สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
Offline Page
Sample Maintenance Mode Page

       การซื้อรถบ้านใช้แล้ว หรือรถมือสองนั้นถ้าเรามีความละเอียดรอบคอบเพียงพอในการเลือกซื้อไตร่ตรองถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจซื้อก็จะทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นว่าซื้อแล้วได้ใช้งานคุ้มค่าผมเองก็เป็นอีกคนที่เลือกใช้รถมือสอง อาจเป็นเพราะสตางค์ในกระเป๋ามีจำกัดอีกทั้งไม่อยากเป็นภาระมานั่งผ่อน ทุกเดือน รถที่ผมใช้ก็ถือได้ว่าตอบสนองเราได้เป็นอย่างดีเพียงแต่เราดูแลบำรุงรักษารถให้ดีก็ใช้ไปได้อีกนาน ขนาดที่คิดได้ว่าจะไม่ยอมขายจะใช้ให้พังคามือเลย เป็นธรรมดาสำหรับรถดี ๆ ไม่จุกจิกกวนใจ กวนเงินในกระเป๋าเรา ทีนี้เรามาดูว่ารถมือสองที่เราจะซื้อมีวิธีการเลือก คร่าว ๆ อย่างไรผมเองต้องขอออกตัวก่อนว่าไม่ใช่เซียนรถหรือพ่อค้ารถ ที่เก่งกาจในการดูรถเพียงแต่รุ่นพี่ ๆ อาจารย์หลายท่านแนะนำ สอนให้ดู ก็พอเอาตัวรอดได้พอแนะนำเป็นแนวทางได้บ้าง ขอย้ำ ได้บ้างเท่านั้นนะครับ โดยผมจะแยกเป็นหัวข้อ ๆเพื่อให้ง่ายในการจดจำครับ

 

 

       1. ดูตัวถัง body
       รถสวยไม่สวยดูภายนอกรอบคัน ก็พอบอกได้ แต่จะดูให้ถึงว่าเคยชนมาหนัก ๆ มั๊ยก็ต้อง

 

          - เปิดฝากระโปรงหน้ามาดูคานหน้า คานรถทุกคันจะมีรู กลมบ้างเหลี่ยมบางแล้วแต่ ถ้ารูเบี้ยว ไม่คมก็แสดงว่ามีโดนมา

 

          - ป้ายทะเบียนรถยับมีรอยดัด ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเคยโดนมา แผ่น plate ที่แปะติดคานมา มีรอยยับหรือดัดมาก็เช่นกัน

 

          - สันด้านข้างตะเข็บความนูนเสมอกันหรือไม่ รอยอ๊าค จากโรงงานกับอู่เคาะพ่นสีก็ต่างกัน

 

          - สำหรับด้านหลัง ก็เปิดฝากระโปรงดูเช่นกัน ไฟท้ายทั้ง 2 ดวงเสมอเบ้าหรือไม่รอยแยกต่อชิ้นเว้นช่องไฟเท่ากันเปล่ามีเบี้ยวมีเกยกันมั๊ยคานหลังก็ใช้ลักษณะการสังเกตุเหมือนคานหน้าเพียงแต่ต้องลื้อพรมปูท้ายรถออกเพื่อให้เห็นพื้น

 

          - พื้นรถด้านหลังโดยมากจะเป็นรอน ๆ ก็สังเกตุดูว่าเท่ากันหรือเปล่ารถบางคันโดนชนหลังมาช่างเคาะทำดีมากดูแทบไม่ออกมาเสียอีตอนน้ำเข้าตรงไฟท้ายเข้าได้แต่ออกไม่ได้ซะด้วยสิ ต้องเช็ดมีบางคันเศษกระจกหลังยังอยู่ให้เห็นเลยครับ

 

          - ส่วนด้านข้าง ก็ดูเทียบสีจากโรงงานสีเดิม กับอู่สี สีจะเพี้ยนนิดหน่อยแต่ก็พอเห็น ผมใช้วิธีเคาะด้วยมะเหง็กของเรานี่แหละ เคาะรอบคันเลยรถ ที่ทำสีมาแล้วเสียงจะทึบ ๆ หน่อยชิ้นที่สีเดิมจะมีเสียงโปร่ง ๆ หน่อยฟังดีดี จะรู้ถึงความต่าง อันนี้ไม่ยาก

 

         - รถที่เคยหงายตะแคงล้อชี้ฟ้า ก็ดูหลังคารถเคาะ ๆ ดู สังเกตุขอบคิ้วกระจกหน้าหลังเหมือนกันเปล่ามีรอยแตกของสีโป๊วมั๊ย หลังคาสีสดสวยกว่าประตูข้างก็เป็นเรื่องน่าแปลกเพราะเป็นส่วนที่รับแดดเต็ม ๆ แต่ช่างเคาะช่างสีบ้านเราฝีมือดีมาก ทำได้เนียนเซียนในเต็นท์ยังมองไม่ออก ฝรั่งยกนิ้วให้ 2 นิ้ว งานฝีมืองานประณีตคนไทยเก่งกาจม๊าก มาก ขอบอกครับ

 

       2. เครื่อง +ช่วงล่าง + เกียร์
          - เครื่องถ้าเครื่องมีปัญหา หรือ หลวม จะเป็นอย่างนี้เสียงดัง ไม่นิ่งรอบสูงบ้างต่ำบ้าง ไม่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกันเปล่าหว่าเวลาเครื่องร้อนเรา ก็ดูก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องออกมา จะมีควันพุ่งออกมา หรือน้ำมันเครื่องจะกระเซ็นกระสายเป็นละอองออกมาเอามือไปอัง ๆ ดูก็ได้ไม่ร้อนเท่าไหร่หรอกน่า เชื่อเถอะ

