สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
Offline Page
Sample Maintenance Mode Page

       โช้กอัพ สปริง ระบบช่วงล่างของรถยนต์ทั่วไป ส่วนใหญ่ออกแบบสำหรับการใช้งานทั่วไป เน้นความนุ่มนวลเป็นหลัก มีการทรงตัวที่ดีในช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง ด้วนสปริงที่มีค่าความแข็งไม่มากนัก และโช้กอัพที่นุ่มนวล เมื่อใช้ความเร็วสูงจึงมักเกิดอาการโคลง

 

 

       การเพิ่มประสิทธิภาพด้านนี้ มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ใช้ความเร็วสำหรับผู้ที่ใช้ความเร็วสูงเป็นประจำ หรือเพิ่มความแรงให้เครื่องยนต์ จนช่วงล่างเดิม ไม่สามารถให้ความมั่นใจได้เต็มที่ โดยมักเลือกเปลี่ยนสปริง และโช้กอัพ แต่เน้นว่าต้องเก็บของเดิมกลับมาด้วย เผื่อการเปลี่ยนกลับในกรณีเบื่อหรือต้องการขาย

 

image-170-1

 

       สปริง

       ทำหน้าที่ดูดซับแรงสั่นสะเทือน และเป็นตัวกำหนดความสูงของตัวรถยนต์ สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนเป็นสปริงที่มีค่าความแข็งเพิ่มขึ้น (แต่ไม่ใช่แข็งที่สุดแล้วจะดี) แต่ต้องยอมรับความกระด้างในช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง ที่เพิ่มขึ้นด้วย

 

       สปริง ชุดแต่งแต่ละยี่ห้อ ยังแบ่งย่อยเป็นหลายรุ่นตามค่าความแข็ง ไม่ใช่ถามว่าเลือกยี่ห้อไหนดีเท่านั้น เพราะยังต้องเลือกในรุ่นย่อยออกไปอีก เช่น สตรีท เรซิ่ง หรือเซอร์กิต ซึ่งอาจมีความแข็งและความสูงแตกต่างกันด้วย

 

       ตัดสปริง เป็นวิธีที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะเกิดความกระด้าง เนื่องจากการยืดหยุ่นตัวของสปริงจะทำงานไม่สมบูรณ์ และปลายของสปริงด้านที่ถูกตัดจะไม่แนบสนิทกับเบ้ารับสปริง ทำให้เกิดการกระดกหรือดิ้นเมื่อสปริงมีการยุบหรือยืดตัว

 

       สปริงเทียบ นอกจากสปริงชุดแต่งแล้ว อาจเทียบใช้สปริงจากรถยนต์ตัวถังเดียวกันแต่รุ่นสูงกว่า หรือจากรถยนต์รุ่นอื่น ๆ เป็นแบบมือสองก็ได้ ซึ่งมีความแข็งไม่มากเกินไป เพราะเป็นรถยนต์ที่ผลิตเพื่อการใช้งานทั่วไป แต่ก็ไม่เตี้ยมากจนสะใจ

 

       สำหรับรถยนต์ที่ไม่มีสปริงชุดแต่งจำหน่าย ต้องใช้วิธีเทียบใช้จากรถยนต์รุ่นอื่น โดยถอดสปริงเดิมไปเทียบค่าความแข็งสามารถเดาได้จากขนาดความอ้วนจของเส้ย สปริง และจำนวนข้อของสปริง
เส้น สปริงขนาดใหญ่มักมีความแข็งกว่าเส้นสปริงที่มีขนาดเล็ก และสปริงที่มีจำนวนวงเยอะ มักมีความแข็งมากกว่าสปริงวงน้อยที่มีความสูงรวมเท่ากัน พิสูจน์ด้วยการสมมติว่านำสปริงมายืดเป็นเส้นตรง แล้วบิดให้เป็นเกลียว สปริงเส้นที่มีขนาดใหญ่ และสั้นจะบิดได้ยากกว่าสปริงที่มีขนาดเล็ก และยาว

 

image-170-2

 

       ค่าความแข็งของสปริง ต้องมีระบุไว้บนสปริงหรือกล่อง แต่ถ้าไม่ทราบ ก็สามารถวัดได้ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยนำสปริงวางบนตาชั่งน้ำหนักไว้บนแท่นอัดไฮดรอลิก แล้ววางแผ่นเหล็กทับด้านบน และกดแผ่นเหล็กลงเล็กน้อย เพื่อให้สปริงแนบสนิทกับตาชั่ง และแผ่นเหล็ก แล้วจดค่าบนเครื่องชั่งน้ำหนัก และวัดความสูงของสปริงไว้ จากนั้นกดสปริงให้ความสูงลดลง 1 เซนติเมตร แล้วนำน้ำหนักที่ได้มาลบกัน มีหน่วยเป็นกิโลกรัม/เซนติเมตร

 

