สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
Offline Page
Sample Maintenance Mode Page

       การทดสอบการชนหรือการทำ CRASH TEST เป็นกระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยของรถยนต์ที่กระทำกันมานาน ผู้ผลิตรถยนต์ต้องมีการทดสอบการชนก่อนผลิตรถยนต์รุ่นนั้น ๆ ออกสู่ตลาด เพื่อให้ผ่านตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของรัฐบาลในประเทศที่จำหน่ายรถยนต์รุ่นนั้น แต่ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ด้านความปลอดภัยของตัวถัง และข้อกำหนดในแต่ละประเทศก็ยังมีความแตกต่างกันไป ดังนั้น การตรวจสอบข้อมูลการทดสอบการชนของรถยนต์แต่ละรุ่น จะต้องพิจารณาด้วยว่า เป็นหลักเกณฑ์ของประเทศใด

 

image-168-1

 

 

       การทดสอบการชนโดยผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ๆ ในระหว่างขั้นตอนการพัฒนารถยนต์นั้นมีหลาย 10 ปีแล้ว แต่การทดสอบโดยองค์กรรัฐบาล เริ่มมีในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1978 และพบว่าตั้งแต่มีการเผยแพร่ผลการทดสอบให้สาธารณชนรับรู้ ตัวเลขการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ลดลงอย่างมาก

 

       ส่วนหนึ่งเนื่องจาก ประชาชนมีโอกาสเลือกใช้รถยนต์ที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยเพียงพอ แสดงถึงประโยชน์ของการบริโภคข่าวสารอย่างแท้จริง นอกจากในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีในยุโรป ซึ่งเริ่มทำการทดสอบมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 ส่วนออสเตรเลียเริ่มเผยแพร่มาตั้งแต่ปี 1993 และในประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มขึ้นในปี 1996

 

image-168-2

 

        มีการทดสอบแบบไหนบ้าง
        การชนด้านหน้าเต็มคัน – FULL FRONTAL CRASH กับวัตถุขวางกั้นที่ไม่ยุบตัว – RIGID BARRIER เริ่มใช้ในสหรัฐอเมริกา ส่วนการชนด้านหน้าแบบเฉียง หรือแบบครึ่งคัน – OFFSET FRONTAL CRASH ซึ่งมีทั้งปะทะกับวัตถุขวางกั้นแบบไม่ยุบตัว และแบบยุบตัวได้ – DEFORMABLE BARRIER โดยวิธีการนี้ เริ่มใช้ในยุโรปตั้งแต่ช่วงปี 1970

 

       การชนด้านข้าง – SIDE IMPACT TEST ซึ่งก็มีทั้งแบบเฉียงที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา และแบบตรงที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น และยุโรป นอกจากนี้ ระดับความสูงของวัตถุที่สิ่งเข้าชนก็ยังแตกต่างกันไปด้วย

 

image-168-3

 

       แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร
       การชนด้านหน้าเต็มคัน จะมีพื้นที่ที่รับแรงกระแทกของตัวรถยนต์มาก ดังนั้นตัวรถยนต์จะเสียหายน้อย แต่ความเร่งซึ่งเกิดขึ้นที่หุ่นทดสอบจะอยู่ในระดับสูง

 

       วิธีนี้จึงมีความเหมาะสมในการประเมินอุปกรณ์ป้องกันผู้ขับ และผู้โดยสาร – RESTRAINT SYSTEM เช่น เข็มขัดนิรภัย หรือถุงลมนิรภัยว่ามีประสิทธิภาพดีเพียงใด

 

       การชนด้านหน้าครึ่งคัน หรือแบบออฟเซ็ต จะมีพื้นที่ด้านหน้ารถยนต์รับแรงกระแทกเพียงครึ่งเดียว โดยทั่วไป จะใช้พื้นที่ประมาณ 40% เข้าปะทะ

 

       วิธีนี้ มีประโยชน์มากในการประเมินว่า โครงสร้างของรถยนต์สามารถรับแรงปะทะ โดยไม่ทำให้ห้องโดยสารผิดรูปได้ดีเพียงใด เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บจากการที่ชิ้นส่วนของรถยนต์ เช่น พวงมาลัย แผงหน้าปัด พื้นที่วางเท้า พุ่งเข้าปะทะผู้ขับ – INTRUSION INJURY

 

       การชนด้านข้าง ระดับความสูงของวัสดุที่สิ่งเข้าชน มีผลต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวรถยนต์ ในยุโรป แรกเริ่มใช้ความสูง – GROUND CLEARANCE 260 มิลลิเมตร แต่มาตรฐานล่าสุดที่บังคับใช้มีการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างในปี 2000 ความสูงได้ถูกปรับเพิ่มเป็น 300 มิลลิเมตร ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวรถยนต์มากขึ้น

 

image-168-4

 

       ประเมินผลอย่างไร
       การแปลผลการทดสอบชน ต้องดูจากปัจจัยหลายประการประกอบกัน ทั้งการผิดรูปของห้องโดยสาร และแรงที่เกิดขึ้นต่อหุ่นทดสอบ

 

image-168-5

 