 

          - เกียร์ ชุดส่งกำลัง คลัชต์ถ้าเข้าเกียร์ ออกตัวแล้วสั่น แหงก ๆ กระตุก ๆ เข้าเกียร์ก็ยาก นั่นแหละมีปัญหาวิ่งๆ ไปมีเสียงประสาน หอนแหวกอากาศมาเข้าหูเรา เวลาเข้าเกียร์ว่าง รถจอดนิ่งๆไม่ยักกะดังก็นั่นแหละ เกียร์ไปแล้วไปไหนไม่รู้ ไปหาช่างมั้ง เกียร์ auto ก่อนเข้าเกียร์เหยียบเบรคคาไว้ เข้าเกียร์ตำแหน่ง D ไม่กระตุกกระชากก็พอได้เปราะหนึ่ง เข้าตำแหน่งเดิม N แล้วไป R ก็ไม่มีอาการอะไรก็แสดงว่าผ่านไปได้แล้ว 70 % มาลองวิ่งดูว่าเกียร์ทำงานทุกเกียร์เปล่า ไม่ใช่เปลี่ยนแค่ 2 เกียร์อันนี้เสร็จแน่ออกตัวก็เช่นกัน ออกตัวดีมั๊ยถ้าต้องรอสักพักถึงเคลื่อนตัวได้แสดงว่ามันจะแย่อยู่นะ

 

          - ช่วงล่าง ผม test ไม่เหมือนชาวบ้านเขาหลอก เวลาขับไปเจอฝาท่อ เจอถนนคอนกรีตที่กร่อน มีหลุม บ่อเล็กๆนั่นแหละชอบลุยเข้าไปเลย เดี๋ยวเสียงกรุ กระ จะปรากฏถ้าไม่แน่น หรืออาจสะท้านมาถึงพวงมาลัยเลยก็มีแต่อย่าเร็วมากนะอาจเสียงตอนที่เรา test ก็ได้นะเคยมาแล้ว ขอบอกครับ ต่อไปเป็นเบรค และ สภาพยาง บางท่านไม่สนใจเพราะซื้อปุ๊บเข้าร้านเปลี่ยนของใหม่เลย แบบว่าปลอดภัยไว้ก่อนว่างั้นก็ ok ชัวร์ดีชีวิตเรานะอย่างว่า ประมาทได้ที่ไหน ได้ไม่คุ้มเสียเลย ผมเคย เสียหายมากเพราะมัวแต่ผลัดวันประกันพรุ่ง นั่นเอง

 

       3. ภายในห้องโดยสาร
          - กลิ่นถ้าเปิดรถปุ๊บ สิ่งแรกที่กระทบจมูกโด่ง ๆ ของเราคือกลิ่นอับ ๆ ชื้น ๆแสดงว่าน้ำเข้ารถ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ยิ่งอัดฉีดมานะ ฮึ่ม ง่ายต่อการดูมากเลยเอายางปูพื้นออก ดูว่าพื้นพรมมีรอยชื้นของน้ำเปล่า บางคันพื้นผุแบบทะลุง่ะเปิดมานี้ เห็นพื้น ถนนเลย ดูหมดนะทั้ง 4 จุด พื้นผุนี่อันตรายนะ ขับๆอยู่ตัวหล่นพรั้ว ไปนั่งอยู่กับพื้นถนนละยุ่ง (ล้อเล่นไม่ขนาดนั้นหรอก)

 

          - ดูความเรียบร้อย คอนโซล แตกมั๊ย แต่ว่าไม่ได้ พลาสติกน่ะ รถเก่ามาก ๆไม่แตกอย่างเดียวมันเหมือนจะละลายเลยเคยเห็นมาแล้ว ช่องแอร์สมบูรณ์เปล่าซ่อมยากนะช่องแอร์เนี่ย เก่ามาก ๆ ไม่มีอะไหล่เน้อ จะบอกให้เจ้าของเก่าจะอ้างว่าลูกซนชอบเล่นช่องแอร์ เออมันก็จริงทำไมเด็ก ๆชอบเล่นจังไม่รู้

 

          - แอร์ ดูอย่างนี้นะ เอ้าดู เปิดแอร์ เบอร์ 1-4 เลยมันไล่ระดับความแรงหรือเปล่า แรงลมสำคัญจะบอกได้ว่าตันหรือเปล่าล้างแอร์สมัยนี้แพงด้วยนะหลายร้อย พันกว่าก็มีแบบไม่ถอดตู้เปิดทิ้งไว้แล้วออกไปเดินดูรอบ ๆ รถ 5-6 ชั่วโมง ไม่ใช่ 5นาทีพอแล้วเดินเข้าไปในรถก็จะรู้ว่าฉ่ำ หรือไม่ฉ่ำมีเสียงอะไรดังผิดปรกติหรือเปล่าแอร์ตัดตามปกติมั๊ย ก็เท่านั้น

To make your Joomla! website unavailable to visitors, replacing it with a simple message, do this:

  1. Log in to the Administrator back-end.
  2. Click on the Global Configuration button in the main Control Panel or System → Global Configuration in Joomla 3.x.
  3. There are so many configuration options that they need to be divided into separate groups or tabs. The Site tab, it should be the default first view displayed, if not click on the tab.
  4. Find where it says Site Offline and click the Yes button in Joomla 3.x.
  5. Optional: Change the Offline Message to give your visitors some explanation about why your website is unavailable.
  6. Click the Save toolbar button to implement the new settings:
    • The Save toolbar button will save your changes and but leave you in Global Configuration.
    • The Save and Close button will save your changes and return you to the Administrator Control Panel.
  7. You should see a message confirming the settings have been changed.

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th