 2,000-3,000 รอบเทอร์โบก็บูสท์แล้ว แต่ความร้อนสะสมมาก มีแรงดันย้อนกลับในระบบไอเสียมาก ถ้าขับทางไกลหรือใช้รอบสูงจะไม่ค่อยดี ไอดีมี “มวล” น้อยเพราะกังหันไอดีเล็ก ไม่แรงเท่าที่ควร
ทางที่ดีควรเลือกเทอร์โบที่เคยใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความจุเท่ากันจะดีกว่า แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ถ้าหาเทอร์โบในขนาดที่เหมาะสมไม่ได้ ก็สามารถเลือกเทอร์โบขนาดเล็กกว่าความเหมาะสมมาใช้ได้ การใช้งานในเมืองนั้นดี ไม่รอรอบมาก แต่พอออกต่างจังหวัดก็อย่าลากยาว หรือแช่ รอบสูงนาน ๆ แต่มีข้อแม้ว่า ไม่ควรเลือกเทอร์โบที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่เล็กกว่าเครื่องยนต์ที่จะนำเทอร์โบมาติดเกินกว่า 200-300 ซีซี

 

ถ้าเลือกเทอร์โบที่เคยใช้กับเครื่องยนต์ที่มีขนาดความจุมากกว่าเครื่องยนต์ที่จะนำเทอร์โบมาติดสักเล็กน้อย เช่น เทอร์โบ 1800 ซีซีมาใส่เครื่องยนต์ 1,600 ซีซี อัตราการตอบสนองจะไม่ดีนัก มีอาการรอบรอบมาก กว่าบูสท์จะมาก็ต้องเร่งรอบสูงเกิน 3,000 รอบขึ้นไป ขับในเมืองไม่ค่อยสนุกเหมือนเทอร์โบเล็ก แต่ขับทางไกลดี ความร้อนสะสมน้อย แรงดันย้อนกลับในระบบไอเสียน้อย เวลาบูสท์จะแรงกว่าการใช้เทอร์โบเล็ก เพราะกังหันไอดีใหญ่กว่า เพราะถึงแม้จะควบคุมไว้เท่ากันแต่ “มวล” ของไอดีมากกว่าแรงกว่าที่ใช้เทอร์โบตัวเล็ก อย่าเลือกเทอร์โบที่เคยใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความจุมากกว่าเครื่องยนต์ที่จะติดเทอร์โบเกินกว่า 200-400 ซีซี เพราะการตอบสนองจะแย่มาก

 

การเลือกซื้อเทอร์โบเก่า

ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบการขายขาด ซื้อแล้วห้ามเปลี่ยน แต่ถ้าหาร้านที่ขายแบบแพงหน่อยแต่เปลี่ยนได้ในระยะ 7-10 วันจะดีกว่า การเลือกซื้อเทอร์โบเก่านั้น จะว่าเสี่ยงดวงก็ได้ เพราะดูได้แค่สภาพภายนอกไม่แตกหักหรือร้าวหมุนแกนดูลื่นหรือไม่ โยกแกนดันแกนกังหันต้องไม่หลวมคลอนตามแนวนอน-แนวตั้งได้มาก ล้วงหรือส่องดูภายในโข่งไอดี-ไอเสียว่ามีคราบน้ำมันเครื่องรั่วจากซีลกันน้ำมันเครื่องจากแกนช่วงกลางที่มีระบบหล่อลื่นหรือไม่

 

การเลือกซื้อเทอร์โบเก่านั้น ควรเลือกเทอร์โบที่ยังไม่ได้รับการล้าง “ย้อมแมว” ให้ดูใหม่ เพราะจะไม่สามารถทราบถึงสภาพที่แท้จริงได้ พยายามเลือกแบบที่ข้างนอกเลอะ ๆ แต่ข้างแจ๋ว ๆ ควรเลือกซื้อแบบที่ยังติดตั้งกับท่อร่วมไอเสียและท่อทิ้ง (หลังจากหังหันไอเสีย) เพราะจะได้ปะเก็นของแท้ ทนทาน ไม่ต้องเสียเงินเสียเวลาสั่งตัดใหม่ ถ้ามีท่อยางเข้า-ออกด้านไอดีมาด้วยจะดีมาก

 

THAIDRIVER

ที่มา : http://automobile.mweb.co.th/technology/

 

To make your Joomla! website unavailable to visitors, replacing it with a simple message, do this:

  1. Log in to the Administrator back-end.
  2. Click on the Global Configuration button in the main Control Panel or System → Global Configuration in Joomla 3.x.
  3. There are so many configuration options that they need to be divided into separate groups or tabs. The Site tab, it should be the default first view displayed, if not click on the tab.
  4. Find where it says Site Offline and click the Yes button in Joomla 3.x.
  5. Optional: Change the Offline Message to give your visitors some explanation about why your website is unavailable.
  6. Click the Save toolbar button to implement the new settings:
    • The Save toolbar button will save your changes and but leave you in Global Configuration.
    • The Save and Close button will save your changes and return you to the Administrator Control Panel.
  7. You should see a message confirming the settings have been changed.

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th