       รถยนต์ที่มีโครงสร้างตัวถังแข็งมากจนห้องโดยสารไม่ผิดรูป แรงจากการปะทะส่วนใหญ่จะถ่ายทอดไปยังผู้โดยสารในรถยนต์ ทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บรุนแรงได้ (เป็นการบาดเจ็บเนื่องจากการเปลี่ยนความเร่งอย่างฉับพลัน)

 

       ในทางตรงกันข้าม รถยนต์ที่มีโครงสร้างตัวถังไม่แข็งแรงพอ ตัวรถยนต์ก็จะยุบเข้าไปกระแทกเข้ากับผู้ขับ และผู้โดยสาร จนเกิดการบาดเจ็บเพราะการกระทบกระแทกได้เช่นกัน ผู้ผลิตจึงต้องออกแบบรถยนต์ให้สามารถดูดซับแรงกระแทกได้มากพอ ขณะที่โครงสร้างตัวถังส่วนสำคัญ คือ บริเวณห้องโดยสารต้องคงสภาพได้ดีเช่นกัน ดังนั้น การดูภาพรถยนต์ภายหลังการชนอย่างเดียว จึงแทบไม่สามารถบอกอะไรได้เลย

 

       ในการตรวจสอบการทดสอบการชนโดยทั่วไป มีการแสดงค่าดังนี้

 

image-168-6

 

       พิจารณาจาก
        - ค่าการยุบตัวของตัวถังในจุดที่สำคัญ
        - ตรวจสอบความยากง่ายในการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ภายใน เช่น การเปิดประตูรถยนต์
        - ตรวจสอบความเสียหายในจุดสำคัญ เช่น ระบบเชื้อเพลิง

 

       หุ่นทดสอบในรถยนต์
       ในปัจจุบัน มักใช้หุ่นที่มีโครงสร้างหุ้มด้วย PVC มีการติดตั้ง AC-CELEROMETER และ LOAD SCALE ไว้ภายใน มีน้ำหนักรวมใกล้เคียงกับมนุษย์จริง และมีหลายขนาดให้เลือก ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ โดยจะพิจารณาประเมินความบาดเจ็บในแต่ละส่วนดังนี้

 

        - ศีรษะ ตรวจสอบจากค่า HIC – HEAD INJURY CRITERIA ค่าที่น้อยกว่า 500 ถือว่าดีมาก ค่า 500-1,000 ถือว่าใช้ได้ ค่า 1,000-1,500 แสดงว่ามีโอกาสเกิดการบาดเจ็บที่ศรีษะ ค่าที่มากกว่า 1,500 แสดงการบาดเจ็บที่รุนแรง

 

        - หน้าอก ดูจากความเร่งที่กระทำกับหน้าอก ค่าที่น้อยกว่า 45g อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ค่าระหว่าง 45-60g ถือว่าดี ค่าระหว่าง 60-75g ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการบดาเจ็บที่หน้าอก ค่าที่มากกว่า 75g แสดงว่าโอกาสที่หน้าอกจะได้รับอันตรายสูงมาก

 

        - กระดูเชิงกราน และท่อนขา วัดจากแรงปะทะที่มากระทำ ยิ่งมีค่าสูง โอกาสจะเกิดการบาดเจ็บก็จะสูงตาม

 

       มาตรฐานในแต่ละประเทศ
       ในปัจจุบัน หลายประเทศเริ่มแก้ไขมาตรฐานการชน โดยให้ความเร็วของการแล่นทดสอบสูงขึ้น เช่น ในมาตรฐานใหม่ของกลุ่มประเทยุโรป ที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 1999 ถือว่าเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มงวดที่สุดในโลก และยังมุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยจากการชนด้านข้างมากกว่าเดิมอีกด้วย เนื่องจากถ้าไม่นับการชนจากด้านหน้าครึ่งคัน (47.8%) แล้ว กานชนจากด้านข้างถือเป็นอันดับ 2 ที่ก่ออันตรายต่อผู้ใช้รถยนต์

 

       นอกจากการทดสอบโดยหน่วยงานรัฐบาลแล้ว ในแต่ละประเทศ อาจจะมีหน่วยงานอิสระที่ทำการทดสอบโดยอาจใช้มาตรฐานที่สูงกว่าข้อกำหนดโดย รัฐบาลด้วย

 

       ที่มา : http://automobile.mweb.co.th/technology/

 

To make your Joomla! website unavailable to visitors, replacing it with a simple message, do this:

  1. Log in to the Administrator back-end.
  2. Click on the Global Configuration button in the main Control Panel or System → Global Configuration in Joomla 3.x.
  3. There are so many configuration options that they need to be divided into separate groups or tabs. The Site tab, it should be the default first view displayed, if not click on the tab.
  4. Find where it says Site Offline and click the Yes button in Joomla 3.x.
  5. Optional: Change the Offline Message to give your visitors some explanation about why your website is unavailable.
  6. Click the Save toolbar button to implement the new settings:
    • The Save toolbar button will save your changes and but leave you in Global Configuration.
    • The Save and Close button will save your changes and return you to the Administrator Control Panel.
  7. You should see a message confirming the settings have been changed.

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th