       เช่น สปริงสูง 20 เซนติเมตร กดครั้งแรกวัดน้ำหนักได้ 5 กิโลกรัม ครั้งที่ 2 กดลงไป 1 เซนติเมตร วัดน้ำหนักได้ 8 กิโลกรัม แสดงว่าสปริงเส้นนี้มีค่าความแข็ง 3 กิโลกรัม/เซนติเมตร

 

       สปริงหลอด คือ สปริงวงเล็กที่มีขนาดเท่ากันตลอดเส้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องดีกว่าสปริงวงใหญ่ มีความจำเป็นก็ต่อเมื่อใส่สปริงแบบธรรมดาแล้วติดขัดกับช่วงล่าง หรือทำสตรัตแบบกลึงเกลียว

 

       สตรัตปรับเกลียว ทำเกลียวรอบกระบอกโช้กอัพ เพื่อให้สามารถปรับความสูงของเบ้ารับสปริงด้านล่างได้ ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการทรงตัว เพราะต้องขึ้นอยู่กับสปริง และโช้กอัพไม่ใช่ที่ตัวเกลียว และจะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อมีการปรับความสูงขึ้นลงบ่อย

 

       ปิกอัพลดความสูง ด้านหน้าใช้การปรับทอร์ชันบาร์ได้ ด้านหลังควรใช้วิธีรองเหล็ก และเปลี่ยนหูยึดแหนบ หลีกเลี่ยงการตัดแหนบเพราะจะทำให้กระด้าง เนื่องจากแหนบสูญเสียความยืดหยุ่น

 

       โช้กอัพ

       ส่วนใหญ่มักเลือกที่มีความหนึบมากขึ้น และควรเลือกแบบปรับระดับความหนืดได้ เพราะถ้าปรับไม่ได้ ก็ได้แค่เดาตอนซื้อ เมื่อใส่ไปแล้วไม่ตรงกับความต้องการ จะถอดคืนก็ไม่ได้ และเพื่อความสะดวกควรเลือกแบบที่ปรับได้โดยไม่ต้องถอดโช้กอัพออกจากรถยนต์

 

       สำหรับรถยนต์ที่ลดความสูงลงมาก ๆ อาจต้องใช้โช้กอัพแกน และกระบอกสั้น เพื่อไม่ให้แกนโช้กอัพยันเมื่อมีการยุบตัวมาก ๆ

 

       แค่เลือกโช้กอัพที่สามารถปรับความหนืดได้ยังไม่พอ ยังต้องคำนึงถึงช่วงความหนืดที่ปรับได้ด้วย เช่น โช้กอัพรุ่นหนึ่งปรับระดับความหนืดไว้สูงสุดแล้ว แต่ก็ยังไม่แข็งพอ หรือปรับความหนืดไว้ต่ำสุดแล้ว แต่ก็ยังแข็งเกินไป

 

       เปลี่ยนสปริงโหลดต้องเปลี่ยนโช้กอัพใหม่หรือไม่ สปริงโหลดส่วนใหญ่มักมีความแข็งเพิ่มขึ้น การเต้นของสปริงย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย หากโช้กอัพเดิมมีความหนืดมากพอ ก็ยังสามารถหยุดการเต้นของสปริงได้ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นโช้กอัพที่มีความหนืดเพิ่มขึ้นควบคู่กันไปก็ยิ่งดี เหมือนสองแรงแข็งขัน
โช้กอัพมือสอง เทียบใช้จากรถยต์ตัวถังเดียวกันในรุ่นสูงกว่า เน้นที่กระบอกโช้กอัพไม่มีคราบน้ำมัน แกนโช้กอัพต้องเป็นเงา ไม่มีรอยตามดหรือสนิม ยางรองหัวโช้กอัพต้องไม่แข็งกระด้างหรือแตกลายงา
แก๊ส & น้ำมัน ไม่ใช่ตัวบอกประสิทธิภาพของโช้กอัพ และไม่สามารถเจาะจงตายตัวว่า โช้กอัพแก๊สต้องมีความหนืดมากกว่าหรือดีกว่าโช้กอัพน้ำมันเสมอไป ต้องแยกเป็นรุ่น ๆ ไปในแต่ละยี่ห้อ

 

       THAIDRIVER
        ที่มา : http://automobile.mweb.co.th/news/

 

To make your Joomla! website unavailable to visitors, replacing it with a simple message, do this:

  1. Log in to the Administrator back-end.
  2. Click on the Global Configuration button in the main Control Panel or System → Global Configuration in Joomla 3.x.
  3. There are so many configuration options that they need to be divided into separate groups or tabs. The Site tab, it should be the default first view displayed, if not click on the tab.
  4. Find where it says Site Offline and click the Yes button in Joomla 3.x.
  5. Optional: Change the Offline Message to give your visitors some explanation about why your website is unavailable.
  6. Click the Save toolbar button to implement the new settings:
    • The Save toolbar button will save your changes and but leave you in Global Configuration.
    • The Save and Close button will save your changes and return you to the Administrator Control Panel.
  7. You should see a message confirming the settings have been changed.

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th