สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
กฎระเบียบและข้อกำหนดยานยนต์
กฎระเบียบและข้อกำหนดล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

       การทดสอบการชนหรือการทำ CRASH TEST เป็นกระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยของรถยนต์ที่กระทำกันมานาน ผู้ผลิตรถยนต์ต้องมีการทดสอบการชนก่อนผลิตรถยนต์รุ่นนั้น ๆ ออกสู่ตลาด เพื่อให้ผ่านตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของรัฐบาลในประเทศที่จำหน่ายรถยนต์รุ่นนั้น แต่ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ด้านความปลอดภัยของตัวถัง และข้อกำหนดในแต่ละประเทศก็ยังมีความแตกต่างกันไป ดังนั้น การตรวจสอบข้อมูลการทดสอบการชนของรถยนต์แต่ละรุ่น จะต้องพิจารณาด้วยว่า เป็นหลักเกณฑ์ของประเทศใด

 

image-168-1

 

 

       การทดสอบการชนโดยผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ๆ ในระหว่างขั้นตอนการพัฒนารถยนต์นั้นมีหลาย 10 ปีแล้ว แต่การทดสอบโดยองค์กรรัฐบาล เริ่มมีในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1978 และพบว่าตั้งแต่มีการเผยแพร่ผลการทดสอบให้สาธารณชนรับรู้ ตัวเลขการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ลดลงอย่างมาก

 

       ส่วนหนึ่งเนื่องจาก ประชาชนมีโอกาสเลือกใช้รถยนต์ที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยเพียงพอ แสดงถึงประโยชน์ของการบริโภคข่าวสารอย่างแท้จริง นอกจากในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีในยุโรป ซึ่งเริ่มทำการทดสอบมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 ส่วนออสเตรเลียเริ่มเผยแพร่มาตั้งแต่ปี 1993 และในประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มขึ้นในปี 1996

 

image-168-2

 

        มีการทดสอบแบบไหนบ้าง
        การชนด้านหน้าเต็มคัน – FULL FRONTAL CRASH กับวัตถุขวางกั้นที่ไม่ยุบตัว – RIGID BARRIER เริ่มใช้ในสหรัฐอเมริกา ส่วนการชนด้านหน้าแบบเฉียง หรือแบบครึ่งคัน – OFFSET FRONTAL CRASH ซึ่งมีทั้งปะทะกับวัตถุขวางกั้นแบบไม่ยุบตัว และแบบยุบตัวได้ – DEFORMABLE BARRIER โดยวิธีการนี้ เริ่มใช้ในยุโรปตั้งแต่ช่วงปี 1970

 

       การชนด้านข้าง – SIDE IMPACT TEST ซึ่งก็มีทั้งแบบเฉียงที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา และแบบตรงที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น และยุโรป นอกจากนี้ ระดับความสูงของวัตถุที่สิ่งเข้าชนก็ยังแตกต่างกันไปด้วย

 

image-168-3

 

       แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร
       การชนด้านหน้าเต็มคัน จะมีพื้นที่ที่รับแรงกระแทกของตัวรถยนต์มาก ดังนั้นตัวรถยนต์จะเสียหายน้อย แต่ความเร่งซึ่งเกิดขึ้นที่หุ่นทดสอบจะอยู่ในระดับสูง

 

       วิธีนี้จึงมีความเหมาะสมในการประเมินอุปกรณ์ป้องกันผู้ขับ และผู้โดยสาร – RESTRAINT SYSTEM เช่น เข็มขัดนิรภัย หรือถุงลมนิรภัยว่ามีประสิทธิภาพดีเพียงใด

 

       การชนด้านหน้าครึ่งคัน หรือแบบออฟเซ็ต จะมีพื้นที่ด้านหน้ารถยนต์รับแรงกระแทกเพียงครึ่งเดียว โดยทั่วไป จะใช้พื้นที่ประมาณ 40% เข้าปะทะ

 

       วิธีนี้ มีประโยชน์มากในการประเมินว่า โครงสร้างของรถยนต์สามารถรับแรงปะทะ โดยไม่ทำให้ห้องโดยสารผิดรูปได้ดีเพียงใด เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บจากการที่ชิ้นส่วนของรถยนต์ เช่น พวงมาลัย แผงหน้าปัด พื้นที่วางเท้า พุ่งเข้าปะทะผู้ขับ – INTRUSION INJURY

 

       การชนด้านข้าง ระดับความสูงของวัสดุที่สิ่งเข้าชน มีผลต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวรถยนต์ ในยุโรป แรกเริ่มใช้ความสูง – GROUND CLEARANCE 260 มิลลิเมตร แต่มาตรฐานล่าสุดที่บังคับใช้มีการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างในปี 2000 ความสูงได้ถูกปรับเพิ่มเป็น 300 มิลลิเมตร ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวรถยนต์มากขึ้น

