สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
กฎระเบียบและข้อกำหนดยานยนต์
กฎระเบียบและข้อกำหนดล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

มาตรฐานไทยกับทิศทางการพัฒนา

มาตรฐานยานยนต์ของไทยกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์

 

1. สรุปลำดับวิวัฒนาการของมาตรฐานยานยนต์ที่สำคัญ มีดังนี้

- พ.ศ. 2535 บังคับใช้มาตรฐานไอเสียรถจักรยานยนต์ระดับที่ 1 (มอก.1105-2535)
      - พ.ศ. 2535 ประกาศมาตรฐานไอเสียรถยนต์เบนซินระดับที่ 1 (มอก.1085-2535) เป็นมาตรฐานทั่วไป เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 
      - พ.ศ. 2536 ประกาศบังคับใช้มาตรฐานไอเสียรถยนต์เบนซินระดับที่ 2
      - พ.ศ. 2536 ประกาศมาตรฐานไอเสียรถยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ระดับที่ 1 (มอก.1180-2536) เป็นมาตรฐานทั่วไป และบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2536
      - พ.ศ. 2536 ประกาศบังคับใช้มาตรฐานไอเสียรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กระดับที่ 1 (มอก.1140-2536)
      - พ.ศ. 2537 บังคับใช้มาตรฐานกระจกนิรภัยสำหรับรถยนต์(มอก.196-2536, มอก.197-2536 และ มอก.198-2536)
      - พ.ศ. 2537 บังคับใช้ท่อไอเสียรถจักรยานยนต์(มอก. 341-2528)
      - พ.ศ. 2540 บังคับใช้หมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้ยานพาหนะ(มอก. 369-2539)
      - พ.ศ. 2543 บังคับใช้มาตรฐานไอเสียรถยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ระดับที่ 3 (มอก.1295-2541)
      - พ.ศ. 2548 บังคับใช้มาตรฐานไอเสียรถยนต์เบนซินระดับที่ 7 (มอก.2160-2546)
      - พ.ศ. 2548 บังคับใช้มาตรฐานไอเสียรถยนต์ดีเซลระดับที่ 6 (มอก.2155-2546)
      - พ.ศ. 2548 บังคับใช้มาตรฐานไอเสียรถจักรยานยนต์ระดับที่ 5 (มอก.2130-2545)
      - พ.ศ. 2549 ไทยเข้าร่วมเป็นภาคี 1958 Agreement
      - พ.ศ. 2551 บังคับใช้มาตรฐานยางในรถจักรยานยนต์ (มอก. 683-2530)

 

2. มาตรฐานยานยนต์ของไทยกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

จากที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าหน่วยงานในประเทศไทยที่เป็นผู้กำหนดมาตรฐานด้านยานยนต์และข้อบังคับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ล้วนแต่มีแนวทางในการนำมาตรฐาน UN/ECE  มาเป็นแนวทาง ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของการทำ Harmonization ด้านมาตรฐานยานยนต์ให้เป็นหนึ่งเดียวทั่วโลกโดยในอนาคต นั้น ข้อตกลงต่าง ๆ อาทิ 1958 agreement, ACCSQ ก็จะมีการนำมาใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับสากล ซึ่ง ทิศทางในอนาคตไม่เพียงแต่มาตรฐาน UN/ECE  ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย เท่านั้น ที่มีความสำคัญ แต่มาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม อาทิ End-of-Live Vehicle (ELV) ซึ่งเป็นมาตรการจัดการยานยนต์ที่หมดอายุกำหนดให้ชิ้นส่วนยานยนต์ต้องไม่มีโลหะหนัก 4 ชนิด ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และโครเมียม+6 ก็จะมีความสำคัญมากขึ้น เช่นกัน โดยปัจจุบัน ได้มีการบังคับใช้แล้วในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป

 

ประเด็นด้านมาตรฐานต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้น นั้น เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ยานยนต์ไทย จะต้องพิจารณาปรับตัวเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ทั้งด้านบุคลากร และการทดสอบที่รองรับพัฒนาการของมาตรฐานที่จะมีขึ้น ต่อไป

 

ในขณะเดียวกัน จากสถานการณ์ปัจจุบัน อุตสาหกรรมยานยนต์โลกได้เผชิญกับประเด็นท้าทายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ประเด็นเรื่อง Global Warming และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความผันผวนของราคาพลังงาน ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในรถยนต์ ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ ของโลกและของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผลกระทบดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้จัดการประชุม เรื่อง ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม 2552 โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม (ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์) ร่วมกันจัดทำทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

 

จากมติการประชุมฯในครั้งนั้น สรุปได้ว่า ภาครัฐและภาคเอกชนมองทิศทางของอุตสาหกรรม ยานยนต์ในอนาคตในระยะยาวไปในแนวทางเดียวกัน คือ มุ่งเน้นในทิศทางการพัฒนา Efficiency และ มีทิศทางการพัฒนาจาก Internal Combustion Engine (ICE) ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) เช่น รถยนต์ Fuel Cell, Electric Vehicle และ Plug-in Hybrid เนื่องจาก การทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องยนต์สันดาปภายใน รวมทั้ง ประเด็นเรื่องปัญหามลพิษและการรักษาสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีแบบ Electric Motor ยังคงต้องใช้ระยะเวลา โดยผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรายเลือกใช้เทคโนโลยี In Between ที่แตกต่างกัน

 

ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดทั้งในด้านเทคโนโลยี รวมถึงมาตรฐานที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ผู้ผลิตภายในประเทศสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันต่อเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตต่อไป

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th