 

image-168-4

 

       ประเมินผลอย่างไร
       การแปลผลการทดสอบชน ต้องดูจากปัจจัยหลายประการประกอบกัน ทั้งการผิดรูปของห้องโดยสาร และแรงที่เกิดขึ้นต่อหุ่นทดสอบ

 

image-168-5

 

       รถยนต์ที่มีโครงสร้างตัวถังแข็งมากจนห้องโดยสารไม่ผิดรูป แรงจากการปะทะส่วนใหญ่จะถ่ายทอดไปยังผู้โดยสารในรถยนต์ ทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บรุนแรงได้ (เป็นการบาดเจ็บเนื่องจากการเปลี่ยนความเร่งอย่างฉับพลัน)

 

       ในทางตรงกันข้าม รถยนต์ที่มีโครงสร้างตัวถังไม่แข็งแรงพอ ตัวรถยนต์ก็จะยุบเข้าไปกระแทกเข้ากับผู้ขับ และผู้โดยสาร จนเกิดการบาดเจ็บเพราะการกระทบกระแทกได้เช่นกัน ผู้ผลิตจึงต้องออกแบบรถยนต์ให้สามารถดูดซับแรงกระแทกได้มากพอ ขณะที่โครงสร้างตัวถังส่วนสำคัญ คือ บริเวณห้องโดยสารต้องคงสภาพได้ดีเช่นกัน ดังนั้น การดูภาพรถยนต์ภายหลังการชนอย่างเดียว จึงแทบไม่สามารถบอกอะไรได้เลย

 

       ในการตรวจสอบการทดสอบการชนโดยทั่วไป มีการแสดงค่าดังนี้

 

image-168-6

 

       พิจารณาจาก
        - ค่าการยุบตัวของตัวถังในจุดที่สำคัญ
        - ตรวจสอบความยากง่ายในการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ภายใน เช่น การเปิดประตูรถยนต์
        - ตรวจสอบความเสียหายในจุดสำคัญ เช่น ระบบเชื้อเพลิง

 

       หุ่นทดสอบในรถยนต์
       ในปัจจุบัน มักใช้หุ่นที่มีโครงสร้างหุ้มด้วย PVC มีการติดตั้ง AC-CELEROMETER และ LOAD SCALE ไว้ภายใน มีน้ำหนักรวมใกล้เคียงกับมนุษย์จริง และมีหลายขนาดให้เลือก ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ โดยจะพิจารณาประเมินความบาดเจ็บในแต่ละส่วนดังนี้

 

        - ศีรษะ ตรวจสอบจากค่า HIC – HEAD INJURY CRITERIA ค่าที่น้อยกว่า 500 ถือว่าดีมาก ค่า 500-1,000 ถือว่าใช้ได้ ค่า 1,000-1,500 แสดงว่ามีโอกาสเกิดการบาดเจ็บที่ศรีษะ ค่าที่มากกว่า 1,500 แสดงการบาดเจ็บที่รุนแรง

 

        - หน้าอก ดูจากความเร่งที่กระทำกับหน้าอก ค่าที่น้อยกว่า 45g อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ค่าระหว่าง 45-60g ถือว่าดี ค่าระหว่าง 60-75g ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการบดาเจ็บที่หน้าอก ค่าที่มากกว่า 75g แสดงว่าโอกาสที่หน้าอกจะได้รับอันตรายสูงมาก

 

        - กระดูเชิงกราน และท่อนขา วัดจากแรงปะทะที่มากระทำ ยิ่งมีค่าสูง โอกาสจะเกิดการบาดเจ็บก็จะสูงตาม

 

       มาตรฐานในแต่ละประเทศ
       ในปัจจุบัน หลายประเทศเริ่มแก้ไขมาตรฐานการชน โดยให้ความเร็วของการแล่นทดสอบสูงขึ้น เช่น ในมาตรฐานใหม่ของกลุ่มประเทยุโรป ที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 1999 ถือว่าเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มงวดที่สุดในโลก และยังมุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยจากการชนด้านข้างมากกว่าเดิมอีกด้วย เนื่องจากถ้าไม่นับการชนจากด้านหน้าครึ่งคัน (47.8%) แล้ว กานชนจากด้านข้างถือเป็นอันดับ 2 ที่ก่ออันตรายต่อผู้ใช้รถยนต์

 

       นอกจากการทดสอบโดยหน่วยงานรัฐบาลแล้ว ในแต่ละประเทศ อาจจะมีหน่วยงานอิสระที่ทำการทดสอบโดยอาจใช้มาตรฐานที่สูงกว่าข้อกำหนดโดย รัฐบาลด้วย

 

       ที่มา : http://automobile.mweb.co.th/technology/

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th